วัดขุนอินทประมูล

วัดขุนอินทประมูล ตั้งอยู่ในเขตตำบลอินทประมูล อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง เป็นวัดโบราณสร้างขึ้นในสมัยกรุงสุโขทัย พิจารณาจากซากอิฐแนวเขตเดิมคะเนว่าเป็นวัดขนาดใหญ่ วัดแห่งนี้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่ มีชื่อว่า พระศรีเมืองทอง มีความยาววัดจากปลายพระเมาลีถึงปลายพระบาทได้ 50 เมตร (25 วา) เดิมประดิษฐานอยู่ในวิหารแต่ถูกไฟไหม้ปรักหักพังไป เมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 1 เหลือแต่องค์พระตากแดดตากฝนอยู่กลางแจ้งมานานนับเป็นร้อยๆ ปี องค์พระพุทธรูปมีลักษณะและขนาดใกล้เคียงกับพระนอนจักรสีห์ จังหวัดสิงห์บุรี สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยเดียวกัน องค์พระนอนมีพุทธลักษณะที่งดงาม พระพักตร์ยิ้มละไม สงบเยือกเย็นน่าเลื่อมใสศรัทธายิ่งนัก พระมหากษัตริย์ไทยหลายพระองค์ได้เคยเสด็จมาสักการะบูชา อาทิเช่น พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เสด็จมาเมื่อ พ.ศ. 2296 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ เจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ในปี พ.ศ. 2421 และ 2451 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันเสด็จฯ มาถวายผ้าพระกฐินต้นในปี พ.ศ.2516 และเสด็จมานมัสการอีกครั้งในปี พ.ศ. 2518 พุทธศาสนิกชนทั่วประเทศต่างนิยมมานมัสการเป็นเนืองนิจ

นอกจากนี้ภายในบริเวณวัดขุนอินทประมูลยังมีซากโบราณสถานวิหารหลวงพ่อขาว ซึ่งเหลือเพียงฐาน ผนังบางส่วนและองค์พระพุทธรูป และ ในศาลาเอนกประสงค์ มีศาลรูปปั้นขุนอินทประมูลและโครงกระดูกมนุษย์ ขุดพบในเขตวิหารพระพุทธไสยาสน์เมื่อปี พ.ศ. 2541 ลักษณะนอนคว่ำหน้า มือและเท้ามัดไพล่อยู่ด้านหลัง เชื่อกันว่าเป็นโครงกระดูกขุนอินทประมูลแต่บ้างก็ว่าไม่ใช่

ประวัติและความเป็นมาของวัด

จากตำนานกล่าวว่า ขุนอินทประมูล ได้ยักยอกเงินหลวงมาสร้าง ครั้งถูกสอบถามว่าเอาเงินจากใหนมาสร้างพระ ขุนอินทประมูลก็ไม่ยอมบอกความจริง จึงถูกลงโทษจนตาย คงมีความชื่อที่ว่า ถ้าบอกแหล่งที่มาของเงินแล้ว ตนจะไม่ได้กุศลตามที่ปรารถนา

พระพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่ที่ประดิษฐานอยู่ภายในวัด จากการสันนิฐานมีความเห็นว่าได้สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา พระพักตร์หันไปทางทิศเหนือ พระเศียรหันไปทางทิศตะวันออก เมื่อมองตลอดทั้งองค์มีความสง่างามมาก พระพักตรงดงามได้สัดส่วน แสดงออกถึงความมีเมตตา

ปัจจุบัน องค์พระนอนอยู่กลางแจ้งไม่มีวิหารคลุมเช่นพระนอนองค์อื่น เนื่องจากวิหารเดิมคงหักพังไปนานแล้ว ดังจะเห็นได้จาก เสาพระวิหารที่ยังปรากฏอยู่รอบองค์พระนอน รอบ ๆ องค์พระมีต้นไม้ขนาดใหญ่หลายต้นขึ้นอยู่โดยรอบ ทำให้มีความสงบร่มเย็น เหมาะแก่การไปนมัสการให้เกิดความสุข สงบ ตามธรรมชาติ ซึ่งแปลกออกไปจากบรรยากาศในพระวิหาร

[adsense-2]

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

สำนักงานจังหวัดอ่างทอง โทร. (035) 611 235 , (035) 620 130
ประชาสัมพันธ์จังหวัดอ่างทอง โทร. (035) 620 071 , (035) 613 003
สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดอ่างทอง โทร. (035) 851 015 โทรสาร (035) 851 079
องค์การบริหารส่วนจังหวัดอ่างทอง โทร. (035) 615 819 , (035) 613 905
เทศบาลเมืองอ่างทอง โทร. (035) 611 714-5
สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอ่างทอง โทร. (035) 611 143
โรงพยาบาลอ่างทอง โทร. (035) 611 520 , (035) 615 111
บริษัท ขนส่ง จำกัด โทร. (035) 611 025 , (035) 611 344
สถานีขนส่งจังหวัดอ่างทอง โทร. (035) 611 344
สถานีตำรวจภูธรเมืองอ่างทอง โทร. (035) 611 000 , (035) 613 503
ตำรวจทางหลวง โทร. (035) 611 350 , 1193
ตำรวจท่องเที่ยว โทร. 1155
สมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดอ่างทอง โทร. (035) 622 054 โทรสาร (035) 632 450

การเดินทาง

รถยนต์ส่วนตัว 

เส้นทางที่ 1 สายอ่างทอง-อำเภอโพธิ์ทอง (เส้นทาง3064) แยกขวาที่กิโลเมตรที่ 9 เข้าไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร
เส้นทางที่ 2 ใช้เส้นทางจากจังหวัดสิงห์บุรีไปทางอำเภอไชโยประมาณกิโลเมตรที่ 64-65 จะมีทางแยกซ้ายมือเข้าถึงวัดเป็นระยะทาง 4 กิโลเมตร
เส้นทางที่ 3 ใช้เส้นทางตัดใหม่สายอำเภอวิเศษชัยชาญ-โพธิ์ทอง (ถนนเลียบคลองชลประทาน) เมื่อถึงอำเภอโพธิ์ทองมีทางแยกเข้าวัดอีติดต 2 กิโลเมตร

ความเห็น

ความเห็น