หมู่บ้านหัตถกรรมบุทม

หมู่บ้านหัตถกรรมบุทม ไปชมหมู่บ้านหัตถกรรมหวาย ชอบปิ้งผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานจากหวาย งานทำมือฝีมือประณีต ทนทานกันค่ะ หมู่บ้านหัตถกรรมบุทม ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองที อำเภอเมือง ในช่วงนอกฤดูทำนาชาวบ้านจะมีอาชีพพิเศษคือการสานตะกร้าและภาชนะต่าง ๆ ที่ทำจากหวายเส้นเล็ก เรียกว่า “หวายหางหนู” โดยจะไม่ลงแล็คเกอร์ หากใช้ไปแล้วมีเชื้อราให้รักษาโดยใช้ผลมะเฟืองสุกรสเปรี้ยว มะนาว หรือมะกรูดมาถูจากนั้นล้างน้ำให้สะอาดผึ่งแดดให้แห้งภาชนะก็จะมันเงาเหมือนเดิมค่ะ

ประวัติความเป็นมา

บ้านบุทม (เบาะทม) เป็นภาษาเขมร “เบาะ“ แปลว่า ที่ดอนที่เต็มไปด้วยป่า แต่ถูกถากถางทำไร่ และ “ทม“ แปลว่าใหญ่ รวมความว่า ที่รกไปด้วยป่า ถากถางทำไร่ขนาดใหญ่เช่นกัน

บ้านบุทม หมู่ที่ 4 ตำบลเมืองที อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพจักสานหวายเกือบทุกครัวเรือน โดยทำนาเป็นอาชีพหลักและทำจักสานเป็นอาชีพเสริม ที่สามารถทำได้ตลอดฤดูกาล ซึ่งสานมาแล้วกว่า 60 ปี โดยในปี 2473 นายลีง เลิศล้ำและญาติพี่น้องอีก 2 คน ประกอบด้วยนายเหลี่ยม ภาสวัสดี และนายพัน กล้ายิ่ง ได้เรียนรู้การจักสานหวายมาจากเรือนจำจังหวัดสุรินทร์ เมื่อได้รับอิสรภาพจึงได้ประกอบอาชีพจักสานตะกร้าหวายเลี้ยงครอบครัวตลอดมา

ปี 2527 สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ได้ริเริ่มฟื้นฟูหมู่บ้านพัฒนาอาชีพ ชาวบ้านบุทมจึงได้รับการส่งเสริมจักสานหวายเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน เพื่อเสริมรายได้ให้กับครอบครัว โดยการถ่ายทอดความรู้จาก 3 ครอบครัว ขยายสู่ครอบครัวในชุมชนทุกหลังคาเรือน

ต่อมาจึงจัดตั้งกลุ่มโดยได้รับ การสนับสนุนจากสภาสตรีออสเตรีย เป็นเงินจำนวน 48,889 บาท แต่ต้องล้มเลิกไป เนื่องจากชาวบ้านขาดความรู้ ทางด้านการบริหาร การจัดการเรื่องเงินทุนและการตลาด

ปี 2533 อาจารย์สุเทพ ศรีลานุช อาจารย์โรงเรียนบ้านบุทม ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษากลุ่มหัตถกรรมหวายบ้านบุทม ได้เข้าร่วมโครงการวิจัยเครือข่ายการเรียนรู้ของชุมชน สำนักนายกรัฐมนตรี ทำการเก็บข้อมูลด้านอาชีพ การเรียนรู้ของชาวบ้านและได้สรุปผลการวิจัยปี 2535 และได้นัดหมายกลุ่มชาวบ้านมาประชุมที่โรงเรียนบ้านบุทม เพื่อจัดตั้งกลุ่มในปี 2538 สมาชิกเห็นพ้องต้องกันให้จัดตั้งกลุ่มขึ้นมาใหม่ ร่วมกับหัตถกรรมอื่นอีก 3 กลุ่ม จัดตั้งเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์จักสานหวาย

ปัจจุบัน “กลุ่มหัตถกรรมหวายบ้านบุทม” มีสมาชิกเพิ่มขึ้นไม่เพียงเฉพาะบ้านบุทมเท่านั้น แต่ยังมีเครือข่ายอีก 3 ตำบล ในจังหวัดสุรินทร์ รวม 338 คน โดยสมาชิกส่วนใหญ่ใช้เวลาว่างจากการทำนา ก็นั่งทำหวายอยู่ที่บ้าน ช่วงพักผ่อนดูทีวี หลังจากทำเสร็จแล้วก็จะนำมาฝากขายที่กลุ่มฯกันค่ะ

[adsense-2]

จุดเด่นของผลิตภัณฑ์หวายบ้านบุทม

งานทุกชิ้นทำด้วยมือทั้งสิ้น ใช้ลวดลายดั้งเดิม คือ ลายลูกกรง เป็นเอกลักษณ์ที่ทำให้ผลิตภัณฑ์สวยงาม แข็งแรง เพราะใช้หวายทั้งต้น เหมาะกับการใช้งาน รูปแบบดั้งเดิม พัฒนามาสู่ตลาดสากล ใช้หวายเส้นเล็ก (หวายหางหนู) ที่มีความเหนียวและผิวมัน ปัจจุบันหวายบ้านบุทม ได้รับรองมาตรฐานชุมชนจากกระทรวงอุตสาหกรรมเรียบร้อยแล้วค่ะ

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

หมู่บ้านหัตถกรรมบุทม โทร (044) 549 044
สำนักงานจังหวัดสุรินทร์ (044) 512 039
ตำรวจท่องเที่ยว 1155
ตำรวจทางหลวง (045) 515 388
ททท สนง. สุรินทร์ (044) 514 447-8, (044) 518 529
ททท.สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 1 จ.นครราชสีมา (044) 213 666, (044) 213 030
สถานีตำรวจภูธรจังหวัดสุรินทร์ (044) 511 007, (044) 513 555
สถานีรถไฟจังหวัดสุรินทร์ (044) 511 295
สถานีขนส่งจังหวัดสุรินทร์ (044) 511 756
รพ.สุรินทร์ (044) 514 125
รพ.ประสาท (044) 551 295
รพ.สังขะ (044) 571 028
รพ.ลำดวน (044) 541 090
รพ.สำโรงทาบ (044) 569 080
รพ.ท่าตูม (044) 591 126
รพ.รัตนบุรี (044) 599 151
รพ.สนม (044) 589 025
รพ.ศรีขรภูมิ (044) 561 160
รพ.กาบเชิง (044) 559 002
รพ.บัวเชด (044) 579 002
รพ.ชุมพลบุรี (044) 596 040

การเดินทาง

รถยนต์ส่วนตัว ใช้ทางหลวงหมายเลข 226 จากตัวเมืองไปทางอำเภอศรีขรภูมิประมาณ 12 กิโลเมตร

แผนที่

ความเห็น

ความเห็น