Month: December 2014

สถานแสดงพันธุ์ปลาน้ำจืด

สถานแสดงพันธุ์ปลาน้ำจืด ไปดูปลาน้ำจืดตัวโตๆ และปลารูปร่างหน้าตาแปลกๆที่ยังไม่เคยเห็นกันค่ะ สถานแสดงพันธุ์ปลาน้ำจืดตั้งอยู่ในศูนย์วิจัยแลเพฒนาประมงน้ำจืด ถนนใสสว่าง  ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ภายในจัดแสดง และให้ความรู้เกี่ยวกับพันธุ์ปลาชนิดต่าง ๆ ที่ค้นพบในภาคอีสาน เช่น ปลาเผือก ปลาหอม ปลาเสือตอ ปลาออสก้าร์ลาย ปลาจันทร์เทศ เป็นต้น ช่วงเวลาที่เปิดให้เข้าชม  ผู้ที่สนใจสามารถเข้าชมได้ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08:00-17:00 น. [adsense-2] ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดสกลนคร  โทร. (042) 711447 , (042) 716220 ททท.สนง.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 4 จ.นครพนม (รับผิดชอบพื้นที่ จ.สกลนครด้วย) โทร. (042) 513490-1 การบินไทย โทร. (042) 712259-60 ตำรวจทางหลวง โทร. (042) 713971 หจก.ภูพานการท่องเที่ยว โทร. (042) 712676 โรงพยาบาลกุดบาก โทร. (042) […]

Read More

วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร

วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร ไปไหว้พระธาตุคู่บ้านคู่เมืองสกลนครกันค่ะ วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ริมหนองหาน อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร เดิมมีชื่อเป็นครั้งแรกว่าวัดธาตุเชิงชุม ในสมัยเพี้ยครชุมเป็นหัวหน้าปฏิบัติพระธาตุเชิงชุม และมีพระหลักคำและสามเณรอยู่ที่วัดนี้ ต่อมาวัดร้าง และได้มีพระครูหลักคำ “พน” เป็นเจ้าอาวาส และได้เปลี่ยนชื่อสร้อยวัด จากวัดธาตุเชิงชุมมาเป็นวัดธาตุศาสดาราม ต่อมาในสมัยพระเทพวิมลเมธี เป็นเจ้าอาวาส ได้เปลี่ยนจากวัดธาตุศาสดารามมาเป็นวัดพระธาตุเชิงชุมและพร้อมได้ขอยกเป็นพระอารามหลวงชั้นชนิดวรวิหาร มีชื่อว่าวัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร ประวัติพระธาตุเชิงชุม พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระอานนท์ ได้เสด็จจากพระวิหารเชตวัน เสด็จตามลำแม่น้ำโขง มีพระพุทธบาทบัวบก พระพุทธบาทโพนเพล พระพุทธบาทเวินปลา ภูกำพร้า เป็นที่ตั้งของพระธาตุพนม พระพุทธบาทที่ภูน้ำลอดเชิงชุม พระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าพระนามกกุสันธะ พระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าพระนามโกนาคมะ และพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าพระนามกัสสปะ เมื่อพระเจ้าสุวรรณภิงคาระทรงทราบข่าว จึงได้เสด็จออกต้อนรับ พร้อมทั้งพระนางนารายณ์เจงเวงราชเทวี พระพุทธเจ้ามีพุทธประสงค์ให้พระเจ้าสุวรรณภิงคาระ ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนายิ่งขึ้น จึงทรงแสดงปาฏิหาริย์บันดาลให้มีดวงมณีรัตน์มีรัศมี พวยพุ่งออกจากพระโอษฐ์พร้อมกันสามดวง พระเจ้าสุวรรณภิงคาระทรงเห็นเป็นอัศจรรย์ก็บังเกิดศรัทธา เปล่งวาจาสาธุการด้วยความปิติ พระพุทธเจ้าได้ตรัสว่า ณ ที่นี้เป็นสถานที่อันอุดมประเสริฐ ที่พระพุทธเจ้าทั้งสี่พระองค์ จะได้มาประชุมรอยพระพุทธบาทไว้ เพื่อเป็นที่สักการะแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พระเจ้าสุวรรณภิงคาระ บังเกิดความปิติโสมนัส จึงได้ถอดพระมงกุฎทองคำของพระองค์ สวมบูชารอยพระพุทธบาท แล้วทรงสร้างเจดีย์ครอบไว้ จึงได้ชื่อว่า พระธาตุเชิงชุม ตามพงศาวดารลาว ในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช แห่งกรุงศรีสัตนาคนหุต […]

Read More

วัดป่าอุดมสมพร

วัดป่าอุดมสมพร ไปกราบหลวงปู่ฝั้น ศึกษารอยธรรม ที่พิพิธภัณฑ์อาจารย์ฝั้น อาจาโรกันค่ะ วัดป่าอุดมสมพร ตั้งอยู่ที่ตำบลพรรณานิคม อำเภอพรรณานิคม จ.สกลนคร ที่วัดแห่งนี้มีสิ่งที่น่าสนใจคือ พิพิธภัณฑ์อาจารย์ฝั้น อาจาโร  ลักษณะตัวพิพิธภัณฑ์เป็นรูปเจดีย์ฐานกลมกลีบบัวสามชั้น ภายในมีรูปปั้นพระอาจารย์ฝั้นมีขนาดเท่ารูปจริง ในท่านั่งห้อยเท้า และถือไม้เท้าไว้ในมือ มีตู้กระจกบรรจุอัฐิ และแสดงเครื่องอัฐบริขารที่ท่านใช้เมื่อยามมีชีวิต รวมทั้งประวัติความเป็นมาตั้งแต่เกิดจนมรณภาพ พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร กำเนิดในสกุลสุวรรณรงค์ เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2442 ที่ตำบลบ้านม่วงไข่ อำเภอพรรณานิคม และได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ 19 ปี ณ วัดโพนทอง จนอายุครบ 20 ปี จึงอุปสมบทในพุทธศาสนาฝ่ายมหานิกาย ต่อมาได้ถวายตัวเป็นลูกศิษย์ติดตามพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ความเป็นมาเจดีย์พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ในคืนวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2520 พระอาจารย์ฝั้น ได้มรณภาพที่วัดป่าอุดมสมพร รวมอายุได้ 78 ปี และหลังจากพระราชทานเพลิงศพท่านเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2521 ที่วัดป่าอุดมสมพร ตำบลพรรณา อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร […]

Read More

วัดป่าสุทธาวาส

วัดป่าสุทธาวาส ไปดูพิพิธภัณฑ์หลวงปู่มั่นและเจดีย์พิพิธภัณฑ์หลวงปู่หลุย ตามรอยธรรมพระเกจิอาจารย์ดังกันค่ะ วัดป่าสุทธาวาสตั้งอยู่ที่ ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร อยู่ในเขตเทศบาลเมืองสกลนคร อยู่ตรงข้ามทางเข้าศูนย์ราชการจังหวัดสกลนคร เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี ของชาวเมืองสกลนครและจังหวัดใกล้เคียง รวมถึงพุทธศาสนิกชน เพราะเป็นวัดที่จำพรรษา มรณภาพ และเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตะเถระ หรือหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ภายในพิพิธภัณฑ์มีรูปหล่อเหมือนเท่าตัวจริง ตู้บรรจุอังคารธาตุ เครื่องอัฐบริขาร พร้อมทั้งประวัติความเป็นมาของพระตั้งแต่เกิดจนมรณภาพ และภายในวัดมีเจดีย์บรรจุอัฐิหลวงปู่หลุย เพื่อเป็นสถานที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชน ภายในบริเวณวัดร่มรื่นด้วยต้นไม้ใหญ่ มีพระอุโบสถที่สวยงาม เด่นเป็นสง่า ซึ่งพระอุโบสถหลังนี้เคยเป็นกุฏิที่พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ได้มรณภาพ และยังเป็นที่ใช้ในการประชุมเพลิงพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ภายในพระอุโบสถมีพระพุทธรูปประจำวัดอาคารหลังนี้ใช้เป็นสถานที่ในการประกอบพิธีทางศาสนาต่างๆ ซึ่งสถานที่แห่งนี้มีความสำคัญและสวยงามมากๆ สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์มั่น ภูริทัตเถระ เนื่องจากวัดป่าสุทธาวาสเป็นสถานที่ในการละสังขารของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ภายในอาคารจึงมีอัฐิธาตุของพระอาจารย์มั่น และการจำลองรูปเหมือนโดยสร้างเป็นหุ่นขี้ผึ้งในท่าขัดสมาธิขึ้น รวมทั้งมีการใช้สถานที่แห่งนี้เป็นพิพิธภัณฑ์เพื่อจัดแสดงเครื่องอัฐบริขาร อาคารนี้ก่อสร้างโดยสถาปัตยกรรมที่เรียบง่าย และดูใกล้ชิดกับธรรมชาติ อันเป็นการสะท้อนถึงการใช้ชีวิตของท่านตลอดทั้งชีวิตการอุปสมบท เจดียจันทสารเจติยานุสรณ์  หรือ เจดีย์พิพิธภัณฑ์หลวงปู่หลุย จันทสาโร ก่อสร้างขึ้นตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยพระองค์ทรงร่างแบบพระราชทานเบื้องต้นในการก่อสร้างอาคารหลังนี้และมีพระราชกระแสรับสั่งว่า “ควรสร้างเจดีย์ที่วัดป่าสุทธาวาส อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ที่วัดนี้ มีอัฐิธาตุของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ […]

Read More

วัดถ้ำพวง

วัดถ้ำพวง ตั้งอยู่บนยอดเขาภูผาเหล็ก บ้านท่าวัด ตำบลปทุมวาปี อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร (เป็นส่วนหนึ่งของวัดถ้ำอภัยดำรงธรรม) ที่วัดแห่งนี้มีพระพุทธรูปปางนาคปรกหน้าตักกว้าง 5 เมตร ไว้ ณ ถ้ำพวง นามว่า “พระมงคลมุจลินท์” และยังมีพิพิธภัณฑ์ พระอุดม สังวรวิสุทธิ หรือ พระอาจารย์วัน อุตฺตโม สร้างเป็นรูปทรงจตุรมุข 2 ชั้น ประดับด้วยหินอ่อนทั้งหลัง ชั้นล่าง ตกแต่งเป็นห้องแสดงภาพวาดเกี่ยวกับประวัติของพระอาจารย์ตั้งแต่เกิด ส่วน ชั้นบน มีรูปปั้นของท่านในท่านั่งขัดสมาธิ พร้อมเครื่องสักการะบูชาที่ตกแต่งสวยงาม และตู้กระจกแสดงเครื่องอัฐบริขารของท่าน ในบริเวณวัดถ้ำอภัยดำรงธรรมยังมีสังเวชนียสถานจำลองสถานที่ประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนา และปรินิพพานจากประเทศอินเดียแห่งเดียวในภาคอีสาน ประวัติการก่อตั้งวัด เดิมทีราว พ.ศ. 2504 พระอาจารย์วัน อุตฺตโม ได้เริ่มก่อตั้งวัดถ้ำอภัยดำรงธรรมและจำพรรษาอยู่ ณ วัดแห่งนี้ จนมีพระภิกษุสามเณรเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ในปี พ.ศ. 2514 ท่านพระอาจารย์วัน อุตฺตโม ได้นำคณะศิษยานุศิษย์ร่วมกันสร้างถนนขึ้นสู่ยอดเขาภูผาเหล็กซึ่งมีถ้ำอีก แห่งหนึ่งมีชื่อว่า “ถ้ำพวง” ด้วยความสามัคคีพร้อมเพรียงแห่งแรงศรัทธา ได้ร่วมกันสร้างถนนจนเสร็จเรียบร้อยเป็นระยะทางรวมทั้งสิ้น 5 […]

Read More

วัดถ้ำพระพุทธไสยาสน์

วัดถ้ำพระพุทธไสยาสน์  ไปกราบพระพุทธรูปเก่าแก่ เสริมศิริมงคลให้ชีวิตกันค่ะ วัดถ้ำพระพุทธไสยาสน์ หรือ ถ้ำพระทอง หรือ ภูผาทอง ตั้งอยู่ที่บ้านโคกตาดทอง หมู่ที่ 5 ตำบลค้อเขียว อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร ห่างจากที่ว่าการอำเภอวาริชภูมิประมาณ 9 กิโลเมตร บริเวณถ้ำมีลักษณะนำเพิงหิน มาดัดแปลงก่อสร้างเพิ่มเติมเป็นศาลาการเปรียญ บริเวณใกล้ถ้ำมีหินธรรมชาติรูปร่างแปลก ๆ มากมาย ถ้ำพระพุทธไสยาสน์ (ถ้ำพระทอง หรือ ภูผาทอง) ตั้ง อยู่ที่ตำบลค้อเขียว ห่างจากที่ว่าการอำเภอวาริชภูมิประมาณ 9 กิโลเมตร บริเวณถ้ำมีลักษณะนำเพิงหิน มาดัดแปลงก่อสร้างเพิ่มเติมเป็นศาลาการเปรียญ บริเวณใกล้ถ้ำมีหินธรรมชาติรูปร่างแปลก ๆ มากมายวัดถ้ำพระพุทธไสยาสน์ วัดถ้ำพระพุทธไสยาสน์ มีโบราณวัตถุที่สำคัญ ได้แก่ พระพุทธรูปแกะสลักด้วยหินบนผนัง ศิลาจารึกอักษรโบราณ พระพุทธไสยาสน์ พระนาคปรก พระพุทธรูปเก่าแก่ ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ โรงย้อม โรงครัว ศาลาเอนกประสงค์ เรือนรับรองผู้มาแสวงบุญ ถังเก็บน้ำฝน ซึ่งปัจจุบันท่านเจ้าอาวาสท่านได้เก็บไว้ในพระธาตุหิน เนื่องจากมีคนมาขโมยโบราณไปหลายชิ้นจึงต้องมีการเก็บรักษาได้เป็นอย่างดี เพื่อคงไว้เพื่อชั่วลูกชั่วหลาน วัดถ้ำพระพุทธไสยาสน์ […]

Read More

วัดถ้ำขาม

วัดถ้ำขาม  ไปเดินตามรอยบุญของหลวงปูฝั้นและหลวงปู่เทสก์กันค่ะ  วัดถ้ำขามหรือภูขาม  ตั้งอยู่ที่ อ.พรรณานิคม จังหวัดสกลนคร บนสันเขาภูพาน มีบรรยกาศร่มรื่นงดงาม เดิมเป็นที่ปฏิบัติธรรมของพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ท่านอาจารย์ฝั้นจำพรรษาอยู่ที่วัดนี้จนถึงประมาณ พ.ศ. 2507 ท่านอาพาธจึงได้ไปจำพรรษาที่วัดป่าอุดมสมพร ที่แห่งนี้มีเทสกเจดีย์ เทสรังสีอนุสรณ์ เป็นสถาปัตยกรรม แบบเจดีย์จตุรัสมุข ตามแนวศิลปกรรมอีสานผสมกับอยุธยา ภายในประดิษฐานรูปหล่อสำริดหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี และเก็บอัฐิของพระอาจารย์เทศก์ เทศรังสี ซึ่งมีผู้คนยังมาเดินทางมาสักการะบูชาอยู่เป็นประจำ วัดแห่งนี้พระอาจารย์เทศก์ เทศรังสี ได้มาจำพรรษาจนกระทั่งละสังขาร ณ ที่นี้ เมื่อปี พ.ศ. 2537 ปัจจุบันได้ทำหุ่นเหมือนหลวงปู่เทสก์ หล่อด้วยไฟเบอร์กลาส ในอิริยาบถนั่งเก้าอี้ในกฎิเพื่อจำลองเหตุการณ์ประหนึ่งว่าหลวงปู่ยังมีชีวิตอยู่  และภายในวัดยังมีกุฏิเดิมของหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ที่เคยจำพรรษาอยู่ที่วัดแห่งนี้อีกด้วย ประวัติความเป็นมาของวัดถ้ำขาม ในปี พ.ศ. 2496 พระอาจารย์ฝั้น ยังคงจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าภูธรพิทักษ์ ติดกับถนนเลี่ยงเมือง ทางไปจังหวัดกาฬสินธุ์และอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม และวัดป่าภูธรพิทักษ์ยังติดอยู่กับวัดพระธาตุนารายณ์เจงเวงซึ่งตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ในระหว่างตอนกลางพรรษา พระอาจารย์ฝั้น ได้ปรารภกับลูกศิษย์ท่านได้นิมิตเห็นถ้ำอยู่ทางทิศตะวันตกของเทือกเขาภูพาน ภายในถ้ำนั้นมีแสงสว่างเท่า ๆ กับตะเกียงเจ้าพายุ 2 […]

Read More

พิพิธภัณฑ์ภูพาน

พิพิธภัณฑ์ภูพาน ตั้งอยู่ที่ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร บริเวณติดริมทะเลสาบหนองหาร(ฝั่งหลังโรงเรียนเชิงชุมราษฎร์นุกูล)ภายในแบ่งเป็นห้องจัดแสดง9โซน ดำเนินการก่อสร้างตามยุทธศาสตร์แผนการพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน(สกลนคร นครพนม มุกดาหาร และกาฬสินธุ์)ได้กำหนดให้มีโครงการหนึ่งจังหวัดหนึ่งผลิตภัณฑ์ เพื่อยกระดับโครงสร้างพื้นฐานในการส่งเสริมการท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัด ซึ่ีงในส่วนของจังหวัดสกลนคร ได้จัดทำโคงการก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ภูพาน โดยการก่อสร้างเป็น 4 ระยะ ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 88,801,000บาท เริ่มเปิดบริการตั้งแต่เมื่อเดือนเมษา 2555 อยู่ในความรับผิดชอบของผู้ว่าราชการจังหวัดและต่อมาเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2556 จังหวัดสกลนครได้โอนภารกิจการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ภูพานให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนครเป็นผู้รับผิดชอบ พิพิธภัณฑ์ภูพาน เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ของจังหวัดสกลนคร รวบรวมประวัติต่างๆ ของจังหวัดสกลนคร ไม่ว่าจะเป็น นิทรรศการต่างๆ ประวัติความเป็นมาของจังหวัดสกลนคร ปฎิมากรรมต่างๆ เป็นศูนย์รวมข้อมูลของจังหวัดสกลนคร ในด้านต่างๆ ที่รวบรวมไว้ในที่แห่งนี้ รวบรวมประวัติความเป็นมาของบรรพบุรุษ รวมทั้งศิลปวัฒนธรรม แหล่งประวัติศาสตร์ ตำนานการต่อสู้ ตลอดจนพระอริยสงฆ์ จนกลายเป็นแอ่งธรรมมะ ทั้งนี้พิพิธภัณฑ์ภูพานถือเป็นความภาคภูมิใจของชาวสกลนคร มีการจัดแสดงทั้ง 9 โซน ได้แก่ ห้องโหมโรง ห้องแสดงนิทรรศการมหัศจรรย์ภูพาน ห้องป่าบุ่งป่าทาม ป่าพรุอีสาน ห้องหนองหารกับการตั้งเมืองสกลนคร ห้องคนสกลนคร ห้องอาศิรวาทองค์ราชัน องค์ราชินี [adsense-2] ช่วงเวลาที่เปิดให้บริการ […]

Read More

พิพิธภัณฑ์ไทยโส้

พิพิธภัณฑ์ไทยโส้ และสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ปู่มเหศักดิ์ ตั้งอยู่บริเวณที่ว่าการอำเภอกุสุมาลย์ จ.สกลนคร เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สักการะบูชาของชาวไทยโส้ ซึ่งเชื่อว่าเป็นที่สถิตย์ของเทพซึ่งช่วยคุ้มครองชาวไทยโส้ ในพิพิธภัณฑ์เป็นที่เก็บสิ่งของเครื่องใช้ ของชาวไทยโส้ซึ่งอพยพมาจากฝั่ง ซ้ายแม่น้ำโขง มีแผ่นป้ายเขียนข้อความภาษาของชาวไทยโส้เปรียบเทียบกับภาษาไทย ให้เห็นถึงความแตกต่างของตัวอักษร และสำเนียงการออกเสียง ในพิพิธภัณฑ์เป็นที่เก็บสิ่งของเครื่องใช้ของชาวไทยโส้ซึ่งอพยพมาจากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง มีแผ่นป้ายเขียนข้อความภาษาของชาวไทยโส้เปรียบเทียบกับภาษาไทย ให้เห็นถึงความแตกต่างของภาษาและสำเนียงการออกเสียง เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สักการะบูชาของชาวไทยโส้ ซึ่งเชื่อว่าเป็นที่สถิตย์ของเทพซึ่งช่วยคุ้มครองชาวไทยโส้ ในพิพิธภัณฑ์เป็นที่เก็บสิ่งของเครื่องใช้ ของชาวไทยโส้ซึ่งอพยพมาจากฝั่ง ซ้ายแม่น้ำโขง มีแผ่นป้ายเขียนข้อความภาษาของชาวไทยโส้เปรียบเทียบกับภาษาไทย ให้เห็นถึงความแตกต่างของตัวอักษร และสำเนียงการออกเสียง ประวัติความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์ไทยโส้ สกลนคร เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีหลายกลุ่มชาติพันธุ์เข้ามาตั้งรกรากหรืออพยพเข้ามาอยู่ตั้งแต่ในอดีต กลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งที่อพยพเข้ามาคือ “โส้” ซึ่งมีภาษาพูดและขนบธรรมเนียมประเพณีการประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง โส้เป็นกลุ่มชาติพันธุ์อยู่ในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก ถิ่นที่อยู่อาศัยดั้งเดิมอยู่บริเวณทิศตะวันตกของเทือกเขาอากและลุ่มแม่น้ำตะโปน ต้นน้ำเซบังเหียน ในลาว โส้อพยพเข้ามาในสกลนครมากในช่วง พ.ศ. 2426-2430 เนื่องจากหนีภัยสงครามพวกจีนฮ่อ อำเภอกุสุมาลย์เดิมชื่อ “บ้านกุดขมาน” ตั้งตามชื่อลำห้วยขมานซึ่งมีต้นขมานขึ้นอยู่จำนวนมาก ส่วนคำว่า”กุด” นั้นหมายถึงวังน้ำ สืบเนื่องจากอำเภอกุสุมาลย์มีประชาชนเชื้อสายโส้อาศัยอยู่เป็นจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ในปี พ.ศ.2524 นายสุวัฒน์ แสงสุทธิเศรษฐ์ นายอำเภอกุสุมาลย์คนที่ 7 ร่วมมือกับชาวอำเภอกุสุมาลย์ก่อสร้าง “ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมไทยโส้” ขึ้นเพื่อรวบรวม จัดแสดง และอนุรักษ์เครื่องมือเครื่องใช้ในการดำรงชีพ […]

Read More

พระธาตุศรีมงคล

พระธาตุศรีมงคล ไปไหว้พระธาตุคู่บ้านคู่เมืองของชาวอำเภอวาริชภูมิขอพรเพื่อศิริมงคงในชีวิตกันค่ะ ตั้งอยู่ที่วัดพระธาตุศรีมงคล ตำบลบ้านธาตุ อำเภอวาริชภูมิ สกลนคร ลักษณะเป็นเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยม ยอดแหลม ตกแต่งด้วยศิลปกรรมยุคใหม่ก่ออิฐถือปูนประดับด้วยลายปั้นดินเผา บริเวณฐานเป็นพุทธประวัติของพระพุทธเจ้าสร้างด้วยดินเผาที่สร้างขึ้นครอบพระธาตุองค์เดิม ซึ่งเป็นศิลาแลงที่ชำรุด การคมนาคมสะดวกรถยนต์สามารถเข้าถึงบริเวณวัด ประวัติความเป็นมาพระธาตุศรีมงคล บริเวณที่ตั้งบ้านธาตุแต่เดิมพื้นที่เป็นป่าดง ครั้งแรกได้มีบุคคลกลุ่มหนึ่งมีภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่อำเภอวาริชภูมิปัจจุบันนี้ เดิมเรียกว่า “ เมืองวารี” มีนายเวียงแก โฮมวงศ์ เป็นหัวหน้า พร้อมด้วยหลวงสุวรรณราช (กะยะ) ต้นตระกูลของสกุล “บุญรักษา” นายจันทะ-เนตร โฮมวงศ์ นายเมืองกาง หัศกรรจ์ หลวงแก้ว (ไม่ทราบนามสกุล) นายบุตราช บุญรักษา และนายจันด้วง แก้วคำแสน ได้พากันออกมาหักร้างถางพงไพร เพื่อทำไร่ แต่พอถางลึกเข้าไปก็พบองค์พระธาตุร้างอยู่ในดง จึงชะงักการถากถาง เพราะกลัวอำนาจศักดิ์สิทธิ์ของพระธาตุนี้จะลงโทษ ดังนั้นได้จึงนิมนต์ท่านพระครูหลักคำ ประธานสงฆ์เมืองวารี มาพิจารณา ท่านเห็นว่าสถานที่บริเวณนี้เป็นมงคล เหมาะที่จะสร้างหมู่บ้านได้จึงได้พร้อมใจกันถากถางบริเวณพระธาตุร้างนี้พร้อมทั้งได้ทำบุญอุทิศส่วนกุศลแผ่ไปให้แก่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่รักษาองค์พระธาตุ และได้สร้างวัดตรงนั้น ท่านพระครูหลักคำได้ตั้งชื่อพระธาตุร้างนั้นว่า “พระธาตุศรีมงคล” ตั้งชื่อวัดว่า “วัดธาตุศรีมงคล” เมื่อประมาณ พ.ศ. 2444 และเรียกหมู่บ้านว่า “บ้านธาตุ” จนปัจจุบันนี้ […]

Read More