วัดกลางบางแก้ว

วัดกลางบางแก้ว เป็นวัดโบราณริมแม่น้ำท่าจีน เดิมชื่อวัดคงคาราม ตั้งอยู่ที่ตำบลนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ภายในมีโบสถ์ วิหาร และพระประธานเก่าแก่ ซึ่งนักโบราณคดีสันนิษฐานว่า สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ภายในมีพิพิธภัณฑ์พระพุทธวิถีนายก ก่อตั้งขึ้นโดยพระครูสิริชัยคณารักษ์ เจ้าคณะอำเภอนครชัยศรีและเป็นเจ้าอาวาสวัดกลางบางแก้วคนปัจจุบัน เพื่อเก็บรักษาโบราณวัตถุและศิลปะวัตถุล้ำค่าต่างๆ รวมทั้งข้าวของเครื่องใช้ของอดีตเจ้าอาวาส 2 รูป คือ หลวงปู่บุญ หรือ ท่านเจ้าคุณพุทธวิถีนายก (บุญ ขันธโชติ)

ประวัติความเป็นมาของวัดกลางบางแก้ว

วัดกลางบาง แก้วเป็นวัดราษฎร์แต่ เดิมชื่อว่าวัดคงคาราม คนทั่วไปแถบบริเวณนครชัยศรีนี้ มักเรียกว่า วัดกลาง เพราะ ตั้งอยู่ปากคลองบางแก้ว ตำบลปากน้ำ แขวงเมืองนครชัยศรี และตำบลปากน้ำในปัจจุบันเปลี่ยนเป็นตำบลนครชัยศรี ครั้น เมื่อ พ.ศ. 2458 สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรม พระยาวชิรญาณวโรรส เสด็จตรวจราชการตามลำน้ำนครชัยศรี (ลำน้ำท่าจีน) ได้เสด็จขึ้นทอดพระเนตรวัดทรงตรัสถามมรรคนายกวัดชื่อนายโป๊ะ ชมภูนิช ทูลว่าชื่อวัดคงคาราม ทรงเห็นว่าเป็นวัดที่อยู่ริมแม่น้ำนครชัยศรีตรงปากคลองบางแก้ว และในละแวกนั้นมีวัดใกล้เคียงอีกสองวัด ซึ่งมี อาณาเขตวัดติดต่อกัน คือด้านทิศใต้ติดต่อกับวัดใหม่สุปดิษฐาราม ด้านทิศตะวันตกติดต่อกับวัดตุ๊กตา จึงได้ทรงประทานชื่อให้ใหม่ว่า “วัดกลางบางแก้ว” ตรงกับสมัยที่พระพุทธวิถีนายก (บุญ ขนฺธโชติ) เป็นเจ้าอาวาสในสมัยนั้น แต่นั้นมาจึงใช้ชื่อวัดกลางบางแก้ว เป็นทางราชการมาจนถึงปัจจุบันนี้
วัด กลางบางแก้ว หรือ วัดคงคารามนี้ เข้าใจว่าคงเป็นวัดโบราณเก่าแก่สร้างมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา หรือตอนปลายของยุคอู่ทอง จากสภาพโบราณวัตถุภายในวัด เป็นต้นว่าอุโบสถ ใบเสมา และวิหาร ตลอดจนพระพุทธรูปหินทรายแดง ซึ่งเป็นพระประธานในอุโบสถ คือ หลวงพ่อโตและมีปรากฏตามรอยจารึกว่า

– ได้ตั้งวัดเมื่อปี พ.ศ. 1895

– ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ. 1905

– เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 10 เมตร ยาว 26.50 เมตร

– ที่ดินตั้งวัดมีเนื่อที่ 23 ไร่ 68 ตารางวา โดยมี หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน เป็นโฉนด เลขที่ 10734 กรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของวัด

วัด กลางบางแก้วนี้ ไดรับการปฏิสังขรณ์ ซ่อมสร้างสืบต่อกันเรื่อยมา และหากพิจารณาดูสภาพโดยทั่วไปแล้ว ก็พอจะสันนิษฐานได้ว่าเป็นวัดที่เคยเจริญรุ่งเรืองมาแต่สมัยอดีต เพราะมีถาวรวัตถุหลายอย่างที่แสดงให้เห็นว่า ได้มีการก่อสร้างและปฏิสังขรณ์สืบเนื่องกันต่อๆมา เช่นภาพจิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถ และภาพจิตรกรรมฝาไม้สักทองด้านในหอไตร ซึ่งมีความงดงามมาก อันแสดงถึงฝีมือช่างเมื่อครั้งยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ และวัดนี้คงมีมาก่อนท่านกวีเอกสุนทรภู่ ท่านและ นายมี ลูกศิษย์เดินทางไปนมัสการพระแท่นดงรังและได้เขียนนิราศพระแท่นดงรังไว้ คือได้ผ่านปากคลองบางแก้ว เข้าคลองบางแก้วไปขึ้นพักผ่อนที่วัดท่าใน เพื่อเดินทางไปพระแท่นดงรังในสมัยก่อน ดังมีข้อความในนิราศกล่าวถึงดังนี้

ถึง บางแก้วมองเขม้นไม่เห็นแก้ว เห็นแต่แนวคงคา พฤกษาสลอน

มี วัดหนึ่งโตใหญ่ใกล้สาคร สง่า งอนช่อฟ้าศาลาตะพาน

ดูเบื้องบนอาวาสก็ลาดเลี่ยน ต้น ตะเคียนร่มรกปรกวิหาร

อีก ทั้งสระโกสุมปทุมมาล บ้าง ตูมบานเกสรอ่อนละออ

พี่คิดถึงบัวทองของน้องแก้ว ยัง ผ่องแผ้วพรรณรายสีดายหนอ

กำลังสดมิ ได้เศร้าน่าเคล้าคลอ พี่เคยขอชมเล่นไม่เว้นวัน

ตั้งแต่พี่จำพรากมาจากน้อง มิ ได้ต้องบัวทองประคองขวัญ

ชม แต่บัวริมน้ำยิ่งรำพรรณ แสนกระสันโศกเศร้าจนเข้าคลอง

ฉะนั้น ตาม ความในนิราศพระแท่นดงรังของสุนทรภู่นี้ แม้จะไม่ได้ กล่าวออกชื่อวัด ก็เป็นวัดอื่นไปไม่ได้ เพราะตอนปากคลองแม่น้ำ มีอยู่วัดเดียว และนิราศนี้เข้าใจว่าแต่งในสมัยปลายรัชกาลที่ ๒ (พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย) หรือตอนต้นรัชกาลที่ ๓

(พระ บาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว)แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และวัดนี้ต้องมีมาก่อนแต่งนิราศแน่ จนเห็นต้นตะเคียนรกปรกวิหาร จึงสันนิษฐานว่าคงเป็นวัดโบราณสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ใครจะเป็นผู้สร้างนั้นหาทราบไม่ หรือ จะยืนยันว่าสร้างในสมัยใดก็ไม่อาจจะยืนยันได้ ขอท่านผู้รู้ได้พิจารณาสันนิษฐานเอาเอง ถึงกระนั้นก็ยังมีนิยาย ตำนานเล่ามาเหมือนกัน เข้าใจว่าคงจะมีผู้คิดผูกตำนานให้เข้าเรื่องเข้าราวตามชื่อวัดเท่านั้น เรื่องมีดังนี้

ยังมี เศรษฐีนีสองคนพี่น้อง หญิงผู้พี่ชื่อทัย หญิงผู้น้องชื่อคงทั้งสองมีจิตเลื่อมใสศรัทธาในบวรพระพุทธศาสนาใคร่จะสร้าง วัดให้เป็นที่พำนักของสงฆ์ (เขาว่าเศรษฐีสมัยก่อนชอบสร้างวัดไว้ให้ลูกวิ่งเล่น) ทั้งสองคนจึงตกลงกันสร้างวัดขึ้นสองวัดอยู่ใกล้เคียงติดกัน คือตอนปากคลองบางแก้วมุมแม่น้ำ หญิงคนน้องสร้าง น้องชื่อคง จึงตั้งวัดนามว่า “วัดคงคาราม” (วัดกลางบางแก้ว) วัดถัดเข้าไปทางทิศตะวันตก หญิงคนพี่สร้าง พี่ชื่อทัยจึงตั้งวัดนามว่า “วัดภิทัยธาราม” (วัดตุ๊กตา) จะเท็จจริงอย่างไรไม่ทราบ เพราะเป็นนิยายตำนาน

สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด

หอไตร ตั้งอยู่ข้างหอระฆัง ลักษณะเป็นแบบอาคารทรงไทย ส่วนบนสอบเล็กน้อยเข้าหาแนวกึ่งกลาง ในแนวยาวของผนังด้านทิศใต้ภายในหอไตรนี้ แต่เดิมเป็นที่เก็บคัมภีร์ และสมุดข่อยของทางวัดบรรจุอยู่ ตู้ลายรดน้ำจำนวน 5 ตู้ และของเก่าบางอย่างเอาไว้ ค่อนข้างหนาแน่น และไม่เป็นระเบียบ ในปัจจุบัน ทางวัดได้นำคัมภีร์สมุดข่อย และข้าวของต่างๆ ไปจัดแสดงไว้อย่างเป็นระเบียบในพิพิธภัณฑ์พระพุทธวิถีนายก ซึ่งเป็นอาคารใหญ่ทางด้านหน้าของหอไตร ตัวหอไตรปัจจุบันจัดทำความสะอาด เพื่อให้มีสภาพดีที่สุด และมีอายุยืนยาวต่อไป

พิพิธภัณฑ์พระพุทธวิถีนายก ภายในแบ่งออกเป็น 3 ชั้น ได้แก่

ชั้นที่หนึ่ง จัดแสดงประวัติและข้าวของเครื่องใช้ของหลวงปู่บุญและหลวงปู่เพิ่ม เครื่องรางของขลัง วัตถุมงคลและพระบูชาของหลวงปู่ อีกส่วนหนึ่งจัดเป็นเรื่องตัวยาไทย สมุนไพร ยารักษาโรค ปฏิทินโหราศาสตร์เขียนด้วยลายมือหลวงปู่ รูปปั้นและรูปถ่ายของหลวงปู่ นอกจากนี้ยังมีคัมภีร์ใบลาน สมุดข่อย ตำราโหราศาสตร์ ตำรายาไทย สมุดภาพพระมาลัย

ชั้นที่สอง จัดแสดงเครื่องถ้วยชามของใช้ แก้วเจียระไน เครื่องทองเหลือง ธรรมาสน์มุกของหลวงปู่บุญ ซึ่งพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในรัชกาลที่ 8 สร้างถวาย

ชั้นที่สาม จัดแสดงพระบุเงิน และพระบูชาไม้แกะ ธรรมาสน์บุษบกเก่าสลักไม้ลงรักปิดทอง และกุฏิเก่าของหลวงปู่ที่นำมาประกอบในลักษณะเดิม เพื่อประดิษฐานหุ่นขี้ผึ้งของหลวงปู่เหมือนกับสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่

[adsense-2]

ช่วงเวลาที่เปิดให้เข้าชม พิพิธภัณฑ์เปิดทุกวันพฤหัสบดี – อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น.

อัตราค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็กนักเรียน นักศึกษา 10 บาท (เข้าชมเป็นหมู่คณะ ต้องทำหนังสือจดหมายติดต่อล่วงหน้า เรียน เจ้าอาวาสวัดกลางบางแก้ว)

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

วัดกลางบางแก้ว โทร. (034) 331 462, (034) 332 182
ตำรวจภูธรภาค 7 โทร. (034) 243 751-2, (034) 241 426
ที่ทำการไปรษณีย์นครปฐม โทร. (034) 251 986, (034) 242 356
เทศบาลเมืองนครปฐม โทร. (034) 253 850-4
โทรศัพท์จังหวัดนครปฐม โทร. (034) 251 070, (034) 242 356
ประชาสัมพันธ์จังหวัดนครปฐม โทร. (034) 340 011-2
พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย โทร. (034) 332 061, (034) 332 067, (034) 332 109
โรงพยาบาลศูนย์นครปฐม โทร. (034) 254 150-4
สถานีเดินรถโดยสารประจำทาง โทร. (034) 251 155, (034) 514 438
สถานีตำรวจภูธร จังหวัดนครปฐม โทร. (034) 242 886, (034) 511 560
สถานีรถไฟจังหวัดนครปฐม โทร. (034) 242 305
สำนักงานขนส่งนครปฐม โทร. (034) 241 378
สำนักงานจังหวัดนครปฐม โทร. (034) 243 811, (034) 258 678
ททท. สำนักงานกาญจนบุรี โทร. (034) 512 500, (034) 623 691
ศูนย์การท่องเที่ยวกีฬาและนันทนาการ จังหวัดนครปฐม โทร. (034) 340 065-6
หอการค้าจังหวัดนครปฐม โทร. (034) 254 231, (034) 254 647, (034) 210 230
ตำรวจท่องเที่ยว โทร. 1155
ตำรวจทางหลวง โทร. 1193

การเดินทาง

รถยนต์ส่วนตัว

เส้นทางที่ 1 ถ้ามาทางเส้นปิ่นเกล้า-นครชัยศรี ให้วิ่งมาจนสุดทาง (ไม่ต้องขึ้นสะพานสูงคร่อมถ.เพชรเกษมที่จะไปทางจ.นครปฐม) แล้วมายูเทิร์นใต้สะพาน เพื่อให้มุ่งหน้าเหมือนเดินทางเข้ากรุงเทพฯ วิ่งมาสักกิโลกว่าจะเห็นซอยใหญ่ ๆ ด้านซ้ายมือ หน้าปากซอยจะมีโลโก้สีฟ้า ๆ บริษัทดัชมิลล์อยู่ข้างหน้า ให้เลี้ยวเข้าไปในซอยนี้ วิ่งไปอีกสัก 2 กิโลเมตรจะไปเจอสี่แยกเล็ก ๆ แต่รถค่อนข้างเยอะ ให้เลี้ยวซ้าย วิ่งตรงไปสักพักก็จะพบประตูวัดอยู่ทางด้านขวามือ ก็เลี้ยวขวาเข้าวัดไปเลยครับ

เส้นทางที่ 2 ถ้ามาทางถ.เพชรเกษมอยู่แล้วให้วิ่งมุ่งหน้าไปทางจ.นครปฐม จนกระทั่งเจอสามแยกใหญ่อ.นครชัยศรี (มีป้ายทางหลวงบอก) ให้เลี้ยวขวาเข้าอ.นครชัยศรีได้เลย วิ่งตรงไปจนกระทั่งเจอสี่แยกเล็ก ๆ ให้เลี้ยวขวา ขับไปสักกิโลน่าจะได้จะเห็นประตูวัดอยู่ทางด้านซ้ายมือ ก็เลี้ยวซ้ายเข้าวัดไปได้เลยครับ

แผนที่

ความเห็น

ความเห็น