วัดไผ่ล้อม

วัดไผ่ล้อม ตั้งอยู่บนเกาะเกร็ด ด้านทิศเหนือของเกาะเกร็ด ริมแม่น้ำเจ้าพระยา หมู่ที่ 6 ตำบลเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี สร้างสมัยอยุธยาตอนปลาย มีโบสถ์ที่งดงามมาก ลายหน้าบันจำหลักไม้เป็นลายดอกไม้ มีคันทวยและบัวหัวเสาที่งดงามเช่นกัน หน้าโบสถ์มีเจดีย์ขนาดย่อมสององค์รูปทรงคล้ายมะเฟือง ฐานสี่เหลี่ยมย่อมุมสิบสอง ประดับลายปูนปั้น คนมอญเรียกวัดนี้ว่า “เพี๊ยะโต้”

ประวัติความเป็นมา
วัดไผ่ล้อม เป็นวัดโบราณที่สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา อาจจะเป็นวัดเก่าแก่ที่สุดวัดหนึ่งบนเกาะเกร็ด แต่ได้เป็นวัดร้างไปตั้งแต่ พ.ศ. 2308 เพราพม่าเข้าตีและยึดเมืองนนทบุรี จากนั้นเข้าตีกรุงศรีอยุธยาได้เมื่อ พ.ศ. 2310 จึงไม่มีพระสงฆ์และชาวบ้านดูแลวัด พ.ศ. 2317 ได้มีคนมอญมาบูรณปฏิสังขรณ์วัดขึ้นใหม่ วัดไผ่ล้อมถึงมีพระสงฆ์อยู่ประจำวัดสืบมา แต่วัดคงมีสภาพทรุดโทรมมากเพราะมีชาวบ้านไม่มาก ประกอบกับวัดถูกทิ้งร้างมานาน ต่อมาอำแดงแตนได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์ อุโบสถ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2446 ที่ตั้งวัดไผ่ล้อมอยู่กลางระหว่าง วัดมอญอีก 2 วัด คือวัดปรมัยยิกาวาสและวัดเสาธงทอง คนมอญจึงเรียกวัดไผ่ล้อมในภาษามอญว่า เภี่ยะโต้ แปลว่าวัดกลาง การตั้งอยู่ระหว่างวัดดังที่กล่าว ประกอบกับมีชุมชนใกล้วัดจนเกือบจะเป็นวัดร้าง

พ.ศ. 2527 พระปลัดวันชัย วายาโม ศิษย์พระราชอุดมมงคลหรือหลวงพ่ออุตตมะ วัดวังวิเวการาม อำเภอสังขละ จังหวัดกาญจนบุรี ได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อม ได้ร่วมกับชาวบ้านพัฒนาวัดไผ่ล้อมจนมีสภาพดี ประกอบกับเกาะเกร็ด ได้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมมอญที่สำคัญ วัดไผ่ล้อมจึงมีนักท่องเที่ยวมาทำบุญที่วัดมาก วัดไผ่ล้อมเดิมเป็นวัดที่สังกัดคณะสงฆ์รามัญนิกาย ปัจจุบันสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย

สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด

อุโบสถ เป็นอาคารทรงโรง หลังคาลด 2 ชั้น ก่ออิฐถือปูนขนาด 5 ห้อง กว้าง 7เมตร ยาว 20 เมตร มีลักษณะรูปทรงและสัดส่วนงดงามมาก อุโบสถหันหน้าไปทางทิศเหนือทางแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งเป็นคตินิยมในการสร้างพระอุโบสถรุ่นโบราณ ที่ถือแม่น้ำเป็นหลักไม่ได้ถือทิศตะวันออกเป็นหลักเช่นที่ถือปฏิบัติกัน ในสมัยหลัง หน้าบันไม้จำหลักลายดอกพุดตานใบเทศ ปิดทองประดับกระจกคันทวยไม้จำหลักปิดทองประดับกระจก เป็นคันทวยที่งามอ่อนช้อยมาก ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ เป็นไม้ปิดทองประดับกระจกทั้งหมดรวมทั้งหน้าบันปีกนกจำหลักลายใบเทศปิดทองประดับกระจกเช่นกัน ซึ่งเป็นการบูรณะในช่วงสมัยรัชกาลที่ 3 ถึงรัชกาลที่ 4 ด้านหน้าและด้านหลังมีมุขคลุมชานชาลาทั้งสองด้านเสารับมุขก่ออิฐถือปูน เป็นเสาเหลี่ยมย่อมุม บัวหัวเสา บัวจงกลปูนปั้น รูปทรงงามปิดทอง ประดับ กระจก ประตูด้านหน้าและด้านหลังด้านละสองประตูซุ้มประตู ซุ้มหน้าต่างเดิมเป็นซุ้มเรือนแก้วปูนปั้นปิดทองประดับกระจก แต่ปัจจุบันเป็นปูนรูปทรงไม่งามเหมือนของเดิมผนังหุ้มกลองด้านหน้าระหว่างประตูทั้งสอง มีมณฑปปูนปั้นประดิษฐานพระพุทธรูป ผนังมณฑปด้านขวาและซ้ายของพระพุทธรูปเขียนภาพพระสาวกยืนพนมมือถวายสักการะด้านละหนึ่งรูปมณฑปนี้ได้ทำใหม่ภาพเขียนดังกล่าวนี้จึงไม่มีให้เห็นในปัจจุบัน เพราผุพังถูกกะเทาะทิ้งและโบกปูนทับใหม่ พระอุโบสถหลังนี้ถึงจะมีการปรับปรุงซ่อมแซมไปบ้าง แต่ยังคงเห็นความงามของพระอุโบสถหลังนี้ได้และเป็นพระอุโบสถที่มีความงามหลังหนึ่ง เช่นเดียวกับพระอุโบสถวัดฉิมพลีสุทธาวาส

 เสมา รอบพระอุโบสถเป็นเสมาขนาดเล็กอยู่ในซุ้มเสมาทั้งหมด

กำแพงแก้ว ของเดิมก่ออิฐถือปูนเป็นกำแพงเตี้ยแบบกำแพงบัวหลังเจียด แต่ชำรุดมาก ได้สร้างกำแพงคอนกรีตขนาดสูง และมีซุ้มประตูกำแพงแก้วทั้งด้านหน้าและด้านหลังอุโบสถ

พระเจดีย์คู่หน้าพระอุโบสถ ด้านหน้าอุโบสถมีเจดีย์แบบมอญ 2 องค์ องค์ระฆังมีรูปทรงกลมคล้ายบาตรคว่ำมีลายปูนปั้นปิดลายใบเทศ ประดับรอบองค์ระฆังอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมย่อมุมมีปลียอดแบบเจดีย์มอญทั่วไปมีการบูรณะสมัยรัชกาลที่ 3

พระธาตุรามัญเจดีย์ ด้านหลังอุโบสถเดิมมีพระธาตุรามัญเจดีย์ขนาดใหญ่แต่ชำรุดปรักหักพัง ทางวัดได้สร้างพระเจดีย์องค์ใหม่ครอบองค์เจดีย์เดิม เมื่อ พ.ศ. 2530 เป็นเจดีย์มอญที่มีความงดงาม องค์พระเจดีย์ประดิษฐานอยู่บนฐานใหญ่ รอบฐานในทิศทั้งแปด มีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปประจำวัดแบบมอญ ทั้ง 8 ทิศ กำแพงแก้วล้อมรอบพระธาตุรามัญเจดีย์ ทางด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตก มีซุ้มประตูแบบมอญทั้งสองด้าน

หอระฆัง ตั้งอยู่หลังพระธาตุรามัญเจดีย์อยู่ระหว่างศาลาการเปรียญ และศาลาบำเพ็ญบุญและที่พักสงฆ์เป็นสถาปัตยกรรมแบบมอญ ทรงจัตุรมุขยอดเป็นแบบยอดเจดีย์มอญ

ศาลาการเปรียญ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กทรงไทยสองชั้น แต่หน้าบันศาลาการเปรียญปั้นเป็นรูปมนุษย์สีหะ ซึ่งเป็นคติความเชื่อของคนมอญ วัดมอญจะนิยมทำรูปมนุษย์สีหะ มียันต์อักขระมอญ บันไดขึ้นศาลาด้านหน้าทำหลังคาคลุมลดชั้นตลอดตั้งแต่เชิงบันไดขึ้นไปตามแบบวัดมอญ

ศาลาบำเพ็ญบุญและที่พักสงฆ์ เป็นอาคารขนาดเดียวกับศาลาการเปรียญ สร้างในแนวเดียวกัน และมีหน้าบันคล้ายกันกล่าวคือมีรูปมนุษย์สีหะและยันต์อักขระมอญ เป็นอาคารอเนกประสงค์ ?เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม และที่พักสงฆ์ ด้านหน้ามีบันไดขึ้นแลหลังคาลดชั้นคลุมบันไดเช่นเดียวกับบันไดขึ้นศาลาการเปรียญ

หอสวดมนต์และหมู่กุฏิของเดิม ด้านทิศตะวันตกของอุโบสถเป็นที่ตั้งหอสวดมนต์และหมู่กุฏิเก่า เป็นอาคารไม้ทั้งหมดมีหอสวดมนต์อยู่ตรงกลาง ทรงศาลาโถง ประดิษฐานพระพุทธรูปและเป็นที่พระสงฆ์มารวมสวดมนต์อยู่ตรงกลาง ทรงศาลาโถง ประดิษฐานพระพุทธรูปและเป็นที่พระสงฆ์มารวมสวดมนต์ทำวัตรเช้า และทำวัตรเย็น ทั้งเป็นสถานที่ฉันภัตตาหารของพระภิกษุสามเณรในวัดด้วย

หอระฆังเก่า เป็นหอระฆังเครื่องไม้ทั้งหมด หลังคาจัตุรมุขหน้าบันจำหลักลายก้านขด และรูปเสมากลางหน้าบันมีความสวยงาม ทั้งหอสวดมนต์ หมู่กุฏิ และหอระฆังอยู่ในสภาพที่ทรุดโทรมมาก แต่ยังเห็นความอลังการของสถาปัตยกรรมโบราณเหล่านี้ได้

[adsense-2]

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดนนทบุรี (02) 589 5479
สำนักงาน ททท. สำนักงานกรุงเทพมหานคร (02) 250 5500
สำนักงานขนส่งจังหวัด (02) 591 4079
สำนักงานจังหวัด (02) 528 4700
สถานีตำรวจภูธร เมืองนนทบุรี (02) 527 0236-7
ท้องถิ่นจังหวัด (02) 580 0715
อำเภอเมืองนนทบุรี (02) 591 5224
อำเภอปากเกร็ด (02) 583 3400
อำเภอบางบัวทอง (02) 194 1101
อำเภอบางกรวย (02) 447 5123
อำเภอบางใหญ่ (02) 950 245
อำเภอไทรน้อย (02) 597 1178
ประชาสัมพันธ์จังหวัด (02) 580 0751

การเดินทาง

รถยนต์ส่วนตัว  วัดไผ่ล้อม ตั้งอยู่บนถนนตรีรัตน์ ตำบลจันทนิมิตร อยู่ทางซ้ายของแม่น้ำจันทบุรี อยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำจันทบุรี

รถสองแถว จากตัวเมืองสายปทุมธานี-เชียงราก ลงรถหน้าวัด หรือนั่งรถสองแถวสายปทุมธานี-สามโคก ลงรถที่วัดดอน (วัดสุราษฏร์รังสรรค์) หรือวัดสามัคคิยาราม แล้วต่อเรือข้ามแม่น้ำเจ้าพระยามายังวัด ค่าโดยสารเรือคนละ 10 บาท
รถประจำทาง
ขึ้นรถสายหมอชิต-อ.เสนา และรถสายนนทบุรี-อ. เสนา ลงรถที่วัดดอนแล้วนั่งเรือข้ามฟากมายังวัดไผ่ล้อม นอกจากนี้ยังมีบริการนำเที่ยวทางเรือ กรุงเทพฯ-วัดไผ่ล้อม-ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร จัดโดยบริษัท เรือด่วนเจ้าพระยา จำกัด ไปเช้า-เย็นกลับ ทุกวันอาทิตย์ ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่โทร. 02-6236001

แผนที่

ความเห็น

ความเห็น