วัดศรีมหาโพธิ์

วัดศรีมหาโพธิ์ ตั้งอยู่เลขที่ 132 หมู่ที่ 4 ตำบลศรีมหาโพธิ์ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม เป็นวัดราษฎร์สังกัดมหานิกาย สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอยุธยาตอนต้น ในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ จากคำบอกเล่าของชาวบ้านได้เล่าว่า ในอดีตบริเวณที่ตั้งวัดมีต้นโพธิ์ลอยทวนกระแสน้ำในลำคลองบางพระ ซึ่งแยกจากแม่น้ำท่าจีน ต้นโพธิ์ได้ถูกนำมาปลูกไว้ในบริเวณนี้และที่ใต้ต้นโพธิ์นั้นมีพระพุทธรูปปางไสยาสน์ติดอยู่ด้วย จึงได้อัญเชิญอาราธนาพรพระพุทธรูปขึ้นประดิษฐานและก่อตั้งเป็นวัดขึ้น ชื่อว่า “วัดศรีมหาโพธิ์” ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2516 มีเนื้อที่ทั้งหมด 56 ไร่ 20 ตารางวา

สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด

วิหารวัดพระศรีมหาโพธิ์ มีขนาดค่อนข้างเล็ก ฐานมีลักษณะแอ่นโค้งลงแบบตกท้องช้าง หลังคามุงด้วยกระเบื้องกาบกล้วย ด้านหน้าประตูทางเข้าเพียงบานเดียว ตรงสันอกเสาแกะสลักลายไข่ปลา และลายแข้งสิงห์ ด้านหน้ามีหน้าต่างเพียง 1 บาน ส่วนวิหารไม่มีหน้าต่างทั้ง 2 ผนัง เพดานวางขื่อลอยแบบสมัยอยุธยา เพดานด้านบนตรงพระประธาน มีลวดลายเขียนด้วยสีรงค์ บนพื้นแดงงดงามมาก คล้ายกับวัดสระบัว จังหวัดเพชรบุรี ตัวลายกนกเขียนคล้ายลายอ่อนอย่างจีน ส่วนลวดลายดาวเขียนอย่างไทย ลายเชิงและลายประจำยามก้ามปู เขียนได้สมบูรณ์

พระพุทธรูปปางไสยาสน์ เนื้อหินทรายแดงชื่อ หลวงพ่อแดงแสงกายสิทธิ์ มีความเก่าแก่ประมาณ 368 ปี ตามที่กรมศิลปากรสำรวจไว้ องค์พระพุทธรูปมีเนื้อเป็นหินทรายแดง จึงได้นามว่า “หลวงพ่อแดง” ต่อมาไม่นานมีผู้พบเห็นลำแสง ดวงกลม ลอยอยู่รอบ ๆ องค์พระจึงตั้งนามให้ใหม่ว่า “หลวงพ่อแดงแสงกายสิทธิ์”

พระประธานในวิหารหลังเก่า ปางสมาธิเนื้อหินทรายแดง มีความเก่าแก่สมัยเดียวกัน

วิหารหลังเก่า ซึ่งทางกรมศิลปกรณ์ได้มาตรวจสอบดูแล้วว่ามีความเก่าแก่ ซึ่งทางกรมศิลปกรณ์ได้มาตรวจสอบดูแล้วว่ามีความเก่าแก่ใกล้เคียงกับองค์หลวงพ่อแดงฯมาก คือประมาณ 368 ปี ซึ่งอาจสร้างขึ้นมาพร้อมกันก็ได้ ในวิหารหลังเก่านั้นยังมีพระพุทธรูปเก่าแก่ประดิษฐานอยู่ 9 องค์ คือ พระประธานองค์ใหญ่ 1 องค์ เป็นพระพุทธรูปสลักขึ้นจากเนื้อหินทรายแดง ถ้าผู้ใดมากราบไหว้หลวงพ่อแดงแล้ว ต้องมากราบไหว้พระพุทธรูปในวิหารด้วย เพราะมีความศักดิ์สิทธิ์เหมือนกัน ถือว่าเป็นความศักดิ์สิทธิ์ร่วมสมัยเดียวกัน

พระโพธิสัตว์กวนอิมปางหลั่งน้ำทิพย์มนต์ ทำด้วยโลหะสูง 11.9 เมตร (นับจากฐานบัวสูง 14.6 เมตร) อันเป็นพระกวนอิมมหาโพธิสัตว์โลหะที่สูงที่สุดในโลก ประทับยืนบนศาลาปฏิบัติธรรม พระหัตถ์ขวาทรงถือแก้วมณี พระหัตถ์ซ้ายทรงถือคนโทหลั่งน้ำทิพย์มนต์ ลักษณะพิเศษคือส่วนที่เป็นพระพักตร์มีลักษณะอยู่ในวัยดรุณีต่างจากพระพักตร์ที่พบเห็นทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นภาพวาด รูปปั้น รูปแกะสลัก ซึ่งจะสร้างพระพักตร์อยู่ในวัยกลางคน ลักษณะของพระโพธิสัตว์กวนอิมองค์ดังกล่าวได้เค้าแบบมาจากพระโพธิสัตว์กวนอิม องค์หนึ่ง ซึ่งช่างชาวไต้หวันได้แกะสลักจากหินอ่อน มีความสูงขนาด 1.12 เมตร (นับจากฐานบัวสูง 1.37 เมตร) ประดิษฐานอยู่ที่ตำหนักเก๋งจีนในสวนอุตสาหกรรมบ้านแพน อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ.2534

พระโพธิสัตว์กวนอิมปางมหากรุณาธารณี ประดิษฐานเป็นประธานภายในอาคารปฏิบัติธรรม มีขนาดหน้าตักประมาณ 68 นิ้ว หรือ 1.73 เมตร สูง 3.70 เมตร ส่วนกว้างจากพระหัตถ์ด้านขวาถึงด้านซ้าย 3.5 เมตร มี 88 พระกร 2 พระกรแรกอยู่ในท่าสมาธิ อีก 2 พระกร อยู่ในท่าแผ่เมตตา ส่วน 84 พระกรที่เหลือแต่ละพระหัสถ์จะเป็นที่ประดิษฐานพระโพธิสัตว์กวนอิมขนาดหน้าตักประมาณ 7 นิ้ว ในปางต่าง ๆ ที่ทรงนิรมิตรูปกายโปรดสัตว์ เพื่อสื่อความหมายแห่งความเมตตากรุณาอย่างลึกซึ้งที่สุด

ช่วงเวลาที่เปิดให้เข้าชม เปิดทุกวันวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 09.00-18.00 น.

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

ตำรวจภูธรภาค 7 โทร. (034) 243 751-2, (034) 241 426
ที่ทำการไปรษณีย์นครปฐม โทร. (034) 251 986, (034) 242 356
เทศบาลเมืองนครปฐม โทร. (034) 253 850-4
โทรศัพท์จังหวัดนครปฐม โทร. (034) 251 070, (034) 242 356
ประชาสัมพันธ์จังหวัดนครปฐม โทร. (034) 340 011-2
พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย โทร. (034) 332 061, (034) 332 067, (034) 332 109
โรงพยาบาลศูนย์นครปฐม โทร. (034) 254 150-4
สถานีเดินรถโดยสารประจำทาง โทร. (034) 251 155, (034) 514 438
สถานีตำรวจภูธร จังหวัดนครปฐม โทร. (034) 242 886, (034) 511 560
สถานีรถไฟจังหวัดนครปฐม โทร. (034) 242 305
สำนักงานขนส่งนครปฐม โทร. (034) 241 378
สำนักงานจังหวัดนครปฐม โทร. (034) 243 811, (034) 258 678
ททท. สำนักงานกาญจนบุรี โทร. (034) 512 500, (034) 623 691
ศูนย์การท่องเที่ยวกีฬาและนันทนาการ จังหวัดนครปฐม โทร. (034) 340 065-6
หอการค้าจังหวัดนครปฐม โทร. (034) 254 231, (034) 254 647, (034) 210 230
ตำรวจท่องเที่ยว โทร. 1155
ตำรวจทางหลวง โทร. 1193

การเดินทาง

รถยนต์ส่วนตัว วัดอยู่ห่างจากทางแยกของทางหลวงหมายเลข 4 เลี้ยวขวาเข้าอำเภอ นครชัยศรี ไป 15 กม. ระหว่างทางจะมีป้ายบอกทางเป็นระยะจนถึงตัววัด

แผนที่

ความเห็น

ความเห็น