เมืองโบราณดงละคร

เมืองโบราณดงละคร เป็นเมืองโบราณสมัยทวาราวดี ตั้งอยู่ในเขตตำบลดงละคร อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก ห่างจากตัวจังหวัดนครนายกไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 5 กิโลเมตร จุดสูงสุดของเมืองอยู่ที่เนินดินทางด้านทิศตะวันออก สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 34 เมตร เดิมเป็นผืนป่าดงที่เต็มไปด้วยเนินดินซากโบราณ ชาวบ้านเรียกบริเวณนี้ว่าเมืองลับแล มีคนได้ยินเสียงมโหรีเหมือนละครในวังดังออกมาจากป่ารกร้างแห่งนี้บ่อยๆ ทำให้บริเวณนี้ถูกตั้งชื่อว่า “ดงละคร” โดยรัชกาลที่ 5 ได้มาสำรวจพื้นที่นี้และมีวินิจฉัยว่าน่าจะเป็นเมืองของราชินีเขมร

ไม่มีใครกล้าเข้ามายุ่งเกี่ยวกับพื้นที่แห่งนี้ จนกระทั่งคนฉะเชิงเทราเข้ามาทำไร่ทำสวน และกรมศิลป์เข้ามาขุดแต่งทำผังเมืองในปี พ.ศ.2531 พื้นที่แห่งนี้ก็ลดความวังเวงลงไปเยอะ กลางเมืองถูกเปลี่ยนเป็นสวนผลไม้ไปเกือบหมด แต่แนวกำแพงเมืองโดยรอบก็ยังคงเป็นเนินป่าที่มีต้นไม้ขึ้นรก ตอนเข้าไปชมเมืองดงละครจะพบศาลไหว้เทวดาผู้ปกปักษ์รักษาพื้นที่อยู่หลายแห่ง

เมืองโบราณดงละคร ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 52 ตอนที่ 75 เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478

สิ่งที่น่าสนใจ

โบราณสถานหมายเลข 1

โบราณสถานหมายเลข 1 บริเวณทางขวาของภาพในเงาไม้ จะเห็นแท่นอยู่ 2 อัน อยู่ในเขตชั้นนอกของตัวเมืองดงละคร ห่างประตูเมืองชั้นในทางทิศเหนือ 250 เมตร ลักษณะเป็นกำแพงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 12 เมตร มีทางเข้าอยู่ทางทิศใต้ ภายในมีแท่นตั้งสำหรับวางรูปเคารพอยู่ 2 แท่น (คาดว่าเดิมมี 3 แท่น) โดยในการขุดแต่งเมื่อปี 2531-2532 และในการบูรณะเมื่อปี 2536 พบโบราณวัตถุที่สำคัญดังต่อไปนี้

  • เศียรพระพุทธรูปกะไหล่ทอง ศิลปะสมัยทวาราวดี
  • แผ่นทองคำขนาดเล็ก
  • เมล็ดข้าวสารดำ
  • ชิ้นส่วนภาชนะ คาดว่าเป็นหม้อแบบมีสัน ศิลปะทวาราวดี
  • คันฉ่องสำริด อายุราวพุทธศตวรรษที่ 18
  • สันนิษฐานว่าโบราณสถานแห่งนี้เป็นศาสนสถาน สร้างขึ้นก่อนพุทธศตวรรษที่ 18 ใช้เป็นที่ประกอบศาสนกิจของชาวดงละครสมัยโบราณ

โบราณสถานหมายเลข 2
อยู่ในเขตชั้นนอกของตัวเมืองดงละคร ห่างประตูเมืองชั้นในทางทิศเหนือ 250 เมตร ลักษณะเป็นแนวกรอบศิลาแลงกว้าง 3.7 เมตร ยาว 4 เมตร ตรงกลางขุดพบสถูปศิลาแลงรูปทรงกระบอกขนาดใหญ่ซ้อนกัน 2 ชั้น โดยในการขุดแต่งเมื่อปี 2532 พบโบราณวัตถุที่สำคัญดังนี้

  • พระพุทธรูปและแม่พิมพ์ ทำด้วยดินเผา ศิลปะทวาราวดี
  • เครื่องประดับ เช่น แหวน กำไล ตุ้มหู ทำด้วยสำริด แหวนทำด้วยหินสีต่างๆ
  • ลูกปัดแก้ว ลูกปัดหิน ประมาณ 2,000 เม็ด
  • หินแกะลาย คาดว่าเป็นตราประทับ รูปปู รูปช้าง
  • สันนิษฐานว่า อาจเป็นสถูปใช้บรรจุกระดูกของบุคคลสำคัญในเมืองนี้ในสมัยโบราณ หรืออาจเป็นสถูปที่ใช้ในการวางศิลาฤกษ์ เพราะพบของมีค่าหลายอย่างฝังปนอยู่ ลักษณะเดียวกับการฝังลูกนิมิตในปัจจุบัน

คูเมือง ได้มีการขุดคูเมืองเพื่อป้องกันข้าศึก โดยขุดคูผันน้ำจากแม่น้ำนครนายกสายเดิมเข้ามา แต่เนื่องจากแม่น้ำนครนายกได้เปลี่ยนทิศทางการไหลไปแล้ว คูเมืองเดิมจึงตึ้นเขินกลายเป็นแอ่งดินที่มีต้นไม้ขึ้นอยู่แทน

คันดิน ใช้เป็นกำแพงเมือง มีความสูงประมาณ 30 เมตร เดิมมี 2 ชั้น ปัจจุบันเห็นได้แต่ชั้นนอก ชั้นในไม่เหลือร่องรอยให้เห็นได้ชัดแล้ว

สระน้ำ ที่ประตูเมืองทั้ง 4 ทิศ จะมีสระน้ำอยู่ ปัจจุบันเห็นได้แต่ทางทิศเหนือที่ขุดแต่งแล้ว และทางทิศตะวันออก แต่ทางทิศตะวันออกจะมีต้นไม้ขึ้นปกคลุมจำนวนมาก ไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนนัก คาดว่าสระน้ำนี้มีไว้ให้ชำระล้างร่างกายให้สะอาดก่อนเข้าเมือง และป้องกันไม่ให้ข้าศึกเอาซุงมากระทุ้งประตูเมืองได้

บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ บ่อน้ำนี้ตั้งอยู่ในแนวของแม่น้ำนครนายกสายเก่าซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนทิศทางการไหลไปแล้ว บ่อนี้คาดว่าเป็นบ่อที่ขุดเอาศิลาแลงไปใช้สร้างโบราณสถานต่างๆ ในเมืองดงละครสมัยโบราณ ต่อมาได้ถูกทิ้งร้างไปพร้อมกับการล่มสลายของเมืองดงละคร จนกระทั่งปี 2533 มีการเปิดโรงเจสว่างอริยธรรมสถาน มีเรื่องเล่าว่าทางโรงเจได้เชิญร่างทรงมาประทับ ร่างทรงได้มายังบ่อน้ำนี้และให้น้ำไปประกอบพิธี ตั้งแต่นั้นชาวบ้านก็ได้นำน้ำจากบ่อไปกินบ้าง อาบบ้าง เชื่อว่าเป็นสิริมงคงและทำให้หายจากโรคได้ ซึ่งชาวบ้านหลายคนก็ยืนยัน แต่ก็ไม่ได้มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มายืนยัน

อย่างไรก็ตาม ในปี 2542 ทางสำนักพระราชวังได้นำน้ำจากบ่อนี้ไปประกอบพิธีในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

[adsense-2]

ช่วงเวลาที่เปิดให้เข้าชม เมืองโบราณดงละครเปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00-16.00 น. หากต้องการวิทยากรแนะนำ ให้ติดต่อวิทยากรท้องถิ่นซึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้กับโบราณสถานนะคะ โดยจะมีป้ายบอกข้อมูลอยู่ตามตำแหน่งต่างๆ ของโบราณสถานค่ะ

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

ททท.สำนักงานภาคกลางเขต 8 จ.นครนายก (037) 311 273 , (037) 311 273 , (037) 312 284
ประชาสัมพันธ์จังหวัด (037) 313 615 , (037) 313 615
ชมรมการท่องเที่ยวนครนายก (037) 312 282-4
สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมือง (037) 311 285, (037) 311 285 , (037) 311-535
สถานีตำรวจภูธรอำเภอบ้านนา (037) 382 013-4
สถานีตำรวจภูธรอำเภอปากพลี (037) 399 600-1
สถานีตำรวจภูธรอำเภอองครักษ์ (037) 391 301, (037) 391 301
ตำรวจท่องเที่ยว 1155
ตำรวจทางหลวง (หินกอง) (036) 371 222 , (036) 371 222 , (036) 371 970
หน่วยสอบสวนพุแค (036) 222 113 , (036) 222 113
โรงพยาบาลนครนายก (037) 311 219 , (037) 311 219 , (037) 311 239, (037) 311 150
โรงพยาบาลบ้านนา (037) 381 833 , (037) 381 833
โรงพยาบาลปากพลี (037) 399 504 , (037) 399 504
โรงพยาบาลองครักษ์ (037) 391 399 , (037) 391 399
สถานีเดินรถโดยสารประจำทาง (037) 311 932 , (037) 311 932
ศาลากลางจังหวัด (037) 311 273, (037) 311 273

การเดินทาง

รถยนต์ส่วนตัว จากกรุงเทพมหานคร มุ่งหน้ารังสิต และเลี้ยวเข้าถนนรังสิต-นครนายก ขับไปจนถึงแยกสามสาว ให้เลี้ยวขวาขับไปตามทาง ผ่านเขื่อนนายก ข้ามคลองชลประทาน จนกระทั่งถึงวัดดงละคร จะมีป้ายให้เลี้ยวขวาเข้าไปยังเขตเมืองโบราณ

แผนที่

ความเห็น

ความเห็น