บึงแก่นนคร

บึงแก่นนคร กินลมชมวิว เด้นแอร์โรบิกสวนสุขภาพ พาครอบครัวปิกนิกสนามเด็กเล่น ยามเย็นดูพระอาทิตย์ตกดิน บึงแก่นนคร ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลกลางเมืองขอนแก่น เป็นบึงขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ 603 ไร่ ทางทิศเหนือของบึงแก่นนครเป็นที่ประดิษฐานอนุสาวรีย์ “เจ้าเพียเมืองแพน” ผู้ก่อตั้งเมืองขอนแก่น ที่นี่ยังเป็นสถานที่ที่นิยมมาพักผ่อนหย่อนใจ และทำกิจกรรมนันทนาการของชาวเมืองเพราะมีบรรยากาศสบายๆ มีถนนเลียบริมน้ำโดยรอบ ได้มีการปรับปรุงพื้นที่บริเวณรอบบึงให้เป็นสวนสุขภาพ ภายในสวนบริเวณรอบๆ มีภาพประติมากรรมรูปต่างๆ ทางเทศบาลได้ทำการปลูกต้นคูนและไม้ดัดไว้อีกมากมาย ทำให้ดูร่มรื่นสวยงาม ดูเพลินตาเพลินใจ นอกจากนี้ยังมีสนามเด็กเล่นและร้านอาหารเปิดบริการหลายประเภทอีกด้วย

นั่งริมบึงด้านตะวันออก แล้วมองดูพระอาทิตย์ที่กำลังค่อยๆลับฟ้า มองเข้ามาในตัวเมืองจะเห็นอาคารต่างๆ รวมทั้งวัดมหาธาตุที่อยู่ริมบึง พร้อมให้อาหารปลาไปด้วย ก็เพลินก็ได้บรยากาศไปอีกแบบ ฝั่งซ้ายมือคือวิววัดหนองแวงพระอารามหลวง

ศาลเจ้าแม่สองนาง อยู่ริมบึงแก่นนครด้านในสวนสาธารณะ ไม่ไกลจากวัดหนองแวงมากนัก สร้างเป็นเนินเล็กๆ สูงขึ้นไป มีเจ้าแม่สองนางหรือธิดาสองนาง เป็นที่เคารพของประชาชนทั่วไป

ประวัติเจ้าแม่สองนาง

เจ้าแม่สองนาง สองนางเป็นพระราชธิดาของพระเจ้าชัยเชษฐาธิราช กษัตริย์แห่งล้านช้าง (ประเทศลาว) ประสูติในราวพ.ศ. 2104-2105 ตรงกับ ค.ศ. 1561-1562 มีอายุน้อยกว่าพระเอกาทศรถประมาณ 3-4 ปี สองนางเมื่อมีอายุประมาณ 16-17 ชันษา เคยติดตามมากับกองทัพของพระเจ้าชัยเชษฐาธิราช เมื่อครั้งที่พระเจ้าชัยเขษฐาธิราชยกทัพมาท้ารบกับมหาธรรมราชา เพื่อท้าตีกันตัวต่อตัว (ไพร่ฟลไม่เกี่ยว) เป็นความแค้นส่วนพระองค์ อันสืบเนื่องมาจากพระเทพกษัตรีย์ เป็นด้วยเหตุผลในยุคนั้น เพราะเราเป็นเมืองขึ้นกับพม่า

ศึกครั้งนั้นพระเอกาทศรถทรงเห็นว่า พระมหาธรรมราชามีพระชนมายุมากแล้ว ด้วยความกตัญญูกตเวที จึงอาสาออกรบแทน เมื่อพระเจ้าชัยเชษฐาธิราชทรงทราบ พระองค์ก็ให้สองนางออกรบแทนพระองค์บ้าง ทัพทั้งสองประชันหน้ากันที่ทุ่งชัยนาท ท้ายหนองหาน เป็นที่ตั้งของอำเภอ สรรพยา ในปัจจุบัน

ในระหว่างที่ประจันหน้ากันอยู่นั้น พระเอกาทศรถ ทรงทอดพระเนตรเห็นสองนาง พร้อมกับตรัสว่า “น้องทั้งสองชื่ออะไร” พระราชธิดาได้แต่สงบนิ่งไม่ตอบ (ทำให้ไม่ทราบชื่อนับแต่นั้นมา) ศึกครั้งนั้นไม่ใข่ศึกรบ แต่เป็นศึกรัก ครั้นต่อมาพระเจ้าเชษฐาธิราชกษัตริย์แห่งล้านช้างได้สวรรคตลง เนื่องจากพระองค์ไม่มีราชบุตรที่จะสืบทอดอำนาจครองเมืองต่อจากพระองค์ จึงถึงจุดหักเหชีวิตของ “เจ้าแม่สองนาง” เมื่อมีเจ้าเมืองคนใหม่ขึ้นครองราชย์แทนพระบิดา

พระราชธิดาสองนาง ซึ่งทราบต่อมาภายหลังว่าผู้พี่ชื่อ เจ้านางคำหมื่น ผู้น้องชื่อ เจ้านางคำแสน ได้พาพวกพ้องบริวารอพยพโดยใช้ช้างเป็นพาหนะเดินทางมาหาผู้เป็นน้า ผู้เป็นเจ้าเมืองขอนแก่น คือ ท้าวเพียเมืองแพน ผู้ก่อสร้างเมืองขอนแก่น เมื่อมาถึงเมืองขอนแก่น ท้าวเพียเมืองแพนผู้เป็นน้า จึงจัดให้พักอาศัยอยู่ที่บ้านบึงบอนหรือบ้านเมืองเก่า ริมบึงแก่นนครในปัจจุบัน

เมื่อทั้งสองพระองค์สิ้นพระชนม์ ชาวเมืองขอนแก่นในสมัยนั้น จึงได้สร้างศาลของพระนางขึ้น เป็นอนุสรณ์สถานเพื่อเคารพสักการะบูชากราบไหว้และขอพรให้ปกป้องคุ้มครองตามความเชื่อของฃาวอีสาน ผู้คนทั่วไปเรียกขนานนามศาลแห่งนี้ว่า “ศาลเจ้าแม่สองนาง” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาตราบเท่าทุกวันนี้ ศาลเจ้าแม่สองนาง เป็นที่เลื่อมใสศรัทราของชาวเมืองขอนแก่น

[adsense-2]

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดขอนแก่น
(Khon Kaen Provincial Office of Tourism and Sports)
สนามกีฬาจังหวัดขอนแก่น ถนนเหล่านาดี ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40000
โทรศัพท์ : 0-4322-1050 โทรสาร : 0-4322-1050
e-mail: [email protected]

การเดินทาง

รถยนต์ส่วนตัว

การเดินทางมายังบึงแก่นนครมาได้หลายทาง เส้นทางที่สะดวกที่สุดน่าจะเป็นถนนกลางเมือง มุ่งหน้ามาทางหนองแวง เมืองเก่า สังเกตุพระมหาธาตุแก่นนคร (พระธาตุ 9 ชั้น) ที่สวยงามที่สุดของจังหวัดขอนแก่น ข้างวัดหนองแวงมีซอยทะเลุถนนรอบบึงได้

รถโดยสาร
ขั้นรถที่หน้า บ.ข.ส. หรือที่หน้าสถานีรถปรับอากาศ สังเกตรอรถสองแถวสีฟ้า สาย8(มหาลัย) หรือสาย10(รอบเมือง) สายอื่นก็มีแต่ไม่เคยนั่งและทิ้งช่วงห่างมากสู้สายสีฟ้าไม่ได้ ค่ารถ8บาท อาจมีการขึ้นราคาเพิ่มถ้าน้ำมันขึ้นราคา แต่ก็ยังเป็นราคารถสองแถวที่ถูกกว่าอีกหลายจังหวัด

พอเริ่มเห็นห้างสรรพสินค้าแฟรี่ทาวร์ก็เตรียมตัวได้ใกล้ถึงบึงแก่นนครแล้ว จะมีมีสี่แยกไฟแดงบริเวณโรงเรียนสวนสนุก สี่แยกนี้แนะนำ อย่าพึ่งลงเพราะเดินต่อเดินไปบึงแก่นนครไกล แนะนำให้ลงรถสองแถวสี่แยกข้างหน้าถัดไป เป็นเซเว่น 7 Eleven จะสะดวกและใกล้บึงแก่นนคร มองไปก็จะเห็นป้ายทันที

แผนที่

ความเห็น

ความเห็น