ศาลพันท้ายนรสิงห์

ศาลพันท้ายนรสิงห์ (ศาลดั้งเดิม) ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ต.พันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ได้รับประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 72 ตอนที่ 2 เมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2498 และกรมศิลปากรยืนยันว่าเป็นสถานที่เกิดเหตุจริง กล่าวไว้ว่าศาลแห่งนี้เป็นศาลเดิมซึ่งเป็นที่ นับถือของประชาชนมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา อยู่ในคลองเลยวัดโคกขามลึกเข้าไป เป็นสถานที่เดิมที่พันท้ายนรสิงห์ถูกประหารชีวิต ต่อมากลายเป็นศาลร้างและปรักหักพังตามกาลเวลาแต่มีประชาชนสร้างขึ้นมาใหม่ทด แทนของเดิมอยู่เรื่อยๆ

จากหลักฐานดังกล่าวทำให้ทราบได้ว่า ศาลพันท้ายนรสิงห์ดั้งเดิมนั้นคือศาลที่อยู่คลองเลยวัดโคกขามลึกเข้าไป ประมาณ 4 กิโลเมตร และของเดิมนั้นร้างไปแล้ว ส่วนศาลอื่นๆ เป็นศาลที่สร้างจำลองขึ้นเพื่อรำลึกถึงความซื่อสัตย์ จงรักภักดี ของ พันท้ายนรสิงห์ทั้งสิ้น อย่างไรก็ตามแม้แต่ศาลพันท้ายนรสิงห์ดั้งเดิมนั้นก็เป็นศาลซึ่งประชาชนเชี่อ ถือกันว่า เป็นศาลเพียงตาที่ทำไว้แต่ครั้งเหตุการณ์ประหารชีวิตพันท้ายนรสิงห์ มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์รับรองเฉพาะเรื่องสถานที่เท่านั้น ไม่มหลักฐานอื่นๆ ยืนยันได้ว่าศาลที่เชื่อถือกันดังกล่าวเป็นศาลที่สร้างมาตั้งแต่สมัยสมเด็จ พระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ) จริงหรือไม่ เพราะกาลเวลาผ่านมาเป็นร้อยปีย่อมปรักหักพังไปตามกาลเวลา แต่ในปัจจุบันที่ยังเห็นว่ามีศาลอยู่นั้นก็เพราะมีการสร้างศาลขึ้นทดแทนศาล ที่ปรักหักพัง และมีการพัฒนาศาลพันท้ายนรสิงห์อย่างต่อเนื่องจนกระทั่งปี พ.ศ. 2541 ข้าราชการ, พ่อค้า, ประชาชน ได้ร่วมแรงร่วมใจกันปรับปรุงและพัฒนาศาลพันท้ายนรสิงห์ (ดั้งเดิม) เป็นการใหญ่ โดยการสร้างศาลหลังใหม่ที่ใหญ่โต และปรับภูมิทัศน์รอบๆ บริเวณศาลพันท้ายนรสิงห์ ทำให้ประชาชนที่เคารพในความซื่อสัตย์ของพันท้ายนรสิงห์ เดินทางมากราบไหว้อย่างเนืองแน่น โดยเฉพาะวันเสาร์ – อาทิตย์

ศาลพันท้ายนรสิงห์ (จำลอง) ในจังหวัดสมุทรสาคร มีผู้สร้างเพิ่มขึ้นจากเดิมอีก 3 แห่ง คือ
1. ศาลพันท้ายนรสิงห์ ที่ปากคลองโคกขาม ตำบลโคกขาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร
2. ศาลพันท้ายนรสิงห์ ที่อยู่ภายในวัดโคกขาม ตำบลโคกขาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร
3. ศาพันท้ายนรสิงห์ ที่วัดพันท้ายนรสิงห์ ริมถนนพระราม 2 ตำบลบางน้ำจืด อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร

ปัจจุบันมีการสร้างจำลองอีกหลายแห่งในจังหวัดสมุทรสาคร เพื่อเชิดชูเกียรติประวัติพันท้ายนรสิงห์ และเพื่อเป็นเยี่ยงอย่างแก่อนุชนรุ่งหลังสืบไป รวมทั้งเป็นที่สักการะบูชาและการสร้างศาลพันท้ายนรสิงห์ เพื่อรำลึกถึงความซื่อสัตย์ จงรักภักดีและการรักษาระเบียบวินัยยิ่งชีวิตของพันท้ายนรสิงห์

ประวัติพันท้ายนรสิงห์

พันท้ายนรสิงห์ เป็นนายท้ายเรือพระที่นั่งเอกไชยอยู่ในรัชสมัยสมเด็จพระสรรเพชญ์ ที่ 8 (พระเจ้าเสือ) ได้รับ ยกย่องว่าเป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริต จงรักภักดีและรักษาระเบียบวินัยยิ่งชีวิต เรื่องราวของพันท้ายนรสิงห์ปรากฏ อยู่ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับต่างๆ ได้กล่าวถึงเหตุการณ์ใน พ.ศ.2246 – 2252 สมเด็จพระสรรเพชญ์ ที่ 8 ประพาสปากน้ำสาครบุรี (ปัจจุบันคือจังหวัดสมุทรสาคร) เพื่อทรงเบ็ด ด้วยเรือพระที่นั่งเอกไชย มีพันท้ายนรสิงห์เป็นนายท้าย พันท้ายนรสิงห์เป็นชาวบ้านนรสิงห์ แขวงเมืองอ่างทอง การเสด็จประพาสปากน้ำสาครบุรีในครั้งนี้ เมื่อเรือพระที่นั่งไปถึงตำบลโคกขามคลองบริเวณดังกล่าวมีความคดเคี้ยวมาก พันท้ายนรสิงห์พยายามคัดท้ายเรือพระที่นั่งอย่างระมัดระวังแต่ไม่อาจหลบเลี่ยงอุบัติเหตุได้ หัวเรือพระที่นั่งชนกิ่งไม้ใหญ่หักตกลงไปในน้ำ พันท้ายนรสิงห์รู้โทษดีว่า ความผิดครั้งนี้ถึงประหารชีวิตตามโบราณราชประเพณี ซึ่งกำหนดว่าถ้าผู้ใดถือท้ายเรือพระที่นั่งให้หัวเรือพระที่นั่งหัก ผู้นั้นถึงมรณะโทษให้ตัดศีรษะเสียจึงกราบทูลพระกรุณาน้อมรับโทษตามพระราชประเพณี

สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 ทรงพิจารณาเห็นว่าอุบัติเหตุครั้งนี้เป็นการสุดวิสัยมิใช่ความประมาท จึงพระราชทานอภัยโทษให้ แต่พันท้ายนรสิงห์กราบบังคมยืนยันขอให้ตัดศรีษะตนเพื่อรักษาขนบธรรมเนียมในพระราชกำหนดกฎหมาย เป็นการป้องกันมิให้ผู้ใดครหาติเตียนพระเจ้าอยู่หัวได้ว่าทรงละเลยพระราชกำหนดของแผ่นดินและเพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างสืบไป พระองค์ทรงโปรดให้ฝีพายทั้งปวงปั้นมูลดินเป็นรูปพันท้ายนรสิงห์ แล้วให้ตัดศีรษะรูปดินนั้นเพื่อเป็นการทดแทนกัน แต่พันท้ายนรสิงห์ยังบังคมกราบทูลยืนยันขอให้ประหารตน แม้สมเด็จพระสรรเพชญ์ ที่ 8 จะทรงอาลัยรักน้ำใจพันท้ายนรสิงห์เพียงใดก็ทรงจำพระทัยปฎิบัติตามพระราชกำหนด ดำรัสสั่งให้เพชฌฆาตประหารพันท้ายนรสิงห์แล้วโปรดให้ตั้งศาลสูงประมาณเพียงตา นำศีรษะพันท้ายนรสิงห์กับหัวเรือพระที่นั่งเอกไชยซึ่งหักนั้น ขึ้นพลีกรรมไว้ด้วยกันบนศาล

แล้วทรงพระราชดำริว่าคลองโคกขามคดเคี้ยวนักไม่สะดวกต่อการเดินเรือ บางครั้งชาวเมืองต้องเดินเรืออ้อมเป็นที่ลำบากยิ่ง สมควรจะขุดลัดตัดตรง เมื่อขุดเสร็จจึงได้รับพระราชทานนามว่า “คลองสนามไชย” ต่อมาเปลี่ยนเป็น “คลองมหาชัย”ทั้งนี้เพื่อเป็นการรำลึกถึงพันท้ายนรสิงห์ข้าหลวงเดิมซึ่งเป็นคนซื่อสัตย์ มั่นคง ยอมเสียสละชีวิตโดยไม่ยอมเสียพระราชประเพณี กรมศิลปากรได้ดำเนินการจัดสร้างศาลพันท้ายนรสิงห์ขึ้น อยู่ถัดจากศาลเก่าที่พังลงไม่มากนัก โดยกันอาณาบริเวณรอบๆ ศาลไว้

[adsense-2]

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

ททท.สำนักงานสมุทรสงคราม พื้นที่รับผิดชอบ: สมุทรสงคราม,สมุทรสาคร,นครปฐม
โทร.(034) 752 847-8 โทรสาร. (0 34) 752 846
ประชาสัมพันธ์จังหวัดสมุทรสาคร โทร. (034) 412 992, (034) 810 123
สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมือง โทร. (034) 412 533, (034) 429 271-4
โรงพยาบาลจังหวัดสมุทรสาคร โทร. (034) 427 099
สถานีขนส่ง จ.สมุทรสาคร โทร. (034) 411 046
ตำรวจทางหลวง โทร. 1193
ตำรวจท่องเที่ยว โทร. 1155

การเดินทาง

รถยนต์ส่วนตัว  หากมาจากถนนพระราม 2 ผ่านโลตัสสาขาพระราม2 ด้านซ้ายมือ จะเจอสะพานทางแยกต่างระดับ ให้มุ่งหน้าตรงไปทางจ.สมุทรสาคร วิ่งมาประมาณ 5 กม.จากสะพาน ให้สังเกตุซ้ายมือจะมีปั๊ม Jet ร้านขายกระเบื้องบุญถาวร เบี่ยงเข้าซ้าย เข้าทางคู่ขนาน ขับไปอีกประมาณ 2 กม.จะเห็นสะพานลอยคนข้ามวัดพันท้าย ให้วิ่งเข้าซอยไปประมาณ 9 กม.

ความเห็น

ความเห็น