Month: November 2014

ปราสาทเมืองต่ำ

ปราสาทเมืองต่ำ  ตั้งอยู่บริเวณหน้าวัดปราสาทบูรพาราม ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ปราสาทเมืองต่ำมีแผนผังขององค์ปราสาทเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก่อด้วยอิฐ หินทรายและศิลาแลง หันหน้าไปทิศตะวันออก  เป็นหนึ่งในกลุ่มปราสาทมรรคโค เป็นศาสนสถานที่สร้างตามคติความเชื่อทางศาสนาฮินดู สันนิษฐานว่าสร้างขึ้น ชเพื่อถวายพระศิวะ มีลักษณะเป็นศาสนสถานประจำเมืองหรือประจำชุมชน ปราสาทเมืองต่ำสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 16 ในศิลปะปาปวนตอนต้น และลดความสำคัญลงไปในราวพุทธศตวรรษที่ 18 และถูกทิ้งร้างในที่สุด จนเมื่อราวปี พ.ศ. 2490 จึงเริ่มมีการอพยพเข้ามาของชาวบ้าน มาตั้งถิ่นฐานในบริเวณนี้อีกครั้งหนึ่ง คำว่า เมืองต่ำ ไม่ใช่ชื่อดั้งเดิม แต่เป็นชื่อที่ชาวพื้นเมืองเรียกโบราณสถานแห่งนี้ เพราะปราสาทแห่งนี้ตั้งอยู่บนพื้นราบ ส่วนปราสาทพนมรุ้งตั้งอยู่บนเชิงเขา ซึ่งทั้งปราสาทเมืองต่ำและปราสาทพนมรุ้งอยู่ไม่ห่างกันมาก คือห่างกันเพียง 8 กิโลเมตร นอกจากนี้ วัสดุส่วนหนึ่งจากโบราณสถาน และโบราณวัตถุ ของปราสาทเมืองต่ำ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงนำมาเป็นส่วนประกอบในการทำพระเครื่อง ที่เรียกว่า “พระสมเด็จจิตรลดา” อีกด้วย ตำแหน่งที่ตั้งของปราสาทเมืองต่ำ อยู่บนเส้นทางอารยธรรมขอม (เขมร) จากเมืองพระนครในประเทศกัมพูชา (เสียมเรียบ)ขึ้นสู่ทางเหนือผ่านเทือกเขาพนมดงรัก ผ่านกลุ่มปราสาทตาเมือน จังหวัดสุรินทร์ ผ่านปราสาทเมืองต่ำ สู่ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง ไปสู่ยังปราสาทหินพิมาย จังหวัดนครราชสีมา อาจกล่าวได้ว่าชุมชนโบราณที่ปราสาทเมืองต่ำมีความสัมพันธ์กับชุมชนโบราณใกล้เคียงบนเส้นทางอารยธรรมขอมจากเมืองพระนคร […]

Read More

ปรางค์กู่สวนแตง

ปรางค์กู่สวนแตง ตั้งอยู่บ้านดงยาง ตำบลกู่สวนแตง อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ บุรีรัมย์ ตรงข้ามโรงเรียนกู่สวนแตงวิทยาคม ปรางค์กู่สวนแตง เป็นโบราณสถานแบบขอมอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยปรางค์อิฐ 3 องค์ ตั้งเรียงในแนวเหนือ-ใต้ บนฐานศิลาแลงเดียวกัน อาคารทั้งหมดหันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีประตูหน้าเพียงประตูเดียว อีก 3 ด้านสลักเป็นประตูหลอก ปรางค์องค์กลางมีขนาดใหญ่และมีสภาพที่ค่อนข้างสมบูรณ์เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ด้านหน้าที่มุขยื่นออกมาเล็กน้อย ตรงหน้าบันเหนือประตูหลอกทั้ง 3 ด้าน มีลักษณะยื่นออกมาและมีแผ่นศิลาทรายรองรับ ส่วนปรางค์อีก 2 องค์ มีขนาดเล็กกว่า ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีประตูเดียวทางด้านหน้าเช่นกัน ส่วนผนังอีก 3 ด้าน ก่อเรียบทึบสำหรับบนพื้นหน้าปรางค์มีส่วนประกอบสถาปัตยกรรมหินทรายอื่น ๆ ตกหล่นอยู่ เช่น ฐานบัวยอดปรางค์ กลีบขนุนรูปนาค 6 เศียร อายุของกู่สวนแตงสามารถกำหนดได้จากทับหลังของปรางค์ ซึ่งปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครและที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 17 เนื่องจากภาพสลักบนทับหลังทั้งหมดมีลักษณะตรงกับศิลปะขอมแบบนครวัด ที่มีอายุอยู่ในช่วงเวลาดังกล่าว อาทิ ทับหลังสลักภาพพระนารายณ์ตรีวิกรม (ตอนหนึ่งในวามนาวตาร แสดงภาพพระนารายณ์ย่างพระบาท 3 ก้าว เหยียบโลกบาดาล โลกมนุษย์ […]

Read More

แหล่งเตาเผาโบราณนายเจียน

แหล่งเตาเผาโบราณนายเจียน ตั้งอยู่ที่บ้านถนนน้อย ต.หินลาด อ.บ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นเตาเผาโบราณอายุประมาณ 1,000 ปี มี 2 เตา ชื่อเตาเผานายเจียน และเตาเผาสวาย และได้พบเครื่องเคลือบโบราณจำนวนมาก คนโบราณใช้เผาเครื่องปั้นดินเผา หม้อ ไห ต่างๆ นักโบราณคดีได้สำรวจพบเตาเผา และเครื่องปั้นดินเผา โบราณจำนวนมาก พบว่ามีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 14-19 โดยเตาเผาเหล่านี้ ได้ผลิตเครื่องถ้วยเขมร เพื่อเป็นสินค้าป้อนให้กับเมืองต่างๆ ในกัมพูชา และในภูมิภาคต่างๆ โดยมีการทำอุตสาหกรรมขนาด ใหญ่โต และขยายขอบเขตการผลิตไปยังพื้นที่ใกล้เคียงอีกด้วย กรมศิลปากรได้ทำการขุดแต่งเตาโบราณ 2 แห่งคือ เตาสวายและเตานายเจียน ซึ่งอยู่ห่างจาก อำเภอบ้านกรวดเป็นระยะทาง 5 และ 10 กม. ตามลำดับ ส่วนเครื่องปั้นดินเผาโบราณที่ขุดพบสามารถชมได้ที่ หอศิลปกรรมบ้านกรวด ในบริเวณที่ว่าการอำเภอ บ้านกรวด ลักษณะทั่วไป เตาเครื่องเคลือบดินเผาแบบบ้านกรวด เป็นเตายาวสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก่อขึ้นบนดินหรือเนินดินสูง ขึ้นโครงด้วยไม้ไผ่สาน ฉาบด้วยดินเหนียวเผาเป็นอิฐดิบ (ไม่ใช่อิฐเป็นก้อน) มีกองดินเป็นเสาค้ำอยู่ตรงกลาง บรรจุภาชนะด้านข้างเตา ความยาวของเตามีถึง […]

Read More

เขื่อนลำนางรอง

เขื่อนลำนางรอง เยือนทะเลสาบเหนือเขื่อนอันกว้างใหญ่ หาดทรายสวยงามบรรยากาศดี เขื่อนลำนางรองตั้งอยู่ที่อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ อยู่แยกจากอนุสาวรีย์เราสู้ไป 200 เมตร  เป็นเขื่อนดินฐานคอนกรีตขนาดใหญ่ จุน้ำได้ประมาณ 150 ล้านลูกบาศก์เมตร มีถนนลาดยางบนสันเขื่อนเชื่อมต่อไปยังหมู่บ้านตัวอย่าง หมู่บ้านพัฒนาหนองตาเยาว์ และหนองหว้า ซึ่งอยู่ใกล้ชายแดนเพียง 20 กว่ากิโลเมตรเท่ากัน ที่สันเขื่อนมีหินลอย (หินภูเขาไฟอีกชนิดหนึ่ง) เป็นก้อนและแผ่นสีสันแบ่งกันเป็นชั้นสวยงาม ซึ่งได้นำไปกองกั้นน้ำเซาะสันเขื่อน เป็นพื้นที่โครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคงตามพระราชดำริ นักท่องเที่ยวสามารชมวิวจากบนสันเขื่อน เป็นที่เที่ยวที่มีชื่อเสียงในอำเภอโนนดินแดง บรรยากาศสวยงาม รวมถึงมีสิ่งอำนวยความสะดวกและร้านอาหารประเภทปลาสดๆจากเขื่อนลำนางรองในอ.โนนดินแดง จ.บุรีรัมย์ ด้วยทะเลสาบเหนือเขื่อนอันกว้างใหญ่ หาดทรายสวยงามบรรยากาศดี ชาวบุรีรัมย์และจังหวัดใกล้เคียงจึงนิยมพาครอบครัวไปพักผ่อน เล่นน้ำและรับประทานปลาสดจากเขื่อน ในบริเวณเดียวกันยังมีโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูป (ดอยคำ) ผลิตผักผลไม้กระป๋องอาทิ ข้าวโพดอ่อน หน่อไม้ และน้ำมะเขือเทศ อาหารขึ้นชื่อที่พลาดไมไ่ด้เมื่อมาเยือนที่นี่ก็คือจะเป็นเมนูที่ทำจากปลาต่างๆ เช่น ปลาเผา ปลานึ่ง ปลาช่อนลุยสวน ต้มยำปลา ต้มยำปลากดปลาคังลวกจิ้ม เป็นต้น [adsense-2] สิ่งอำนวยความสะดวก/ที่พัก มีลานจอดรถ มีร้ายอาหารมากมายให้บริการ มีบ้านพักรับรอง ห้องประชุม และค่ายพักแรม ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม ติดต่อจองที่พักได้ที่สำนักงานโครงการส่งน้ำและ บำรุงรักษาลำนางรองซึ่งอยู่ก่อนถึงสันเขื่อน ในเวลาราชการ โทร. […]

Read More

เที่ยว บุรีรัมย์

บุรีรัมย์ “เมื่องปราสาทหิน ถิ่นภูเขาไฟ ผ้าไหมสวย รวยวัฒนธรรม” เทศกาล/ประเพณี งานนมัสการพระเจ้าใหญ่วัดหงษ์ จัดเป็นประจำทุกปีในวันขึ้น 14 ค่ำ – วันแรม 1 ค่ำ เดือน 3 (ประมาณเดือนกุมภาพันธ์) ณ วัดหงษ์ อ.พุทไธสง งานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง “1 มหัศจรรย์ 2 สิ่งศักดิ์สิทธิ์” จัดเป้นประจำทุกปีในช่วงต้นเดือนเมษายน ณ อุทยานประวัติศาสตร์เขาพนมรุ้ง อ.เฉลิมพระเกียรติ มหกรรมว่าวอีสานบุรีรัมย์ นอนดูดาวชมว่าวกลางคืน จัดเป็นประจำทุกปีในเดือนธันวาคม ณ บริเวณที่ทำการปกครอง อ.ห้วยราช การเดินทาง รถทัวร์ จากสถานีขนส่งหมอชิต 2 มีรถเที่ยวเวลา 06:50-23:00 น. ใช้เวลาเดินทางประมาณ 5 ชั่วโมง ค่าโดยสารประมาณ 250-320 บาท ข้อมูลเพิ่มเติมโทร 1490 รถไฟ จากสถานีรถไฟหัวลำโพงมี 9 ขบวน/วัน เวลา 05:45-22:25 น. ใช้เวลาเดินทางประมาณ 7-8 ชั่วโมง ค่าโดยสารประมาณ […]

Read More

อ่างเก็บน้ำบึงโขงหลง

อ่างเก็บน้ำบึงโขงหลง ไปพักผ่อนชิลๆ ซึมซับบรยากาศทะเลสาปน้ำจืดและอาหารสดๆจากแม่น้ำกันค่ะ อ่างเก็บน้ำบึงโขงหลง ตั้งอยู่ที่ อ.บึงโขงหลง จ.บึงกาฬ  มีพื้นที่ประมาณ 11 ตร.กม. โดยกว้างประมาณ 1 กม.ยาวประมาณ 11 กม. มีน้ำขังตลอดปี จนได้รับประกาศให้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำอันดับ 2 ของประเทศไทย และเป็นพื้นที่ชุมน้ำ อันดับ 128 ของโลก เป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ที่เป็นพื้นที่อนุรักษ์พันธุ์นก มีนกน้ำกว่า 100 ชนิดที่หาดูได้ยาก โดยเฉพาะนกน้ำที่ย้ายถิ่นเข้ามาในช่วงฤดูหนาว ทั้งห่านป่า นกเป็ดน้ำ นกยาง นกกระเต็น มีจุดดูนกอยู่ดอนสวรรค์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของที่ทำการเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงโขงหลง บริเวณบึงยังมีหาดคำสมบูรณ์ที่มีหาดทรายทอดยาวในช่วงฤดูหนาว เป็นแหล่งพักผ่อนและชมวิวทิวทัศน์ มองเห็นภูลังกาเป็นฉากหลัง กิจกรรมที่น่าสนใจเมื่อมาเยือนที่นี่คือ การล่องแพกลางบึงโขงหลง จนหลงเสน่ห์ของบึงสมชื่อ มีอาหารไว้คอยบริการนักท่องเที่ยว โดยวิธีกดกริ่งแล้วจะมีเรือเล็กออกมารับใช้บริการ บึงโขงหลง เป็นบึงที่มีน้ำตลอดปี ทำให้บึงแห่งนี้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติที่นักท่องเที่ยวสามารถมาเที่ยวบึงแห่งนี้ได้ตลอดทั้งปี ในบึงโขงหลงแห่งนี้ มีปลานิลขนาดใหญ่ที่เคยจับได้ น้ำหนักประมาณ 5-6 กิโลกรัมทีเดียว เทศบาลบึงโขงหลง มีสวนสาธารณะชื่อ “สวนขนาบบึง” เป็นที่พักผ่อนของนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบความงามของบึงแห่งนี้ [adsense-2]  ช่วงเวลาเปิดทำการ […]

Read More

ศาลเจ้าแม่สองนาง

ศาลเจ้าแม่สองนาง ตั้งอยู่ ณ วงเวียนหน้าโรงพยาบาลบึงกาฬ  ตำบลวิศิษฐ์ อ.เมือง จ.บึงกาฬเป็นอีกหนึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองบึงกาฬเคียงคู่กับหลวงพ่อพระใหญ่  เกิดจากความเชื่อเรื่องเทพเจ้าทางน้ำที่กระทำให้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ริมน้ำ เพราะในปีหนึ่งๆจะมีผู้เสียชีวิตในน้ำโขงปีละไม่น้อย พวกที่เสียชีวิตในลำน้ำโขง คนเฒ่าคนแก่เชื่อว่าเป็นการกระทำของเทพเจ้าทางน้ำ (ชาวบ้านเรียกกันว่าเงือก) เทพเจ้าทางน้ำ ที่ชาวบ้านลุ่มแม่น้ำโขงนับถือก็คือ “เจ้าแม่สองนาง” (งู1คู่ )งู เงือก และพญานาค เป็นสิ่งเดียวกัน สุดแต่ว่าใครจะเรียก เพื่อเป็นการเซ่นไหว้และลดการสูญเสียชีวิตของผู้ประกอบการทางน้ำ จึงปรากฎเห็นศาลเจ้าแม่สองนางตามแถบลุ่มแม่น้ำโขงทั้งสองฟากฝั่ง ส่วนใครที่มาสักการะเจ้าแม่สองนาง เชื่อว่าจะทำมาค้าขายเจริญรุ่งเรือง การเดินทางแคล้วคลาดปลอดภัย โดยเฉพาะกับผู้ที่เดินทางทางน้ำ เพราะเจ้าแม่สองนางได้ชื่อเป็นเจ้าแม่แห่งลุ่มน้ำโขงไล่ไปตั้งแต่บึงกาฬ หนองคาย ถึงมุกดาหาร ตำนานเจ้าแม่สองนาง ในปีพุทธศักราช 2415 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พวกจีนฮ่อได้ยกทัพไล่ตีหัวเมืองต่างๆ ศึกครั้งนี้ลุกลามจนถึงเมืองหนองคาย ชาวบ้านต่างหวาดกลัวจึงได้อพยพหนีพวกจีนฮ่อ ส่วนหนึ่งได้อพยพลงมาตามแนวแม่น้ำโขง บางส่วนได้ตั้งหลักแหล่งตามลุ่มน้ำโขงไล่กันลงมา พ่อเฒ่าพรมได้อพยพมาพร้อมครอบครัวคือภรรยาและลูกสาวสองคน แต่ในระหว่างทางเมียของพ่อตู้พรมเสียชีวิต เหลือแค่นางสาวเภาและนางสาวเหลาลูกสาวของพ่อเฒ่า พ่อเฒ่าได้บวชเป็นชีผ้าขาว (ชีปะขาว) จนกระทั่งถึงจนมาถึงคุ้มบ้านกลาง บ้านบึงกาฬ จึงได้ตั้งรกรากรวมกับชาวบ้านที่อาศัยอยู่เดิม ด้วยชีผ้าขาวพรมเป็นผู้มีวิชาอาคมแก่กล้า ชาวบ้านจึงขอร้องให้ชีผ้าขาวพรมไปปราบภูตผีที่ดอนหอ (กุดทิงในปัจจุบัน) ซึ่งเป็นบริเวณที่ชาวบ้านเข้าไปหาของป่า ต่อมาชีผ้าขาวพรมจึงย้ายมาอยู่ที่ดอนหอ แล้วให้ลูกสาวทั้งสองอยู่ที่คุ้มบ้านกลางดังเดิม ทั้งสองต่างไม่ยอมแต่งงาน ใช้ชีวิตร่วมกันเพียงสองคนพี่น้อง ต่อมาด้วยอายุและสังขารต่างร่วงโรย […]

Read More

วัดสว่างอารมณ์(ถ้ำศรีธน)

วัดสว่างอารมณ์ (วัดถ้ำศรีธน) ไปไหว้พระนอน ชมวิวทิวทัศน์เมืองลาว ตามรอยท้าวศรีธนกันค่ะ วัดสว่างอารมณ์(ถ้ำศรีธน) ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอปากคาด จ.บึงกาฬ เป็นวัดที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดบึงกาฬ วัดตั้งอยู่บริเวณลานหินเนินเขา ร่มรื่นด้วยต้นไม้และลำธารเล็กๆไหลผ่าน บริเวณใต้โขดหินใหญ่ประดิษฐานพระนอนปางปรินิพพานให้ผู้คนสักการะบูชา บนโขดหินมีอุโบสถทรงระฆังคว่ำ รอบๆ อุโบสถมีระฆังคว่ำ 4 จุดรายรอบ และสามารถเดินชมวิว สวยๆ งามๆ ในพื้นที่ อ.ปากคาด รอบทิศ หากขึ้นไปถึงด้านบนสามารถมองเห็นทิวทัศน์ได้ไกลจนถึงฝั่งลาว เป็นวัดที่มีทิวทัศน์สวยงาม เต็มไปด้วยก้อนหินน้อยใหญ่ และเงียบสงบ บริเวณด้านบนก้อนหินเป็นจุดชมวิวทิวทัศน์ที่สวยงามของแม่น้ำโขง เดิมบริเวณนี้เป็นที่อยู่ของชาวบ้านปากกล้วย ซึ่งอพยพมาจากแขวงเมืองปากซัน ประเทศลาว ขณะนั้นบริเวณนี้ยังเป็นป่าดงดิบรกทึบเต็มไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด ซึ่งในแต่ละปีจะมีพระธุดงค์ผ่านมาพำนักอยู่เป็นประจำ เพราะเป็นสถานที่เงียบสงบ เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม ชาวบ้านจึงนิมนต์ให้ท่านจำพรรษาอยู่เพื่อให้เป็นวัดที่สมบูรณ์ครบองค์ประกอบ ต่อมาพระอธิการด่อน อินทสาโร หรือหลวงปู่ด่อน ซึ่งเป็นพระที่ชาวบ้านปากคาดนับถือ ได้สร้างวัดเป็นรูปเป็นร่างขึ้น และเจริญมาเป็นลำดับจนถึงปัจจุบัน เหตุที่เรียกกันอีกชื่อว่าวัดถ้ำศรีธนนั้นสันนิษฐานว่า อาจเป็นเพราะว่าวัดแห่งนี้อยู่ใกล้กับเมืองเป็งจานนครราช ซึ่งเป็นเมืองของท้าวศรีธนนั่นเอง ประวัติความเป็นมาของวัดถ้ำศรีธน ชาวบ้านงเรียกบริเวณถ้ำดังกล่าวว่า “ถ้ำศรีธน” เพราะมีร่องรอย ต่างๆ ตามตำนานท้าวศรีธนปรากฏอยู่เช่น ตัวของถ้ำ สถานที่ศรีธนลองดาบ และยังอยู่ใกล้บ้านเปงจาน หรือเมืองเปงจานนครราชในอดีต ซึ่งมีหลักเสมาเก่าแก่สูงประมาณ 1.90 […]

Read More

วัดศรีโสภณธรรมทาน

วัดศรีโสภณธรรมทาน เที่ยววัดเก่า ไหว้พระพุทธรูปเก่าแก่สมัยล้านช้าง กราบขอพรหลวงพ่อเมฆ วัดศรีโสภณธรรมทาน หรือวัดใต้ ตั้งอยู่เลขที่ 30 บ้านศรีโสภณ ถนนมีชัย หมู่ที่ 2 ตำบลบึงกาฬ อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 6 ไร่ อาคารเสนาสนะประกอบด้วยอุโบสถ ศาลาการเปรียญ สร้าง พ.ศ. 2525 เป็นอาคารทรงไทยชั้นครึ่งสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กและไม้เนื้อแข็ง กุกิสงฆ์ หอระฆัง วัดศรีโสภณธรรมทาน สร้างเมื่อ พ.ศ. 2328 เดิมชื่อว่าวัดศรีบุญเรือง เพราะผู้ริเริ่มสร้างวัดชื่อบุญเรือง ต่อมา พ.ศ. 2486 ได้เปลี่ยนเป็นชื่อวัดเป็นวัดศรีโสภณธรรมทาน ชาวบ้านเรียกว่าวัดใต้ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2499 ปัจจุบันมีพระมานพ เตชปญฺโญเป็นเจ้าอาวาส นอกจากเป็นวัดศูนย์กลางของพุทธศาสนิกชนได้มาปฏิบัติธรรม ทำบุญและกิจกรรมทางศาสนาของชาวบึงกาฬแล้ว ภายในวัดยังมีโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม เปิดสอนตั้งแต่ พ.ศ.2500 อีกด้วยค่ะ สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด พระพุทธโสภณมงคลใต้ เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่สมัยล้านช้าง ปางมารวิชัยเนื้อทองสำริดที่มีพุทธลักษณะงดงาม(ลักษณะเดียวกับหลวงพ่อพระใสพระคู่บ้านคู่เมืองหนองคาย) ชาวบ้านต่างเรียกขานท่านว่า “พระสุก” ที่มาจากความผาสุก มีความเชื่อว่าหากใครได้มากราบไหว้ จะอยู่เย็นเป็นสุข […]

Read More

วัดเวฬุวัน

วัดเวฬุวัน เป็นวัดในสังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุต ตั้งอยู่เลขที่ 111 หมู่ 8 ถนนบึงกาฬ-พังโคน อ.ศรีวิไล จ.บึงกาฬ บนเนื้อที่ 80 ไร่ 1 งาน 37 ตารางวา เป็นวัดในพระสังฆราชูปถัมภ์ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2482 ไม่ปรากฏหลักฐานผู้ใดสร้างขึ้น ตั้งแต่ พ.ศ.2482 เป็นต้นมา มีเจ้าอาวาสปกครอง 5 รูป ปัจจุบัน มีพระครูเกษมปัญญาภรณ์ (ขุน สุขกาโม) อายุ 71 ปี 28 พรรษา เป็นเจ้าอาวาส เป็นวัดที่เป็นศูนย์รวมในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา เนื่องจากเปิดเป็นโรงเรียนสอนศาสนา สอนปริยัติธรรม และมีการฝึกอบรมเกี่ยวกับพุทธศาสนาด้วย ซึ่งภายในวัดยังมีตุ๊กตาจีนที่แกะสลักด้วยไม้อย่างปราณีตสวยงามจำนวนมาก [adsense-2] ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)สำนักงานอุดรธานี (รับผิดชอบพื้นที่ อุดรฯ หนองคาย บึงกาฬ) โทร.0-4232-5406-7 ศูนย์บริการข่าวสารท่องเที่ยว ททท. 1672 สำนักงานจังหวัด โทร. 0-4249-1797-8 ตำรวจท่องเที่ยว […]

Read More