Month: May 2015

อุทยานพระพิฆเนศ

อุทยานพระพิฆเนศ ตั้งอยู่เลขที่ 24/4 หมู่ที่ 11 ถนนนครนายก-น้ำตกสาริกา ตำบลสาริกา อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ประดิษฐานเทวรูปพระพิฆเนศวรขนาดใหญ่มหึมา ที่มีความสูงถึง 9 เมตร ซึ่งเป็นองค์ปูนปั้นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย จัดสร้างขึ้นโดยพระเดชพระคุณของ “พระราชพิพัฒน์โกศล” หรือ “หลวงพ่อเณร” เจ้าอาวาสวัดศรีสุดารามวรวิหาร เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยคณะศิษย์ที่มีความเคารพนับถือในองค์พระพิฆเนศ โดยท่านพระราชพิพัฒน์โกศลได้รับการถวายที่ดินจำนวน 16 ไร่ จากลูกศิษย์หลวงพ่อภู อดีตเจ้าอาวาสวัดเวฬุราชิน ย่านบางยี่เรือ กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นที่ดินที่ล้อมรอบไปด้วยคลองธรรมชาติ ทั้งนี้เดิมทีท่านตั้งใจจะสร้างที่ดินแห่งนี้ให้เป็นบ้านพักคนชรา แต่จำต้องพักโครงการไปเสียก่อนจนที่ดินถูกทิ้งร้างมาเป็นเวลานาน จนกระทั่งในที่สุดท่านได้เกิดแนวความคิดสร้างเป็นศูนย์ปฏิบัติธรรมขึ้นมา โดยภายในอุทยานฯ แห่งนี้จะมีพระพิฆเนศองค์ใหญ่ 2 ปาง ตั้งอยู่ใกล้กัน ซึ่งนักท่องเที่ยวจะพบกับความสวยงามและความยิ่งใหญ่อลังการอย่างที่ไม่เคยพบเห็นที่ไหนมาก่อน นอกจากนี้ยังมีพิพิธภัณฑ์ที่รวบรวมองค์พระพิฆเนศปางต่าง ๆ จำนวน 108 ปาง ที่ครบสมบูรณ์อีกแห่งหนึ่งของเมืองไทย ตลอดจนมีพระบรมสารีริกธาตุจาก 9 ประเทศ, หอมหาเทพ ซึ่งประดิษฐานมหาเทพสูงสุดทั้ง 3 พระองค์ ได้แก่ พระพรหม พระวิษณุ และพระศิวะ […]

Read More

วัดอัมพวัน

วัดอัมพวัน ตั้งอยู่เลขที่8 บ้านบางอ้อ ตำบลบางอ้อ อ.บ้านนา จ.นครนายก “วัดอัมพวัน” แปลว่าสวนมะม่วง เนื่องจากใน อดีตบริเวณนี้มีต้นมะม่วงป่าขึ้นอยู่มาก วัดอัมพวันสร้างขึ้นสมัยอยุธยาตอนปลาย เคยเป็นวัดร้างสมัยเสียกรุงครั้งที่ 2 ต่อมาสมัย ร.5 ร่วมกันบูรณะวัดนี้ขึ้น เป็นวัดเก่าแก่ริมแม่น้ำนครนายก แวดล้อมด้วยท้องทุ่งมีโบสถ์สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น งดงามน่าชม และมีกุฎิเรือนไทยที่เคยเป็นแพมาก่อน นอกจากนี้มีทิวทัศน์ระหว่างทางไปวัดยังสวยงามเหมาะสำหรับการขี่จักรยานเที่ยว สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด พระอุโบสถวัดอัมพวัน สร้างเมื่อ พ.ศ.2458 เป็นพระอุโบสถขนาดใหญ่ก่ออิฐถือปูนหลังคาหรือเครื่องมุงหลังคาเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ขนาด ความยาว 20.4 เมตร กว้าง 9 เมตร สูง 12 เมตร อยู่ภายในกำแพงแก้ว ยาว 20.4 เมตร กว้าง 11.4 เมตร สูง 50 เมตร ลักษณะโบสถ์มีมุขด้านหน้าหรือด้านตะวันออก และด้านหลังหรือด้านตะวันตก ตรงส่วนมุขทั้งสองด้านมีเลาขนาดใหญ่ รองรับมุขละ 4 ต้น ขนาดเสา 40X40 เซนติเมตร ลักษณะเป็นเสาลบมุม ซึ่งลักษณะเสาแบบที่นิยมใช้มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 […]

Read More

วัดใหญ่ทักขิณาราม

วัดใหญ่ทักขิณาราม ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก วัดแห่งนี้เป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดในจังหวัดนครนายก อ้างอิงโดยหนังสือพระพุทธศาสนาในเอเชียโดยพระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตโต) กล่าวกันว่า เมื่อเกิดสงครามลาวกับฝรั่งเศส สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้กวาดต้อนประชาชนชาวเวียงจันทน์ได้อพยพลงมาทางใต้ของประเทศไทย โดยตัดสินใจลงหลักปักฐานในเขตที่ปัจจุบันคืออำเภอเมือง จังหวัดนครนายก เรียกกันในสมัยนั้นว่า “หมู่บ้านลาว” โดยมีสมาชิกอยู่ประมาณ 300-400 หลังคาเรือน และได้ช่วยกันสร้างวัดแห่งนี้ขึ้นในปีพุทธศักราช 2323 แต่เดิมเรียก “วัดใหญ่ลาว” อย่างไรก็ตามในปีพุทธศักราช 2484 ได้เปลี่ยนชื่อวัดให้เป็น “วัดใหญ่ทักขิณาราม” ที่เรียกจวบจนปัจจุบัน ภายหลัง กรมศิลปากรได้จดทะเบียนให้วัดใหญ่ทักขิณารามแห่งนี้เป็นโบราณสถาน โดยร่วมมือกับทางวัด ทำการบูรณะอุโบสถให้กลับมามีสภาพแบบเดิม เมื่อวันที่ 8 เมษายน แล้วเสร็จเมือวัที่ 4 ตุลาคม ทธศักราช 2546 สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด พระอุโบสถ  มีขนาดกว้าง 6 เมตร ยาว 10.15 เมตร และสูง 10 เมตร ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้วซึ่งสร้างโดยฝีมือช่างชาวเวียงจันทน์ ตัวพระอุโบสถเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ก่ออิฐถือปูน บานประตูเป็นไม้แกะสลักรอบด้านขวามือเป็นรูปยักษ์ถือกระบองชูขึ้นและเท้าเอว หน้าบันไดเป็นไม้แกะสลักรูปเทพพนม กำแพงแก้วมีซุ้มประตูโค้งเลียนแบบศิลปะตะวันออก […]

Read More

วัดท่าช้าง

วัดท่าช้าง เดิมชื่อ วัดคเชนทร์ ตั้งอยู่เลขที่ 60 บ้านย่านซื่อ ตำบลท่าช้าง อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก ฐานะเดิมเป็นสำนักสงฆ์ สร้างโดยชาวจีนต่อมาสมัยพระจุลจอมเกล้า ร.5 พระราชทานเงินสร้างพระอุโบสถมีลักษณะพิเศษคือ มี 5 เสา มีพระพุทธรูปปูนปั้นปรางมารวิชัยขนาดหน้าตัด 3-10 ม.สูง 3-5 ซม. ประตูหน้าต่างมีลายแกะสลักและลายปูนปั้นอย่างสวยงาม คำว่า คเชนทร์ มีความหมายตามบันทึกในพงศาวดารสมัยกรุงศรีอยุธยาว่า เมื่อ พ.ศ.2264 จังหวัดนครนายกมีช้างชุกชุม จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ณ บริเวณย่านซื่อ เคยเป็นท่าช้างของโขลงช้างจากทุ่งดงละคร ไปยังทุ่งอำเภอบ้านนา ต่อมาเปลี่ยนชื่อ วัดคเชนทร์ เป็นวัดท่าช้าง และเปลี่ยนชื่อตำบลย่านซื่อ เป็นตำบลท่าช้าง มาจนถึงปัจจุบันนี้ วัดท่าช้างมีความหมายเกี่ยวข้อง กับช้างมาตั้งแต่ต้น จึงได้ใช้สัญลักษณ์ช้างไว้ที่หน้าอุโบสถหลังเดิม เป็นช้างสามเศียร และตราประทับเป็นรูปช้าง [adsense-2] ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม ททท.สำนักงานภาคกลางเขต 8 จ.นครนายก (037) 311 273 , (037) 311 273 , […]

Read More

วัดทองหลาง

วัดทองหลาง ตั้งอยู่ที่ ตำบลทองหลาง อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก เป็นวัดเก่าแก่ตั้งอยู่ริมคลองชลประทาน ไม่มีใครทราบประวัติความเป็นมาที่ชัดเจน ตั้งอยู่ท่ามกลางดงต้นยางนาที่ร่มรื่นวัดทองหลาง สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งเมื่อ พ.ศ.2200 บนเนื้อที่ 16 ไร่ 2 งาน 15 ตารางวา โดยไม่มีหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้างต่อมาในปี 2461 วิหารหลังเก่าได้ชำรุด นางสิน ภรรยาหมื่นวิเศษภาษาและบุตรธิดา ได้ร่วมกันบูรณะขึ้นใหม่ต่อมาได้สร้างอุโบสถหลังใหม่ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ.2469 พ.ศ.2480 ได้สร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรม ชื่อทองโสภณธรรมวิทยาคาร พ.ศ.2492 วัดทองหลางมีอาคารเสนาสนะประกอบด้วยอุโบสถ สร้างเมื่อ พ.ศ.2469 ศาลาการเปรียญ สร้างเมื่อ พ.ศ.2509 หอสวดมนต์ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2492 กุฏิสงฆ์ จำนวน 4 หลัง วิหาร สร้างเมื่อ พ.ศ.2461 เหนือประตูมีภาพเขียนลายจีนโบราณสวยงามมาก ศาลาอเนกประสงค์ สร้างเมื่อ พ.ศ.2505 ศาลาบำเพ็ญกุศล จำนวน […]

Read More

วัดเขานางบวช(วัดพระพุทธบาทจำลอง)

วัดเขานางบวช(วัดพระพุทธบาทจำลอง) ตั้งอยู่ที่ตำบลสาริกา อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก การสร้างวัดเขานางบวชนั้น สร้างตั้งแต่เมื่อใดไม่สามารถหาหลักฐานการสร้างได้ แต่ มีการเล่าตำนานการสร้างวัดอยู่ 2 ตำนาน คือ ท้าวปาจิตกุมารและนางอรพิม และหญิงหม้ายหนีมาบวชชี และเจริญธรรมจนเป็นที่ศรัทธาของชาวบ้าน ต่อมาประมาณ พ.ศ. 2464 มีพระเถระฉายาว่า พระอมราภิรักขิต สำนักวัดบรมนิวาส กรุงเทพมหานครได้จาริกมาถึงวัดเขานางบวช จึงดำริก่อสร้างมณฑปบนยอดเขานางบวช พร้อมกับหลวงพ่อทา เจ้าอาวาสวัดเขานางบวชร่วมกับชาวบ้านที่ใจบุญ โดยนายอุ่น เชี่ยวชาญ เป็นกำลังสำคัญบอกบุญตามที่ต่าง ๆ ทั้งกำลังคนและกำลังทรัพย์มาก่อสร้างเริ่มก่อสร้างต้นพ.ศ.2464 เมื่อเริ่มพิธีบวงสรวงก็เกิดอัศจรรย์ มีแก้วลูกโตประมาณเท่าฝาบาตรโผล่ขึ้นตรงศาลเพียงตา การสร้างมณฑปนี้ เสียค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 15175 บาท 18 สตางค์ มีบันไดขึ้น 248 ขั้น โดยช่างฝีมือชาวจีนชื่อนายหลา การก่อสร้างได้สำเร็จเมื่อปลาย พ.ศ. 2464 มีงานฉลองเดือน 5 ของทุกปีเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน มีประชาชนจากถิ่นต่าง ๆ ไปทัศนาจร ปิดทองรอยพระพุทธบาทจำลองบนยอดเขานี้เป็นจำนวนมาก ทุกปี ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2500 ผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายกสมัยนั้น (นายชูสง่า ฤทธิประศาสน์) ได้ทำพิธีแห่พระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ […]

Read More

เมืองโบราณดงละคร

เมืองโบราณดงละคร เป็นเมืองโบราณสมัยทวาราวดี ตั้งอยู่ในเขตตำบลดงละคร อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก ห่างจากตัวจังหวัดนครนายกไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 5 กิโลเมตร จุดสูงสุดของเมืองอยู่ที่เนินดินทางด้านทิศตะวันออก สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 34 เมตร เดิมเป็นผืนป่าดงที่เต็มไปด้วยเนินดินซากโบราณ ชาวบ้านเรียกบริเวณนี้ว่าเมืองลับแล มีคนได้ยินเสียงมโหรีเหมือนละครในวังดังออกมาจากป่ารกร้างแห่งนี้บ่อยๆ ทำให้บริเวณนี้ถูกตั้งชื่อว่า “ดงละคร” โดยรัชกาลที่ 5 ได้มาสำรวจพื้นที่นี้และมีวินิจฉัยว่าน่าจะเป็นเมืองของราชินีเขมร ไม่มีใครกล้าเข้ามายุ่งเกี่ยวกับพื้นที่แห่งนี้ จนกระทั่งคนฉะเชิงเทราเข้ามาทำไร่ทำสวน และกรมศิลป์เข้ามาขุดแต่งทำผังเมืองในปี พ.ศ.2531 พื้นที่แห่งนี้ก็ลดความวังเวงลงไปเยอะ กลางเมืองถูกเปลี่ยนเป็นสวนผลไม้ไปเกือบหมด แต่แนวกำแพงเมืองโดยรอบก็ยังคงเป็นเนินป่าที่มีต้นไม้ขึ้นรก ตอนเข้าไปชมเมืองดงละครจะพบศาลไหว้เทวดาผู้ปกปักษ์รักษาพื้นที่อยู่หลายแห่ง เมืองโบราณดงละคร ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 52 ตอนที่ 75 เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478 สิ่งที่น่าสนใจ โบราณสถานหมายเลข 1 โบราณสถานหมายเลข 1 บริเวณทางขวาของภาพในเงาไม้ จะเห็นแท่นอยู่ 2 อัน อยู่ในเขตชั้นนอกของตัวเมืองดงละคร ห่างประตูเมืองชั้นในทางทิศเหนือ 250 เมตร ลักษณะเป็นกำแพงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 12 เมตร มีทางเข้าอยู่ทางทิศใต้ […]

Read More

พุทธสถานจีเต็กลิ้ม

พุทธสถานจีเต็กลิ้ม ตั้งอยู่เลขที่ 111 บ้านบางหอย ตำบลศรีจุฬา อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก ตำบลศรีจุฬา อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก มีเนื้อที่ 180 ไร่ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2547 เพื่อเป็นสถานที่เผยแผ่ปฎิบัติธรรมของประชาชนทั่วไป ก่อสร้างอาคาร ตลอดจนรูปหล่อพระพุทธเจ้า เทพเจ้าองค์ต่าง ๆ และโรงเจ เพื่อให้เป็นที่สาธารณกุศล ให้ประชาชนมาปฎิบัติธรรม ปัจจุบันพุทธสถาน จี เต็ก ลิ้ม อยู่ในความดูแลของมูลนิธิ จี เต็ก ลิ้ม อันเป็นมูลนิธิเพื่อการกุศล ตามเจตนารมณ์ของผู้ก่อตั้ง เป้าหมายอีกประการหนึ่งของพุทธสถาน จี เต็ก ลิ้ม นอกจากเป็นสถานปฎิบัติธรรมแล้วยังได้พัฒนาเพื่อให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว ทางศิลปวัฒนธรรมที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดนครนายก โดยจะเน้นความเป็นธรรมชาติที่ร่มรื่นและยังต้องการให้เป็นที่ศึกษา หาความรู้ เกี่ยวกับ ศิลปวัฒน ธรรมและศาสตร์จีนด้านต่าง ๆ ซึ่งจะมีการจัดกิจกรรม และจัดพิมพ์เอกสารหนังสือ เพื่อเผยแพร่ออกไป ในปี 2547 ทางมูลนิธิได้ดำเนินการพัฒนาพื้นที่และประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนรู้จัก และได้ร่วมกับชมรมอนุรักษ์ และเผยแพร่พุทธศิลป์จีนศาสตร์ ซึ่งเป็นชมรมของผู้ทีความรู้ทางศาสตร์จีนหลายแขนงทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ดำเนินการจัดสร้างรูปหล่อเทพเจ้าแห่งโชคลาภ […]

Read More

พิพิธภัณฑ์อาคาร จปร. 100 ปี

พิพิธภัณฑ์อาคาร จปร. 100 ปี ตั้งอยู่ที่อ.เมือง จ.นครนายก ก่อตั้งเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ.2533 โดยพลเอกหญิงสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จทรงเปิดพิพิธภัณฑ์ จุดประสงค์เพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์แห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว องค์ผู้พระราชทานกำเนิดโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า และเป็นอนุสรณ์แห่งเกียรติประวัติของศิษย์เก่า รร.จปร. สถานที่ตั้งปัจจุบันอยู่บริเวณเขาชะโงก จังหวัดนครนายก งบประมาณการก่อสร้างได้มาจากการบริจาคของนักเรียนนายร้อยทุกรุ่น อาคารจัดแสดงมีความโดดเด่นอยู่ภายในอาคาร ร.ร.จปร. 100 ปี ล้อมรอบด้วยภูมิทัศน์สวยงามจากการจัดสวนบนพื้นที่กว้าง ไกลออกไปมองเห็นเขาชะโงกที่ปกคลุมด้วยต้นไม้เขียวครึ้ม ผู้นำชมคือ พันโทหญิงวชิราภรณ์ ริยาพันธ์ รับหน้าที่เป็นภัณฑารักษ์ การจัดแสดงแบ่งออกเป็น 3 ชั้น ดังนี้ค่ะ ชั้นที่ 1 จัดเป็นห้องบรรยายสรุปกิจกรรมของ รร.จปร. ด้วยระบบมัลติมีเดีย จัดแสดงมุมของ จอมพล ป.พิบูลสงครามประวัติโรงเรียนเท็ฆนิคทหารบก โรงเรียนนายร้อยหญิง เกี่ยวกับ นักเรียนนายร้อยหญิง รุ่นแรกและรุ่นเดียวของโรงเรียนายร้อย และเครื่องแบบนักเรียนนายร้อยต่างประเทศ ชั้นที่ 2 1. จัดแสดงธงชัยเฉลิมพลของหน่วยทหาร 2. จัดแสดงงานเพื่ออนุสรณ์แห่งเกียรติประวัติของศิษย์เก่าที่เคยดำรงตำแหน่งสำคัญทางการเมือง รัฐบุรุษ องคมนตรี , […]

Read More

ผาเดียวดาย

ผาเดียวดาย ออกไปแตะขอบฟ้าอ้าแขนรับแสงตะวันที่ผาเดียวดายกันค่ะ ผาเดียวดาย เป็นจุดชมวิวชื่อดังบนอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ สูงอยู่บนเขาเขียว บริเวณก.ม.ที่ 12 ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จ.นครนายก ชื่อผาเดียวดายนั้นตำนานที่เล่าขานกันมากที่สุด เป็นโศกนาฏกรรมความรักต่างชนชั้นของหญิงสาวฐานะยากจน กับชายหนุ่มหน้าตาดี ซึ่งถูกกีดกันจากครอบครัวฝ่ายชาย แต่ทั้งคู่ก็แอบคบหากันจนฝ่ายหญิงตั้งครรภ์ ทั้งคู่จึงนัดพบที่ผาแห่งนี้เพื่อหนีไปสร้างครอบครัวด้วยกัน เมื่อถึงเวลานัดหมายหญิงสาวมาเฝ้ารออย่างเดียวดาย แต่รอเท่าไหร่ฝ่ายชายก็ไม่มา เมื่อแน่ใจว่าฝ่ายชายผิดสัญญา หญิงสาวเลยกระโจนลงหน้าผาจบชีวิตตัวเอง จึงเป็นที่มาของชื่อผาเดียวดายในเวลาต่อมา เส้นทางขึ้นสู่ผานั้นเต็มไปด้วยมอสและตะไคร่ ที่ขึ้นปกคลุมอยู่ทั่วไปตามต้นไม้และโขดหิน โดยบริเวณนี้จะพบนกบนที่สูงหลายชนิด เช่น นกปรอดดำ นกเปล้าหางพลั่ว นกแซงแซวหางบ่วงเล็ก เมื่อถึงยอดผาก็จะมองเห็นภูเขาร่มขวางอยู่เป็นแนวยาว ตลอดจนทิวทัศน์ที่สวยงามด้าน จ.ปราจีนบุรี นอกจากนี้ ยังเป็นจุดชมพระอาทิตย์ขึ้นที่สวยงามอีกจุดหนึ่ง ด้วยทัศนียภาพที่สวยงาม ผาเดียวดายติดโผโครงการ 12 เดือน 7 ดาว 9 ตะวัน ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ททท. เมื่อพ.ศ.2552 โดยเดือนที่แนะนำให้ไปเที่ยวนั้นคือเดือนสิงหาคม หรือในช่วงฤดูฝน ใช้ชื่อว่า “ชมทุ่งหญ้าข้าวก่ำ ผาเดียวดาย มรดกโลกใกล้กรุงที่ป่าเขาใหญ่” และเวลาที่ดีที่สุดสำหรับการชมวิวคือตอนเช้าก่อน 09.00 น. และช่วงเวลาเย็นหลัง 15.00 น. ความงามของผาเดียวดายทำให้มีทีมโฆษณาใช้พื้นที่แห่งนี้ในการถ่ายทำงานโฆษณาอยู่หลายชิ้น […]

Read More