ถ้ำเสรีไทย

ถ้ำเสรีไทย ตั้งอยู่ในอุทยานแห่งชาติภูพาน เป็นอุทยานแห่งชาตินี้ตั้งอยู่ในจังหวัดสกลนครและจังหวัดกาฬสินธุ์ ในเขตภูเขาผาบ่อง ซึ่งเป็นเทือกเขาผีปันน้ำ ลักษณะลึกเข้าไปในภูเขา ความกว้างประมาณ 5 เมตร ความสูงประมาณ 4 เมตร และมีรูถ้ำแยกกันไปหลายทาง บางแห่งมีแหล่งลำธารน้ำไหลเย็นมาก หินงอกหินย้อย ระยิบระยับสวยงามมาก

โดยตำแหน่งของปากถ้ำอยู่บนหน้าผาสูงประมาณ 15 เมตร สามารถมองเห็นข้าศึกได้และมีภูเขาผาด่าน เป็นป้อมปราการล้อมรอบ สามารถป้องกันการโจมตีของฝ่ายตรงข้ามได้เป็นอย่างดี เพราะมีหน้าผาสูงมากอยู่ในบริเวณนั้น สามารถใช้ติดตั้งสถานีวิทยุสื่อสารสัญญาณติดต่อกับหน่วยบัญชาการต่างๆได้ชัดเจนมาก

สำหรับท่านที่จะเข้าชมต้องเดินเข้าไปถึงตัวถ้ำอีกประมาณ 800 เมตร ในป่าเขตอุทยานแห่งชาติ ตามเส้นทางระหว่างทางมีลำธารและป่าไม้ที่ร่มรื่น พอถึงปากถ้ำก็จะมีจุพักก่อนเข้าถึงถ้ำสำหรับท่านที่ยังไม่หายเหนื่อย ภายในถ้ำจะมีหินงอกหินย้อย อากาศเย็นแม้ถ้ำจะมืดมาก แต่อากาศไม่อับชื้นเหมือนถ้ำทั่วไป แสดงให้เห็นว่า ภายในถ้ำต้องมีช่องระบายอากาศหลายช่อง ขบวนการเสรีไทยจึงใช้สถานที่นี้ในการบัญชาการได้อย่างสบาย ถ้ำเสรีไทยเป็นแหล่งสะสมอาวุธยุทธภัณฑ์ไปต่อสู้กับกองทัพญี่ปุ่น ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ของขบวนการเสรีไทย ซึ่งมีนายเตียง ศิริขันธ์ เป็นหัวหน้าขบวนการเสรีไทยสายสกลนคร ถ้ามองจากที่สูงจะเป็นลานหินธรรมดาจะไม่รู้ว่าเป็นถ้ำ ทำให้หลุดพ้นจากการซุ่มโจมตีจากฝ่ายศัตรู และบริเวณเดียวกันมีร่องรอยการขุดแต่งเป็นสนามบินลับด้วย จากนั้นเดินทางต่อไปยังจุดชมวิว จะเห็นธรรมชาติที่สวยงามของเทือกเขาภูพาน กล้วยไม้ตามโขดหิน ดอกหญ้าริมทางเดิน แสดงให้เห็นถึงความสมบูรณ์ของธรรมชาติที่ยังหลงเหลืออยู่อีกมาก

ประวัตินายเตียง ศิริขันธ์ หัวหน้าขบวนการเสรีไทย

นายเตียง ศิริขันธ์ เป็นชาวสกลนครโดยกำเนิด เกิด พ.ศ. 2452 บิดาชื่อขุนนิเทศพานิชย์ (บุดดี ศิริขันธ์) มารดาชื่อ นางอ้ม ศิริขันธ์ บิดาเป็นนักธุรกิจ มีคนนับหน้าถือตา หนึ่งใน จังหวัดสกลนครในสมัยนั้น เป็นพ่อค้าผู้ควบคุม กองเกวียน ส่งของออกไปขายต่างจังหวัดและซื้อ ของต่างจังหวัดมาขายในเมืองแต่ละครั้งจะ มีพ่อค้านำกองเกวียนรวมไปด้วย 20 – 30 ราย เดินทางไปจนถึงขอนแก่น นครราชสีมา หรือกรุงเทพฯ เป็นแรมเดือน บางครั้งก็นำวัวไปขายถึง เมือง มะละแหม่ง-ย่างกุ้ง นับว่ามี รายได้ดีจนมีฐานะเป็นคหบดีคนหนึ่ง ของสกลนคร
ขุนนิเทศพานิชย์มีบุตรรวม 9 คน คือ
1. นายเนียม
2. นายเจียม
3. นางบุญเทียม บำเพ็ญสิทธิ์
4. นางเกี่ยง
5. นายเที่ยง
6. นายเตียง
7. นางคำเปลว ขื่นสำราญ
8. นายนุ่ม
9.นายนวม (พีระ)

การศึกษา
นายเตียง ศิริขันธ์ เริ่มเรียนหนังสือที่โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล เป็นคนเรียนหนังสือเก่ง เมื่อเรียนจบชั้นสูงสุดของโรงเรียนประจำจังหวัดแล้ว นายฮ้อยบุดดี ได้ส่งตัวมาเรียนต่อที่โรงเรียนอุดรพิทยานุกูล จังหวัดอุดรธานี เป็นโรงเรียนประจำมณฑล และมีการสอนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่าโรงเรียนอื่น ๆ ในมณฑลอุดรธานี โดยพักอาศัยอยู่ที่บ้าน รตอ.ขุนรักษ์นิกร (เกิด ตราชู) บุตรเขยของขุนศรีธนานนท์ เมื่อ นายเตียงเรียนจบชั้นสูงสุดของโรงเรียนอุดรพิทยานุกูลเแล้ว นายฮ้อยบุดดีได้ให้นายเตียง เรียนต่อที่โรงเรียนฝึกหัดครูวัดบวรนิเวศในกรุงเทพ ได้ประกาศนียบัตรประโยคครูประถม ในพ. ศ.2470 คือ เมื่ออายุได้ 18 ปี เทียบเท่า กับม.8 ในสมัยนั้น ต่อจากนั้นนายเตียง ได้สมัครเข้าเรียนในคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยต่อ เลือกสายอักษาศาสตร์ เป็นวิชาเอกและเป็นนิสิตรุ่นแรกของคณะ จบ ปีที่ 3 ได้รับประกาศนียบัตรครูมัธยม (ป. ม.) ซึ่งในสมัยนั้นยังไม่เปิดเรียนระดับ ปริญญาตรี ต่อมานายเตียงได้เข้าเป็นอาจารย์ที่ โรงเรียนมัธยมหอวัง(อาคารเดิมตั้งอยู่ใน กรีฑาสถานแห่งชาติ) อีก 4 ปีต่อมาใน พ.ศ. 2477 ทางราชการได้ย้ายนายเตียงไปเป็นผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ที่โรงเรียนอุดร พิทยานุกูลซึ่งเป็นโรงเรียนเก่าของนายเตียงเอง โดยมีมล.มานิจ ชุมสาย เป็นอาจารย์ใหญ่ วิชาที่นายเตียงสอนคือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ประวัติศาสตร์ ขณะที่รับราชการเป็นครู ถูกจับในข้อหาเป็นคอมมิวนิสต์ ใน พ.ศ. 2477 ถูกส่งตัวมาดำเนินคดีที่กรุงเทพฯ ต่อมาศาลยกฟ้องให้นายเตียงพ้นข้อหาไป

[adsense-2]

ผลงานของนายเตียง ศิริขันธ์
ภายหลังจากศาลยกฟ้องจากข้อหาคอมมิวนิสต์ นายเตียงได้เปลี่ยนวิถีชี วิตทาง การดำเนินชีวิต หันเข้ามาเล่นการเมือง เมื่อมีการเลือกตั้งครั้งแรกในประเทศไทยในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2478 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งโดยอ้อม นายเข้ารับสมัครเลือกตั้งในจังหวัด สกลนคร และได้รับเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎรในปีนั้น และได้รับเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎร ของจังหวัดสกลนครทุกสมัย เช่นใน พ.ศ. 2480 ซึ่งมีการเลือกตั้งโดยตรง นายเตียงก็ ได้รับเลือกตั้งเข้าไปนั่งในสภาผู้แทน และมีความสนิทสนมกับนายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ (ส.ส.อุบลราชธานี) นายถวิล อุดล (ส.ส.ร้อยเอ็ด)และนายจำลอง ดาวเรือง (ส.ส.มหาสารคาม) มีความใกล้ชิดชื่นชมนายปรีดี พนมยงค์ จนเป็นที่ไว้วางใจหลังจากที่นายเตียงเป็น ส.ส. ไม่กี่ปี ภายหลังจากที่ญี่ปุ่นยกพล ขึ้นบกในประเทศไทย เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2484 ประเทศไทยในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้ทำสัญญาร่วมรบและร่วมรุกับญี่ปุ่น นายปรีดี พนมยงค์ ไม่เห็นด้วยและถูกผลักดันให้พ้น จากตำแหน่งการเมืองเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน นายปรีดี พนมยงค์ เห็นว่าควรติดต่อกับฝ่าย สัมพันธมิตร เพื่อให้เข้าใจสภาพอันแท้จริงของไทยที่ต้องเสียอิสรภาพ จึงได้มีการติดต่อกับอังกฤษ สหรัฐอเมริกา และจีน นายเตียง ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้นำเสรีไทย ประจำภาคอีสาน ทำการชักชวนชาวบ้านร่วมฝึกอาวุธเป็นกองทัพประชาชนจัดทำสนามบิน 3 แห่ง ที่บ้านโนนหอม บ้านเต่างอย และตาดภูวง นับว่าเป็นการเสี่ยงภัย ในขณะที่มีการประกาศกฎอัยการศึกและเสี่ยงภัยต่อการถูก ญี่ปุ่นจับประหารชีวิต แต่โชคดีที่ญี่ปุ่นพ่ายแพ้ ในสงคราม ทหารป่าเสรีไทยได้ไปเดินสวนสนาม ที่กรุงเทพฯ ในปลายเดือนกันยายน 2488 เก็บอาวุธยุทโธปกรณ์ส่ง ให้ทางราชการต่อไป ชีวิตนายเตียง ศิริขันธ์ หลังสงคราญี่ปุ่น ได้เป็นคณะรัฐมนตรี อยู่ในคณะรัฐบาล 3 ครั้ง ครั้งที่ 1 ระหว่าง วันที่ 31 ส.ค.-17 ก.ย . 2488 ในสมัยรัฐบาลนายทวี บุณยเกตุ ครั้ง ที่ 2 ในรัฐบาล ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช ตั้งแต่วันที่ 17 กย. 2488- 31 ม.ค. 2489 ครั้งที่ 3 ในคณะรัฐบาลพลเรือนเอกถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ วันที่ 23 ส.ค. 2489 แต่ต่อมา ในวันที่ 10เมษายน 2490 นายเตียงได้ลาออก จากตำแหน่งรัฐมนตรี เมื่อต้องเดินทางไปยังสหรัฐอเมริกา ในฐานะเป็นรองตัวแทนการเจรจาประนีประนอม ระหว่าง ประเทศไทยและประเทศฝรั่งเศส ภายหลังที่สี่ รัฐมนตรีถูกฆ่าตายอย่างทารุณ นายเตียงไม่ไว้ใจสถานการณ์ทางการเมือง จึงตัดสินใจหนี ขึ้นภูพานพร้อมลูกน้องจำนวนไม่กี่คน ซึ่ง ต่อมาทางการได้ตั้งข้อหานายเตียงว่า “แบ่งแยกดินแดน” ท่านกลางการติดตาม ไล่ล่าตัวของเจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมือง ต่อมามีผู้พบศพนายเตียง ศิริขันธ์ พร้อมด้วยบุคคลอื่น ๆ อีก 5 คน ที่ป่าแห่งหนึ่ง ในตำบลแก่งเสี้ยน อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี คาดว่าบุคคล ดังกล่าวถูกฆ่าตามเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2495 นายเตียง มีภรรยา 1 คน คือ นางนิวาศน์ ศิริขันธ์ และมีบุตร 1 คน ชื่อนายวิฑูร เกิดในปี พ.ศ. 2485 หลังจากนางนิวาศน์ เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจแล้ว ไม่ช้านายวิฑูรก็ออกจากบ้านในกรุงเทพมหานคร โดยไม่มีผู้ใดพบเห็นอีกเลย นายเตียงได้ฉายาว่า “ขุนพลภูพาน” คือ เป็นทั้งแม่ทัพใหญ่ในการฝึกกหัดเสรีไทย นับเป็นพันคน หลายรุ่นมีอัธยาศัยไมตรีจนเป็น ที่ไว้วางใจของชาวสกลนครความเด็ดเดี่ยว มีอุดมการณ์ที่ต่อสู้กับนักการเมืองที่มีอิทธิพลทำให้เขาถูกยัดเยียดข้อหาฉกรรจ์ใน สมัยนั้น จนถูกฆ่าตายในที่สุด ดังนั้นจึงสมควรที่จะถูกยกย่องเป็นวีรบุรุษคนสำคัญของสกลนคร “คนดีศรีสกล”

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

ททท.สนง.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 4 จ.นครพนม (รับผิดชอบพื้นที่ จ.สกลนครด้วย) โทร. (042) 513490-1
การบินไทย โทร. (042) 712259-60
ตำรวจทางหลวง โทร. (042) 713971
หจก.ภูพานการท่องเที่ยว โทร. (042) 712676
โรงพยาบาลกุดบาก โทร. (042) 784021
โรงพยาบาลกุสุมาลย์ โทร. (042) 769023
โรงพยาบาลคำตากล้า โทร. (042) 796046
โรงพยาบาลโคกศรีสุพรรณ โทร. (042) 713550
โรงพยาบาลเต่างอย โทร. (042) 761021
โรงพยาบาลนิคมน้ำอูน โทร. (042) 789015
โรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้น โทร. (042) 779105
โรงพยาบาลพังโคน โทร. (042) 771222
โรงพยาบาลวานรนิวาส โทร. (042) 791122
โรงพยาบาลวาริชภูมิ โทร. (042) 781187
โรงพยาบาลสกลนคร โทร. (042) 711722
โรงพยาบาลสว่างแดนดิน โทร. (042) 721111
โรงพยาบาลส่องดาว โทร. (042) 786026
โรงพยาบาลอากาศอำนวย โทร. (042) 799000

การเดินทาง

รถยนต์ส่วนตัว จากกรุงเทพฯ ด้วยเส้นทาง ทางหลวงแผ่นดินสาย 2 มุ่งหน้าสู่ภาคอีสาน เลี้ยวเข้าจังหวัดสกลนคร ใช้เส้นทาง 213 ผ่านที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูพานไปประมาณ 4.5 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าไป จะเจอลานจอดรถ ที่กว้าง และมีห้องนำสะดวกสบาย

แผนที่

ความเห็น

ความเห็น