ค่ายบางกุ้ง

ค่ายบางกุ้ง ตั้งอยู่ที่อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม เดิมเคยเป็นค่ายทหารเรือ สมัยพระเจ้าเอกทัศน์แห่งกรุงศรีอยุธยา เป็นแหล่งประวัติศาสตร์ ที่มีเรื่องราวของวีรกรรมชาวแม่กลอง ในช่วงปลายสมัยอยุธยาและตอนต้นกรุงธนบุรี ทหารไทย-จีน โดยการนำของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชและพระมหามนตรี (บุญมา) พระอนุชาของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) สู้รบขับไล่กองทัพพม่าจนแตกพ่ายไป ในบริเวณ มีกำแพงจำลองของค่าย อนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สระน้ำโบราณอายุประมาณ 400 ปี และพบสิ่งมหัศจรรย์หนึ่งอย่าง ได้แก่ โบสถ์ปรกโพธิ์ เป็นอารามเก่าแก่ คาดว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา ราวปี พ.ศ. 2250-2300 ซึ่งมีต้นไม้ 4 ชนิด คือ ต้นโพธิ์ ต้นไทร ต้นไกร และต้นกร่าง ค้ำยันแผ่กิ่งก้านคลุมโบสถ์ไว้จนไม่เห็นรูปทรง ภายในโบสถ์เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อนิลมณี (หลวงพ่อดำ) ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่

ประวัติความเป็นมา

เดิมค่ายบางกุ้งเป็นค่ายทหารเรือในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ สมัยนั้น พระเจ้ามังระ กษัตริย์พม่า ให้เกณฑ์กองทัพเข้ารุกรานอาณาจักรอยุธยาทั้ง 2 ทาง ให้มังมหานรธาเป็นแม่ทัพยกเข้าตีทางทิศใต้ ยกเข้าตีเมืองมะริด เมืองตะนาวศรี เมืองหุยตองจา เมืองชุมพร เมืองกาญจนบุรี เมืองราชบุรี เพชรบุรี แล้วจึงยกกลับไปตั้งกองทัพต่อเรืออยู่ที่ดงรังหนองขาว เมืองกาญจนบุรี พระเจ้าเอกทัศทรงทราบข่าว โปรดให้เกณฑ์กองทัพออกต่อสู้ โดยกองทัพบกไปตั้งค่ายรับข้าศึกที่ตำบลตำหรุ เมืองราชบุรีแห่งหนึ่ง ให้กองทัพเรือยกมาตั้งค่ายอยู่ที่ตำบลบางกุ้ง เมืองสมุทรสงครามแห่งหนึ่ง ให้พระยารัตนาธิเบศยกมาตั้งค่ายอยู่ที่เมืองธนบุรีอีกแห่งหนึ่ง

ใน พ.ศ. 2308 ทัพมังมหานรธาก็ยกทัพเรือเข้ามาตีค่ายทหารเรือบางกุ้งแตก แล้วจึงยกไปตีเมืองธนบุรี เมืองนนทบุรีแตกอีก แล้วยกเข้าล้อมกรุงศรีอยุธยาไว้ด้านหนึ่ง จนกระทั่งกรุงศรีอยุธยาแตกเมื่อ พ.ศ. 2310 แล้วตั้งให้นายทองอินทร์ คนไทยที่จงรักภัคดีต่อพม่ารักษาเมืองธนบุรี และนายทองสุก นายกองคุมกองทัพพม่ารักษากรุงศรีอยุธยา ณ ค่ายโพธิ์สามต้น แล้วยกทัพหลวงกลับไป

ครั้นเจ้าตากกอบกู้เอกราชได้สำเร็จ ในปี พ.ศ. 2310 โปรดให้คนจีนจาก ระยอง ชลบุรี ราชบุรี และกาญจนบุรี รวบรวมพลพรรค มาตั้งเป็นกองทหารรักษา ค่ายบางกุ้ง ซึ่งยังไม่มีทหารรักษาหลังจากที่พม่าตีกรุงศรีอยุธยาแตก ค่ายนี้จึงเรียกว่า “ค่ายจีนบางกุ้ง”

ต่อมา “พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต” เมืองเวียงจันทร์ ซึ่งฝักใฝ่อยู่กับพม่าในสมัยนั้นไปทูลพระเจ้าอังวะถึงข่าวการตั้งตนเป็นใหญ่ ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระเจ้ามังระจึงให้มีท้องตราสั่งแมงกี้มารหญ่า เจ้าเมืองทวาย คุมกำลังให้มาตรวจตราดูสถานการณ์ในอาณาจักรอยุธยาเดิม พระยาทวายจึงส่งโปมังเป็นกองทัพหน้าคุมพล 3,000 นาย เข้ามาทางเมืองไทรโยค เมื่อฤดูแล้งปลายปี พ.ศ. 2310 ครั้นถึงบางกุ้งเห็นค่ายทหารจีนของพระเจ้ากรุงธนบุรีตั้งอยู่ พระยาทวายก็ให้กองทัพล้อมไว้ กรมการเมืองสมุทรสงครามบอกเข้ามายังกรุงธนบุรี

ตาม พงศาวดารกรุงธนบุรี กล่าวว่า พระเจ้าตากสินทรงทราบข่าวข้าศึกด้วยความยินดียิ่ง โปรดให้พระยามหามนตรี (บุญมา) จัดกองทัพเรือ 100 ลำเศษ พร้อมด้วยศาสตราวุธมายังค่ายบางกุ้ง พระยามหามนตรีคาดการณ์ว่า ค่ายบางกุ้งล่อแหลมกำลังจะแตกอยู่แล้ว จึงรีบเดินทัพเข้าโจมตีพม่าที่ล้อมค่ายบางกุ้งโดยฉับพลัน ในตอนเรียกประชุมนายทัพนายกองเพื่อปลุกใจและบงการเข้าตีนั้นได้เน้นว่า “ถ้าช้าไปอีกวันเดียวค่ายบางกุ้งจะแตกและขวัญทหารไทยจะไม่มีวันฟื้นคืนได้ การรบทุกครั้งการแพ้อยู่ที่ขวัญและกำลังใจ ถ้าไทยแพ้อีกในครั้งนี้ พม่าจะฮึกเหิม พวกไทยจะครั้นคร้ามและกู้ชาติไม่สำเร็จ กรารักษาค่ายบางกุ้งไว้ให้ได้ในครั้งนี้ ได้ชื่อว่าท่านทั้งหลายได้ช่วยขวัญของไทยในการรบครั้งต่อไป”[ต้องการอ้าง อิง]

การรบครั้งนี้ตะลุมบอนกันด้วยอาวุธสั้น ออกพระมหามนตรีควงดาบสิงห์สุวรรณาวุธ ซึ่งทำด้ามและฝักกนกหัวสิงห์ใหม่ไล่ฆ่าฟันพม่า ข้าศึกแตกกระจาย แมงกี้มารหญ่าแม่ทัพพม่า ครั่นคร้ามพระมหามนตรีจึงเลี่ยงเชิงดูศึกได้ยินเสียงในค่ายที่ล้อมไว้จุด ประทัด ตีม้าล่อเปิดประตูค่าย ส่งกำลำดีกระทุ้งออกมา ทำให้พม่าอยู่ในศึกกระหนาบ ซ้ำยังเห็นผงคลีมืดครึ้มได้ยินเสียงการเคลื่อนไหวทัพหนุนเนื่องของไทยอีก แน่ใจว่าทัพหลวงของไทยติดตามมายิ่งเสียขวัญ ฝ่ายไทยกลับฮึกเหิมไล่ฟันแทงข้าศึกล้มตายเป็นอันมาก ที่เหลือก็พากันแตกหนี พระยาทวายเห็นเหลือกำลังที่จะต่อสู้ จึงสั่งทัพถอยรวบรวมไพร่พลกลับไปเมืองทวายทางด่านเจ้าขว้าว กองทัพไทยได้เรือรบศัตรูทั้งหมด และได้เครื่องศาสตราวุธตลอดจนเสบียงอาหารเป็นอันมาก

ชัยชนะในการรบที่ ค่ายบางกุ้งนี้มีผลต่อชาวไทยหลายประการ อาทิ ไทยยังคงเป็นชาติเอกราชต่อไป ไม่ถูกย่ำยีทำลายล้างอีก ประกอบกับขวัญและกำลังใจของคนไทยทั้งชาติที่พลอยฮึกเหิมขึ้นด้วย

[adsense-2]

สิ่งที่น่าสนใจ

โบสถ์ปรกโพธิ์ เป็นอุโบสถหลังเดิมที่สร้างตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี จะถูกปกคลุมด้วยรากไม้ใหญ่ทั้งโพ ไทร ไกร และกร่าง มองจากภายนอกคิดว่าเป็นกลุ่มต้นไม้ใหญ่ มากกว่ามีโบสถ์อยู่ข้างใน รากไม้เหล่านี้ช่วยให้โบสถ์คงรูปอยู่ได้ ทั้งยังให้ความขรึมขลังอีกด้วย ภายในมีพระพุทธรูปประดิษฐาน ชาวบ้านเรียกว่า หลวงพ่อโบสถ์น้อย (หลวงพ่อนิลมณี) และเรียกโบสถ์ว่า “โบสถ์ปรกโพธิ์” และมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง สมัยปลายกรุศรีอยุธยาเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติ

วัดบางกุ้ง เป็นวัดเก่าแก่สมัยกรุงศรีอยุธยาเช่นกัน อยู่คนละฝั่งกับค่ายบางกุ้งโดยมีถนนผ่านกลาง สิ่งที่น่าสนใจในวัดนี้ได้แก่ คัมภีร์โบราณ ส่วนมากจะเป็นตำรายาโบราณ และบริเวณหน้าวัดด้านที่ติดกับแม่น้ำแม่กลอง จะมีปลาน้ำจืดต่างๆ อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก จนได้ชื่อว่า “วังมัจฉา”

ช่วงเวลาทีเ่ปิดให้เข้าชม เปิดทุกวันตั้งประมาณ 08.00 น.- จนกว่าจะไม่มีผู้เข้า

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

ททท.สมุทรสงคราม โทร. (034) 752 847-8 ,(034) 752 846
สถานีเดินรถโดยสารประจำทาง โทร. (034) 716 962
สถานีรถไฟสมุทรสงคราม โทร. (034) 711 906
ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. (034) 714 881
สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองสมุทรสงคราม โทร. (034) 711 338, (034) 720 530-5
สถานีตำรวจภูธรอำเภออัมพวา โทร. (034) 751 300, (034) 725 625-7
สถานีตำรวจภูธรอำเภอบางคนที โทร. (034) 761 866, (034) 730 062-4
โรงพยาบาลอัมพวา โทร. (034) 751 846-7, (034) 752 560
โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โทร. (034) 723 044-9
ศูนย์บริการท่องเที่ยวเชิงเกษตร โทร. (034) 711 711, (034) 720 784
ตำรวจทางหลวง โทร. 1193
ตำรวจท่องเที่ยว โทร. 1155

การเดินทาง

รถยนต์ส่วนตัว จากตัวเมืองสมุทรสงคราม ให้วิ่งไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 325 (แม่กลอง-อัมพวา) ประมาณ 5 กิโลเมตร เลยวัดบางกะพ้อมแล้วให้สังเกตทางแยกซ้ายมือ จากนั้นเลี้ยวซ้ายข้ามสะพานข้ามแม่น้ำแม่กลอง (สะพานสมเด็จพระศรีสุริเยนทร์) ตรงไปถึงสามแยกเลี้ยวขวาแล้ววิ่งตรงต่อไปเรื่อยๆ ซึ่งจะผ่านวัดภุมรินทร์ จนถึงสามแยก (มีวัดบางแคใหญ่อยู่ขวามือ) เลี้ยวขวา จากนั้นวิ่งตรงไปจนเมื่อเริ่มสังเกตเห็นแนวกำแพงอิฐแดงทางซ้ายมือก็ให้ เลี้ยวซ้ายเข้าค่ายบางกุ้งได้เลยค่ะ

ความเห็น

ความเห็น