กู่กาสิงห์

กู่กาสิงห์ ตั้งอยู่ในวัดบูรพากู่กาสิงห์ ตำบลกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นโบราณสถานที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะแบบเขมร สร้างขึ้นตามคติความเชื่อทางศาสนาฮินดู ลัทธิไศวะนิกาย โดยนับถือพระศิวะเป็นเทพเจ้าสูงสุดจากการศึกษาลวดลายหน้าบัน ทับหลังและลวดลายอื่นๆ ทราบว่าตรงกับสมัยศิลปะเขมรแบบบาปวน อายุราว พ.ศ. 1550 – 1630 การเรียกชื่อ โดยทั่วไปยังไม่มีหลักฐานยืนยันว่าขอมเรียกโบราณสถานแห่งนี้ว่าอย่างไร แต่ภาษาที่ใช้เรียกชื่อเป็นภาษาไทย จึงเชื่อว่าคำว่า“กู่กาสิงห์”เป็นคำที่คนไทยลาวได้ตั้งชื่อขึ้นใหม่โดยคำว่ากู่เป็นคำที่ใช้เรียกโบราณสถานที่มีลักษณะคล้ายสถูปหรือเจดีย์เก่าแก่ในอีสานตอนกลาง คำว่ากาน่าจะมาจากรูปพระยาครุฑหรือนกอินทรีย์ที่เคยปรากฏอยู่ที่กู่นอกจากนี้คำว่ากายังเป็นคำในภาษาถิ่นตรงกับคำในภาษาไทยกลางคือคำว่าตราซึ่งแปลว่าเครื่องหมาย ส่วนคำว่าสิงห์ เป็นคำใช้เรียกรูปประติมากรรมสิงห์ที่เคยมีตั้งไว้ประตูทางเข้ากู่ ดังนั้นกู่กาสิงห์จึงหมายถึงโบราณสถานที่มีรูปกาและ สิงห์เป็นเครื่องหมาย

กู่กาสิงห์ ประกอบด้วย ปรางค์ 3 องค์ ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงเดียวกัน มีวิหารหรืออาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่เรียกว่าบรรณาลัย อยู่ทางด้านหน้าทั้งสองข้าง ทั้งหมดล้อมรอบด้วยกำแพงซึ่งมีซุ้มประตูทั้ง 4 ทิศ ถัดออกไปเป็นคูน้ำรูปเกือกม้าล้อมรอบอีกชั้นหนึ่ง ปรางค์ประธานหรืออาคารหลักที่มี 3 องค์นั้น ตั้งเรียงอยู่บนฐานเดียวกันในแนวเหนือ-ใต้ แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ปรางค์องค์กลางมีขนาดใหญ่กว่าอีก 2 องค์ที่ขนาบข้าง และมีมุขยื่นทางด้านหน้าเป็นห้องยาว มีประตูทางเข้า 3 ทาง คือด้านหน้าและด้านข้างของห้องยาวทั้งสอง ส่วนฐานขององค์ปรางค์ก่อด้วยศิลาทรายยังคงปรากฏลวดลายสลักเป็นชั้นเป็นแนว เช่น ลายกลีบบัวและลายกนก ผนังก่ออิฐ ที่ห้องในสุดหรือส่วนครรภคฤหะได้ค้นพบศิวลึงค์ ซึ่งเป็นตัวแทนของเทพสูงสุด (พระอิศวร) และความอุดมสมบูรณ์ตามลัทธิความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย นอกจากนี้ยังพบทับหลังอีกหลายชิ้น ชิ้นหนึ่งสลักเป็นภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณในซุ้มเรือนแก้ว โดยยืนอยู่เหนือหน้ากาล ซึ่งมีมือยึดจับท่อนพวงมาลัยอีกทีหนึ่ง และยังได้พบซุ้มหน้าบันสลักเป็นภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณท่ามกลางลายก้านขดอีกด้วย ส่วนปรางค์อีก 2 องค์ที่ขนาบนั้น มีขนาดและลักษณะเดียวกัน ฐานก่อด้วยศิลาทราย ผนังก่ออิฐมีประตูเพียงด้านหน้า ภายในมีแท่นรูปเคารพวางอยู่จากลวดลายของศิลปกรรม แบบแผนผังและโบราณวัตถุที่พบแสดงให้ทราบว่า กู่กาสิงห์สร้างขึ้นในแบบศิลปะเขมรที่เรียกว่า “แบบบาปวน” อายุราว พ.ศ. 1560-1630 เพื่อเป็นเทวสถานอุทิศถวายแด่พระอิศวร เทพเจ้าสูงสุดองค์หนึ่งในศาสนาพราหมณ์

[adsense-2]

ประวัติควาเมป็นมา

มีหมู่บ้านสองหมู่บ้าน หมู่บ้านแรกชื่อบ้านกู่กาสิงห์และอีกหมู่บ้านหนึ่งซึ่งอยู่ห่างกัน12กิโลเมตรทั้ง2หมู่บ้านนี้เป็นหมู่ที่ทำมาหากินแข่งขันกันหมู่บ้านกู่กาสิงห์ขึ้นกับอำเภอเกษตรวิสัยอยู่ติดเขตแดนอำเภอสวรรณภูมิบ้านกู่พระโกนาขึ้นกับอำเภอสุวรรณภูมิซึ่งหมู่บ้านนี้มีแต่ผู้หญิงเป็นส่วนมาก ส่วนบ้านกู่กาสิงห์ก็มีผู้ชายเป็นส่วนมากเหมือนกัน อาชีพทั้งสองหมู่บ้านก็เป็นอาชีพทำไร่ไถนา บ้านกู่กาสิงห์และบ้านกู่พระโกนาเป็นหมู่บ้านมีอาณาเขตทุ่งกว้างใหญ่ไพศาลมากเนื้อที่กว้างไกลหลายพันไร่ แต่สมัยก่อนทุ่งกุลาที่อยู่ในเขตบ้านกู่กาสิงห์ จะไม่มีต้นไม้เลย เพราะแห้งมากผู้คนอดอยากส่วนบ้านกู่พระโกนาเป็นหมู่บ้านที่มีต้นไม้อุดมสมบูรณ์โดยเฉพาะต้นยาง(ไม้เนื้อแข็ง)เป็นป่าไม้หนาและต้นสูงมาก ทั้งสองหมู่บ้านทำมาหากินแข่งกันทุกเรื่องต่อมาวันหนึ่งทั้งสองหมู่บ้านทะเลาะกันอย่างรุนแรง จึงได้ท้าพนันกันและตกลงกันว่าทั้งสองฝ่ายจะสร้างกู่ประจำหมู่บ้านเพื่อไว้เป็นอนุสรณ์สถานที่ทำกิจกรรมทางศาสนาเวลาเข่งขันต้องเป็นเวลากลางคืนเท่านั้น

หมู่บ้านกู่พระโกนาอยู่ทางทิศตะวันออกขึ้นเขตสุวรรณภูมิ ส่วนบ้านกู่กาสิงห์อยู่ทางทิศตะวันตกขึ้นเขตอำเภอเกษตรวิสัย และกติกาการแข่งขันก็ตกลงกันว่าเริ่มแข่งขันตั้งแต่หัวค่ำจนกว่าตะวันขึ้นโพล่พ้นขอบฟ้า ตะวันขึ้นเมื่อไหร่ก็ให้หยุดสร้างกู่ทันทีใครสร้างเสร็จในกำหนดเวลาก่อนฝ่ายนั้นชนะ กู่กาสิงห์จะมีแต่ผู้ชายที่สร้าง แต่กู่พระโกนาจะมีแต่ผู้หญิงสร้างกู่พระโกนา จนมาถึงวันแข่งขันทั้งสองฝ่ายก็เกณฑ์ชาวบ้านออกมาช่วยกันสร้างกู่เต็มที่เพื่อต้องการชัยชนะ จนใกล้กำหนดวันแข่งขัน ซึ่งมีเวลากำหนด 15 วันตามวันข้างขึ้น พอฝ่ายใดเห็นดวงจันทร์ขึ้นในวันสุดท้ายต้องหยุดการสร้างกู่ทันที่ แต่ฝ่ายสร้างกู่พระโกนาก็ใช้แผนโยการนำตะเกียงมีไฟส่องสว่างมากจนเหมือนพระจันทร์เต็มดวง ไปไว้บนต้นยางใหญ่และสูงที่สุด ฝ่ายสร้างกู่กาสิงห์คิดว่าเป็นวันสิ้นสุดการสร้างเลยหยุดสร้าง ส่วนฝ่ายสร้างกู่พระโกนาก็สร้างต่อจนเสร็จตามกำหนดวัน กู่กาสิงห์เป็นฝ่ายแพ้ในการสร้างกู่เนื่องสร้างหยุดสร้างกลางคัน หินที่ใช้สร้างกู่มีรูทุกก้อนเพราะคนสมัยก่อน ชาย-หญิงเป็นคนแปดศอกนำไม้มาเซาะก้อนหินให้เป็นรูเพื่อจะได้หาบมาสร้างกู่ได้จากนั้นมาก็ได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “กู่กาสิงห์”

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

ททท.สนง.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 3 จ.ขอนแก่น
โทร. (043) 244498-9
ตำรวจทางหลวง ส.ทล. กก.6 จ.ร้อยเอ็ด โทร. (043) 569091
ไปรษณีย์จังหวัด โทร. (043) 511306
สถานีขนส่งจังหวัด โทร. (043) 511466
สถานีตำรวจภูธร อ.เมือง โทร. (043) 511766
โรงพยาบาลเกษตรวิสัย โทร. (043) 589073-4
โรงพยาบาลจตุรพักตร์พิมาน โทร. (043) 561073-4
โรงพยาบาลธวัชบุรี โทร. (043) 514294
โรงพยาบาลปทุมรัตน์ โทร. (043) 587073-4
โรงพยาบาลพนมไพร โทร. (043) 591321
โรงพยาบาลโพธิ์ชัย โทร. (043) 567073-4
โรงพยาบาลโพนทราย โทร. (043) 595073-4
โรงพยาบาลโพนทอง โทร. (043) 571321
โรงพยาบาลเมยวดี โทร. (043) 577073-4
โรงพยาบาลเมืองสรวง โทร. (043) 597074-5
โรงพยาบาลร้อยเอ็ด โทร. (043) 511754, 511205
โรงพยาบาลสุวรรณภูมิ โทร. (043) 581323
โรงพยาบาลเสลภูมิ โทร. (043) 551322
โรงพยาบาลหนองพอก โทร. (043) 579073-4
โรงพยาบาลอาจสามารถ โทร. (043) 599073-4

การเดินทาง

รถยนต์ส่วนตัว

สามารถเดินทางได้ 2 เส้นทาง คือ

เส้นทางที่ 1 ใช้เส้นทางร้อยเอ็ด – เกษตรวิสัย ทางหลวงหมายเลข 214 ระยะทาง47 กิโลเมตร เดินทางต่อไปตามทางหลวงสายเกษตรวิสัย- สุวรรณภูมิ ประมาณ 10 กิโลเมตร มีทางแยกขวากู่กาสิงห์ เป็นระยะทางอีก 10 กิโลเมตร

เส้นทางที่ 2 ร้อยเอ็ด- สุรินทร์(ทางหลวงหมายเลข 215 ต่อด้วย 214) ระยะทาง 60 กิโลเมตร ถึงวัดกู่พระดกนา ด้านตรงข้ามวัดที่มีทางแยกไปก่กาสิงห์ เป็นระยะทางอีก 18 กิโลเมตร

แผนที่

ความเห็น

ความเห็น