ปราสาทเมืองสิงห์

ปราสาทเมืองสิงห์ ตั้งอยู่ที่ตำบลสิงห์ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ในบริเวณที่ราบริมฝั่งทิศเหนือของแม่น้ำแควน้อย ปราสาทเมืองสิงห์ มีอายุอยู่ประมาณพุทธศวรรษที่ 18 – 19 ตัวเมืองมีกำแพงและคูน้ำล้อมรอบ เป็นรูปสี่เหลี่ยมอยู่หลายชั้น ตัวปราสาทเมืองสิงห์เป็นศาสนสถานตั้งอยู่กลางเมือง สร้างขึ้นตามแบบขอม และพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 500 ไร่ ตัวปราสาทหันหน้าไปทางทิศตะวันออก อันเป็นลักษณะของการวางทิศตัวอาคารในศิลปขอม สร้างด้วยศิลาแลงบนฐานรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้างประมาณ 40 เมตร ยาวประมาณ 50 เมตร มีปรางค์ประธานตั้งอยู่ตรงกลาง มีระเบียงคดก่อด้วยศิลาแลง ล้อมรอบมีประตูซุ้ม ยอดเป็นปรางค์ทั้งสี่ด้าน ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของปรางค์ประธานมีบรรณศาลาตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน ตัวปราสาทมีกำแพงแก้วสร้างด้วยศิลาแลงล้อมรอบ จากการสันนิษฐานทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ พอเชื่อได้ว่า ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 16 – 18 เป็นห้วงระยะเวลาที่อาณาจักรทวาราวดีเสื่อมอำนาจลง อิทธิพลของศิลปขอมได้แพร่ขยายเข้ามาทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางของประเทศไทย ปัจจุบันค้นพบโบราณสถานและโบราณวัตถุเป็นจำนวนมาก

สิ่งที่น่าสนใจในบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ มีดังนี้

โบราณสถานหมายเลข 1 โบราณสถานหมายเลข 1 ตั้งอยู่บริเวณใจกลางกลุ่มโบราณสถาน องค์โบราณสถานหันหน้าไปทางทิศตะวันออกและประกอบด้วย ปรางค์ประธาน ระเบียงคด โคปุระ บรรณศาลา และกำแพงแก้ว ปรางค์ประธานเป็นศูนย์กลางของโบราณสถานมีลักษณะเป็นปรางค์องค์เดียวทรงหอสูงคล้ายฝักข้าวโพด องค์ประธานตั้งอยู่บนฐานย่อมุมไม้ 20 ขนาดกว้างและยาวด้านละ 13.20 เมตร มีมุขยื่นออกไปรับกับมุขด้านในของโคปุระทั้งสี่ทิศ โดยมุขด้านตะวันออกยาวกว่าด้านอื่นๆ และระหว่างปรางค์ปรานกับโคปุระด้านตะวันออกมีลานศิลาแลงเชื่อมเป็นลานกว้าง ระเบียนคดเป็นอาคารที่ล้อมรอบองค์ปรางค์ประธาน ด้านเหนือและด้านใต้ยาวด้านละ 42.50 เมตร ด้านตะวันออกและด้านตะวันตกยาวด้านละ 36.40เมตร ตามมุมของระเบียนคดจะมีซุ้มทิศอยู่สี่มุม

โคปุระหรือซุ้มประตูเข้าเป็นอาคารอยู่ระหว่างระเบียงคดทั้ง 4 ด้าน ซึ่งอยู่ในแนวเดียวกับซุ้มขององค์ปรางค์ และมีทางเข้าเฉพาะซุ้มด้านทิศตะวันออกเท่านั้น

บรรณศาลาหรือบรรณาลัยเป็นอาคารเล็กๆ มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 4.50เมตร ยาว 5.50 เมตร ตั้งอยู่ที่มุมทิศตะวันออกเฉียงใต้ขององค์ปรางค์ประธานประตุบรรณศาลามีประตูเดียวอยู่ทางตะวันตก สันนิษฐานว่าบรรณลัยนี้เป็นที่เก็บตำราหรือคัมภีร์ต่างๆ ทางพระพุทธศาสนา กำแพงแก้วเป็นส่วนที่ล้อมรอบตัวปราสาทมีประตูเข้าทางตะวันออก กำแพงแก้วประกอบด้วยฐานกว้าง 2.40 เมตร มีด้านกว้าง 81.20 เมตร และยาว 97.60เมตร

โบราณสถานหมายเลข 2  โบราณสถานแห่งนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของโบราณสถานหมายเลข1 และมีลักษณะคล้ายคลึงกัน ตัวโบราณสถานตั้งอยู่บนฐานสูงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 33.90 เมตร ยาว 54.20 เมตร และสูง 80 เมตร โบราณสถานหมายเลข 2 ตั้งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก และประกอบด้วยปรางค์ประธาน ระเบียงคดโคปุระ และกำแพงแก้ว ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับโบราณสถานหมายเลข 1 แต่มีขนาดเล็กกว่า โบราณสถานกลุ่มนี้ยังสร้างไม่เสร็จเรียบร้อย

โบราณสถานหมายเลข 1 และโบราณสถานหมายเลข 2 เป็นอาคารที่สันนิษฐานว่า เป็นศาสนสถานที่สำคัญ มีองค์ปรางค์ประธานตั้งอยู่กลางอาคารและเป็นที่ตั้งของรูปเคารพที่สำคัญอีกด้วย การก่อสร้างใช้ศิลาแลงเป็นส่วนวัสดุสำคัญ วัสดุอืนๆที่ใช่ ประกอบอาคารคือ กระเบื้องดินเผา ไม้ ศิลาทราย เหล็ก และอิฐ เป็นต้น การตกแต่งตัวอาคารใช้ปูนฉาบและประดับด้วยลายปูนปั้นตามปรางค์ประธานและซุ้มทิศ ปูนปั้นใช้หินปูนและเปลือกหอยเผาบดแล้วผสมด้วยกาวหนังสัตว์หรือส่วนผสมที่มีความข้นเหนียวและคลุกเคล้ากับน้ำอ้อยเพื่อให้ปูนแข็งตัวช้าทำให้ง่ายต่อการปั้นแต่งเป็นลวดลาย เทคนิคในการก่อสร้าง การก่อสร้างปรางค์ประธาน ซุ้มทิศ ระเบียง ล้วนใช้สิลาแลงและเรียงซ้อนขึ้นไปโดยมิได้ใช้ปูนสอ แต่บางแห่งก็ใช้เหล็กรูป ตัวไอ หรือ ตัวที ช่วยยึดระหว่างก้อนศิลา

โบราณสถานหมายเลข 3 ตั้งอยู่นอกกำแพงแก้ว เป็นโบราณสถานขนาดเล็ก ก่อด้วยศิลาแลง
โบราณสถานหมายเลข3 โบราณสถานแห่งนี้อยู่บริเวณนอกกำแพงแก้วทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของโบราณสถานหมายเลข 1 องค์โบราณสถานมีลักษณะเป็นสิ่งก่อสร้างขนาดเล็กสร้างด้วยอิฐและศิลาแลง ซึ่งอาจจะเป็นฐานของเจดี ดังที่กรมศิลปากรสันนิษฐานว่า สิ่งก่อสร้างสันนิษฐานว่าเป็นเจดี 2 องค์ ฐานแรกมีขนาด 5.20 คูณ 5.20 เมตร เป็นฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสสูง 1.43 เมตร ลักษณะเป็นฐานเขียงสี่เหลี่ยม ก่อขึ้นไปเป็นฐานปัทม์(บัวคว่ำหงาย) ทั้งหมดนี้ก่อสร้างด้วยอิฐโดยใช้เทคนิคการเรียงอิฐแบบ Header Bond คือใช้ด้านสันของอิฐโผล่ออกมาด้านนอก ชั้นบนของฐานปัทม์ขึ้นไปใช้ศิลาแลงก่อเป็นฐานเขียงอีกชั้นหนึ่ง…ฐานเจดีอีกองค์หนึ่งทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือใช้แลงก่อเป็นฐาน ฐานเจดีอีกองค์นี้สภาพชำรุดมากจึงไม่สามารถบอกขนนาดและลักษณะที่แน่นอนได้

โบราณสถานหมายเลข 4 อยู่ใกล้หมายเลข 3 ยังบูรณะอยู่ เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าโบราณสถานหมายเลข4โบราณสถานแห่งนี้เป็นอาคารรูปสี่เหลียมผืนผ้าแบ่งเป็นส่วนเรียงเป็นแถวแนวเหนือใต้ แต่ละส่วนมีขนาดกว้าง 3.90 เมตร และยาว 6.65 เมตร โดยเว้นระยะห่าง กัน 0.50 เมตรในแต่ล่ะส่วนทำเป็นขอบสูงขึ้นมาประมาณ 40 เซนติเมตร บนฐานส่วนที่สองจากทิศของประติมากรรมตั้งอยู่ การก่อสร้างอาคารใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุสำคัญ

ศูนย์แสดงโบราณวัตถุเมืองสิงห์ อยู่ตรงลานจอดรถด้านข้างของโบราณสถานหมายเลข 1 และโบราณสถานหมายเลข 2 จอดรถตรงนี้แล้วเดินชมโบราณสถานทั้ง 2 แห่งระยะประมาณ 200 เมตร ข้างลานจอดรถมีร้านค้าอาหารและเครื่องดื่มบริการค่ะ

ลานแสดงชิ้นส่วนของปราสาท เป็นลานเล็กๆ ที่รวบรวมชิ้นส่วนของปราสาทแบบด่างๆ มาตั้งแสดงไว้ ส่วนอีกด้านหนึ่งจะมีฐานรูปเคารพ (โยนิโสรณะ) ลานนี้จะแสดง ฐานรูปเคารพ (โยนิโสรณะ) ปกติจะพบอยู่ภายในห้องกลางหรือห้องครรภ์ของปราสาท เป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพที่สำคัญที่สุดของศาสนสถาน นำมาตั้งเรียงไว้หน้าอาคารเช่นเดียวกัน

เมืองสิงห์จำลอง อยู่ด้านข้างของศูนย์แสดงโบราณวัตถุ จำลองโบราณสถานที่พบในเมืองสิงห์ไว้โดยรอบ

นอกจากตัวเมืองโบราณ และโบราณสถานแล้วยังพบโบราณวัตถุที่เป็นประติมากรรมตามลักษณะขอมแบบบายน ซึ่งจากลักษณะทางศิลปกรรมสามารถกำหนดอายุได้ว่าเมืองสิงห์และปราสาทเมืองสิงห์ น่าจะสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 18 หรือตรงกับรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ของประเทศกัมพูชา ตามที่ปรากฎศิลาจารึกหลักหนึ่ง พบที่ปราสาทพระขรรค์ซึ่งทำขึ้นโดยเจ้าชายวีรกุมารพระราชโอรสองค์หนึ่งงของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มีข้อความสรรเสริญความกล้าหาญ และการบุญกุศลของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และมีตอนหนึ่งซึ่งกล่าวถึงชื่อเมืองต่างๆ โดยได้ระบุชื่อเมือง 6 เมือง ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นเมืองในภาคกลางของประเทศไทย ได้แก่ อโวทยะปุระ สวรรณปุระ ศัมพูกะปัฏฏนะ ชัยราชบุรี ศรีชัยสิงห์บุรี และศรีชัยวัชรบุรี ซึ่งเข้าใจกันว่าเมืองศรีชัยสิงห์บุรี ก็คือเมืองสิงห์ที่ตั้งปราสาทเมืองสิงห์ในจังหวัดกาญจนบุรี

[adsense-2]

ช่วงเวลาที่เปิดให้เข้าชม เปิดทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00-16.30 น.

อัตราค่าเข้าชม สำหรับ คนไทย 10 บาทรถยนต์ 50 บาท ชาวต่างชาติ 40 บาท เปิดให้เข้าชมฟรี ในวันเด็กแห่งชาติ วันอนุรักษ์มรดกไทย (2 เมษายน) และวันเข้าพรรษา

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

ปราสาทเมืองสิงห์ โทร. (034) 528 456-7
สำนักงานการท่องเที่ยวกาญจนบุรี (034) 511 200
สำนักงานจังหวัดกาญจนบุรี โทร. (034) 511 778, (031) 512 399
ประชาสัมพันธ์จังหวัดกาญจนบุรี โทร. (034) 512 410, (034) 514 756
สำนักงานเทศบาลเมืองกาญจนบุรี โทร. (034) 511 502-2
ที่ว่าการอำเภอเมืองกาญจนบุรี โทร. (034) 511 040, (034) 622 952
สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองกาญจนบุรี โทร. (034) 621 040-2
โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา โทร. (034) 622 999, (034) 511 233
บริษัท ขนส่ง จำกัด โทร. (034) 511 387
สถานีขนส่งจังหวัดกาญจนบุรี โทร. (034) 511 182
สถานีรถไฟกาญจนบุรี โทร. (034) 511 285
ตำรวจทางหลวง โทร. 1193
ตำรวจท่องเที่ยว โทร. 1155

การเดินทาง

รถยนต์ส่วนตัว ไปตามทางหลวงหมายเลข 323 เส้นทางสายกาญจนบุรี – ไทรโยค จนถึงกิโลเมตรที่ 15 จะมีทางแยกซ้ายไปปราสาทเมืองสิงห์อีก 7 กิโลเมตร

แผนที่

ความเห็น

ความเห็น