เขื่อนสิรินธร

เขื่อนสิรินธร ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 11 ถนนสถิตนิมาณกาลย์ ตำบลนิคมลำโดมน้อย อ.สิรินธร จ.อุบลราชธานี  เป็นเขื่อนหินถมแกนดินเหนียว สร้างปิดกั้นแม่น้ำลำโดมน้อยอันเป็นสาขา ของแม่น้ำมูล ที่บริเวณแก่งแซน้อย ตำบลช่องเม็ก อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ตัวเขื่อนมีความสูง 42 เมตร ยาว 940 เมตร สันเขื่อนกว้าง 7.5 เมตร อ่างเก็บน้ำ มีพื้นที่ประมาณ 288 ตารางกิโลเมตรสามารถกักเก็บน้ำได้ 1,966.5 ล้านลูกบาศก์เมตร ที่ระดับกักเก็บน้ำสูงสุด 142.2 เมตร (จากระดับน้ำทะเลปานกลาง) โรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสิรินธร ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าไว้ 3 เครื่อง ขนาดกำลังผลิตเครื่องละ 12,000 กิโลวัตต์ รวมกำลังผลิตทั้งสิ้น 36,000 กิโลวัตต์

นอกประโยชน์ในการผลิตกำลังไฟฟ้าแล้ว เขื่อนสิรินธรยังเป็นแหล่งประมง และแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดอุบลราชธานี โดยบริเวณเขื่อนได้มีการจัดสร้าง “สวนสิรินธร” เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อปี พ.ศ. 2533 โดยมีพิธีเปิดสวนอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นประธาน

กิจกรรมที่น่าสนใจเมื่อมาเยือนที่นี่คือการชมทัศนีย์ภาพเหนือสันเขื่อน รับประทานปลาสดจากร้านอาหารสวัสดิการ ล่องเรือเที่ยว ตีกอล์ฟ ถ่ายรูปหรือนั่งนอนพักผ่อนภายในสวนหย่อมซึ่งตกแต่งไว้อย่างสวยงาม นอกจากนี้ยังมีวังมัจฉาที่มีบันไดยื่นลงไปข้างเขื่อนเพื่อให้อาหารปลา เมื่อโปรยอาหารลงไปจะเห็นปลาตัวใหญ่ๆ ว่ายมาแย่งอาหารกิน แต่ถ้าไม่โปรยมันก็ไม่ค่อยจะยอมออกมาให้เห็น เพราะคงไม่คุ้นกับคนมาก

นอกจากจะมีทัศนีย์ภาพของทะเลสาบเหนือสันเขื่อนที่สวยงามแล้วที่นี่ยังมี “สวนสิรินธร” อันเป็นที่ตั้งของประติมากรรมช้างสามเชือกตีระนาด สีซอและเป่าขลุ่ย ซึ่งเครื่องดนตรีทั้งสามชนิดนี้เป็นเครื่องดนตรีที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงโปรดปราน และสวนนี้ยังเป็นที่ประดิษฐานของ “พระพุทธสิริสัตตราช” (หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์) พระพุทธรูปซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของ “น้ำแห่งเขื่อน” ที่ทาง กฟผ.ได้รับอนุญาตให้สร้างจำลองไว้ตามเขื่อนต่างๆที่อยู่ภายใต้การดูแลอีกด้วย (นอกจากที่ “เขื่อนสิรินธร” แล้ว “พระพุทธสิริสัตราช” นั้นยังถูกสร้างจำลองประดิษฐานไว้ ณ เขื่อนอื่นๆอีก เช่น เขื่อนภูมิพล เขื่อนศรีนครินทร์ เป็นต้น) บรรยากาศภายใน “สวนสิรินธร” ร่มรื่นชื่นเย็นไปด้วยแมกไม้น้อยใหญ่ มีม้านั่งหินไว้สำหรับผู้ที่ต้องการนั่งพักผ่อนหย่อนใจค่ะ

[adsense-2]

สิ่งอำนวยความสะดวก/ที่พัก

  • ที่พัก ทางเขื่อนมีบ้านพักรับรองไว้ให้บริการค่ะ ติดต่อสอบถามได้โดยตรงกับทางเจ้าหน้าที่เขื่อน และยังมีที่พักที่อยู่ใกล้ๆเขื่อนไว้ให้บริการเยอะมากค่ะ ถ้าต้องการที่พักที่อยู่ใกล้เขื่อนให้ลองสอบถามร้านค้าสวัสดิการดูนะคะ
  • ร้านอาหาร มีร้านค้าสวัสดิการ มีอาหารตามสั่งให้เลือกมากมายหลายเมนูค่ะ ราคาไม่แพง

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

เขื่อนสิรินธร โทร. (024) 363 271-2,(045) 366 085, (045) 366 081-3
สำนักงานจังหวัดอุบลราชธานี โทร. (045) 254 925, (045) 255 505,(045) 254 218, (045) 254 360
ศูนย์การท่องเที่ยว กีฬาและนันทนาการ จังหวัดอุบลราชธานี โทร. (045) 311 228
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดอุบลราชธานี โทร. (045) 244 875
ตำรวจท่องเที่ยว โทร. 1155, 1699,(045) 245 505, (045) 254 914
ตำรวจทางหลวง โทร. (045) 313 220
ตำรวจภูธรจังหวัดอุบลราชธานี โทร. (045) 244 326,(045) 245 340, (045) 254 233
สถานีขนส่ง โทร. (045) 312 773
ท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานี โทร. (045) 244 073 , (045) 244 406
ตำรวจภูธรอำเภอเมืองอุบลราชธานี โทร. (045) 254 008 ,(045) 255 112
ไปรษณีย์อุบลราชธานี โทร. (045) 260 465-6
รพ. สรรพสิทธิประสงค์ โทร. (045) 244 973
รพ. อุบลรักษ์ – ธนบุรี โทร. (045) 260 300-9
รพ. ราชเวช โทร. (045) 280 040-1
รพ. ร่มเกล้า โทร. (045) 244 660
รพ. เซ็นทรัลเมโมเรียล โทร. (045) 244 690-1
รพ. วารินชำราบ โทร. (045) 321 243-4
รพ. ค่ายสรรพสิทธิประสงค์ โทร. (045) 269 533-5
รพ. พิบูลมังสาหาร โทร. (045) 441 053
รพ. โขงเจียม โทร. (045) 351 083
รพ. ศรีเมืองใหม่ โทร. (045) 399 022
รพ. โพธิ์ไทร โทร. (045) 496 000
รพ. นาจะหลวย โทร. (045) 379 097-8
รพ. น้ำยืน โทร. (045) 371 097-8
รพ. สิรินธร โทร. (045) 366 149

การเดินทาง

รถยนต์ส่วนตัว
ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 ออกจากตัว อ.เมือง จ.อุบลราชธานี (ด้านสะพานเสรีประชาธิปไตย) มุ่งไปทาง อ.วารินชำราบ จาก อ.วารินชำราบใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 217 ขับตรงไปเรื่อยๆ จนถึง อ.สิรินธร ทางเข้า “เขื่อนสิรินธร” จะอยู่ด้านขวามือบนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 217 เลยจากตัว อ.สิรินธรไปไม่ไกล (ก่อนถึง อ.สิรินธร จะเห็น “หาดพัทยา สิรินธร” กว้างไกลสุดลูกหูลูกตาด้านขวามือของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 217 สามารถแวะพักผ่อนก่อนเข้าตัวเมืองได้ครับ)

แผนที่

ความเห็น

ความเห็น