เขื่อนสิริกิติ์

เขื่อนสิริกิติ์ หรือที่เรียกกันในชื่อท้องถิ่นว่า เขื่อนท่าปลา จัดเป็นเขื่อนดินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อยู่ในอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ กั้นแม่น้ำน่าน ที่ไหลลงมาจากอำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน เดิมอยู่ในความดูแลของกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ภายหลังได้ติดตั้งโรงไฟฟ้าพลังงาน และมอบให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเป็นผู้รับผิดชอบดูแลต่อไป ทั้งนี้พื้นที่เหนือเขื่อนเป็นแอ่งเก็บน้ำขนาดใหญ่ และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดอุตรดิตถ์ด้วย

เขื่อนสิริกิติ์ เดิมเขื่อนนี้ เรียกชื่อว่า “เขื่อนผาซ่อม” ภายหลังได้รับพระบรมราชานุญาต ให้อัญเชิญพระนามาภิไธย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ขนานนามว่า “เขื่อนสิริกิติ์” เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2511 โดยก่อสร้างปิดกั้นแม่น้ำน่าน บริเวณเขาผาซ่อม ตำบลผาเลือด อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์

ทั้งนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางศิลาฤกษ์เขื่อนสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 งานก่อสร้างตัวเขื่อนและองค์ประกอบได้แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2515

[adsense-2]

สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจภายในเขื่อนสิริกิติ์

1. ตำหนักเขื่อนสิริกิติ์ เป็นตำหนักรับรองของพระบรมวงศานุวงศ์ที่เสด็จมาแปรพระราชฐาน อยู่บริเวณจุดสูงสุดของเขื่อน เปิดให้นักท่องเที่ยวชมเฉพาะภายนอกเท่านั้น
2. หมู่บ้านเรือ คือหมู่บ้านตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นโครงการหลวงที่จะช่วยเกษรกรด้านการประมง
3. สวนสุมาลัย คือ สวนที่เขื่อนสิริกิติ์จัดตั้งขึ้นเพื่อทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายแด่ พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี ในวโรกาสที่พระองค์มีพระชันษา ครบ 50 พรรษา ภายในสวนมีประติมากรรมสู่แสงสว่างอันเป็นสัญลักษณ์ของสวนสุมาลัย
4. พระธาตุกลางน้ำ ดอยพระธาตุ ศิลปะมอญตั้งเด่นอยู่บนเขาที่ล้อมรอบด้วยน้ำของเขื่อนสิริกิติ์ เป็นโบราณสถานอันสำคัญชิ้นหนึ่งของจังหวัดอุตรดิตถ์
5. สะพานเฉลิมพระเกียรติบรมราชินีนาถ เป็นสะพานแขวน ด้วยสายเคเบิลสวยงามทอดกลางผ่านเขื่อนสิริกิติ์ มีลักษณะที่สวยงามและโดดเด่น
6. พระพุทธสิริสัตตราช (หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์) จำลองมาจากพระพุทธรูปในจังหวัดยโสธรจำลองมาประดิษฐ์สถาน ณ เขื่อนแห่งนี้เพื่อให้คนได้เคารพบูชา
7. สันเขื่อนสิริกิติ์ มีลักษณะเป็นโค้งเว้าที่สวยงามเหมาะแก่การชมทัศนียภาพในตอนเช้า
8. ศูนย์จำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนเขื่อนสิริกิติ์ จำหน่ายอาหารพื้นเมือง และของฝากจากเขื่อนสิริกิติ์

การเดินทาง

รถยนต์ส่วนตัว

จากตัวเมืองอุตรดิตถ์ ไปตามทางหลวงหมายเลข 1045 (เขื่อนสิริกิติ์-ท่าปลา) ถึงเขื่อนสิริกิติ์ ระยะทาง 58 กิโลเมตร

 

รถโดยสาร

นั่งรถโดยสารจากกรุงเทพฯ ไปลงที่อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ และต่อรถโดยสารสายอุตรดิตถ์-ฟากท่า-บ้านโคก รถจะจอดที่หอนาฬิกา ถนนสำราญรื่น หรือจะเหมารถแท๊กซี่บริเวณสถานีรถไฟอุตรดิตถ์ก็ได้puf

แผนที่

ความเห็น

ความเห็น