พระปฐมเจดีย์

พระปฐมเจดีย์ ตั้งอยู่ที่ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม องค์พระปฐมเจดีย์ เป็นปูชนียสถานอันสำคัญของประเทศไทย อยู่ภายในวัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร มีประวัติความเป็นมายาวนานในแผ่นดินสุวรรณภูมิ เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุขององค์พระโคตมพุทธเจ้า เป็นพระเจดีย์ใหญ่ รูป ระฆังคว่ำ ปากผายมหึมา โครงสร้างเป็นไม้ซุง รัดด้วยโซ่เส้นมหึมาก่ออิฐ ถือปูน ประดับด้วยกระเบื้องปูทับ ประกอบด้วยวิหาร 4 ทิศ กำแพงแก้ว 2 ชั้น เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ของพระพุทธเจ้า เป็นที่เคารพสักการบูชาของบรรดาพุทธศาสนิกชนทั่วโลก ทางวัดกำหนดให้มีงานเทศกาลนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ ในวันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 12 ถึง วันแรม 5 ค่ำ เดือน 12 รวม 9 วัน 9 คืน เป็น ประจำทุกปี

ประวัติองค์พระปฐมเจดีย์

พระปฐมเจดีย์ หรือเดิมเรียกว่า พระธมเจดีย์ มีฐานะเป็นมหาธาตุหลวง ของแผ่นดินสุวรรณภูมิ ทั้งนี้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชวินิจฉัยว่า พระธมเจดีย์องค์นี้อาจเป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นเมื่อคราวที่พระสมณทูตในพระเจ้าอโศกมหาราชเดินทางมาเผยแผ่ศาสนายังสุวรรณภูมิก็เป็นได้ เพราะพระเจดีย์เดิมมีลักษณะทรงโอคว่ำหรือทรงมะนาวผ่าซีกแบบเดียวกับพระสถูปสาญจี แต่ปรากฏว่ามียอดเป็นแบบปรางค์ ซึ่งพระองค์ฯ มีพระราชวินิจฉัยว่า อาจมีเจ้านายพระองค์ใดมาบูรณะไว้ก็เป็นได้ ซึ่งตรงกับความในศิลาจารึกหลักที่ 2 (ศิลาจารึกวัดศรีชุม) ของพระมหาเถรศรีศรัทธา อันได้กล่าวไว้ว่า พระมหาเถรศรีศรัทธาฯ ท่านทรงได้แวะมาบูรณะพระธมเจดีย์องค์นี้ ก่อนที่ท่านจะเดินทางกลับ เมืองราด เมื่อคราวที่ท่านเสด็จกลับจากศึกษาศาสนาพุทธในประเทศศรีลังกา ทั้งนี้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงพระราชทานนามใหม่ว่าพระปฐมเจดีย์

ในเรื่องนี้ นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีบางท่าน ได้ระบุว่า พระปฐมเจดีย์ไม่ได้เป็นเจดีย์ที่เก่าที่สุดของสุวรรณภูมิ แต่เป็น พระมหาธาตุหลวง ในยุคทวารวดี มากกว่า เนื่องด้วยเหตุผลประกอบหลายประการ โดยเฉพาะ การค้นพบเจดีย์ ที่มีอายุเก่าแก่กว่าพระธมเจดีย์ และหลักฐานลายลักษณ์อักษร ที่ระบุว่า ” พระเจดีย์องค์นี้ เดิม ขอมเรียก พระธม ซึ่งไม่ว่าจะเป็นชาวขอมจริงๆ หรือชาวลวรัฐ ซึ่งสมัยนั้นเราก็เรียกว่าขอม เช่น ขอมสบาดโขลญลำพง คำว่า ธม สำหรับ ชาวขอม นั้น แปลว่า ใหญ่ ตรงกับคำเมืองว่า หลวง ซึ่งเราก็เรียกพระนครธม ว่า พระนครหลวง ด้วยเหตุผลเดียวกัน

นอกจากนี้พระบรมราชสรีรางคารพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว บรรจุที่ฐานพระร่วงโรจนฤทธิ์ พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม และฐานพระพุทธชินสีห์ วัดบวรนิเวศวิหาร ตามที่มีพระบรมราชโองการสั่งไว้ในพระราชพินัยกรรม ต่อมา ในพุทธศักราช 2529 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญพระสรีรางคารพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีในรัชกาลที่ 6 ไปบรรจุไว้เคียงข้างพระบรมราชสรีรางคารรัชกาลที่ 6 ที่ใต้ฐานพระร่วงโรจนฤทธิ์ ต่อมาใน พ.ศ. 2555 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระสรีรางคารสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ไปบรรจุไว้เคียงข้างพระบรมราชสรีรางคารรัชกาลที่ 6 และพระสรีรางคารพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ที่ใต้ฐานพระร่วงโรจนฤทธิ์

พระร่วงโรจนฤทธิ์

ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ดำรง พระยศเป็นสมเด็จพระยุพราช ได้เสด็จ ตรวจค้นโบราณสถานในมณฑล ฝ่ายเหนือ เมื่อ พ.ศ. พบพระพุทธรูปชำรุดองค์หนึ่งจมในพื้น วิหาร วัดโบราณในเมืองศรีสัชนาลัย โปรดให้ขุดขึ้น พบพระเศียร พระหัตถ์ และพระบาทที่ยังดีไม่ชำรุดมีลักษณะ งดงามต้องตาม พระราชหฤทัย จึงโปรดให้เชิญลงมากรุงเทพมหานคร ครั้งเสด็จเถลิง ถวัลยราชสมบัติ จึงโปรด ให้สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ทำรูปหุ่นขี้ผึ้ง ปฏิสังขรณ์ปั้นให้เสร็จบริบูรณ์เต็มองค์ ตั้งการพระราชพิธี เททองที่วัดพระเชตุพนฯ เมื่อ พ.ศ.2456 เป็นพระยืนปางห้ามญาติ หล่อ ด้วยโลหะ ครั้นแล้วเสร็จ อัญเชิญประดิษฐานไว้ที่ซุ้มวิหารทิศ ตรงบันได ใหญ่เมื่อวันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. 2458 ทรงถวายพระนาม ว่า “พระร่วงโรจนฤทธิ์ ศรีอินทราทิตย์ ธรรโมภาส มหาวชิราวุธ ราชปูชนียบพิตร” สูงจากพระเกศาถึงพระบาท 12 ศอก 4 นิ้ว และทรง พระกรุณาโปรดเกล้าในพระราชพินัยกรรม ให้บรรจุพระอังคารของพระองค์ท่านไว้ในใต้ฐานพระนี้ด้วย

พระวิหารหลวง คือพระวิหารที่อยู่ด้านทิศตะวันออกขององค์พระปฐมเจดีย์ ห้องนอกประดิษฐ์พระพุทธรูปปางตรัสรู้ประทับนั่งขัดสมาชิกอยู่ใต้ต้นโพธิ์บัลลังก์ ต้นโพธิ์เป็นภาพเขียนฝีมืองดงามเหมือนของจริงมาก ส่วนห้องในพระวิหารหลวงปล่อยไว้โล่ง ๆ มีแท่นบูชาเป็นของเก่าในรัชกาลที่ 4 ซึ่งเป็นที่นมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ ในสมัยรัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯ ให้วาดรูปองค์พระปฐมเจดีย์ แสดงให้เห็นลักษณะขององค์เจดีย์ตั้งแต่สมัยเริ่มสร้างมาจนถึงปัจจุบัน ผนังทั้งสองข้างเป็นภาพวาดรูปเทวดา นักพรต ฤาษี และพระยาครุฑ ทุกภาพประนมมือแสดงการสักการะบูชาพระปฐมเจดีย์

[adsense-2]

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

ตำรวจภูธรภาค 7 โทร. (034) 243 751-2, (034) 241 426
ที่ทำการไปรษณีย์นครปฐม โทร. (034) 251 986, (034) 242 356
เทศบาลเมืองนครปฐม โทร. (034) 253 850-4
โทรศัพท์จังหวัดนครปฐม โทร. (034) 251 070, (034) 242 356
ประชาสัมพันธ์จังหวัดนครปฐม โทร. (034) 340 011-2
พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย โทร. (034) 332 061, (034) 332 067, (034) 332 109
โรงพยาบาลศูนย์นครปฐม โทร. (034) 254 150-4
สถานีเดินรถโดยสารประจำทาง โทร. (034) 251 155, (034) 514 438
สถานีตำรวจภูธร จังหวัดนครปฐม โทร. (034) 242 886, (034) 511 560
สถานีรถไฟจังหวัดนครปฐม โทร. (034) 242 305
สำนักงานขนส่งนครปฐม โทร. (034) 241 378
สำนักงานจังหวัดนครปฐม โทร. (034) 243 811, (034) 258 678
ททท. สำนักงานกาญจนบุรี โทร. (034) 512 500, (034) 623 691
ศูนย์การท่องเที่ยวกีฬาและนันทนาการ จังหวัดนครปฐม โทร. (034) 340 065-6
หอการค้าจังหวัดนครปฐม โทร. (034) 254 231, (034) 254 647, (034) 210 230
ตำรวจท่องเที่ยว โทร. 1155
ตำรวจทางหลวง โทร. 1193

การเดินทาง

รถยนต์ส่วนตัว จากกรุงเทพฯ สามารถไปได้ 2 เส้นทาง คือ ใช้ทางหลวงหมายเลข 4 (เพชรเกษม) ผ่านอ้อมน้อย อ้อมใหญ่ สามพราน ไปจนถึง จังหวัดนครปฐม หรือใช้ถนนบรมราชชนนี ผ่านพุทธมณฑล นครชัยศรี ไปจนถึงตัวจังหวัดนครปฐม

รถไฟ สถานีรถไฟบางกอกน้อยก็ขึ้นรถไฟได้ เที่ยวแรกขบวน 255 ออก 07.25 น. ถึงนครปฐม 08.30 น. เที่ยวสองขบวน 257 ออก 07.45 ถึงนครปฐม 08.53 น. ค่าโดยสารฟรีตลอดสายลงรถไฟที่สถานีนครปฐมลงสถานีเดินตรงไปก็ถึงองค์พระปฐมเจดีย์เลย ไม่ต้องต่อรถ

รถตู้ ขึ้นรถตรงพระพรหม ข้าง ๆ ห้างเซนทรัลปิ่นเกล้าปิ่นเกล้า – ม.ศิลปากร ( สนามจันทร์ราคา 40 บาท ใช้เวลาประมาณ 20 – 40 นาที

รถทัวร์ นั่งรถสาย 997 กรุงเทพ-นครปฐม ตรงสถานีขนส่งสายใต้ก็ได้ค่ะ จุดจอดที่นครปฐมก็ใกล้องค์พระปฐมเจดีย์

แผนที่

ความเห็น

ความเห็น