วัดเจติยาคีรีวิหาร(ภูทอก)

วัดเจติยาคีรีวิหาร หรือ วัดภูทอก ตั้งอยู่ที่บ้านคำแคนพัฒนา หมู่ที่ 6 ตำบลนาแสง อำเภอศรีวิไล จังหวัดหนองคาย มีขนาดความสูง โดยวัดจากฐานถึงยอด 460 เมตร มีบันไดเรียงขึ้นตามชั้นต่าง ๆ 7 ชั้น และฐานชั้นที่ 6 วัดโดยรอบได้ 800 เมตร เป็นหน้าผาสูงชัน

ภูทอก ในภาษาอีสานแปลว่า ภูเขาที่โดดเดี่ยว ภูทอก มี 2 ลูก คือภูทอกใหญ่และภูทอกน้อยส่วนที่นักแสวงบุญและ นักท่องเที่ยวทั่วไปสามารถชมได้คือ ภูทอกน้อย ส่วนภูทอกใหญ่อยู่ห่างออกไป ยังไม่เปิดให้นักท่องเที่ยวชม ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้น การเดินเท้าขึ้นสู่ยอดภูทอก จุดเด่นของภูทอกก็คือ สะพานไม้และบันไดขึ้นชมทัศนียภาพรอบ ๆ ภูทอก ใช้เพียงแรงงานคนสร้าง บรรไดเวียน ไปมา รอบภูทอกแบบ 360 ซึ่งมีทั้งหมด 7 ชั้น ใช้เวลาในการก่อสร้างนานถึง 5 ปีเต็มจากชั้น 1-7 จะมีบันไดไม้ให้ เดินแบบตรงทอดยาว จนถึงจุดสูงสุดของยอดภูทอก และตั้งแต่ชั้นที่ 3 เป็นต้นไปนักท่องเที่ยวสามารถเดินชม แบบสะพานเวียน รอบเขา ซึ่งจะได้เห็นมุมมองที่แตกต่างไปเรื่อย ๆ บันไดที่ทอดขึ้นสู่ยอดภูทอกนี้เปรียบเสมือนเส้นทางธรรมที่น้อมนำ สัตบุรุษ ให้พ้นโลกแห่งโลกียะสู่โลกแห่งโลกุตระหรือโลกแห่ง การหลุดพ้นด้วยความเพียรพยายามและมุ่งมั่น

วัดเจติยาคิรีวิหาร หรือ ภูทอก ตั้งขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 2483 โดยพระอาจารย์จวน กุลเชฎโฐ ได้มาบำเพ็ญเพียรอยู่ที่ภูวัว อำเภอเซกา จังหวัดหนองคาย คืนหนึ่งได้เกิดนิมิตรขึ้นเห็นปราสาท 2 หลัง ลักษณะสวยงามมากอยู่ทางด้านภูทอกน้อย ดังนั้นพระอาจารย์จวนกุลเชฎโฐ จึงได้เดินทางมาพิสูจน์ตามที่เกิดนิมิตร และได้พบลักษณะภูมิประเทศที่สวยงานร่มรื่น เหมาะที่จะปฏิบัติธรรม จึงได้สำรวจ และปักกรดอยู่ที่ ถ้ำบนภูทอก กับพระครูศริธรรมวัฒน์ ต่อมาชาวบ้านคำแคนเห็นพระอาจารย์จวน ธุดงภ์มาอยู่ที่ภูทอก จึงพร้อมใจกันอารธนาให้สร้างวัด ขึ้นที่ภูทอก

บันไดขึ้นภูทอกแบ่งออกเป็น 7 ชั้น แตกต่างกันดังนี้

ชั้นที่ 1-2 เป็นบันไดสู่ ชั้นที่ 3 ซึ่งเริ่มเป็นสะพานเวียนรอบเขา สภาพเป็นป่าเขามืดครึ้ม มีโขดหินลานหิน สุดทางชั้นที่ 3 มีทางแยก สองทาง ทางซ้ายมือ เป็นทางลัดไปสู่ชั้นที่ 5 ได้เลย ซึ่งเป็นทางชันมาก ผ่านซอกหินที่มีลักษณะเหมือนอุโมงค์ ทางขวามือ เป็นทางขึ้นสู่ชั้นที่ 4 เป็นทางอ้อม

ชั้นที่ 4 เป็นสะพานลอยไต่เวียนรอบเขา มองไปเบื้องล่างจะเห็นเนินเขาเตี้ยๆ สลับกัน เรียกว่า “ดงชมพู” ทิศตะวันออกจดกับภูลังกา เขตอำเภอเซกา ซึ่งมีสภาพเป็นป่าดิบ มีแม่น้ำลำธารหลายสายไหลผ่าน มีสัตว์ป่ามากมายอาศัยอยู่ โดยเฉพาะมีฝูงกา มาอาศัย อยู่มาก จึงเรียกกันว่า “ภูรังกา” แล้วเพี้ยนมาเป็น “ภูลังกา” ในที่สุด ส่วนบนชั้นที่ 4 นี้ จะเป็นที่พักของแม่ชี รอบชั้นมีระยะทาง ประมาณ 400 เมตร มีที่พักผ่อนระหว่างทางเป็นระยะ ๆ

ชั้นที่ 5 หรือชั้นกลาง ถือว่าเป็นชั้นที่สำคัญที่สุด จะมีศาลาขนาดใหญ่ พระพุทธรูป กุฏิพระ และเป็นที่เก็บสังขารของพระอาจารย์ จวนด้วย พื้นที่สะอาดกว้างขวาง ดูแล้วร่มเย็นมาก เหมาะสำหรับการนั่งสวดมนต์ปฏิบัติธรรมสำหรับนักแสวงบุญ หรือผู้ที่ใฝ่หา ความสงบ ตลอดตามช่องทางเดินจะมีถ้ำอยู่หลายจุด เช่น ถ้ำเหล็กไหล ถ้ำแก้ว ถ้ำฤาษี ฯลฯ มีที่ให้นั่งพักสำหรับความอ่อนล้า ระหว่างทางเดินเป็นระยะ ถ้าเดินมาทางด้านเหนือจะเห็นสะพานหินธรรมชาติทอดสู่พุทธวิหาร อันเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ มีลักษณะแปลกและน่าอัศจรรย์ที่สุด คล้าย ๆ กับพระธาตุอินทร์แขวนที่พม่า คือ เป็นหินแยกตัวออกมาจากหินก้อนใหญ่ แต่ไม่ ตกลงมา เพราะตั้งอยู่อย่างได้ฉากกับพื้นโลกพอดี ปัจจุบันมีสะพานไม้เชื่อมต่อระหว่างสะพานหินกับพุทธวิหาร มองออกไปจะ เห็นแนวของภูทอกใหญ่อย่างชัดเจน และมีบันไดเวียนขึ้นสู่ชั้นที่ 6 ซึ่งเป็นชั้นสุดท้ายของบันไดเวียนรอบเขา

[adsense-2]

ชั้นที่ 6 จะเป็นจุดชมวิวิที่สวยที่สุด ตลอดทางเดินจะเป็นหน้าผายื่นออกมาทำให้ในบางครั้งเวลาเดินต้องเบี่ยงตัวออกมาเล็กน้อย โดยแต่ละจุดก็จะมีชื่อของหน้าผาที่แตกต่างกัน เช่น ผาเทพนิมิตร ผาหัวช้าง ผาเทพสถิต เป็นต้น ในช่วงฤดูหนาวจะ มีทะเลหมอก ลอยอยู่รอบ ๆ ยอดเขา ทำให้เหมือนอยู่บนสวรรค์ จากชั้นที่ 6 สู่ชั้นที่ 7 เป็นสะพานไม้เวียนรอบเขายาว 400 เมตร เกาะติดอยู่ริม หน้าผาสูงชันด ูน่าหวาดเสียวอันตราย มีความยาว 400 เมตร สำหรับสิ่งศักดิ์สิทธิ์และน่าชมที่สุดของชั้นนี้คือ ปากทางเข้าเมือง พญานาค ซึ่งอยู่หลังพระปางนาคปรก มีจุดให้สังเกตคือ มีรอยสีขาวขูดติดกับหินปูน ซึ่งชาวบ้านถือว่าเป็นรอยถลอกที่เกิดจาก ท้องพญานาคสัมผัสกับหิน และมีบ่อน้ำเล็ก ๆ มีน้ำขังอยู่เกือบตลอดปี การถ่ายภาพพุทธวิหารให้ได้ภาพงดงามที่สุด ต้องถ่ายซูมจากชั้นที่ 6

พุทธวิหาร แปลว่า สถานที่พักผ่อนของท่านผู้ตรัสรู้แล้ว เป็นสถานที่เก็บพระบรมสารีริกธาตุและเป็นที่พระอริยหลายองค์มาพักผ่อนและละสังขารที่นี่ มีลักษณะที่แปลกและน่าอัศจรรย์ที่สุด คล้ายกับพระธาตุอินทร์แขวนที่ประเทศพม่า ปัจจุบันมีสะพานไม้เชื่อมต่อระหว่างสะพานหินกับพุทธวิหาร

ในอดีตก่อนที่จะมีการสร้างสะพานไม้เชื่อมต่อ บุคคลธรรมดาไม่อาจข้ามมาที่พุทธวิหารได้ เพราะมีหุบเหวขวางกั้น แต่มีบุคคลอยู่ประเภทหนึ่งที่สามารถปรากฎตัวที่พุทธวิหารได้ คือพระอรหันต์และท่านผู้ทรงอภิญญา ท่านเหล่านี้จะมาพักผ่อนที่พุทธวิหารเองโดยการเดินบนอากาศหรือเหาะข้ามมา เพราะต้องการปลีกวิเวกและไม่ให้ใครมารบกวนได้ ดังนั้น หินประหลาดก้อนนี้จึงถูกเรียกว่า พุทธวิหาร ซึ่งแปลว่า สถานที่พักผ่อนของท่านผู้บรรลุแล้ว

ในปัจจุบันแม้ว่าจะมีสะพานไม้เชื่อมต่อระหว่างสะพานหินกับพุทธวิหารแล้วก็ตาม แต่นักแสวงบุญทั่วไปก็ไม่อาจเข้าไปสัมผัสพุทธวิหารใกล้ชิดกว่านี้ได้ เพราะทางวัดปิดประตูไว้ เนื่องจากเทวดาที่รักษาพระบรมสารีริกธาตุทนเหม็นกลิ่นสาบมนุษย์ไม่ไหว ทางวัดจึงอนุญาตให้นักแสวงบุญมาได้แค่ปากประตูเท่านั้น

ความอัศจรรย์ของพุทธวิหาร คือ หินก้อนนี้แยกตัวออกมาจากหินก้อนใหญ่แล้ว แต่ไม่ตกลงมา เพราะตั้งอยู่ได้ฉากกับพื้นโลกพอดี ข้อนี้นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ไม่รู้ เพราะไม่ค่อยสังเกต หากอยากเห็นชัด ๆ ให้เดินมาที่ฐานของพุทธวิหาร จะเห็นได้ชัด หรือสังเกตุดูที่ภาพถ่ายก็ได้ การที่พุทธวิหารตั้งอยู่ได้โดยไม่ตกลงมาถือได้ว่า น่าอัศจรรย์พอ ๆ กันกับพระธาตุอินทร์แขวน

สะพานหิน ยาวทอดตัวออกมาจากภูทอก ยื่นออกมาทางพุทธวิหาร เมื่อยืนบนสะพานหินจะสามารถมองเห็นภูทอกใหญ่และมองเห็นทัศนียภาพสองฟากฝั่งได้อย่างชัดเจน รวมทั้งสูดอากาศที่บริสุทธิ์ด้วย คล้ายกับอยู่บนสรวงสวรรค์ก็มิปาน
สะพานไม้ มีความยาวประมาณ 10 เมตร เป็นสะพานที่เชื่อมต่อระหว่างสะพานหินและพุทธวิหาร เป็นดุจสิ่งที่เชื่อมต่อโลกสวรรค์และแดนนิพพานเข้าด้วยกัน เมื่อยืนอยู่บนสะพานไม้แล้วมองลงไปด้านล่าง จะเห็นแต่ต้นไม้และหุบเหวที่ลึกสุดหยั่ง (คนขวัญอ่อนมิควรมองลงไป) จะทำให้ทราบว่า บุคคลที่สามารถข้ามจากสะพานหินเพื่อไปบำเพ็ญเพียรหรือพักผ่อนที่พุทธวิหารได้ ต้องมิใช่บุคคลธรรมดา

ชั้นที่ 7 จะมีบันไดไม้พาดขึ้นมา เมื่อเดินขึ้นบันไดผ่านมาแล้วจะเจอทางแยก 2 ทางเพื่อขึ้นไปบนดาดฟ้าชั้น 7 ทางแรกเป็นทางชัน ต้องเกาะเกี่ยวกิ่งไม้และรากไม้เดินลำบาก แถมยังมีป้ายบอกให้ “ระวังงู” ซึ่งเป็นสัตว์ที่มีอยู่มากบนยอดภูแห่งนี้ด้วย ควรใช้อีกทาง หนึ่งซึ่งเป็นทางอ้อมต้องเดินเวียนไปทางขวามือ แต่ก็จะมาบรรจบกันด้านบนชั้น 7 หรือดาดฟ้า ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าไม่ทึบธรรมดา มีเนื้อที่ประมาณ 5 ไร่

ข้อควรปฏิบัติก่อนขึ้นเขา

เนื่องจากวัดไม่ใช่สถานที่ท่องเที่ยวหรือแหล่งทัศนาจร หากแต่เป็นสถานที่ยึดเหนี่ยวทางด้านจิตใจของชาวพุทธเป็นสำคัญ ผู้เข้าเยี่ยมชม-กราบไหว้ควรปฏิบัติตามกฎที่ทางวัดตั้งไว้อย่างเคร่งครัด คือ
1. ห้ามนำสุรา-อาหารไปรับประทานบนยอดเขาโดยเด็ดขาด
2. ห้ามส่งเสียงดังรบกวนพระ-เณรที่กำลังภาวนา
3. ห้ามขีดเขียนสลักข้อความลงบนหิน
4. ห้ามทำลามกอนาจารฉันท์ชู้สาวและควรแต่งกายให้สุภาพ

หมายเหตุ ภูทอก ปิดไม่ให้นักท่องเที่ยว ขึ้นในวันที่ 10 -16 เมษายน ของทุกปี

การเดินทาง

รถนต์ส่วนตัว

ภูทอก อยู่ห่างจากตัวเมืองหนองคายประมาณ 185 กิโลเมตร การเดินทางจากตัวเมือง ใช้ทางหลวงหมายเลข 212 ผ่านอำเภอ โพธิ์ชัย อำเภอปากคาด และอำเภอบึงกาฬ แล้วเลี้ยวขวาเข้าเส้นทางหลวงหมายเลข 222 ถึงอำเภอศรีวิไล จากอำเภอศรีวิไล มีทางแยกซ้ายผ่านบ้านนาสิงห์ บ้านสันทรายงาม สู่บ้านนาคำแคน ถึงภูทอกเป็นระยะทางอีก 20 กิโลเมตร
รถประจำทาง
เดินทางโดยรถบัสขนาดเล็ก โดยเดินทางจากอำเภอบึงกาฬ ไปลงอำเภอศรีวิไลจากนั้นเดินทาง ต่อไปโดย รถสองแถวที่ไป ภูทอก โดยใช้เส้นทางหมายเลข 212 (บึงกาฬ-บ้านชัยพร) ประมาณ 24 กิโลเมตร และ เดินทางจากบ้านชัยพร เข้าสู่ภูทอก อีกประมาณ 22 กิโลเมตร

แผนที่

ความเห็น

ความเห็น