วัดเขาย้อย

ถ้ำเขาย้อย ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเขาย้อย ใกล้ที่ว่าการอำเภอเขาย้อย ภายในถ้ำนี้มีพระพุทธรูปใหญ่น้อย หลายปางประดิษฐานอยู่ โดยมีพระพุทธไสยาสน์ เป็นพระประธานอยู่ภายในถ้ำ ลักษณะภายในถ้ำคล้ายกับถ้ำเขาหลวงและวัดถ้ำเขา บันไดอิฐที่อยู่ในเขตอำเภอเมืองเพชรบุรี ตามประวัติเล่าว่าพระพุทธรูปเหล่านี้มีมานานแล้ว ต่อมาพระครูอ่อนวัดท้ายตลาดมาบูรณะใหม่ และมีเกร็ดประวัติศาสตร์ เล่ากันว่าสมัยเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้า อยู่หัวยังทรงผนวชอยู่นั้น พระองค์ได้เสด็จธุดงค์มาปักกลดวิปัสสนาที่หน้าเขาย้อย แล้วทรงย้ายขึ้นมาประทับนั่งกรรมฐานอยู่ในถ้ำเขาย้อยหลายคืน

ภายในถ้ำยังมีสิ่งสำคัญอีก ได้แก่ พระพุทธบาทซึ่งประดิษฐาน อยู่ในมณฑปที่สวยงามบริเวณกลางถ้ำด้านหลังพระพุทธไสยาสน์โดยในบริเวณพระพุทธบาท จะมีผู้ศรัทธานำทองคำเปลวมาปิดจนแลเป็นสีทอง อร่าม ประหนึ่งเป็นพระพุทธบาททองคำ นอกจากนั้นยังมีผู้ศรัทธานำเหรียญที่มีสีทอง เช่น เหรียญบาท หรือเหรียญห้าสิบสตางค์ มาโปรยเพื่อเป็นพุทธบูชาภายในรอยพระบาทอีกด้วย ซึ่งผู้นมัสการบูชามีความเชื่อว่า อานิสงส์ผลบุญจะนำมาซึ่งความมั่งคั่ง ร่ำรวย เงินทองไหลมาเทมา ประดุจดั่งสีทองอร่ามของพระพุทธบาทนั่นเอง และนอกจากนั้น ยังมี รูปปั้นพระเจ้าอู่ทอง รูปปั้นงูบริเวณผนังถ้ำ และเจ้าแม่กวนอิม ตามประวัติศาสตร์พระพุทธรูปเหล่านี้ได้ถูกนำมาประดิษฐานไว้เป็นเวลานานกว่า 70 ปีแล้ว ก่อนที่พระครูอ่อนแห่งวัดท้ายตลาดจะมาปฏิสังขรณ์บริเวณถ้ำแห่งนี้

และมีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่าพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เมื่อครั้งทรงผนวช ได้เคยเสด็จธุดงค์จาริกแสวงบุญมาประทับแรมที่บริเวณหน้าถ้ำ เพื่อเจริญภาวนาบำเพ็ญสมณธรรม

นอกจากนี้ในภูเขาย้อยนี้ยังมีถ้ำที่น่าเที่ยวอีกมากมาย ดังนี้ค่ะ

ถ้ำพระนอนหรือถ้ำพระพุทธไสยาสน์ ตัวถ้ำมีขนาด 22 X 16 เมตร ตั้งอยู่ใต้หน้าผาทางด้านตะวันออกเกือบสุดบริเวณลานวัดทางทิศใต้ ถ้ำอยู่ไม่สูงมากนัก มีบันไดหัวนาค ขั้นบันไดปูหินแกรนิต 21 ชั้น หน้าถ้ำเป็นพื้นลานกว้างยกระดับ ปูด้วยหินอ่อน ปากถ้ำมีบันได 14 ขั้น สูงจากพื้นลานหน้าถ้ำเป็นทางเข้าถ้ำ ซุ้มประตูประดับลายปูนปั้น 2 ซุ้ม

ภายในถ้ำมีพระนอนยาว 16 เมตร และพระระเบียงตามผนังถ้ำหลายองค์ประดิษฐานอยู่กับยังมีพระพุทธบาทประดิษฐานอยู่ในถ้ำนี้เช่นกัน ตามเพดานและผนังถ้ำมีหินงอกหินย้อยสวยงามตามธรรมชาติ โดยปกติมีผู้มานมัสการพระพุทธไสยาสน์และรอยพุทธบาทเป็นจำนวนมากเสมอ

ถ้ำอู่ทอง ตัวถ้ำมีขนาด 6.2 X 28 เมตร เป็นถ้ำแฝดอยู่ติดกับถ้ำพระนอนทางทิศตะวันตก เพิ่งเปิดใช้โดยการเจาะช่องบันไดไปถึงกันเมื่อไม่ถึง 10 ปีมานี้ ลักษณะถ้ำยาวรี มีความเงียบสงบบรรยากาศเหมาะแก่การบำเพ็ญภาวนาของผู้รักความสงบ ภายในถ้ำมีพระพุทธรูปหลายองค์ รวมทั้งพระปูนปั้น พระเจ้าอู่ทอง ซึ่งเป็นนามของถ้ำนี้

ถ้ำอุโมงค์ หรือถ้ำใต้ดิน อยู่ในเขตบริเวณลานวัดใกล้ถนนทางเดินที่ทำขึ้นไปยังถ้ำสวรรค์และถ้ำพระศรีอารย์ ปากถ้ำเป็นโพลงแคบ กว้างราว 1 เมตร ภายในมืดแคบต้องเปิดไฟฟ้าให้สว่าง ความยาวของถ้ำยาว 48 เมตร ก็จะสุดทางเดิน พบทางออกจากถ้ำอีกด้านหนึ่ง คนชอบลงถ้ำนี้เพื่อความตื่นเต้น และแสดงความสามารถแม้เพียงเล็กน้อยว่าได้พิชิตถ้ำนี้ได้สำเร็จ

ถ้ำสวรรค์ อยู่ใกล้หน้าผาทางทิศตะวันออก สูงราว 50 เมตร มีถนนเป็นบันไดและทางเดินเลียบหน้าผา ไปถึงโดยสะดวกปลอดภัย โดยเริ่มจากพื้นทางวัดขึ้นไป เดินไปชมธรรมชาติ ป่าเขา และทิวทัศน์โดยรอบ พอจะรู้สึกเหนื่อยก็ถึงปากถ้ำซึ่งมีลักษณะแคบ ต้องไต่บันไดไม้และบันไดปูนลงไป จะพบลานที่สวยงามแปลกตาแปลกใจต่อสิ่งที่ธรรมชาติได้บรรจงและสร้างสรรค์ขึ้นไว้

ถ้ำข่อยหรือถ้ำยาว ภายในถ้ำแคบ มืด เป็นโพลงยาวอยู่ติดกันกับถ้ำอุโมงค์ บางตอนของถ้ำจะมีน้ำท่วมขังตลอดทั้งปี ฝูงค้างคาวหลายหมื่นตัวอาศัยอยู่ในถ้ำยาวนี้

ถ้ำพระศรีอารย์ ตั้งอยู่สุดถนนทางเดินเลียบเขาที่ตรงไปยังถ้ำสวรรค์นั่นเองเดินทางไปอีกเพียง 124 เมตร ก็จะถึงปากถ้ำ ทางลงตัวถ้ำอยู่ต่ำลงไปคล้ายถ้ำเขาหลวงมีบันไดสำรองราว 40 ชั้น ก็จะพบลานกว้าง 19 X 36 เมตร มีพระพุทธรูปขนาดใหญ่หน้าตักกว้าง 2.7 เมตร ขนานนามว่าพระศรีอารย์ประดิษฐานอยู่ถ้ำนี้มี 2 คูหาใหญ่ มีธรรมชาติที่เงียบสงบ เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม

ถ้ำโคตะโม เป็นอีกถ้ำหนึ่งซึ่งมีทางขึ้นไปถึง 2 ทางด้วยกัน ทางหนึ่งจากถ้ำพระศรีอารย์ ไปออกปากถ้ำทางทิศตะวันตก แล้วเดินลัดเลาะเลียบไหล่เขาไปอีก 113 เมตร ก็จะถึงถ้ำโคตะโม ซึ่งมีขนาดกว้างยาว 6.5 X 23 เมตร มีพระพุทธรูปขนาดหน้าตักกว้าง 1 วา นามว่าโคตะโมประดิษฐานอยู่อีกทางหนึ่ง ต้องปีนไหล่เขาขึ้นไปตามทางลำลองจากบริเวณตลาดนัดเขาย้อย ความสูงราว 40 เมตร ถ้ำนี้เริ่มต้นจากบันไดทางขึ้นที่ลานวัดหน้าเขาย้อย ก็จะมีระยะทางทั้งสิ้นราว 465 เมตร

[adsense-2]

ช่วงเวลาที่เปิดให้เข้าชม เปิด ทุกวันตั้งแต่เวลา 07.00 – 17.00 น. เข้าชมฟรี

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

ททท. สำนักงานเพชรบุรี (เพชรบุรี ราชบุรี) อ.ชะอำ เพชรบุรี โทร. (032) 471 005-6
ตำรวจท่องเที่ยว โทร. 1155
ตำรวจทางหลวง โทร. 1193
สำนักงานจังหวัดเพชรบุรี โทร. (032) 425 573
ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. (032) 428 047
ที่ว่าการอำเภอเมือง โทร. (032) 425 544
โรงพยาบาลพระจอมเกล้า โทร. (032) 401 251-3
โรงพยาบาลเพชรรัชต์ โทร. (032) 417 070 – 2
สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมือง โทร. (032) 425 500, (032) 417 106
บริษัท ขนส่ง จำกัด สาขาเพชรบุรี โทร. (032) 425 307
สถานีรถไฟเพชรบุรี โทร. (032) 425 211
ไปรษณีย์เพชรบุรีโทร. (032) 425 146, (032) 425 571
ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวเทศบาลเมืองเพชรบุรี โทร. (032) 402 220, (032) 427 579
ที่ว่าการอำเภอชะอำ โทร. (032) 471 361, (032) 472 502, (032) 471 078
โรงพยาบาลชะอำ โทร. (032) 471 007
สถานีตำรวจภูธรอำเภอชะอำ โทร. (032) 471 321, (032) 434 021-2
ไปรษณีย์ชะอำ โทร. (032) 471 252
สถานีรถไฟชะอำ โทร. (032) 471 159
สถานีรถปรับอากาศ (ปอ.1) โทร. (032) 471 615 (สี่แยกชะอำ) โทร.(032) 471 654, (032) 4332 88 (ชายหาดชะอำ)
ศูนย์ตำรวจท่องเที่ยวเฉพาะกิจหัวหิน-ชะอำ โทร. (032) 515 995

การเดินทาง

รถยนต์ส่วนตัว จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 35 (สายธนบุรี-ปากท่อ) ผ่านสมุทรสาคร สมุทรสงคราม และอำเภอปากท่อ แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 4 ไปจังหวัดเพชรบุรี ประมาณ หลักกิโลเมตรที่ 136 จากนั้นเลี้ยวซ้าย แล้วขับตรง ไปประมาณ 1 กิโลเมตร ถ้ำเขาย้อย จะอยู่ทางด้านขวามือ

แผนที่

ความเห็น

ความเห็น