ปางอุ๋ง

ปางอุ๋ง หรือที่มีชื่อเรียกเต็มๆ ว่า “โครงการพระราชดำริปางตอง 2 (ปางอุ๋ง)” นั้น เป็นโครงการในพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงเห็นว่าพื้นที่บริเวณนี้เป็นพื้นที่อันตราย อยู่ติดแนวชายแดนพม่ามีกองกำลัง ต่างๆ มีการขนส่ง ปลูกพืชเสพติด รวมไปถึงการบุกรุกพื้นที่ตัดไม้ทำลายป่าอยู่เสมอพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระราชินีนาถจึงมีพระราชดำริให้รวบรวมราษฎรกลุ่มน้อยบริเวณนั้น และ พัฒนาความเป็นอยู่ ส่งเสริม อาชีพปลูกป่า สร้างอ่างเก็บน้ำ โดยมีพระราชประสงค์สร้างความมั่นคงแนวชายแดน พัฒนาความเป็นอยู่ของ ราษฎร ให้ดีขึ้นและฟื้นฟูอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้สมบูรณ์ยั่งยืนตลอดไป

ปางอุ๋ง มีลักษณะเป็นพื้นที่เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่บนยอดเขาสูง ริมอ่างเก็บน้ำเป็นทิวสนที่ปลูกเรียงรายกัน ปางอุ๋ง ที่หลายๆ คนอาจยังไม่เข้าใจความหมาย คำว่า “ปาง” ซึ่งหมายถึงที่พักของคนทำงานในป่า ส่วน “อุ๋ง” นั้น เป็นภาษาเหนือหมายถึงที่ลุ่มต่ำคล้ายกระทะใบใหญ่มีน้ำขังเฉอะแฉะ ก็น่าจะหมายถึงที่พักริมอ่างเก็บน้ำนี่เอง ภาพอันสวยงามของไอหมอกที่ลอยเหนือทะเลสาป กับบรรยากาศอันหนาวเหน็บในยามเช้า ทำให้ปางอุ๋ง กลาย เป็น เป็นสถานที่ท่องเี่ที่ยวมาแรง ยอดฮิต สุดแสนโรแมนติกติดอันดับต้นๆของแม่ฮ่องสอน จนได้รับขนานนาม ว่าเป็น “สวิตเซอร์แลนด์แห่งเมืองไทย” ยิ่งยามพระอาทิตย์ขึ้นจะสะท้อนผืนน้ำผ่านทิวสนและไอหมอกบางๆ ยิ่งเ็ป็นภาพที่สร้างความประทับยากจะลืมเลือน แม้ในกระทั่งเวลาที่หมอกเลือนลางหายไปก็ยังคงความงาม

ที่ปางอุ๋งนอกจากชมบรรยากาศของสายหมอกในยามเช้าแล้ว กิจกรรมอีกอย่างหนึ่งที่พลาดไม่ได้ คือ การนั่งแพ ชมทัศนียภาพและบรรยากาศโดยรอบ รวมถึงชมนดาราแห่งปางอุ๋ง นั่นก็คือหงส์พระราชทานจากสมเด็จพระราชินี ซึ่งเป็นหงส์ดำและหงส์ขาวอย่างละ 1 คู่ด้วยกันและไม่ควรพลาดที่จะไปชมสวนปางอุ๋งใกล้กับ ที่ทำการของ โครงการพระราชดำริฯ ซึ่งจัดสร้างขึ้นมาเพื่อให้มีพืชพรรณที่กลมกลืนกับสภาพภูมิประเทศบนที่สูงทดแทนไร่ฝิ่น ร้างแต่ดั้งเดิมซึ่งไว้ลูกพืชที่ให้ประโยชน์ทางด้านอาหารและยาแพทย์แผนไทย และสร้างความกลมกลืนกับ ภูมิประเทศ เช่น อะโวคาโด พลับ สาลี่ บ๊วยอีกทั้งยังมีการตกแต่งด้วยสวนไม้ ดอกไม้ประดับเมืองหนาว เช่น กุหลาบ ไฮเดรนเยีย พวงแสด อีกทั้งยังมีการพยายามนำพืชและสัตว์ประจำถิ่นของพื้นที่ปางอุ๋งกลับมา เช่น เอื้องแซะและกล้วยไม้ต่างๆ และสัตว์อย่างเขียดแลน เป็นต้น

ระเบียบข้อควรปฏิบัติในพื้นที่

นักท่องเที่ยวประเภทพักค้างแรม
– ต้องลงทะเบียน ผ่านศูนย์ศิลปาชีพ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จึงจะสามารถนำรถเข้าปางอุ๋งได้
– โทรศัพท์ 053-611-244 มือถือ 085-618-3303 โทรสาร 053-611-649, 053-611-690
– การจองที่พัก ให้แจ้งชื่อและเบอร์ติดต่อกลับ แก่เจ้าหน้าที่ (พื้นที่รองรับได้ 500 คน/วัน)
– ถึงแม้จะมีบัตรค้างแรมแต่ก็นำรถเข้าออกพื้นที่ได้ระหว่างเวลา 09.00 – 18.00 น. เท่านั้น

นักท่องเที่ยวประเภทไปกลับ
– ผู้ที่ไม่มีบัตรค้างแรม จะต้องนำรถไปจอดไว้ที่ โรงเรียนบ้านนาป่าแปก หรือ วัดนาป่าแปก
– โดยสารรถสองแถวของชุมชนเข้าไปที่ปางอุ๋งซึ่งให้บริการระหว่างเวลา 04.00 – 18.00 น.
– บัตรโดยสารคนละ 50 บาท (ใช้ได้ทั้งขาไปและกลับเหมือน Airport Link Express Line)
– รถออกทุก 20 นาที กรณีเหมาคัน (ผู้โดยสารไม่เกิน 6 คน) คิดค่าบริการต่ำสุด 300 บาท

รถที่เข้าปางอุ๋งได้
– รถรับจ้างประจำทางในพื้นที่
– รถของชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในพื้นที่
– รถของหน่วยงานราชการในพื้นที่โครงการ
– รถของหน่วยงานราชการที่ได้รับบัตรผ่านจากจังหวัด
– รถของนักท่องเที่ยวที่มีบัตรผ่านค้างแรม เข้าออกพื้นที่ได้ระหว่างเวลา 09.00 – 18.00 น.

รถที่เข้าปางอุ๋งไม่ได้
– รถบัส รถบรรทุกขนาดใหญ่
– รถของนักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการ ที่เดินทางไปกลับวันเดียว ไม่พักค้างแรมที่ปางอุ๋ง
– รถของนักท่องเที่ยวที่มีบัตรผ่านค้างแรม แต่ทว่า เดินทางมาถึงปางอุ๋งหลังเวลา 18.00 น.

ข้อมูลเพิ่มเติม
– ที่พักบนปางอุ๋ง จะมีเครื่องปั่นกระแสไฟให้ใช้เฉพาะช่วงเวลา 18.00 – 22.00 น. เท่านั้น เป็นอีกเหตุผลท ี่สั่งห้าม รถเข้า-ออกหลังเวลา 18.00 น. เพื่อความปลอดภัยในการเดินทาง นักท่องเที่ยว ควรเตรียมไฟฉาย ส่องสว่าง และแบตเตอรี สำรองให้เพียงพอต่อการใช้งาน

[adsense-2]

สิ่งอำนวยความสะดวก/ที่พัก

1. รวมไทยเกสท์เฮ้าส์ที่พักติดทะเลสาป โทร 053-611244 มี 4 แบบ
– บ้านหลังใหญ่ 2 หลัง นอนได้ 4 คน มีห้องน้ำในตัว ราคา 600 บาท
– บ้านหลังกลาง 3 หลัง นอนได้ 2 คน มีห้องน้ำในตัว ราคา 450 บาท
– บ้านชนเผ่า 4 หลัง นอนได้ 2 คน มีห้องน้ำในตัว ราคา 450 บาท
– บ้านหลังเล็ก 4 หลัง นอนได้ 2 คน ห้องน้ำรวม ราคา 350 บาท

2. บ้านพักร่วมโครงการฯ ในหมู่บ้าน
– บ้านพัก 69 หลัง นอนได้ 2 คน มีห้องน้ำในตัว ราคา 400 บาท
– พักเกินจำนวน คิดเพิ่มคนละ 100 บาท

กรณีพักค้างแรมด้วยเต็นท์
– เต็นท์ จะไม่มีการจองล่วงหน้า ให้ติดต่อศูนย์ศิลปาชีพฯ ด้วยตนเอง ก่อนเวลา 12.00 น.
– พื้นที่กางเต็นท์จำกัด 100 พื้นที่ต่อวัน และต้องเดินทางไปถึงปางอุ๋ง ก่อนเวลา 18.00 น.
– พื้นที่สำหรับกางเต็นท์ (นำเต็นท์มาเอง) 70 พื้นที่ ราคา 100 บาท ต่อ 1 หลัง
– พื้นที่สำหรับกางเต็นท์ (มาเช่าเต็นท์ที่นี่) 30 พื้นที่ ราคา 300 บาท ต่อ 1 หลัง
***บริการล่องแพชมบรรยากาศและหงส์ ราคา 150 บาท
***ช่วงเทศกาลที่พักจะเต็มเร็วมากหากใครจะไปเที่ยวต้องจองล่วงอย่างน้อย 1 เดือน

ระเบียบการจองบ้านพัก
– โครงการจัดหมู่บ้านรวมไทยตามพระราชดำริ (ปางอุ๋ง) จะเก็บข้อมูลการจองเอาไว้ 7 วัน
– หากไม่โอนเงินภายใน 7 วัน ถือว่ายกเลิกการจอง และถูกตัดยอดไปให้ผู้อื่นต่อในทันที
– ส่งแฟกซ์ใบโอนเงินมาที่ 053-611-649, 053-611-690 ระบุชื่อผู้พัก/ผู้จอง วันที่เข้าพัก
– เงินที่โอนเข้าบัญชีแล้ว ไม่มีการคืน, สามารถเปลี่ยนวันเข้าพักได้ หากมีที่ว่างในเวลานั้น
– นำใบโอนเงินตัวจริงมาในวันเข้าพักด้วย
– รับจองบ้านพักเฉพาะวันและเวลาราชการ (จันทร์ – ศุกร์ ระหว่างเวลา 8.30 – 16.00 น.)
– รับบัตรค้างแรมได้ทุกวัน เวลาราชการ (จันทร์ – อาทิตย์ ระหว่างเวลา 8.30 – 16.00 น.)

3. บ้านพักของโครงการพระราชดำริ ปางตอง 2 (ปางอุ๋ง)
โครงการพระราชดำริ ปางตอง ปางอุ๋ง (ส่วนป่าไม้) มีบ้านพักจำนวน 5 หลัง และพื้นที่กางเต็นท์ จำนวน 50 เต็นท์ ต่อวัน ไว้บริการให้แก่หน่วยงานราชการ-รัฐวิสาหกิจ สถาบันการศึกษา สมาคม-ชมรม และนักท่องเที่ยว เข้าไปพักแรมและเยี่ยมชม เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ติดต่อเจ้าหน้าที่ีี่ โครงการฯ หมายเลขโทรศัพท์ 080 847 8456 และ 087 661 8594

4. โฮมสเตย์ของชาวบ้าน
นอกจากที่พักของโครงการซึ่งตั้งอยู่ใกล้กะบทะเลสาปแ้ล้ว ในบริเวณทางเข้าปางอุ๋งยังมีที่พักแบบโฮมสเตย์ ซึ่งเป็นของชาวบ้านเปิดให้บริการหลายหลังชมภาพพร้อมข้อมูล คลิ๊ก รวมที่พักปางอุ๋ง

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

ททท.สำนักงานแม่ฮ่องสอน เลขที่ 4 ถ.ราชธรรมพิทักษ์ ต.จองคำ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน 58000
โทร. 0-5361-2982 email : [email protected]

การเดินทาง
รถยนต์ส่วนตัว
เส้นทางที่1
– จากกรุงเทพ ถ้าขับรถไปเองอาจใช้เส้นทางกรุงเทพ-ฮอด ผ่านอยุธยา-นครสวรรค์-ตาก ถึง อำเภอลี้ แยกซ้ายเข้า อำเภอ แล้วเดินทางต่อไปตามเส้นทาง ลี้-บ้านโฮ่ง ก่อนถึง อำเภอบ้านโฮ่ง จะมีป้ายบอกให้เลี้ยวซ้ายไปทะเลสาบ ดอยเต่า ขับไปจนถึงฮอด จากนั้นใช้เส้นทาง ฮอด – แม่ฮ่องสอน ผ่าน อำเภอขุนยวม เข้าสู่ อำเภอเมือง แม่ฮ่องสอน – จากเมืองแม่ฮ่องสอนสู่ปางอุ๋ง ตามเส้นทางสู่ แม่ฮ่องสอน-ปางมะผ้า-ปาย ขับไปเรื่อย ๆ ผ่านน้ำตก ผาเสื่อ ผ่านพระตำหนักปางตอง เข้าสู่บ้านหมอกจำแป๋ หมู่บ้านใหญ่เป็นจุดแยก ซ้ายไปปางอุ๋ง ขวาไปถ้ำปลา (ระยะทางไปถ้ำปลาแค่ 3 ก.ม.)เลี้ยวซ้ายจากนี้ไป หนทางคดโค้ง ไต่เขาชันขึ้นเรื่อยๆ มาถึง บ้านนาป่าแปก หมู่บ้านรวมมิตรที่จะเห็นชาวบ้านทั้งกระเหรี่ยงและไทยใหญ่ แต่งกายเป็นเอกลักษณ์ เลี้ยวซ้ายเข้า หมู่บ้านรวมไทย ผ่านหมู่บ้านรวมไทย ก็เข้าถึงจุดหมายโครงการสวนป่าในพระราชดำริปางตอง 2 “ปางอุ๋ง” ทะเลสาบสวย แต่ถ้าตรงไปเป็น หมู่บ้านรักไทย หมู่บ้านของชาวจีน จากกองพล 93
เส้นทางที่2
– มุ่งหน้าไปจังหวัดเชียงใหม่ แล้วค่อยต่อไปยังจังหวัดแม่ฮ่องสอน ขาขึ้นจากเชียงใหม่แนะนำเส้นทางแม่มาลัย-ปาย-ปางมะผ้า มีสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง ก่อนถึงแม่ฮ่องสอน จะถึงทางเข้าบ้านหมอกจำแป่ ให้เลี้ยวขวาเข้า ไปตามทางจะมีป้ายบอกทางไปบ้านรวมไทย น้ำตกผาเสื่อ พระตำหนักปางตอง บ้านรักไทย ซึ่งอยู่ทางเดียวกัน ประมาณ 25 กิโลเมตรมีทางแยกซ้าย ป้ายเล็กๆ เขียนว่า บ้านรวมไทย ให้เลี้ยวเข้าไปผ่านหมู่บ้านห้วยมะเขือส้ม ตรงไปเรื่อยๆ ก็จะถึงบ้านรวมไทย หรือ ปางอุ๋ง

รถโดยสารประจำทาง
จากแม่ฮ่องสอน ให้ไปที่หน้าตลาดสายหยุด ถามหาคิวรถปางอุ๋ง จะมีรถสองแถวประจำทางขึ้นไปยังปางอุ๋ง (บ้านรวมไทย) เป็นสาย แม่ฮ่องสอน-ห้วยมะเขือส้ม เที่ยวไป 09.00 น. และ 14.00 น., เที่ยวกลับ 06.00 น. และ 11.00 น.หรืออาจจะเหมารถจากหน้าตลาดสายหยุดไปเลยก็ได้อัตรค่าโดยสารประมาณ 600 บาท

สำหรับคนที่ต้องการรถสองแถวนำเที่ยวปางอุ๋ง ติดต่อ โทร 081 784 5121, 086 115 2816 ราคาวันละ 1600 บาท โดยจะนำเที่ยวปางอุ๋ง บ้านรักไทย พระตำหนักปางตอง ภูโคลน โดยจะมารับเวลาตี 5 ในตัวเมืองแม่ฮ่องสอน หรือแล้วจะตกลงสถานที่

แผนที่

ความเห็น

ความเห็น