ปรางค์แขก

ปรางค์แขก ตั้งอยู่ที่หมู่ 4 ตำบลท่าหิน อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี อยู่ใกล้กับนารายณ์ราชนิเวศน์ เป็นโบราณสถานที่เก่าแก่ที่สุดของจังหวัดลพบุรี โดยสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 15 เดิมเป็นศาสนสถานในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ตัวเทวสถานประกอบด้วยปราสาทอิฐ 3 องค์ เรียงตัวกันในแนวเหนือใต้หันหน้าไปทางทิศตะวันออก องค์กลางมีขนาดใหญ่กว่าองค์อื่น ๆ มีประตูทางเข้าเพียงประตูเดียวในแต่ละปรางค์ ส่วนอีกสามประตูเป็นประตูหลอก และไม่มีฉนวนเชื่อมดังพระปรางค์สามยอด แต่เดิมก่อด้วยอิฐไม่สอปูนและคาดว่าคงพังทลายลง ช่วงกรุงศรีอยุธยาตอนปลายในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชจึงมีการปฏิสังข รปรางค์ทั้งสามองค์ขึ้นใหม่ในรูปแบบถืออิฐสอปูนแต่ละก้นเชื่อมด้วยยางไม้ และสร้างอาคารอีกสองหลังขึ้นเพิ่มเติม โดยอาคารแรกเป็นวิหารทางด้านหน้า ส่วนอาคารอีกหลังทางทิศใต้สร้างเป็นถังเก็บน้ำประปา และอาคารทั้งสองเป็นศิลปะไทยผสมยุโรปโดยประตูทางเข้ามีลักษณะโค้งแหลม ต่อมาเมื่อชำรุดทรุดโทรมลง กรมศิลปากรได้เข้าไปทำการบูรณะเพิ่มเติมและเทคอนกรีตเสริมฐานรากด้วย เทวสถานปรางค์แขก ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของวัดนครโกษา ห่างประมาณ 550 เมตรบริเวณด้านหน้าศาลจังหวัดลพบุรีในปัจจุบัน ปรางค์แขกเป็นเทวสถานในศาสนาพราหมณ์ ศิลปะลพบุรี อายุราวพุทธศตวรรษที่ 15 ประกอบด้วยปรางค์ก่ออิฐไม่สอปูนตั้งเรียงกันสามองค์ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก องค์ปรางค์มีประตูทางเข้าเฉพาะด้านหน้า ปัจจุบันบริเวณประตูทางเข้ายังคงพบชิ้นส่วนเสาประกับกรอบประตูซึ่งทำด้วยหิน ทรายติดอยู่ ส่วนด้านอื่นเป็นประตูหลอก ภายในปรางค์องค์กลางยังคงมีฐานศิวลึงค์ปรากฏให้เห็น ส่วนศิวลึงค์หายไปนานแล้ว

ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โปรดให้บูรณะเทวสถานปรางค์แขก มีการสร้างวิหารเล็กขึ้นหน้าปรางค์ มีทางเข้าเป็นแบบประตูโค้งแหลม หน้าจั่วมีลายปูนปั้นประดับเพื่อใช้เป็นที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และสร้างถังเก็บน้ำประปาตรงมุมเทวสถานด้านทิศใต้อีกด้วยต่อมาในปี พ.ศ. 2504 และ พ.ศ. 2521 กรมศิลปากรได้ทำการขุดแต่งและบูรณะปรางค์แขกอีกครั้งหนึ่ง นับว่าปรางค์แขกเป็นโบราณสถานที่เก่าแก่และสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัด ลพบุรี

เทวสถานปรางค์แขกประกอบด้วย

1. เทวสถานปรางค์สามองค์ การวางผังปรางค์องค์นั้น เรียงกันคล้ายพระปรางค์สามยอดแต่มีขนาดเล็กกว่า และไม่มีระเบียงทอดถึงกัน ไม่มีทับหลัง ปรางค์ทั้งหมดก่อทับสามด้านเปิดไว้เฉพาะด้านตะวันออก ในพระปรางค์องค์กลางตามผนังข้างในเป็นคูหา ผนังไม่ฉาบปูนแต่ขัดเรียง บนเพดานใช้พื้นเป็นสีขาวเขียนลวดลายปิดทอง พื้นก่ออิฐสูงขึ้นมาประมาณครึ่งเมตร เข้าใจว่าเดิมคงจะเป็นศิวลึงค์ตั้งบนราวไม้ศิลาขนาดใหญ่ ปัจจุบันศิวลึงค์หายไป เทวสถานนี้มีลักษณะต่างไปจากปราสาทขอมหลายอย่าง เช่น ลายปูนปั้นสูงขึ้นมาก ส่วนโค้งของบัวลูกแก้วที่ฐานปรางค์มีขนาดใหญ่ เครื่องบนหรือหลังคาเริ่มย่อมุมมาก การกำหนดอายุ น่าจะเป็นสิ่งปลูกสร้างที่เก่าที่สุดที่เหลืออยู่เมืองลพบุรี และน่าจะสร้างขึ้นในราวศตวรรษที่ 15

2. วิหารด้านทิศตะวันออก ของเทวสถาน โบสถ์วิหาร เข้าใจว่าจะเป็นโบสถ์พราหมณ์ ปัจจุบันเหลือเพียงพนังและหน้าต่างเป็นแบบโค้งแหลมเหมือนกับอาคารอื่นที่ สร้างในสมัยอยุธยาตอนปลาย บริเวณหน้าจั่วมีลายปูนปั้นแบบตะวันตกเหลืออยู่ น่าจะสร้างขึ้นสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

3. ถังน้ำประปา เป็นอาคารตึก 2 ชั้น ผนังเหลืออยู่ทั้ง 4 ด้าน น่าจะสร้างขึ้นสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

หากท่านเดินทางมาตระเวนเที่ยวในตัวเมืองลพบุรี เทวสถานปรางค์แขกก็เป็นจุดหมายหนึ่งที่ไม่ควรพลาด เนื่องจากเข้าถึงที่ตั้งได้ง่าย และอยู่ไม่ไกลจากสถานที่ท่องเที่ยวอื่น อาทิ พระนารายณ์ราชนิเวศน์ ปรางค์สามยอด และวัดพระศรีมหาธาตุ อีกทั้งสถานที่ยังมีความสวยงาม ทั้งตัวเทวสถานเองและบริเวณโดยรอบที่ประดับด้วยพันธุ์ไม้ดอกหลากสี และที่สำคัญก็คือ ท่านจะได้เห็นเสน่ห์ของเมืองไทยอย่างหนึ่ง นั่นคือ การมีโบราณสถานตั้งตระหง่านอยู่กลางเมืองศิวิลัย

[adsense-2]

ช่วงเวลาที่เปิดให้เข้าชม  เปิดทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00 – 16.30 น. เข้าชมฟรี

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

เทวสถานปรางค์แขก  โทร. (036) 770 096 – 7
ททท.สำนักงานลพบุรี โทร. (036) 770 096-7
ประชาสัมพันธ์จังหวัดลพบุรี โทร. (036) 420 333, (036) 425 222
โรงพยาบาลลพบุรี โทร. (036) 621 537
โรงพยาบาลเบญจรมย์ โทร. (036) 413 622, (0 36) 412160 โทร. (036) 413 933
สถานีตำรวจอำเภอเมืองลพบุรี โทร. (036) 411 013, (036) 421 189
สถานีตำรวจอำเภอเมืองลพบุรี โทร. (036) 411 013, (0 36) 421 189
ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข โทร. (036) 411 006
สถานีตรวจอากาศวิทยาลพบุรี โทร. (036) 411 098
ตำรวจทางหลวง โทร. (036) 411 622, (036) 731 222, 1193
ตำรวจท่องเที่ยว โทร. (036) 424 515, 1155

การเดินทาง

รถยนต์ส่วนตัว  ปรางค์แขก อยู่ใกล้ตลาดสด เขตตำบลท่าหิน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี  อยู่บนเกาะกลางสี่แยกถนนวิชาเยนทร์กับถนนสุระสงคราม ห่างจากพระนารายณ์ราชนิเวศน์ 300 เมตร

ความเห็น

ความเห็น