ปราสาทหินบ้านพลวง

ปราสาทบ้านพลวง ตั้งอยู่ที่บ้านพลวง ตำบลบ้านพลวง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ เป็นปราสาท”สรุก” หรือศาสนสถานศูนย์กลางประจำชุมชนโบราณ ซึ่งมักจะสร้างขึ้นเป็นหลังเดี่ยว สามหลังหรือห้าหลัง หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ปราสาทหลังกลางจะเป็นที่ประดิษฐาน “ศิวลึงค์” อันเป็นสัญลักษณ์ของศาสนาฮินดูลัทธิบูชาพระศิวะหรือ “ไศวะนิกาย” ในราวพุทธศตวรรษที่ 16 เป็นปราสาทหินขนาดเล็กได้รับการขุดแต่งบูรณะเมื่อปี 2514 – 16 โดยวิธีการ “อนัสติโลซิส” (การรื้อมาและประกอบเป็นจิ๊กซอว์ขึ้นไปใหม่ เสริมโครงสร้างและรากฐานใหม่ หินส่วนไหนขาดก็เติมหินใหม่เข้าไปให้สมบูรณ์ โดยไม่ขัดแย้งกับลวดลายศิลปะเดิมของปราสาท) โดย นาย แวนส์ เรย์ ซิลเดรส นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยคอร์แนล สหรัฐอเมริกา ที่กำลังทำงานวิจัยเรื่องเกี่ยวกับศิลปะตะวันออกสมัยโบราณอยู่ เขาเดินทางสำรวจปราสาทหินมามากมาย ก็ยังไม่ถูกใจ เพราะหลายแห่งเป็นปราสาทแบบ “อโรคยศาลา” จึงไม่มีลวดลายศิลปะการแกะสลักหินให้ศึกษามากนัก จนได้มาพบกับปราสาทหลังหนึ่งในสภาพพังทลาย ทับถมเป็นเนินดินในป่ารกชัฏ ใกล้กับบ้านพลวง

ภาพแรกที่เห็นคือลวดลายของหน้าบันที่อยู่เหนือเนินดิน มีรูปเทพเจ้าสลักอยู่สวยงาม เขาจึงเกิดความสนใจ และต้องการที่จะบูรณะขึ้นมาใหม่ตามแนวคิด “อนัสติโลซิส” ที่นิยมใช้กับการบูรณะปราสาทในช่วงนั้นนายแวนส์ เรย์  ซิลเดรส ได้ทำเรื่องขออนุญาตกรมศิลปากรและได้รับทุนจากมูลนิธิวิจัยโซเดย์ แห่งสหรัฐอเมริกา มาเป็นงบประมาณในการบูรณะปราสาทบ้านพลวงประมาณ 6 แสนบาทในปี 2514

ตัวปราสาท สร้างตามแบบศิลปะแบบบาปวนสร้างด้วยหินทรายสีขาวบนฐานศิลาแลง ล้อมรอบด้วยคูน้ำรูปตัวยู องค์ปราสาทมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 4 x 4 เมตร ฐานศิลาแลงมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขนาดประมาณ 8 x 23 เมตร สันนิษฐานกันว่า ด้วยฐานศิลาแลงขนาดใหญ่เพียงนี้ จึงมีความเป็นไปได้ที่จะมีความตั้งใจสร้างให้มีปราสาท 3 องค์ บนฐานเดียวกัน แต่คงมีเหตุการณ์สำคัญ เช่น สงคราม โรคระบาด ความแห้งแล้ง จึงส่งผลให้การสร้างปราสาทชะงักไป และสังเกตได้จากภาพแกะสลักยังไม่เสร็จ โดยภาพส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องราวของเทพปกรณัมในลัทธิไศวะนิกาย แต่มีการสลักภาพสัตว์ เช่น สลักภาพกระรอกกระแต และกวางป่าไว้เหนือใบระกาด้านต่อดอกพันธุ์พฤกษา ซึ่งไม่ปรากฏในปราสาทแห่งใด

ปราสาทมีประตูทางเข้าเพียงทางเดียว อีกทางด้านเป็นประตูหลอก ทับหลังด้านตะวันออกและด้านใต้สลักภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ทับหลังด้านทิศเหนือสลักเป็นภาพพระศิวะปราบนาคกาลิยะ ส่วนทับหลังด้านตะวันตกยังไม่ได้สลักภาพใดๆ

ได้มีการสันนิษฐานได้ว่าปราสาทแห่งนี้น่าจะเป็นการ สร้างขึ้นเพื่อถวายแด่องค์พระอินทร์ และจากลักษณะของฐานรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดใหญ่ มีพื้นที่ทางด้านข้างขององค์ปรางค์เหลืออยู่มาก สันนิษฐานว่า แผนผังที่แท้จริงของปราสาทแห่งนี้น่าจะประกอบด้วยปรางค์สามองค์สร้างเรียงกัน แต่อาจยังสร้างไม่เสร็จหรืออาจถูกรื้อออกไปอย่างใดอย่างหนึ่งก็เป็นได้

ช่วงเวลาที่เปิดให้เข้าชม  เปิดให้ชมทุกวัน เวลา 08:00-16:00 น.

อัตราค่าเข้าชม ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท
[adsense-2]
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

สำนักงานจังหวัดสุรินทร์ (044) 512 039
ตำรวจท่องเที่ยว 1155
ตำรวจทางหลวง (045) 515 388
ททท.สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 1 จ.นครราชสีมา (044) 213 666, (044) 213 030
สถานีตำรวจภูธรจังหวัดสุรินทร์ (044) 511 007, (044) 513 555
สถานีรถไฟจังหวัดสุรินทร์ (044) 511 295
สถานีขนส่งจังหวัดสุรินทร์ (044) 511 756
รพ.สุรินทร์ (044) 514 125
รพ.ประสาท (044) 551 295
รพ.สังขะ (044) 571 028
รพ.ลำดวน (044) 541 090
รพ.สำโรงทาบ (044) 569 080
รพ.ท่าตูม (044) 591 126
รพ.รัตนบุรี (044) 599 151
รพ.สนม (044) 589 025
รพ.ศรีขรภูมิ (044) 561 160
รพ.กาบเชิง (044) 559 002
รพ.บัวเชด (044) 579 002
รพ.ชุมพลบุรี (044) 596 040

การเดินทาง

รถยนต์ส่วนตัว

ขับรถตามถนนสายสุรินทร์-ปราสาท-ช่องจอม มีทางแยกซ้ายมือเข้าไปอีกประมาณ 900 เมตร มีป้ายบอกทางเข้าไปถึงตัวปราสาทได้โดยสะดวกค่ะ

แผนที่

ความเห็น

ความเห็น