Month: October 2015

วัดปราสาท

วัดปราสาท ตั้งอยู่ที่หมู่ 2 บ้านปราสาท ตำบลนรสิงห์ อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง เป็นวัดในสมัยกรุงศรีอยุธยาตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2245 สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา สันนิษฐานได้จากใบเสมาและพระพุทธรูป พระประธาน ซึ่งเป็นของเก่าแก่สมัยกรุงศรีอยุธยา จากคำบอกเล่าของผู้รู้บางท่านเล่าว่า วัดปราสาทเดิมเป็นที่ตั้งพลับพลาของกษัตริย์ เมื่อคราวยกทัพมาพักเพื่อต่อต้านข้าศึก วัดปราสาท เดิมชื่อวัดปราสาททอง สร้างขึ้นโดยพระเจ้าปราสาททอง เคยเสด็จมาพักแรม ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อพ.ศ.2240 วัดปราสาท มีวิหารเก่า และปราสาทเป็นเอกลักษณ์ของวัด เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย ฐานรูปโค้งสำเภา ส่วนพระปรางค์ใหญ่สร้างสมัยรัชกาลที่ 3-4 ฝีมือช่างท้องถิ่น จิตรกรรมวัดปราสาท ฝีมือช่างสมัยรัตนโกสินทร์ ยังคงอิทธิพลช่างอยุธยา ภาพเขียนหลังพระประธานเป็นสระใน หิมพานต์และสัตว์ประจำทิศ ส่วนผนังทั้งสองข้างเป็นภาพพระพุทธเจ้าประทับยืนเหนือฐานบัวมีพุทธสาวกยืนถวายอัญชลีอยู่สองข้าง ท้ายวัดมีดงยางขนาดใหญ่อายุร่วมร้อยปี รักษาการเจ้าอาวาส พระครูวินัยธร ปริญญา ฉายา อาสโภ สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด อุโบสถ กว้าง 8.10 เมตร ยาว 15.50 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ.2250 ภายในมีพระพุทธรูป ปางมารวิชัยเป็นประธาน ขนาดหน้าตักกว้าง 2 ศอกคืบ สูง 0.76 […]

Read More

วัดบ้านพราน

วัดบ้านพราน ตั้งอยู่ที่ตำบลศรีพราน อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง สร้างมาตั้งแต่ครั้งใดไม่มีใครทราบ ตามคำบอกเล่าของ หลวงปู่ชัยมงคล แห่งจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเล่าให้ฟังว่า ผู้สร้างวัดบ้านพรานชื่อว่า นายพาน นางเงิน ผู้เป็นสามีภรรยา และนายกระปุกทอง ผู้เป็นบุตร ในระหว่างปีพ.ศ.1684  หลังจากนั้นวัดนี้ได้ถูกทิ้งร้างไปจนต้นไม้ปกคลุมหนาทึบเป็นเวลา 100 กว่าปี ต่อมาพวกนายพรานได้มาตั้งหมู่บ้านขึ้นในบริเวณดังกล่าว จึงช่วยกันบูรณะวัดขึ้นมาใหม่ มีประวัติเล่าต่อกันมาว่าพระพุทธรูปศิลาแลงชื่อหลวงพ่อไกรทองที่ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารนั้นพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เป็นผู้สร้างที่เมืองสุโขทัย แล้วถอดเป็นชิ้นมาประกอบที่วัดบ้านพรานเพื่อให้เป็นพระประธาน แต่ผู้สร้างวัดต้องการสร้างพระประธานขึ้นเอง จึงได้สร้างวิหารเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูป ชาวบ้านเรียกว่า “หลวงพ่อไกรทอง” ไกรหมายถึง จีวร สังฆาฏิ สบงของหลวงพ่อไกรทอง เล่ากันต่อๆมาว่า เมื่อถึงวันดีคืนดี เวลาเที่ยงคืน ไกรจะลุกเป็นไฟสว่าง โชติช่วง บอกนิมิตอันดีต่อผู้พบเห็น เชื่อกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์สามารถคุ้มภัยแก่ผู้ไปสักการะบูชา เหล่าพวกนายพรานจึงพากันขนานนามว่า หลวงพ่อไกรทอง ตราบนั้นมา คืนหนึ่งเป็นคืนวันเพ็ญ เดือน 3 พรานอ่ำ มานั่งรอล่าสัตว์อยู่บริเวณหน้าวิหารซึ่งประดิษฐานองค์หลวงพ่อไกรทอง ตั้งแต่หัวค่ำจนดึกดื่นไม่มีสัตว์แม้แต่ ตัวเดียวผ่านมาในบริเวณนั้นเลยทำให้พรานอ่ำง่วงนอน ขณะครึ่งหลับครึ่งตื่นนั้นเองก็มีเนื้อตัวหนึ่งผ่านมา พอมาถึงหน้าพรานอ่ำเนื้อตัวนั้นก็ร้องทักพรานอ่ำว่า “ อ้าว อ่ำ ” พรานอ่ำตกตะลึงไม่ทันคว้าอาวุธ เนื้อตัวดังกล่าวก็วิ่งหนีหายไป ทางหน้าวิหาร พรานอ่ำเกิดสำนึกบาป เดินเข้ามาที่วิหารวางอาวุธต่างๆเข้ากราบหลวงพ่อไกรทองให้คำมั่นสัญญาว่าต่อไปจะเลิกล่าสัตว์และตั้งใจทำบุญทำกุศล พวกนายพรานคนอื่นๆเห็นนายพรานอ่ำทำเช่นนั้นก็กลับใจทำตามนายพรานอ่ำบ้าง บางคนก็บวชเป็นพระภิกษุในวัดใหญ่เพื่อเป็นการล้างบาป […]

Read More

วัดท่าอิฐ

วัดท่าอิฐ ตั้งอยู่ที่บ้านท่าอิฐ ตำบลบางพลับ อำเภอโพธิ์ทอง จังวัดอ่างทอง วัดนี้สร้างเมื่อปี พ.ศ.2304 บริเวณที่ตั้งเดิมเข้าใจว่าเป็นที่ปั้นเผาอิฐนำไปก่อสร้างวัดขุนอินทประมูล นับว่าเป็นสถานที่ขนอิฐหรือท่าขนอิฐ และเมื่อได้สร้างวัดขึ้นจึงขนานนามว่าวัดท่าอิฐ พระประธานในอุโบสถชาวบ้านเรียกว่า หลวงพ่อเพ็ชร พระประธานในวิหารชาวบ้านเรียกว่า หลวงพ่อขาว เป็นพระพุทธรูปที่สร้างในสมัยอยุธยา ประมาณกว่า 200 ปีมาแล้ว ประดิษฐานอยู่ในวิหารมหาอุต เมื่อเข้าไปในวัดจะมองเห็น พระธาตุเจดีย์ศรีโพธิ์ทอง โดดเด่นสีทองอร่าม สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด พระธาตุเจดีย์ศรีโพธิ์ทอง เป็นเจดีย์รูปแบบศิลปะลังกา-อยุธยา และรัตนโกสินทร์ ลักษณะเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม มองเห็นได้เด่นชัดตั้งแต่ไกล มีกำแพงล้อมรอบ แต่ละทิศมีซุ้มประตูทางเดินเข้าด้านในและมีบันไดเดินขึ้นเจดีย์ได้จนถึงชั้นบนสุด เมื่อเลี้ยวรถเข้ามาในวัดจะเห็นองค์เจดีย์อยู่ตรงกลางล้อมรอบไปด้วยต้นไมู้สูงใหญ่ มีถนนโดยรอบแนวกำแพง มูลเหตุของการสร้างพระธาตุเจดีย์เนื่องจาก ราวพุทธศักราช 2535 พระครูสุคนธศีลคุณ(หลวงพ่อหอม) มีดำริจะสร้างเจดีย์ขึ้นในบริเวณวัด มีความกว้าง 40 เมตร สูง 73 เมตร มีองค์ระฆังและปล้องไฉน 32 ปล้อง เพื่อทดแทนเจดีย์หลังเดิม ซึ่งตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าอุโบสถที่ผุพังไปตามกาลเวลาและเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุส่วนพระศอของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระพุทธรูปปางต่างๆ ประดิษฐานในพระเจดีย์เป็นสมบัติของศาสนาและเพื่อระลึกถึงพระคุณของพระองค์ที่สั่งสอนสัตว์โลกจนเพียบพร้อมไปด้วยศีล สมาธิ ปัญญา ผู้ปฏิบัติ ยิ่งๆ ขึ้นไปจนสามารถบรรลุคุณธรรมตามความสามารถของแต่ละบุคคล ต่อมาราวพุทธศักราช […]

Read More

วัดท่าสุทธาวาส

วัดท่าสุทธาวาส วัดท่าสุวรรณภูมิ ตั้งอยู่เลขที่ 12 หมู่ที่ 2 ตำบลบางเสด็จ อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง อยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาด้านทิศตะวันออกเขตตำบลบางเสด็จ บริเวณวัดร่มรื่นด้วยต้นไม้ขนาดใหญ่และทัศนียภาพสวยงามริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นวัดเก่าแก่แต่โบราณในสมัยอยุธยาตอนต้น กองทัพของสมเด็จพระนเรศวร ฯ เกือบทุกครั้งได้รวมพล กองทัพช้าง กองทัพม้า ไพร่พล แล้วเดินทัพข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ณ บริเวณนี้เพื่อเสด็จไปที่วัดป่าโมกที่อยู่ฝั่งตรงข้าม ในบริเวณวัดที่ด้านหลังพระอุโบสถมีศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถ ประทับนั่งทรงเครื่องกษัตริย์ พระหัตถ์ทั้งสองข้างของทั้งสองพระองค์ กำพระแสงดาบวางพาดอยู่บนพระเพลา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ทรงรับวัดนี้ไว้ในพระราชอุปถัมภ์ มีการจัดสร้างพลับพลาที่ประทับกลางสระน้ำ พระเจดีย์เพื่อแสดงพระพุทธรูปโบราณและโบราณวัตถุต่าง ๆ รวมทั้งพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชและสมเด็จพระเอกาทศรถ ภายในพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง โดยเรื่องที่เขียนในพระอุโบสถนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานลงมาว่าให้เขียนเรื่อง “พระมหาชนก” อันเป็นเรื่องที่พระองค์ทรงมีความผูกพันเป็นพิเศษ เพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงรับสั่งเล่าเรื่องนี้เสมอ ๆ ในส่วนเนื้อเรื่องพระมหาชนกนี้เขียนไว้ที่ฝาผนัง ที่เรียกว่า บนคอสอง หมายถึงผนังส่วนที่อยู่เหนือขอบหน้าต่างทั้งสองด้าน โดยจะเริ่มที่ผนังด้านทิศเหนือซึ่งอยู่ทางซ้ายของพระประธาน แล้วดำเนินเรื่องมาจบในผนังด้านทิศใต้ มาจบเรื่องตรงที่ด้านขวาของพระประธาน ภาพจิตรกรรมภายในพระอุโบสถวัดท่าสุทธาวาสนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเสด็จพระราชดำเนินมาทรงจดพู่กันเขียนภาพต้นมะม่วงในเรื่องพระมหาชนก เมื่อวันที่ 19 […]

Read More

วัดไชโยวรวิหาร

วัดไชโยวรวิหาร หรือ วัดเกษไชโย ตั้งอยู่ที่ หมู่ 3 ตำบลไชโย อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร เดิมเป็นวัดราษฏร์สร้างมาแต่ครั้งใดไม่ปรากฏ มีความสำคัญขึ้นมาในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม ธนบุรี ได้ขึ้นมาสร้างพระพุทธรูปปางสมาธิองค์ใหญ่หรือหลวงพ่อโตไว้กลางแจ้ง องค์เป็นปูนขาวไม่ปิดทอง ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เสด็จฯ มานมัสการและโปรดเกล้าฯให้ปฏิสังขรณ์วัดไชโยขึ้นเมื่อ พ.ศ.2430 แต่แรงสั่นสะเทือนระหว่างการลงรากพระวิหารทำให้องค์หลวงพ่อโตพังลงมาจึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างหลวงพ่อโตขึ้นใหม่ตามแบบหลวงพ่อโต วัดกัลยาณมิตร มีขนาดหน้าตักกว้าง 8 วา 6 นิ้ว สูง (สุดยอดรัศมีพระ) 11 วา 1 ศอก 7 นิ้ว และพระราชทานนามว่า พระมหาพุทธพิมพ์ มีการจัดงานฉลองซึ่งนับเป็นงานใหญ่ที่สุดของจังหวัดอ่างทองในสมัยนั้นและในวิหารที่หันหน้าออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาประดิษฐานรูปหล่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ขนาดหน้าตักกว้าง 5 เมตร สูง 7 เมตร สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. […]

Read More

วัดชัยมงคล

วัดชัยมงคล ตั้งอยู่ที่ถนนเทศบาล 5 ตำบลตลาดหลวง อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง สร้างขึ้นราวปี พ.ศ. 2400 ปลายสมัยรัชกาลที่4 เหตุที่ชื่อว่า วัดชัยมงคล เนื่องจากเป็นจุดแพ้ชนะในการแข่งขันเรือเหนือวัดขึ้นมาไปเป็นวัดสนามชัย ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นการแข่งขันภายในโบสถ์มีภาพจิตรกรรมเขียนขึ้นใหม่ในปัจจุบันโดยนำศิลปสมัยใหม่มาผสมผสาน เช่น การใช้สีสะท้อนเสียง การเขียนแบบเหมือนจริง การให้น้ำหนักสีอ่อนและเข้ม นอกจากนั้นยังมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะการวางภาพ เช่น บนผนังเหนือหน้าต่างเขียนภาพเทพชุมนุมเพียงแถวเดียว หรือ ที่ผนังตรงข้ามองค์พระประธานเขียนภาพพระพุทธเจ้าประทับนั่งบนพุทธบัลลังก์แทนภาพมารผจญ [adsense-2] ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม สำนักงานจังหวัดอ่างทอง โทร. (035) 611 235 , (035) 620 130 ประชาสัมพันธ์จังหวัดอ่างทอง โทร. (035) 620 071 , (035) 613 003 สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดอ่างทอง โทร. (035) 851 015 โทรสาร (035) 851 079 องค์การบริหารส่วนจังหวัดอ่างทอง โทร. (035) 615 […]

Read More

วัดจุฬามณี

วัดจุฬามณี เดิมชื่อวัดจุฬามณีศรีองครักษ์ราษฎร์บำรุง ตั้งอยู่ที่ตำบลองค์รักษ์ อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2375 ช่วงรัชกาลที่ 3 บรรยากาศบริเวณวัดเงียบสงบ ประดิษฐานพระพุทธรูปทองคำ อยู่ในหอสวดมนต์ ทำด้วยโลหะผสมทองคำ 60% เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยแบบสุโขทัยโบสถ์หลังเก่าเป็นสถาปัตยกรรมสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ด้านหน้าอาคารเป็นหลังคายื่นออกมาโดยมีเสารองรับที่หัวเสาแต่ละต้นทำปูนปั้นรูปกลีบบัวประดับ ชาวบ้านเล่าขานกันว่าสมัยกรุงแตก พ.ศ.2310 ชาวบ้านรวมทั้งพระถูกพม่ากวาดต้อนไป ภายหลังพระภิกษุรูปหนึ่งหนีกลับมาได้จึงมาสร้างวัดนี้ วัดมีรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบอยุธยา โดยเฉพาะการเจาะช่องโค้งแหลม ส่วนเจดีย์อาจสร้างยุคหลัง เมื่อคนไทยได้รับอิทธิพลตะวันตกและจีนแล้ว เป็นเจดีย์ที่สูงที่สุดในเมืองอ่างทอง ศาลาการเปรียญสร้างด้วยไม้ สมัยรัชกาลที่ 5 สร้างเป็นแบบหลังคาลดระดับ ไม่มีการตกฝ้าเพดาน ทำให้เห็นโครงสร้างที่ซับซ้อนแสดงให้เห็นถึงปัญญาของช่างพื้นบ้านในอดีต ในการแก้ไขปัญหาระบบโครงสร้างของศาลาที่มีขนาดใหญ่และกว้าง แต่โครงสร้างใช้ไม้ขนาดเล็กกว่าศาลาทั่วไป ซึ่งนับเป็นความคิดริเริ่มเฉียบแหลมมากในการใช้ไม้ที่ขนาดยาวธรรมดาแต่ทำศาลาที่มีขนาดใหญ่ได้ มีสัดส่วนงดงาม เป็นสถาปัตยกรรมที่ควรศึกษาและอนุรักษ์อย่างยิ่ง [adsense-2] ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม สำนักงานจังหวัดอ่างทอง โทร. (035) 611 235 , (035) 620 130 ประชาสัมพันธ์จังหวัดอ่างทอง โทร. (035) 620 071 , (035) 613 […]

Read More

วัดจันทราราม

วัดจันทราราม ตั้งอยู่ที่บ้านช้าง หมู่ที่ 5 ตำบลโคกพุทรา อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง เป็นวัดเล็กๆในชุมชนมีค้างคาวแม่ไก่อยู่อาศัยจนเป็นที่เลื่องลือ วัดจันทารามเป็นวัดเก่าแก่ซึ่งภายในบริเวณวัดแห่งนี้มีต้นไม้ขึ้นหนาแน่นจึงเป็นที่อยู่อาศัยและแพร่พันธุ์ค้างคาวแม่ไก่และนกนานาชนิดมาหลายชั่วอายุคนแล้ว ค้างคาวแม่ไก่นี้จะเป็นค้างคาวที่มีสายพันธุ์ที่มีเอกลักษณ์ผิดแผกแตกต่างไปจากค้างคาวสายพันธุ์อื่นๆที่เราอาจเคยได้เห็นกันมาบ้าง ค้างคาวแม่ได้นี้จะมีขนาดตัวที่ค่อนข้างใหญ่เมื่อเที่ยบกับค้างคาวโดยทั่วไป มีสองสี หัวสีน้ำตาลอ่อนส่วนลำตัว ปีก และขามีสีดำ ซึ่งขาทั้งสองข้างจะมีขนาดยาวถึง 5 นิ้ว และเมื่อได้กางปีกออกอาจวัดความกว้างได้ถึง 80-90 เซนติเมตรได้เลยทีเดียว นับว่าเป็นค้างคาวที่ตัวใหญ่มาก ค้างคาวแม่ไก่เหล่านี้จะออกหากินในเวลากลางคืน ส่วนเวลากลางวันจะห้อยหัวอยู่ตามกิ่งไม้เป็นสีดำมองเห็นแต่ไกลซึ่งผู้สนใจสามารถไปชมได้ในทุกฤดูกาล ซึ่งหลายๆคนอาจมีความเข้าใจและฝังใจมาว่า ค้างคาวเป็นสัตว์ดุร้ายและน่ากลัว แต่ก็คงต้องเปลี่ยนใจเป็นแน่แท้หากได้เห็นความทะเล้นน่าเอ็นดูของเหล่าค้างคาวแม่ไก่แห่งนี้ อย่างไรก็ตามสำหรับผู้มาเยือนก็อาจต้องระวัง ไม่ควรไปทำให้เหล่าค้างคาวที่กำลังห้อยหัวอยู่นั้นแตกตื่นและที่สำคัญควรระวังเวลายืนใต้ต้นไม้ที่บรรดาค้างคาวทั้งหลายกำลังพักผ่อน มิเช่นนั้นอาจโดนค้างคาวทั้งหลายปล่อยก้อนของเสียพร้อมกลิ่นอันอาจไม่พึงประสงค์ใส่ศีรษะโดยไม่ทันตั้งตัวได้ค่ะ สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด อุโบสถ ภายในอุโบสถวัดจันทรารามมีพระประธานคือพระโต พระเพชรหรือหลวงพ่อเพชร วัดจันทรารามขึ้นชื่อลือชาเรื่องความศักดิ์สิทธิ์มานาน หลวงพ่อเพชรเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิเพชรศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้น สร้างจากชาวบ้านบริจาคโลหะหล่อหลอมพระพุทธรูปขึ้นเพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจคนในหมู่บ้าน สังเกตุว่าคนมากราบไหว้ขอพรมักจะนำดอกไม้สดมาสักการะ มีการแสดงลิเกแก้บนหลวงพ่ออยู่เสมอ [adsense-2] ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม สำนักงานจังหวัดอ่างทอง โทร. (035) 611 235 , (035) 620 130 ประชาสัมพันธ์จังหวัดอ่างทอง โทร. (035) 620 071 , (035) […]

Read More

วัดจันทรังษี

วัดจันทรังษี ตั้งอยู่ที่บ้านนา หมู่ 9 ตำบลหัวไผ่ อ.เมือง จ.อ่างทอง สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2446 วัดนี้มีพื้นที่สองฝั่งถนน ฝั่งทิศตะวันออกมีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ประชาชนนิยมเรียกว่า “หลวงพ่อโยก” และฝั่งตะวันตกของถนนเป็นที่ตั้งของพระมหาวิหารจัตุรมุขพระมงคลเทพมุนี(หลวงพ่อสด) องค์ใหญ่ที่สุดในโลก สร้างด้วยโลหะปิดทองคำเหลืองอร่ามทั้งองค์มีความงดงามมาก ขนาดหน้าตักกว้าง 6 เมตร 9 นิ้ว สูง 9.0 เมตร เริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2539 สร้างโดยพระธรรมรัตนากร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดปากน้ำภาษีเจริญเป็นผู้จุดประกายการก่อสร้าง นอกจากนี้ท่านยังได้สร้างองค์สมมุติพระโพธิ์สัตว์อวโลกิเตศวรเจ้าแม่กวนอิม ปางพันมือ สี่หน้า สูง 5 เมตร 8 นิ้ว แกะสลักจากไม้หอมขนาดใหญ่ จากประเทศจีนโดยได้อัญเชิญเข้ามาประเทศไทยประดิษฐาน ณ วัดจันทรังสี ในวันที่ 15 มีนาคม 2552 บริเวณหน้าวิหารมีประติมากรรมปูนปั้นรูปช้างขนาดใหญ่ที่สวยงาม มีประวัติที่เล่าสืบต่อมาว่า สามเณรสงัด สะอาดเอี่ยม ได้ติดตามปรนนิบัติหลวงตาทัยซึ่งพำนักอยู่ในป่าช้าวัดจันทรังษี หลวงตาได้บอกกับสามเณรว่าวัดจันทรังษีมีช้างใหญ่อยู่เชือกหนึ่งเป็นช้างที่สวยงามมาก ชื่อว่าช้างมงคล และต่อไปวัดจันทรังษีนี้จะเจริญรุ่งเรือง ในปัจจุบันวัดจันทรังษีมีความเจิรญสมกับคำพูดของหลวงตาทัย [adsense-2] ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม สำนักงานจังหวัดอ่างทอง โทร. (035) 611 235 , (035) 620 […]

Read More

วัดเขียน

วัดเขียน ตั้งอยู่ที่หมู่ 8 ตำบลศาลเจ้าโรงทอง อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่ง ภายในพระอุโบสถมีภาพเขียนฝาผนังที่งดงามแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับทศชาติชาดก สันนิษฐานว่าเป็นฝีมือช่างสกุลเมืองวิเศษชัยชาญสมัยอยุธยาตอนปลาย ลักษณะภาพคล้ายกับภาพเขียนในพระอุโบสถวัดเกาะและวัดใหญ่สุวรรณาราม จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งอยู่ในยุคสมัยเดียวกัน สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด อุโบสถ อุโบสถหันหน้าไปทางทิศตะวันออก อุโบสถหลังเดิมมีขนาดย่อมก่ออิฐถือปูน มีประตูทางเข้าทางเดียวทางด้านหน้าพระประธาน ส่วนด้านหลังพระประธานเป็นประตูหลอก ผนังด้านข้างมีหน้าต่างข้าละ 3 บาน เป็นหน้าต่างสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ 2 บาน ที่เหลืออีกด้านหนึ่งเป็นหน้าต่างหลอก เสาภายในอาคารเป็นเสาเหลี่ยมติดผนัง บัวหัวเสาร์เป็นหัวกลีบยาวซึ่งเป็นลักษณะของบัวหัวเสาในสมัยอยุธยาตอนปลาย หน้าบันเป็นหน้าบันไม้ขนาดเล็กแกะสลักลวดลายเป็นลายเทพนมและลายกระจังรวน ในคราวที่มีการปฏิสังขรณ์อาคารใหม่หลังจากได้เคยถูกทิ้งร้างมาครั้งหนึ่ง หน้าบันทั้ง 2 ชิ้นได้ถูกรื้อลงและนำไปประกอบกับซุ้มประตูทางเข้าวัดด้านชลประทาน เครื่องบันหลังคาเป็นไม้ มุงด้วยกระเบื้องลอนสีน้ำตาลแดง มีชายคาปีกนกยื่นออกมา 2 ข้าง สลักลวดลายเช่นเดียวกับลายหน้าบัน ใบเสมา อยู่รอบพระอุโบสถ ยอดทรงมงกุฎ มีทับทรวง มีตาเสมา มีเอว มีท้องเสมา เป็นใบเสมาสมัยอยุธยาตอนปลาย เหมือนใบเสมาวัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ อันเป็นของสมัยอยุธยาตอนปลาย เจดีย์เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง สมัยอยุธยาตอนปลาย อยุ่หน้าอุโบสถวัดเขียนทางด้านทิศตะวันออก (หน้าอุโบสถหันออกสู่แม่น้ำเป็นแบบแผนอยุธยาตอนปลายอย่างหนึ่งที่นิยมสร้างเจดีย์อยู่หน้าอุโบสถเช่นเดียวกับวัดพิไชยสงคราม (วัดนอก) สมุทรปราการ วัดสามวิหาร อยุธยา วัดศรีโพธิ์ […]

Read More