วนอุทยานเขานางพันธุรัต

วนอุทยานเขานางพันธุรัต  ตั้งอยู่ที่ต.ชะอำ ชะอำ จ. เพชรบุรี ห่างจากกรุงเทพฯ ไปเพียงชั่วระยะเวลาไม่กี่ชั่วโมง มีสถานที่แห่งหนึ่งซึ่งมีความสำคัญทั้งทางทรัพยากรธรรมชาติและประวัติศาสตร์ ด้วยเชื่อกันว่า ที่นี่คือต้นกำเนิดเรื่องราววรรณกรรมพื้นบ้าน ซึ่งกลายเป็นที่มาของวรรณคดีเรื่อง “สังข์ทอง”เทือกเขานางพันธุรัตน์ หรือเขาเจ้าลายใหญ่ ณ จ.เพชรบุรี

พื้นที่วนอุทยานเป็นเทือกเขาหินปูนที่มีความสวยงามเอกลักษณ์ โดดเด่นมองเห็นได้จากริมถนนใหญ่ ทอดยาวตามแนวเหนือ-ใต้ มองดูคล้ายนางยักษ์ (นางพันธุรัต) นอนอยู่ มีโกศอยู่ทางทิศใต้ และมีปฎิมากรรมธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับตำนานเรื่องสังข์ทอง ทางวนอุทยานได้จัดทำเส้นทางสำหรับเดินศึกษาธรรมชาติ ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร ผ่านจุดที่น่าสนใจอาทิ ยอดเมรุ กระจกนางพันธุรัต ลานเกือกแก้ว บ่อชุบตัวพระสังข์ รวมทั้งมีจุดดูนก จุดชมวิว ต้นไทรยักษ์บริเวณหุบวังเรือ และหินย้อยรูปพานยักษ์ในถ้ำมะยม กำแพงเมืองจีน เป็นต้น บริเวณมีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ลานกางเต็นท์

ประวัติความเป็นมา

เทือกเขานางพันธุรัตน์ในวรรณคดีกล่าวไว้ว่า นางพันธุรัตเป็นยักษ์รับพระสังข์มาเป็นบุตรบุญธรรมโดยนางและบริวารแปลงร่างเป็นมนุษย์ วันหนึ่งพระสังข์ได้เข้าไปในเขตหวงห้ามลงไปชุบตัวในบ่อทองเอาชุดเจ้าเงาะและของวิเศษเหาะหนี นางพันธุรัต กลับมาไม่พบพระสังข์ก็ออกตามหา นางพยายามอ้อนวอนให้พระสังข์กลับแต่ไม่เป็นผล นางพันธุรัตเสียใจ จนอก แตกตายตามตำนานเมืองเพชร พอนางพันธุรัตตาย พระสังข์ก็ได้จัดการทำศพ ร่างของนางก็กลายเป็นภูเขา ชาวบ้านจึงเรียกภูเขาลูกนี้ว่า “เขานางนอนหรือเขานางพันธุรัต” จนถึงทุกวันนี้

ลักษณะภูเขาสองข้างทางบางลูกที่ขึ้นโดดๆ ผิวหน้าคล้ายถูกระเบิดหรือขุดเจาะเป็นหย่อมๆ แสดงให้เห็นถึงร่องรอยการพังทลายของชั้นหินปูนอย่างชัดเจน เมื่อเข้าไปสู่เขตพื้นที่โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพพื้นที่เขานางพันธุรัต อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ร่องรอยเหล่านั้นถูกแทนที่ด้วยสีเขียวของต้นไม้ซึ่งขึ้นอยู่แน่นทึบ บรรยากาศเย็นสดชื่นด้วยอากาศบริสุทธิ์ของผืนป่าต่างจากในเมืองลิบลับ

สิ่งที่น่าสนใจภายในวนอุทยานเขานางพันธุรัต

สวนหย่อม เขานางพันธุรัตปัจจุบันได้มีการจัดทำเป็นสวนหย่อมให้นั่งพักผ่อนกันสำหรับครอบครัวในบริเวณสวนหย่อม จะล้อม รอบไปด้วยเทือกเขานางพันธุรัตให้อากาศบริสุทธิ์ร่มรื่น สำหรับนั่งพักผ่อน รอบๆ บริเวณมีเสียงนกร้องให้ฟัง ตลอดเวลา

ศาลาข้อมูลเขานางพันธุรัต เป็นศาลาที่มีภาพต่างๆ ติดไว้ให้ความรู้นักท่องเที่ยว เกี่ยวกับเขานางพันธุรัตนี้ สำหรับเขาแห่งนี้ได้มีการตั้งชื่อ ตามส่วนต่างๆ ของเขา เช่น นางพันธุรัตอกแตกตาย โกศนางพันธุรัต กระจกส่องหน้านางพันธุรัต เมรุนางพันธุรัต บ่อชุบตัวพระสังข์ เป็นต้น

เมรุนางพันธุรัต เมรุนางพันธุรัต อยู่ตรงลานจอดรถเและเป็นจุดเริ่มต้นการเดินศึกษาธรรมชาติ

กระจกส่องหน้านางพันธุรัต ในจุดนี้เป็นจุดที่นางพันธุรัตน์เอาไว้ส่องกระจก เพื่อตรวจดูความเรียบร้อยของตนก่อนที่จะไปพบกับพระสังข์ ว่านางมีร่องรอยของความเป็นยักษ์ อย่างคราบเลือดจากการออกไปหาสัตว์ป่ากินหรือไม่  ลักษณะของกระจกนางพันธุรัตน์จะเป็นช่องเขาขนาดใหญ่ กว้างประมาณหนึ่งเมตร สูงประมาณ 2.5 เมตร เราสามารถจะเดินลอดช่องกระจกนี้ไปได้ และจะพบกับจุดชมวิวเล็กๆ แต่ความสวยงามก็ไม่เล็กเท่าพื้นที่ เพราะเราสามารถที่จะมองเห็นเส้นทางในเขตวนอุทยานได้ชัดเจน อีกทั้งยังมองเห็นทุ่งนาของชาวบ้านที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงอีกด้วย

บ่อชุบตัวพระสังข์  เป็นสถานที่ที่พระสังข์มาชุบตัวในบ่อทองตามตำนาน สภาพพื้นที่ในบริเวณนี้มีลักษณะคล้ายกับเป็นหลุมขนาดใหญ่กว้างประมาณหนึ่งสนามฟุตบอล ลึกลงไปหลายสิบเมตร เบื้องหน้าคือแนวผาหินล้อมรอบหลุม ส่วนเบื้องล่างเขียวชอุ่มไปด้วยพรรณไม้นานาชนิดที่ขึ้นอยู่เต็มไปหมด แทนที่จะเป็นน้ำหรือว่าทองอย่างในวรรณคดี  ในบริเวณนี้นอกจากจะมีบ่อชุบตัวพระสังข์แล้ว ยังมีจุดชมวิวอีก 2 จุดด้วยกัน จุดแรกอยู่ห่างจากบ่อชุบตัวพระสังข์ไปอีกประมาณ 50 เมตร ซึ่งเป็นจุดที่สามารถมองเห็นทะเลได้ แต่ไม่มาก เพราะเป็นช่องระหว่างยอดเขาสองยอดจึงทำให้มองวิวได้ไม่กว้างมากนัก

 คอกช้าง  ที่มาของชื่อ “คอกช้าง” แห่งนี้ เนื่องมาจากในอดีตบริเวณด้านล่างของจุดชมวิวแห่งนี้เป็นที่อยู่อาศัยของเหล่าบรรดาช้างป่า นอกจากสภาพป่าที่หนาแน่นด้านล่างแล้ว เรายังสามารถมองวิวได้อย่างเต็มที่ถึงแม้ว่ามุมนี้จะไม่สามารถมองเห็นทะเลก็ตาม แต่สามารถที่จะมองเห็นได้ไกลถึงเขาวังทีเดียว หากสภาพท้องฟ้าดีๆ อีกทั้งยังเป็นมุมมองที่กว้างเกือบ 180 องศา

ลานเกือกแก้ว  ในวรรณคดีเมื่อพระสังข์กลับลงมาจากบ่อต้องห้ามแล้ว ก็ได้เดินสำรวจในบริเวณปราสาทต่อ ได้พบกับรูปเงาะ เกือกแก้ว และไม้เท้า พอลองสวมดูก็เห็นว่าเข้าท่าดี อีกทั้งเกือกแก้วยังสามารถใช้เหาะเหินเดินอากาศได้ด้วย จึงคิดวางแผนที่จะหลบหนีจากนางพันธุรัตน์เพื่อกลับไปหาตายายและพระนางจันเทวีที่เป็นแม่อีกครั้งด้วยความคิดถึง สำหรับลานเกือกแก้วแห่งนี้เป็นลานกว้างระหว่างทางไปยังบ่อชุบตัว คอกช้าง และจุดท่องเที่ยวจุดอื่นๆ อีก มีลักษณะเป็นลานกว้าง ประมาณ 3 ไร่ เป็นที่ราบระหว่างเขา มีต้นไม้ขึ้นอยู่ไม่มากนักส่วนต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ก็มีขนาดที่ไม่ใหญ่มากนัก บางต้นยังเป็นลูกไม้ด้วยซ้ำ สาเหตุที่เรียกว่าลานเกือกแก้ว เนื่องจากพื้นที่ในบริเวณนี้มีลักษณะรูปร่างคล้ายกับรองเท้าของผู้หญิง จึงได้ชื่อว่าลานเกือกแก้ว ซึ่งพ้องกับเนื้อเรื่องในวรรณคดีเรื่องนี้ด้วย

ต้นไทรยักษ์  ตามตำนานหลังจากที่พระสังข์เหาะหนีออกมาจากปราสาทแล้วก็มาแวะพักอยู่ใต้ต้นไทร ด้วยความเหน็ดเหนื่อย ซึ่งเชื่อกันว่าต้นไทรยักษ์เก่าแก่ภายในอุทยานต้นดังกล่าวนี้ คือต้นไทรต้นเดียวกันกับในวรรณคดี ซึ่งตามท้องเรื่องเมื่อนางพันธุรัตน์กลับมาถึงพอสอบถามบริวารก็ได้รับคำตอบว่าพระสังข์หนีไปแล้ว นางเศร้าเสียใจเป็นอย่างมากรีบพาบริวารออกตามหาพระสังข์ จนกระทั่งนางพันธุรัตน์ผ่านต้นไทรก็จำได้ว่าเป็นพระสังข์ จึงร้องเรียกพระสังข์ด้วยความยินดีให้พระสังข์ลงมาหา แต่พระสังข์ไม่ยอม ไม่ว่านางพันธุรัตน์จะอ้อนวอนอย่างไร จนเห็นว่าพระสังข์คงจะไม่ลงมาแน่นอนแล้ว จึงเขียนมหาจินดามนต์ไว้ให้ ระหว่างที่เขียนมนต์ก็ร้องอ้อนวอนพระสังข์ไปด้วย ถึงแม้ว่าจะเขียนจนเสร็จเรียบร้อยแล้วพระสังข์ก็ยังไม่ยอมลงมา ในที่สุดนางก็อกแตกตาย

นอกจากนี้ยังในเขตวนอุทยานยังมีแหล่งประวัติศาสตร์คือ โบราณสถานทุ่งเศรษฐี อยู่บริเวณเชิงเขาจอมปราสาทด้านทิศตะวันออก เป็นเจดีย์ขนาดใหญ่ก่ออิฐสอดินฉาบปูนเหลือเพียงส่วนฐานและค้นพบโบราณวัตถุ จำพวกปูนปั้น และโบราณวัตถุอื่น ๆ อีกมาก จากหลักฐานที่พบสันนิษฐานได้ว่าโบราณสถานทุ่งเศรษฐีสร้างขึ้นในสมัยทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 12-16)

วนอุทยานเขานางพันธุรัต ไม่มีบ้านพักบริการแก่นักท่องเที่ยวหากมีความประสงค์จะไปพักแรม เพื่อพักผ่อน หย่อนใจโปรดนำเต็นท์ไปกางเอง แล้วไปติดต่อขออนุญาต ใช้สถานที่กับเจ้าหน้าที่วนอุทยานเขานางพันธุรัต โดยตรง มีร้านอาหารของเอกชนให้บริการภายในวนอุทยาน คือ  ครัวสังข์ทอง

[adsense-2]

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

วนอุทยานเขานางพันธุรัต โทรศัพท์ (032) 433 661 ต่อ 305 โทรสาร (032) 433 662
ททท. สำนักงานเพชรบุรี (เพชรบุรี ราชบุรี) อ.ชะอำ เพชรบุรี โทร. (032) 471 005-6
ตำรวจท่องเที่ยว โทร. 1155
ตำรวจทางหลวง โทร. 1193
สำนักงานจังหวัดเพชรบุรี โทร. (032) 425 573
ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. (032) 428 047
ที่ว่าการอำเภอเมือง โทร. (032) 425 544
โรงพยาบาลพระจอมเกล้า โทร. (032) 401 251-3
โรงพยาบาลเพชรรัชต์ โทร. (032) 417 070 – 2
สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมือง โทร. (032) 425 500, (032) 417 106
บริษัท ขนส่ง จำกัด สาขาเพชรบุรี โทร. (032) 425 307
สถานีรถไฟเพชรบุรี โทร. (032) 425 211
ไปรษณีย์เพชรบุรีโทร. (032) 425 146, (032) 425 571
ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวเทศบาลเมืองเพชรบุรี โทร. (032) 402 220, (032) 427 579
ที่ว่าการอำเภอชะอำ โทร. (032) 471 361, (032) 472 502, (032) 471 078
โรงพยาบาลชะอำ โทร. (032) 471 007
สถานีตำรวจภูธรอำเภอชะอำ โทร. (032) 471 321, (032) 434 021-2
ไปรษณีย์ชะอำ โทร. (032) 471 252
สถานีรถไฟชะอำ โทร. (032) 471 159
สถานีรถปรับอากาศ (ปอ.1) โทร. (032) 471 615 (สี่แยกชะอำ) โทร.(032) 471 654, (032) 4332 88 (ชายหาดชะอำ)
ศูนย์ตำรวจท่องเที่ยวเฉพาะกิจหัวหิน-ชะอำ โทร. (032) 515 995

การเดินทาง

รถยนต์ส่วนตัว ใช้ถนนเพชรเกษม เส้นทางเพชรบุรี-ชะอำ เมื่อถึงสามแยกนิคม ก่อนถึงชะอำประมาณ 8 กิโลเมตร มีมีทางแยกซ้ายทางไปบ้านเกตุ เข้าไปอีก 4.5 กิโลเมตร

แผนที่

ความเห็น

ความเห็น