วัดภุมรินทร์กุฎีทอง

วัดภุมรินทร์กุฎีทอง ตั้งอยู่ริมแม่น้ำแม่กลอง ตรงปากคลองประชาชื่นฝั่งตะวันตก ตำบลสวนหลวง อำเภออัมพวา จ.สมุทรสงคราม  มีประวัติเล่าว่า เศรษฐีบิดาของคุณนาค (สมเด็จพระอมรินทรามาตย์พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 1) ให้สมภารวัดบางลี่ตรวจดูดวงชะตาคุณนาค สมภารทำนายว่าจะได้เป็นพระราชินี เศรษฐีบิดาคุณนาคจึงให้คำมั่นว่า ถ้าเป็นจริงจะสร้างกุฎีทองถวายให้วัด วัดบางลี่จึงได้ชื่อว่า วัดบางลี่กุฎีทอง ต่อมาวัดบางลี่ถูกน้ำเซาะที่ดินพังลง จึงรื้อกุฎีทองมาสร้างไว้ที่วัดภุมรินทร์ วัดนี้จึงได้ชื่อว่าวัดภุมรินทร์กุฎีทอง นอกจากนี้ ยังมีพิพิธภัณฑ์วัดภุมรินทร์และอุทยานการศึกษา เป็นสถานที่เก็บรวบรวมโบราณวัตถุล้ำค่าสมควรแก่การศึกษาและอนุรักษ์ ไว้ เช่น พระพุทธรูป หนังสือไทย โถลายคราม และเครื่องทองเหลือง พระพุทธรูปเก่าแก่อายุกว่า 300 ปี เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทอง ปางมารวิชัยชื่อ พระพุทธรัตนมงคลหรือหลวงพ่อโต และ พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยประดิษฐาน

สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด

กุฎีทอง กุฎิทองหลังนี้ สร้างโดยท่านทอง ท่านสั้น ผู้เป็นบิดามารดาของสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ (เดิมชื่อนาค) พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สร้างเมื่อปี พุทธศักราช 2325 ต่อมาได้บูรณะใหม่เมื่อปี พุทธศักราช 2431 กุฎีทองเป็นเรือนไม้ทรงไทยตกแต่งลวดลายทั้งภายในและภายนอกด้วยลายรดน้ำปิดทองตลอดทั้ง หลังจึงทำให้เป็นที่มาของชื่อกุฎีทองแต่เดิมนั้นกุฎีทองตั้งอยู่ที่วัดบาง ลี่บน ริมแม่น้ำแม่กลองบริเวณที่เป็น ตำบลสวนหลวง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงครามในปัจจุบัน โดยกล่าวกันว่า สมเด็จพระอมรินทรา พระบรมราชินีในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงสร้างถวายเจ้าอาวาส วัดบางลี่บนในราวปี พ.ศ.2325 เนื่องจากสมเด็จพระอมรินทราทรงมีพระนิวาสสถานเดิม ณ บ้านบางช้าง ตำบลอัมพวา และทรงเลื่อมใสศรัทธาท่านเจ้าอาวาสวัดบางลี่มาแต่ครั้งยังทรงพำนักอยู่ที่ บ้านบางช้าง เมื่อได้รับการสถาปนา เป็นพระบรมราชินีจึงได้สร้างกุฎีทองถวายเจ้าอาวาสวัดบางลี่บนรวมทั้งหมด 3 หลังด้วยกัน ครั้นต่อมาภายหลังวัดบางลี่บนได้กลายสภาพเป็นวัดร้างเนื่องจากที่ตั้งของวัด นั้นตั้งอยู่ในบริเวณ ที่เป็นคุ้งน้ำช่วงหักข้อศอกจึงถูกกระแสน้ำกัดเซาะตลิ่งพังกินพื้นที่วัดทำ ให้วัดเหลือพื้นที่น้อยลงทุกที นานวันเข้าจึงทำความเสียหายให้แก่เสนาสนะต่างๆ ภายในวัด รวมทั้งกุฎีทองที่ได้พังทลายเสียหายลง 2 หลัง คงเหลืออยู่เพียง 1 หลัง วัดบางลี่บนจึงกลายเป็นวัดร้างไปในที่สุด จนกระทั่งในราวปี พ.ศ.2468 พระอธิการเกีย เจ้าอาวาสวัดภุมรินทร์จึงได้รื้อกุฎีทอง ที่เหลืออยู่หลังสุดท้ายมาปลูกไว้ที่วัดภุมรินทร์ ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำแม่กลอง ปากคลองประเวศเพชรภูมิ (ปากคลองบางลี่) ฝั่งตะวันตกของอำเภออัมพวา รวมทั้งยังได้เก็บรวบรวมศาสนวัตถุต่างๆ ที่เคยอยู่ในวัดบางลี่บน อันได้แก่ พระประธานภายในพระอุโบสถ รอยพระพุทธบาทจำลองและพระพุทธรูปต่างๆ มาประดิษฐานไว้ที่วัดภุมรินทร์ด้วยเช่นกัน และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาวัดภุมรินทร์จึงมีชื่อเรียกต่อท้ายว่า วัดภุมรินทร์กุฎีทอง

เสาเก่าแก่ของกุฎิทอง เสาต้นนี้เป็นเพียงต้นเดียวที่เป็นของเดิมหลังการบูรณะ มีความเชื่อว่าหากลูบเสาต้นนี้แล้วอธิษฐานสิ่งที่ขอจะเป็นจริง และเมื่อเป็นจริงแล้วให้นำชุดไทยมาวางไว้ตรงนี้

เครื่องใช้กระเบื้องเคลือบโบราณ เป็นของจากต่างประเทศ ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๕ เป็นต้นมา อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องถ้วยได้เจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมากและมิได้จำกัดอยู่แค่จีนหรือญี่ปุ่นเท่านั้น มีโรงงานผลิตเครื่องถ้วยเนื้อกระเบื้อง เพื่อส่งเป็นสินค้าออกเกิดขึ้นมากมายในทวีปยุโรป เช่น อังกฤษ สก๊อตแลนด์ เบลเยี่ยม เยอรมัน และเนเธอร์แลนด์เป็นต้น นอกจากนี้ได้มีการพัฒนานำเทคนิคแบบใหม่มาใช้ในการผลิต ได้แก่เทคนิคการพิมพ์ลาย เข้ามาแทนที่การเขียนลวดลายแบบเดิม ลวดลายที่ทำมีทั้งลายพันธุ์พฤกษา ลายเรขาคณิต ลายทิวทัศน์และลายดอกไม้ เป็นต้น นิยมพิมพ์ด้วยสีน้ำเงิน แดง เขียว และน้ำตาล เครื่องถ้วยหรือเครื่องกระเบื้องจากยุโรปนี้ ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในประเทศไทยเป็นอย่างมากในสมัยรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะในช่วงรัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา

เครื่องใช้ทองเหลืองโบราณ เครื่องใช้โลหะ สมัยรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ 24-25 ภาชนะเครื่องใช้ที่ทำจากโลหะผสมพวกสำริด ทองเหลือง เป็นของใช้ที่มีมาแต่โบราณ นิยมทำขึ้นเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันทั่วไป เพราะเป็นของที่มีความทนทานไม่แตกสลายง่าย และไม่มีราคาสูงมากนักจึงเป็นของใช้ที่มีใช้ได้ตั้งแต่ชนชั้นกลางขึ้นไป เครื่องใช้โลหะประเภทนี้นิยมนำมาถวายเป็นเครื่องใช้แด่พระภิกษุสงฆ์เพื่อใช้ในชีวิตประจำวันเช่นกัน เนื่องจากเป็นโลหะที่ไม่มีราคาสูงเช่นทองคำหรือเงิน จึงเหมาะสมที่จะเป็นเครื่องใช้ของผู้ทรงศีลซึ่งละจากกิเลสแล้ว

พระพุทธรูปปางทุกรกิริยา พระพุทธรูปเก่าแก่ล้ำค่าประดิษฐานอยู่ในพิพิธภัณฑ์ของวัดภุมรินทร์กุฎีทอง พระโบราณ  ปางห้ามสมุทร

เครื่องกระเบื้องเคลือบลายผักชี พระท่านเล่าว่าในสมัยนั้นลายผักชีถือว่าเป็นลวดลายปราณีตมาก หายากมากด้วยครับ

เครื่องปั้นดินเผา นอกจากพระพุทธรูปเก่าแก่แล้วในพิพิธภัณฑ์ของวัดภุมรินทร์กุฎีทองยังมีเครื่องปั้นดินเผา ทั้งบ้านเชียงและที่อื่นๆ มากมาย

เขากวางอ่อน เขากวางอ่อนนี้สามารถงอกยาวออกได้เองเรื่อยๆ แต่ต้องเลี้ยงด้วยน้ำมันชนิดหนึ่ง

เครื่องใช้โลหะโบราณ ประกอบด้วยเครื่องใช้สมัยรัชกาลที่ 4 สมัยรัชกาลที่ 5 และสมัยรัชกาลที่ 7 แต่ผมลืมไปแล้วว่าชั้นไหนเป็นสมัยใด สนใจศึกษาเกี่ยวกับเครื่องใช้โลหะ และของโบราณให้ไปที่พิพิธภัณฑ์ของวัดภุมรินทร์กุฎีทอง จะมีพระคอยแนะนำข้อมูลของเครื่องใช้เหล่านี้ให้ครับ

พระพุทธรัตนมงคล (หลวงพ่อโต) พระพุทธรูปปูนปั้น ปิดทองปางมารวิชัย พระประธานในอุโบสถ

พิพิธภัณฑ์ของวัด  มีวัตถุโบราณล้ำค่าจำนวนมาก รวมทั้งเครื่องใช้ต่าง ๆ ของคุณนากที่ได้ถวายวัดบางนางลี่บนไว้ นอกจากนี้วัดภุมรินทร์กุฎีทอง เปิดสอนดนตรีไทย ชื่อบ้านดนตรี

[adsense-2]

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

พระปลัดถาวรปิยธโร โทร. (034) 751 085, (034) 751 492, (081) 409 0567
ททท.สมุทรสงคราม โทร. (034) 752 847-8 ,(034) 752 846
สถานีเดินรถโดยสารประจำทาง โทร. (034) 716 962
สถานีรถไฟสมุทรสงคราม โทร. (034) 711 906
ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. (034) 714 881
สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองสมุทรสงคราม โทร. (034) 711 338, (034) 720 530-5
สถานีตำรวจภูธรอำเภออัมพวา โทร. (034) 751 300, (034) 725 625-7
สถานีตำรวจภูธรอำเภอบางคนที โทร. (034) 761 866, (034) 730 062-4
โรงพยาบาลอัมพวา โทร. (034) 751 846-7, (034) 752 560
โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โทร. (034) 723 044-9
ศูนย์บริการท่องเที่ยวเชิงเกษตร โทร. (034) 711 711, (034) 720 784
ตำรวจทางหลวง โทร. 1193
ตำรวจท่องเที่ยว โทร. 1155

การเดินทาง

รถยนต์ส่วนตัว  จากตัวเมืองสมุทรสงคราม ไปตามทางหลวงหมายเลข 35 (แม่กลอง-อัมพวา) ประมาณ 5 กม. เลยวัดบางกะพ้อม (ยังไม่ถึงทางเข้าตลาดอัมพวา)ให้สังเกตทางแยกซ้ายมือ เลี้ยวซ้ายขึ้นสะพานพระศรีสุริเยนทร์ตรงไปถึงทางแยก เลี้ยวขวา ตรงไปข้ามสะพานวัดอยู่ขวามือ
รถสาธารณะ จากตัวเมืองสมุทรสงคราม นั่งรถโดยสารสองแถวสายแม่กลอง-วัดปราโมทย์, สายแม่กลอง-วัดแก้วเจริญ, สายแม่กลอง-วัดสาธุ, สายแม่กลอง-วัดแว่นจันทร์ คิวรถอยู่บริเวณธนาคารนครหลวงไทย สาขาสมุทรสงคราม รถวิ่งผ่านวัด

ความเห็น

ความเห็น