Category: ความเป็นมาของโครงการอาหารเหนือ

วัฒนธรรมการรับประทานอาหารของชาวล้านนา

ชาวล้านนานิยมรับประทานพืชที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ อาจจะเป็นผักป่า หรือว่าผักข้างรั้ว กินข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก นิยมปรุงอาหารโดยไม่ใส่น้ำตาล มีรสเค็มนำและเผ็ดเล็กน้อย ใช้กะทิปรุงน้อยกว่าภาคกลาง นิยมแกงแบบน้ำขลุกขลิก และน้ำพริกต่างๆก็ค่อนข้างแห้ง เพราะชาวล้านนารับประทานด้วยวิธีปั้นข้าวเหนียวเป็นก้อนเล็กๆ แล้วจิ้มลงไปในน้ำแกง [adsense-2] ผักป่า เป็นผักที่ได้มาจากป่า หรือจากแพระ (ป่าละเมาะ) ในฤดูร้อน ได้แก่ ปลีกล้วย ยอดมะขาม ยอดมะม่วง ผักเสี้ยว ผักเฮือด ในฤดูฝน จะมีอาหารจากป่ามาก เช่น หน่อไม้ เห็ด ผักหวาน ผักปู่ย่า ในทุ่งนามีผักสีเสียด ผักกาดนา หรือผักจุมปา ผักแว่น ผักบุ้ง เป็นต้น การจัดสำรับอาหาร จัดใส่ขันโตกหรือโก๊วะข้าว ทำมาจากไม้ นิยมใช้ไม้สักในการทำขันโตก ปัจจุบัน มีการนำเอาหวายมาสานเป็นขันโตกด้วย   (มณี พยอมยงค์, 2548, 460)   ในงานทำบุญใหญ่ เช่น งานปอยหลวง งานปอยหน้อย หรืองานบวชเณร งานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ หรือจะเป็นงานศพ […]

Read More

ความเป็นมาของโครงการ

[adsense-2] สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตระหนักถึงความสำคัญของการเป็นศูนย์ข้อมูลท้องถิ่นภาคเหนือ โดยจัดให้เป็นหนึ่งในพันธกิจหลักของสำนักหอสมุด มีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นศูนย์ข้อมูลท้องถิ่นภาคเหนือที่พร้อมให้บริการ ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนการเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ของประชาคมในมหาวิทยาลัย และสังคมภาคเหนือ ในปีงบประมาณ 2550 สำนักหอสมุดได้กำหนดแนวคิดในการให้บริการข้อมูลภาคเหนือ ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย จึงได้ร่วมมือกับสำนักบริการคอมพิวเตอร์ ในการจัดทำและเผยแพร่ข้อมูลภาคเหนือในรูปแบบ e-Northern Information ในลักษณะมัลติมีเดีย และได้กำหนดเป็นกิจกรรมหนึ่งในโครงการบูรณาการห้องสมุดที่มีชีวิต (Living Library) เพื่อพัฒนาสังคมการเรียนรู้ โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ 2550 เป็นต้นไป ในปีงบประมาณ 2550 นี้ สำนักหอสมุดและสำนักบริการคอมพิวเตอร์ได้ร่วมกัน จัดทำและเผยแพร่ข้อมูล “อาหารพื้นบ้านล้านนา” บนเว็บไซต์ของศูนย์สนเทศภาคเหนือ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ http://library.cmu.ac.th/ntic/lannafood เพื่อเผยแพร่ข้อมูลภาคเหนือ และอนุรักษ์ สืบสาน พัฒนา เผยแพร่เอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาล้านนา ตลอดจนดำเนินงานด้านบริการสารนิเทศที่สนองต่อนโยบายอาหารปลอดภัย (Food safety) ของรัฐบาล ในรูปแบบที่สามารถค้นหาข้อมูลได้ในรูปมัลติมีเดีย อย่างสะดวกรวดเร็ว ทุกที่ทุกเวลา และเผยแพร่ได้อย่างกว้างขวาง ในการเผยแพร่ข้อมูลครั้งนี้ คณะทำงานได้รวบรวมอาหารพื้นบ้านล้านนาจากผู้รู้ด้านอาหารพื้นบ้านในท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 29 […]

Read More