ป้อมพระจุลจอมเกล้า

ป้อมพระจุลจอมเกล้า หรือเรียกสั้นๆว่า “ป้อมพระจุล” ตั้งอยู่ที่ตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ เป็นป้อมปราการทางน้ำ  สร้างขึ้นเมื่อใด ไม่พบหลักฐานแน่ชัด แต่คาดว่าสร้างขึ้นในราวเดือน มีนาคม พ.ศ. 2426 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อป้องกันการรุกรานจากอังกฤษและฝรั่งเศส ซึ่งเป็นชัยภูมิเหมาะสม หากมีเรือรบของข้าศึกบุกเข้ามาทางปากน้ำ ป้อมแห่งนี้สร้างเป็นป้อมปืนใหญ่แบบตะวันตก และได้ติดตั้งปืนใหญ่อาร์มสตรอง 155 มม. จำนวน 7 กระบอกเป็นอาวุธหลักของป้อม ทำให้ป้อมนี้เป็นป้อมปราการของสยามที่ทันสมัยมากที่สุดในเวลานั้น

ป้อมพระจุลจอมเกล้า นอกจากจะเป็นป้อมที่พระองค์ทรงดำริให้สร้างขึ้นแล้ว พระองค์ยังได้ทรงมาทดลองยิงปืนเสือหมอบด้วยพระองค์เอง ในเช้าวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2436 ป้อมพระจุลยังได้ใช้เป็นที่ยิงต่อสู้กับเรือรบฝรั่งเศสในวิกฤติการณ์ ร.ศ. 112 โดยมีพลเรือตรี พระยาชลยุทธโยธินทร์ เป็นผู้บัญชาการรบ

ปัจจุบัน ป้อมพระจุลจอมเกล้าขึ้นตรงกับฐานทัพเรือกรุงเทพ และได้ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อ พ.ศ. 2536 เพื่อเป็นราชานุสรณ์และรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีต่อปวงชนชาวไทยอย่างหาที่เปรียบไม่ได้ และกองทัพเรือได้จัดเป็นพิพิธภัณฑ์เปิดให้ประชาชนเข้าชมด้วย ป้อมพระจุลจอมเกล้าจึงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดสมุทรปราการ

สืบเนื่องจากการเข้ามาของอิทธิพลชาติตะวันตกที่มาล่าอาณานิคมแถบเอเซีย อินโดจีน และการเปิดประเทศญี่ปุ่น ในสมัยรัชกาลที่ 4 นำโดยสหรัฐอเมริกา ทำให้เกิดความเชื่อที่ว่า “คนเอเซีย สู้ฝรั่งไม่ได้” แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า สยามจะไม่มีการป้องกันเกิดขึ้น แม้ว่าป้อมบนสองฟากแม่น้ำเจ้าพระยาเดิม ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 – รัชกาลที่ 4 จะรวมกันแล้วกว่า 20 ป้อม แต่ก็ยังเป็นป้อมโบราณที่ติดตั้งปืนใหญ่แบบเก่า รวมถึงยุทธวิธีที่แต่เดิมใช้รบทางน้ำมาเป็นระยะเวลายาวนานของสยาม นั่นคือการใช้โซ่ขึงปิดทางน้ำทำให้เรือไม่สามารถเคลื่อนไปได้ แต่กลวิธีไม่สามารถใช้ได้อีกต่อไป เมื่อ เรือกำปั่นของฝรั่ง หรือ เรือกลไฟ ซึ่งสามารถเคลื่อนที่ได้ด้วยถ่านหิน ที่ไม่จำเป็นต้องใช้พลังงานลมเหมือนแต่ก่อน นอกจากนี้กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ที่ปรึกษาราชการแผ่นดินของพระเจ้าอยู่หัว ก็ได้กล่าวไว้ว่า “ทางเรือ ไทยยังจะสู้รบฝรั่งเศสไม่ได้” จึงเป็นเหตุผลโดยรวมที่ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นความสำคัญ รับสั่งให้เตรียมการป้องกันกำลังทางเรือให้ดียิ่งขึ้น โดยพระองค์พระทานเงินส่วนพระองค์เป็นจำนวน 10,000 ชั่ง (800,000 บาท) เพื่อให้เร่งการสร้างป้อม และซื้ออาวุธเพื่อป้องกันพระนคร ด้วยความมุ่งมั่นของพระองค์ที่จะดำรงไว้ซึ่งเอกราชของชาติ ให้หลุดพ้นจากการเข้าแทรกแทรงของชาติตะวันตก ตามที่ทรงพระราชหัตถาเลขาถึงเสนาบดีสภาในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2436 ไว้ว่า

สิ่งที่น่าสนใจภายในป้อมพระจุลจอมเกล้า

ปืนเสือหมอบ หรือปืนใหญ่อาร์มสตรอง เป็นปืนใหญ่ขนาด 152/32 มม. สร้างโดยบริษัท เซอร์ ดับบลิวจี อาร์มสตอง (Sir W.G. Armstrong) ประเทศอังกฤษ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดซื้อด้วยพระราชทานเงินพระคลังข้างที่ ซึ่งเป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์ จำนวน 10 กระบอก (ติดตั้งที่ป้อมพระจุลจอมเกล้าจำนวน 7 กระบอก และติดตั้งที่ป้อมผีเสื้อสมุทรจำนวน 3 กระบอก) เมื่อ พ.ศ. 2436 เพื่อใช้ประจำการในป้อมพระจุลจอมเกล้า ลักษณะเด่นคือปืนนี้ถูกติดตั้งในหลุมปืนโดยเฉพาะ การยกปืนเมื่อทำการยิงใช้อากาศ-น้ำมัน เมื่อยิงไปแล้วปืนจะหมอบลง ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ ปืนเสือหมอบ ที่รู้จักกันทั่วไป ในวิกฤติการณ์ ร.ศ. 112 ปืนเสือหมอบเหล่านี้ก็ได้ใช้การต่อสู้กับกองเรือฝรั่งเศสด้วย นอกจากนี้ยังเป็นปืนใหญ่บรรทุกท้ายรุ่นแรกที่มีใช้ในกองทัพเรือ

เรือหลวงแม่กลอง เป็นเรือรบประเภทเรือสลุป ต่อที่อู่เรืออุระงะ เมืองโยะโกะซุกะ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อ พ.ศ. 2479 ขึ้นระวางประจำการเมื่อ พ.ศ. 2480 และปลดระวางประจำการเมื่อ พ.ศ. 2539 รวมระยะเวลาประจำการ 59 ปี นับว่าเป็นเรือรบที่ประจำการยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์กองทัพเรือไทย และเป็นเรือรบที่มีความเก่าแก่เป็นอันดับ 2 ของโลก ได้ผ่านการใช้งานในหน้าที่สำคัญหลายครั้ง เช่น เคยใช้เป็นเรือพระที่นั่งในรัชกาลที่ 8 และรัชกาลที่ 9 ร่วมรบในสงครามมหาเอเชียบูรพา และใช้เป็นเรือฝึกของทหารเรือ ปัจจุบันกองทัพเรือได้ดำเนินการอนุรักษ์และปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑ์เรือรบไทย เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสงานฉลองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี พุทธศักราช 2539 ตั้งอยู่ที่บริเวณริมน้ำปากอ่าวแม่น้ำเจ้าพระยา พื้นที่ใกล้กับพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 5

พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมราชานุสาวรีย์แห่งนี้มีความสง่างามยิ่ง โดยทรงฉลองพระองค์ในชุดจอมทัพเรือ พระหัตถ์ถือกระบี่ นอกจากนี้ภูมิทัศน์โดยรอบยังแวดล้อมไปด้วยแมกไม้นานาชนิดดูร่มรื่น ใต้ฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ เป็นพิพิธภัณฑ์แสดงประวัติความเป็นมาของป้อมพระจุลจอมเกล้าฯ และเหตุการณ์ในสมัย ร.ศ. 122

พิพิธภัณฑ์เรือหลวงแม่กลอง เป็นเรือรบประจำการมีอายุการใช้งานนานที่สุดในกองทัพเรือเป็นเวลากว่า 60 ปี จนกระทั่งกระทรวงกลาโหมได้พิจารณาเห็นว่ามีสภาพทรุดโทรมมากจึงปลดประจำการ เพื่ออนุรักษ์เป็นพิพิธภัณฑ์

อุทยานฯ ประวัติศาสตร์ทหารเรือ จัดสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน เนื่องในวโรกาสที่ทรงมีพระชนม์มายุครบ 6 รอบ ในวันที่ 5 ธันวาคม 2545 สำหรับ อุทยานฯ ประวัติศาสตร์ทหารเรือนั้น ประกอบด้วยอาคารนิทรรศการ จัดแสดงภาพความเสียหายจากการรบ และภาพสู่การพัฒนากองทัพเรือ นอกจากนั้นภายในอุทยานฯ ยังมีการจัดแสดงพิพิธภัณฑ์อาวุธยุทโธปกรณ์กลางแจ้ง รวมทั้งส่วนประกอบต่างๆ ซึ่งแสดงถึงวิวัฒนาการของกองทัพเรือในการป้องกันประเทศตลอดจนบทบาทในการ รักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ซึ่งจัดแบ่งเป็น 5 กลุ่ม คือ
– กลุ่มปืนเสือหมอบ ซึ่งเป็นปืนรุ่นแรกที่บรรจุทางท้ายกระบอก และเป็นอาวุธปืนหลุมที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในช่วง ร.ศ. 112 (พ.ศ.2436)

– กลุ่มปืนและอาวุธสมัยรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6

– กลุ่มปืนและอาวุธในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1, 2 ยุทธนาวีที่เกาะช้าง

– กลุ่มปืนและอาวุธที่กองทัพเรือมีใช้ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงปัจจุบัน

– การจัดแสดงสิ่งก่อสร้างและส่วนประกอบต่างๆ เพื่อแสดงให้เห็นถึงบทบาทของกองทัพเรือในยามสงบ และการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล

นอก จากนั้นยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติในเชิงอนุรักษ์ที่นักท่องเที่ยว สามารถ ชมป่าชายเลนซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของนกกระยาง นกนางนวล ปลาตีน ปูลม หรือปูก้ามดาบ

[adsense-2]

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

สำนักงาน ททท.ภาคกลางเขต 8 โทร. (037) 312 282, (037) 312 284
ททท.สมุทรปราการ (02) 250 5500
จส.100 (02) 711 9151-8 หรือ 1137
สถานีวิทยุ สวพ.91 (02) 562 0033-5 หรือ 1644
สถานีตำรวจภูธรคลองด่าน (02)330 1187-8
สถานีตำรวจภูธรบางบ่อ (02) 338 1199
สถานีตำรวจภูธรบางปู (ย่อย)  (02) 323 3150-2
สถานีตำรวจภูธรบางพลี  (02) 740 3271-6
สถานีตำรวจภูธรบางพลีน้อย  (02) 337 6333
สถานีตำรวจภูธรบางเสาธง (02) 338 1559
สถานีตำรวจภูธรพระประแดง (02) 463 4481-3
สถานีตำรวจภูธรพระสมุทรเจดีย์ (02) 462 7888
สถานีตำรวจภูธรสำโรงใต้ (02) 394 5896-7
สถานีตำรวจภูธรสำโรงเหนือ (02) 758 4932-6
สถานีตำรวจภูธร เมืองสมุทรปราการ (02) 389 5541-7

การเดินทาง

รถยนต์ส่วนตัว ป้อมพระจุลจอมเกล้า ตั้งอยู่บริเวณริมปากแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลแหลมฟ้าผ่า อยู่ห่างจากแยกพระสมุทรเจดีย์ ไปตามถนนสุขสวัสดิ์ เดินทางโดยใช้ทางหลวงหมายเลข 303 ประมาณ 6 กิโลเมตร

รถโดยสารประจำทางปรับอากาศ สาย 20 ป้อมพระจุลฯ-ท่าดินแดง

ความเห็น

ความเห็น