วัดศรีบุญเรือง

วัดศรีบุญเรือง ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 บ้านศรีบุญเรือง ถนนสำราญชายโขง ต.ศรีบุญเรือง อ.เมือง จ.มุกดาหาร สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในยุคเดียวกับการสร้างบ้านแปลงเมือง ภายในวิหารประดิษฐานพระประธาน หลวงพ่อพระพุทธสิงห์สอง ไม่มีประวัติว่าสร้างขึ้นเมื่อใด แต่เล่ากันว่า เจ้ากินรี เจ้าเมืองมุกดาหาร อัญเชิญมาจากเวียงจันทน์ ราว 200 กว่าปีก่อน หลวงพ่อพระพุทธสิงห์สองแห่งวัดศรีบุญเรือง ปางมารวิชัย เนื้อสำริด ศิลปะสมัยเชียงแสน ชายสังฆาฏิยาว เส้นพระศกละเอียด รัศมีเปลวแบบลังกา สาธุชนชาวมุกดาหารและผู้คนสัญจรไปมามักจะกราบนมัสการขอพรเพื่อเป็นศิริมงคล

ประวัติวัดศรีบุญเรือง

วัดศรีบุญเรือง เป็นวัดที่ชาวบ้าน สร้างขึ้นมาในยุคเดียวกับการสร้างเมืองมุกดาหาร ( ประมาณ พ.ศ.2310 – 2317 ) เพื่อให้พระธุดงค์ออกจาริกแสวงบุญได้พักอาศัย ในสมัยนั้นพระสงฆ์มีจำนวนน้อย จึงไม่ค่อยจะมีผู้อยู่อาศัยเป็นประจำ วัดแห่งนี้จึงเป็นที่พักอาศัยของพระธุดงค์มาโดยตลอด แม้แต่ชื่อก็ยังไม่สามารถจะทราบได้ครั้งต่อมา ( ประมาณ พ.ศ. 2318 ) พระยาจันทร์ศรีอุปราชา ( เจ้ากินรี ) ซึ่งเป็นผู้สร้าง และเป็นเจ้าเมืองคานแรกของเมืองมุกดาหาร ได้ชักนำพวกเจ้านาย ข้าราชการ และชาวบ้านร่วมกันบูรณะวัด ให้เหมะสมที่จะเป็นที่พักอาศัยของพระสงฆ์ต่อไป และได้ร่วมกันสร้างอุโบสถพุทธสีมาขึ้นทางด้านหน้าของวัด และเมืออุโบสถพุทธสีมาเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงได้ตั้งชื่อวัดว่า -วัดศรีบุญเรือง- ถือได้ว่าวัดศรีบุญเรืองเป็นรูปแบบของวัดจริง ๆ ในสมัยที่เจ้ากินรีได้เข้ามาบูรณะและสร้างพระอุโบสถขึ้นนี้เองและท้ายเมือง เมือสร้างวัดหัวเมืองแล้ว (วัดศรีมงคลใต้ ) ก็ควรสร้างวัดท้ายเมือ (วัดศรีบุญเรือง) ด้วย ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนได้กราบไหว้สักการะบูชาได้โดยทั่วถึง เป็นที่น่าสังเกตุว่า อุโบสถที่เจ้ากินรีได้สร้างขึ้นนั้น หันหน้าไปทางทิศเหนือ (อุโบสถส่วนใหม่จะหันหน้าไปทางทิศตะวันออก หรือทิศตะวันตก ) ทั้งนี้คงเป็นเพราะว่าท่านอยากจะสร้างอุโบสถแห่งนี้ไว้เป็นอนุสรณ์สำหรับตัวท่านเอง เพราะท่านเจ้ากินรีเป็นชาวเหนือเชื้อเจ้า ท่านได้พลัดพรากจากบ้านเกิดเมืองนอนมาด้วยความจำเป็น จึงได้สร้างอุโบสถหันหน้าไปทางทิศเหนือ เพื่อเป็นอนุสรณ์ว่าถึงแม้ท่านจะจากบ้านเกดเมืองนอนมาท่านก็ยังมีความอาลัยอาวรณ์อยู่

สำหรับจากสร้างอุโบสถพุทธสีมา เสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ได้ให้ชาวบ้านศรีบุญเรืองจัดขบวกดอกไม้ธูปเทียน ไปอัญเชิญพระพุทธสิงห์สองจากวัดศรีมงคลใต้ มาประดิษฐานไว้ เป็นพระประธานในอุโบสถหลังนี้ ก็เนื่องจากว่าพระองค์พระพุทธรูปสิงห์สองนี้ เป็นพระพุทธธูปเมืองเหนือ ตัวท่านเองก็เป็นคนชาวเหนือ ได้อพยพลงมาในดินแดนทีอุดมสมบูรณ์ และท่านมีความเคารพพระพุทธรูปองค์นี้มากจึงได้นำมาประดิษฐานไว้เป็นอนุสรณ์ในอุโบสถที่ท่านได้สร้างขึ้นมา ตามฝาผนังโบสถ์จะเป็นภาพวาด ด้วยสีสรรค์ที่งดงามมากกด้านในเป็นภาพเกี่ยวกับพระพุทธประวัติ ด้านนอกเป็นภาพเกี่ยวกับนรก สวรรค์ ซึ่งศิลปกรรมเหล้านี้ถือว่าเป็นประณีตศิลปที่ทรงคูนค่าอย่างยิ่ง แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า อุโบสถดังกล่าวได้ปรักหักพังลงแล้วเพราะความเก่าแก่นั่นเอง ปัจจุบันเราจึงไม่ได้เห็นภาพอันวิจิตรงดงามนั้นสิ่งที่ปรากฏให้เห็นทุกวันนี้คือ ชากปรักหักพังและฐานอุโบสถเท่านั้น

ในปี พ.ศ.2500 ทางวัดพร้อมด้วยประชาชนผู้มีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาได้ร่วมสร้างอุโบสถขึ้นใหม่ และสร้างเสร็จเรียบร้อย พ.ศ. 2509 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมือ ปี พ.ศ.2513 และต่อมาได้มีการตัดต่อหลังคาใหม่ ดูสวยงามกว่าเก่ามาก ดังได้กล่าวมาแล้วว่า วัดศรีบุเรืองมีพระพุทธรูปที่เก่าแก่ และศักดิ์สิทธิ์ยิ่งองค์หนึ่ง ประดิษฐานอยู่ในอุโบสถ (หลังเก่า) คือพระพุทธสิงห์สอง ท่านเจ้าเมืองคนแรก (เจ้ากินรี ) ของมุกดาหาร ชึ่งในขณะนั้นยังขึ้นต่อเมืองเวียงจันทร์ (ประมาณ พ.ศ.2310-2317) ได้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่วัดศรีบุญเรือง

[adsense-2]

สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด

  • พระพุทธสิงห์สอง เป็นพระพุทธรูปสมัยเชียงแสน ปัจจุบันทางวัดได้ถือเอาหลวงพ่อพุทธสิงห์ เป็นพระประธานและเป็นสัญลักษณ์ของวัดตลอดมา ประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวบ้านศรีบุญเรือง และชาวมุกดาหาร จะยึดเอาหลาวพ่อพุทธสิงห์สองนี้ เป็นหลักยึดเหนี่ยวทางจิตใจมาโดยตลอด ความเป็นมาของพระพุทธสิงห์สองมีดังนี้ คือ เจ้ากินรี เจ้าเมืองคนแรกของมุกดาหาร ซึ่งขณะนั้นยังขึ้นต่อเมืองเวียงจันทร์ ประมาณปี พ.ศ.2310-2317 ได้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่วัดศรีบุญเรือง เมื่อคราวที่เจ้าเมืองมาบูรณะและปฎิสังขรณ์ เสร็จเรียบร้อยแล้ว ถึงแม้พระพุทธรูปจะไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายในหมู่ประชาชนทั่วไปก็ตาม แต่ชาวบ้านตำบลศรีบุญเรือง และชาวจังหวัดมุกดาหารต่างเคารพเลื่อมใสศรัทธาเป็นอย่างมากพระพุทธสิงห์สอง เป็นพระพุทธที่อภินิหารนานาประการ เป็นพระพุทธรูปที่มีความศักดิ์สิทธ์น่าอัศจรรย์ ท่านจะช่วยปกป้องผองภัยอันตรายต่าง ๆ ได้ เป็นอย่างดียิ่ง พระพุทธสิงห์สองเป็นพระพุทธรูปที่มีความศักดิ์สิทธิ์ทรงมหิทธานุภาพเพียงใดนั้น ผู้ที่ไปนมัสการขอพรด้วยตนเองเท่านั้นย่อมจะรู้ดี คนอื่นนั้นไม่อาจบอกได้ถึง มีตัวอย่างเล่าให้ท่านทั้งหลายได้แนวความคิดดังนี้ เมื่อไม่กี่ปีมานี้นายทหารชั้นผู้ใหญ่ ท่านทีหนึ่งมาเยี่ยมคาระวะท่านเจ้าอาวาสปัจจุบัน (พระครูอุดมธรรมรักษ์) แล้วนมัสการพระพุทธรูปองค์นี้ ก็จำลักษณะได้ว่าเป็นพระพุทธรูปสิงห์สองแน่นอน จึงกล่าวได้ว่าพระพุทธรูปสิงห์สอง แต่นั้นมา ( ก่อนหน้านั้นเรียกว่าหลาวงพ่อเฉยๆ ) และท่านยังได้กล่าวต่อไปอีกว่า ถ้าบูชาให้สีถูกต้องแล้วจะให้คุณหลายประการ โดยเฉพาะช่วยให้ฝนตกตามฤดูกาล มีผู้เฒ่าผู้แก่หลายคนได้เล่าถึงอภินิหารพระพุทธสิงห์สองว่า ท่านเจ้าอาวาสรูปัจจุบัน ( พระครูอุดมธรรมรักษ์ ) ได้เล่าอภินิหารของพระพุทธสิงห์สองว่ามีผู้มาถ่ายรูปพระพุทธสิงห์สองแล้วนำฟิล์มไปล้างแล้วอัด ปรากฏว่าไม่มีรูปให้เห็น แม้จะถ่ายใหม่อีกครั้งหนึ่ง ก็ไม่เป็นผลเช่นกัน ทั้ง ๆที่มีแสงสว่างเพียงพอแต่ก็ถ่ายรูปพระพุทธสิงห์สองไม่สำเร็จ ภายหลังจากท่านเจ้าอาวาสสมัยปัจจุบันได้รับพระราชทานสรณศักดิ์ ิ์เป็นครูสัญญาบัตรชั้นโทเป็น พระครูอุดมธรรมรักษ์ จึงทำได้สำเร็จ จึงนับว่าเป็นเรื่องแปลกและน่าคิดเป็นอย่างยิ่ง

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

ประชาสัมพันธ์จังหวัด 0-4261-2297 ,0-4263-2379
ททท.สำนักงานนครพนม (รับผิดชอบพื้นที่ จ.นครพนม จ.สกลนคร จ.มุกดาหาร) 0-4251-3490-1
หรือสายด่วนท่องเที่ยว 1672

แผนที่

ความเห็น

ความเห็น