โบราณสถานเมืองเตย

โบราณสถานเมืองเตย ตั้งอยู่ภายในชุมชนโบราณดงเมืองเตย ทางทิศใต้ของบ้านดงเมืองเตย ต.สงเปือย อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร เป็นสถานที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่งของอำเภอคำเขื่อนแก้ว ภายในบริเวณดงเมืองเตยมีซากวัด สระน้ำ กำแพงเมือง ซึ่งปัจจุบันได้ชำรุดลงไปมากแล้ว แต่ยังมีเค้าโครงเดิมพอจะสันนิษฐานได้ว่าเดิมเป็นที่ตั้งของชุมชนโบราณสมัยเจนละ-ทวารวดี ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 จากข้อความที่พบในจารึกของกษัตริย์เจนละ แสดงว่าโบราณสถานแห่งนี้สร้างขึ้นเป็นศาสนสถาน ในศาสนา พราหมณ์ที่นับถือพระศิวะ ในช่วงเวลานั้น บริเวณดงเมืองเตย รวมทั้งชุมชนใกล้เคียง ก็คงจะเคยเป็นเมืองที่ มีชื่อว่า “ศังขะปุระ” ซึ่งคงจะมีความสัมพันธ์ในฐานะเมืองในปกครอง ของอาณาจักรเจนละ ซึ่งก็คือ อาณาจักรขอมในสมัยต่อมาที่แผ่อำนาจเข้ามาในเขตลุ่มแม่น้ำมูล-ชี ในช่วงเวลาดังกล่าว

ดงเมืองเตยเป็นชุมชนอยู่อาศัยทีมีมาแต่สมัยก่อนประวิติศาสตร์ยุคโลหะเรื่อยมาจนถึงสมัยทวารวดี จากโบราณวัตถุที่พบเช่น ขี้แร่ ขวานหินขัด เศษภาชนะดินเผาและใบเสมา สมัยทวารวดีภายในเมืองมีพุทธสถานเนื่องในศิลปะทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ 12 เห็นได้จากลายจำหลักอิฐที่ตัวโบราณสถานและบนหินทรายแดง สันนิษฐานว่าโบราณสถานแห่งนี้น่าจะถูกดัดแปลงต่อเติมเป็นศาสนสถานแบบศิลปะลพบุรี ในราวต้นพุทธศตวรรษที่ 16 เนื่องจากขุดค้นพบสิงห์หินทรายประดับทางเข้าสู่โบราณสถาน จากสภาพทั่วไปของดงเมืองเตย ในอดีตจะมีลักษณะเป็นชุมชนที่มีคูน้ำล้อมรอบ ภายในบริเวณเมืองจะเป็นโคกเนิน และเป็นแหล่ง ถลุงเหล็กและผลิตเหล็กที่สำคัญของชุมชน ต่อเส้นทางของน้ำได้เปลี่ยนไป คนจึงอพยพไปอยู่ที่อื่น ซากดงเมืองเตย มีลักษณะเป็นซากกำแพงเมือง มีสระน้ำ เป็นชุมชนโบราณ ได้รับอิทธิพลของอารยธรรมในสมัยเจนละ ปรากฎโบราณสถานที่ก่อด้วยอิฐ และชินส่วนสถาปัตยกรรม ที่ทำจากหินทรายแดงพร้อมศิลาจารึกจากชิ้นส่วนดังกล่าวเรียกทั่วไป “จารึกดงเมืองเตย” มีการพบทับหลังและซากโบราณสถานสมัยขอม ตามบริเวณพื้นดินทั่วไป พบภาชนะเครื่องปั้นดินเผาหลายยุค รวมทั้งเศษตะกรันโลหะ ในอารยธรรมยุคสัมฤทธิ์และพบหินสลักรูปจำลอง กุฑุวงโค้งรูปเกือกม้ามีอายุประมาณ พุทธศตวรรษที่ 11-12

[adsense-2]

ส่วนหินทรายสีชมพูนั้นที่ยังอยู่สมบูรณ์คือแท่นหินขนาดใหญ่ ยาว และหนา ที่น่าจะเป็นฐานปราสาท มีลวดลายสลักเป็นดอกไม้สองแท่งวางตั้งไว้ด่านหน้าศาลา ส่วนนอกนั้นคือชิ้นส่วนที่แตกหักวิ่นแหว่ง แต่หลายชิ้นยังมีร่องรอย ลวดลายที่ผู้สร้างบรรจงสลักเสลาด้วยฝีมือแห่งศรัทธา มีทั้งใบเสมา และชิ้นส่วนที่ไม่รู้ว่าเป็นอะไร วางปนอยู่กับท่อนไม้ซึ่งไม่ใช่ท่อนไม้ธรรมดาเพราะมีการตกแต่งสลักลวดลายให้เห็นอยู่เช่นกัน และภายในศาลายังมีตู้กระจกเก็บเศษกระดูกมนุษย์ หม้อ ไห กระเบื้องดินเผาและเครื่องมือเครื่องใช้ทำด้วยสำริด เหล็ก ที่ขุดได้เช่นกัน เป็นวัตถุพยานถึงอารยะหลายยุคสมัยในสถานที่แห่งนี้ที่สืบเนื่อง และคงเป็นเมืองสำคัญแห่งดินแดนลุ่มน้ำมูล-ชี –โขง

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

ททท. สำนักงานอุบลราชธานี
พื้นที่รับผิดชอบ: ยโสธร,อำนาจเจริญ,อุบลราชธานี 264/ ถ.เขื่อนธานี อ.เมือง จ.อุบลราธานี 34000
โทรศัพท์. (045) 243770, (045) 250714
โทรสาร. (045) 243771
ตำรวจทางหลวง โทร. (045) 489136
ไปรษณีย์จังหวัด โทร. (045) 711761
สถานีขนส่งจังหวัด โทร. (045) 712965
สถานีตำรวจภูธร อ.เมือง โทร. (045) 711572
โรงพยาบาลกุดชุม โทร. (045) 789090
โรงพยาบาลค้อวัง โทร. (045) 797058
โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว โทร. (045) 791133
โรงพยาบาลทรายมูล โทร. (045) 787046
โรงพยาบาลป่าติ้ว โทร. (045) 712044
โรงพยาบาลมหาชนะชัย โทร. (045) 799049
โรงพยาบาลยโสธร โทร. (045) 711061, 712581

การเดินทาง

รถยนต์ส่วนตัว

จากตัวจังหวัดยโสธร ใช้ทางหลวงหมายเลข 23 (ถนนแจ้งสนิท) มุ่งหน้าทางทิศใต้หรือมุ่งหน้าตำบลสงเปือย อ.คำเขื่อนแก้ว ประมาณ 20 กิโลเมตร เลี้ยวขวามุ่งหน้าบ้านสงเปือย ประมาณ 4.7 กิโลเมตร ถึงตัวหมู่บ้าน เลี้ยวซ้ายใช้ถนนภายในหมู่บ้านประมาณ 550 เมตร เลี้ยวซ้ายอีกประมาณ 650 เมตร ถึงตัวเนินดงเมืองเตยและสำนักสงฆ์ดงเมืองเตย โบราณสถานดงเมืองเตยตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกของเนิน

ความเห็น

ความเห็น