Tag: บุรีรัมย์

พิพิธภัณฑ์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ วัดป่าพระสบาย

พิพิธภัณฑ์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ วัดป่าพระสบาย ตั้งอยู่ หมู่ 4 บ้านบึงน้อย ต.บึงเจริญ อ.บ้านกรวด วัดแห่งนี้ร่มรื่นด้วยต้นยางพารา ต้นไม้เศรษฐกิจที่ชาวบ้านที่นี่ปลูกกันแทบทุกครัวเรือน อาคารจัดแสดงของพิพิธภัณฑ์แฝงตัวอยู่ในสวนยางพารา ภายในจัดแสดงโบราณวัตถุที่ชาวบ้านขุดพบบริเวณท้ายหมู่บ้านบึงเจริญแห่งนี้ เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ดูแลและจัดการโดยวัดและชุมชน วัตถุโบราณที่พบ ได้แก่ เครื่องปั้นดินเผา เครื่องประดับหินสี ก่อสร้างขึ้นเมื่อประมาณวันที่ 28 ธันวาคม 2542 เพื่อเป็นการรวบรวมชิ้นส่วนโบราณวัตถุต่างๆ มีการจัดแสดงเพื่อเผยแพร่ข้อมูลทางโบราณคดีในชุมชน เมื่อ วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ.2540 ได้มีการขุดพบโครงกระดูกมนุษย์โบราณ และเศษภาชนะดินเผาซึ่งส่วนใหญ่เป็นภาชนะดินเผาสีเทาดำไม่มีการเคลือบมีรูปทรงคล้ายภาชนะบ้านเชียงแต่ไม่มีลายจากการเขียนสี มีเพียงลายจากการทาบเชือก และสายจากการจดของแหลมลงในเนื้อภาชนะ ที่สำคัญได้ขุดพบภาชนะรูปทรงหินและโลหะยุคหินใหม่ อาทิเช่น กำไลหินสีเขียว เครื่องใช้แบบสำริด ณ บริเวณของหมู่บ้านบึงน้อยอีกครั้งโดย”พระธงชัย ชาตปัญโญ” ส่วนหนึ่งนำไปจัดแสดงที่ปราสาทหินพนมรุ้ง กรมศิลปากรได้สรุปเบื้องต้นว่า โบราณวัตถุที่ขุดพบอยู่ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ มีอายุราว 3,000 ปี ประวัติความเป็นมา ปี 2516 เป็นช่วงเวลาแรก ๆ ที่ชาวบ้านได้ไปขุดบ่อน้ำแล้วพบภาชนะดินเผา แต่ว่ายังไม่มีใครสนใจ จนกระทั่งราวปี 2540 ชาวบ้านได้ขุดดินลึกประมาณ 1 […]

Read More

ปราสาทหนองหงส์

ปราสาทหนองหงส์ ไปชมปราสาทหิน ปฏิมากรรมการก่อสร้างอันน่าเหลือเชื่อของคนโบราณกันค่ะ ปราสาทหนองหงส์ ตั้งอยู่บ้านโนนดินแดง หมู่ที่ 9 ตำบลโนนดินแดง อำเภอโนนดินแดง จ.บุรีรัมย์ อยู่ทางด้านซ้ายของแนวสันเขื่อนลำนางรอง ห่างจากตัวเขื่อนประมาณ 500 เมตร เป็นโบราณสถานขนาดเล็กประกอบด้วยปรางค์ 3 องค์ เป็นเทวาลัยของฮินดู ปรางค์ทั้งสามมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมไม้สิบสอง องค์กลางขนาดใหญ่กว่าสององค์ที่ขนาบข้าง ก่อด้วยอิฐ ตั้งบนฐานก่อด้วยศิลาแลงต่อเนื่องเป็นฐานเดียวกัน หันหน้าไปทางทิศตะวันออกมีประตูเข้า-ออกทางด้านหน้าอีก 3 ด้าน เป็นประตูหลอก แต่เดิมเคยมีทับหลังประดับจำหลักลายอย่างสวยงาม คือ องค์ทิศเหนือสลักเป็นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑเหนือหน้ากาล ซึ่งมือยึดท่อนพวงมาลัยแวดล้อมด้วยลายพันธุ์พฤกษา อีก 2 องค์ที่เหลือ คือ องค์กลางและองค์ด้านทิศใต้ก็มีลักษณะคล้ายกันต่างกันที่ภาพตรงกลาง คือ ทับหลังปรางค์องค์กลางสลักเป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ องค์ทิศใต้เป็นรูปพระอิศวรทรงโค ด้านหน้าของปรางค์องค์กลาง มีทางเดินยื่นยาวออกไป มีบันไดทางด้านหน้าและด้านข้างทั้งสอง นอกจากนี้ยังมีวิหารหรือบรรณาลัยอีก 1 หลัง ก่อด้วยศิลาแลงหันหน้าเข้าหาปรางค์องค์ทิศใต้ อาคารทั้งหมดล้อมรอบด้วยกำแพงศิลาแลง มีซุ้มประตูด้านหน้าและด้านหลัง มีคูน้ำรูปตัวยูล้อมรอบ การกำหนดอายุ สมัยของปราสาทนั้น กำหนดจากลักษณะการก่อสร้าง และศิลปกรรมที่พบซึ่งตรงกับศิลปะเขมรแบบบาปวน คาดว่าทำในสมัยพระเจ้าวรมันที่ 7 ซึ่งมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 16 ปัจจุบันปราสาทหินแห่งนี้ทรุดโทรมลงมากตามกาลเวลา […]

Read More

ปราสาทเมืองต่ำ

ปราสาทเมืองต่ำ  ตั้งอยู่บริเวณหน้าวัดปราสาทบูรพาราม ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ปราสาทเมืองต่ำมีแผนผังขององค์ปราสาทเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก่อด้วยอิฐ หินทรายและศิลาแลง หันหน้าไปทิศตะวันออก  เป็นหนึ่งในกลุ่มปราสาทมรรคโค เป็นศาสนสถานที่สร้างตามคติความเชื่อทางศาสนาฮินดู สันนิษฐานว่าสร้างขึ้น ชเพื่อถวายพระศิวะ มีลักษณะเป็นศาสนสถานประจำเมืองหรือประจำชุมชน ปราสาทเมืองต่ำสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 16 ในศิลปะปาปวนตอนต้น และลดความสำคัญลงไปในราวพุทธศตวรรษที่ 18 และถูกทิ้งร้างในที่สุด จนเมื่อราวปี พ.ศ. 2490 จึงเริ่มมีการอพยพเข้ามาของชาวบ้าน มาตั้งถิ่นฐานในบริเวณนี้อีกครั้งหนึ่ง คำว่า เมืองต่ำ ไม่ใช่ชื่อดั้งเดิม แต่เป็นชื่อที่ชาวพื้นเมืองเรียกโบราณสถานแห่งนี้ เพราะปราสาทแห่งนี้ตั้งอยู่บนพื้นราบ ส่วนปราสาทพนมรุ้งตั้งอยู่บนเชิงเขา ซึ่งทั้งปราสาทเมืองต่ำและปราสาทพนมรุ้งอยู่ไม่ห่างกันมาก คือห่างกันเพียง 8 กิโลเมตร นอกจากนี้ วัสดุส่วนหนึ่งจากโบราณสถาน และโบราณวัตถุ ของปราสาทเมืองต่ำ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงนำมาเป็นส่วนประกอบในการทำพระเครื่อง ที่เรียกว่า “พระสมเด็จจิตรลดา” อีกด้วย ตำแหน่งที่ตั้งของปราสาทเมืองต่ำ อยู่บนเส้นทางอารยธรรมขอม (เขมร) จากเมืองพระนครในประเทศกัมพูชา (เสียมเรียบ)ขึ้นสู่ทางเหนือผ่านเทือกเขาพนมดงรัก ผ่านกลุ่มปราสาทตาเมือน จังหวัดสุรินทร์ ผ่านปราสาทเมืองต่ำ สู่ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง ไปสู่ยังปราสาทหินพิมาย จังหวัดนครราชสีมา อาจกล่าวได้ว่าชุมชนโบราณที่ปราสาทเมืองต่ำมีความสัมพันธ์กับชุมชนโบราณใกล้เคียงบนเส้นทางอารยธรรมขอมจากเมืองพระนคร […]

Read More

ปรางค์กู่สวนแตง

ปรางค์กู่สวนแตง ตั้งอยู่บ้านดงยาง ตำบลกู่สวนแตง อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ บุรีรัมย์ ตรงข้ามโรงเรียนกู่สวนแตงวิทยาคม ปรางค์กู่สวนแตง เป็นโบราณสถานแบบขอมอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยปรางค์อิฐ 3 องค์ ตั้งเรียงในแนวเหนือ-ใต้ บนฐานศิลาแลงเดียวกัน อาคารทั้งหมดหันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีประตูหน้าเพียงประตูเดียว อีก 3 ด้านสลักเป็นประตูหลอก ปรางค์องค์กลางมีขนาดใหญ่และมีสภาพที่ค่อนข้างสมบูรณ์เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ด้านหน้าที่มุขยื่นออกมาเล็กน้อย ตรงหน้าบันเหนือประตูหลอกทั้ง 3 ด้าน มีลักษณะยื่นออกมาและมีแผ่นศิลาทรายรองรับ ส่วนปรางค์อีก 2 องค์ มีขนาดเล็กกว่า ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีประตูเดียวทางด้านหน้าเช่นกัน ส่วนผนังอีก 3 ด้าน ก่อเรียบทึบสำหรับบนพื้นหน้าปรางค์มีส่วนประกอบสถาปัตยกรรมหินทรายอื่น ๆ ตกหล่นอยู่ เช่น ฐานบัวยอดปรางค์ กลีบขนุนรูปนาค 6 เศียร อายุของกู่สวนแตงสามารถกำหนดได้จากทับหลังของปรางค์ ซึ่งปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครและที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 17 เนื่องจากภาพสลักบนทับหลังทั้งหมดมีลักษณะตรงกับศิลปะขอมแบบนครวัด ที่มีอายุอยู่ในช่วงเวลาดังกล่าว อาทิ ทับหลังสลักภาพพระนารายณ์ตรีวิกรม (ตอนหนึ่งในวามนาวตาร แสดงภาพพระนารายณ์ย่างพระบาท 3 ก้าว เหยียบโลกบาดาล โลกมนุษย์ […]

Read More

แหล่งเตาเผาโบราณนายเจียน

แหล่งเตาเผาโบราณนายเจียน ตั้งอยู่ที่บ้านถนนน้อย ต.หินลาด อ.บ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นเตาเผาโบราณอายุประมาณ 1,000 ปี มี 2 เตา ชื่อเตาเผานายเจียน และเตาเผาสวาย และได้พบเครื่องเคลือบโบราณจำนวนมาก คนโบราณใช้เผาเครื่องปั้นดินเผา หม้อ ไห ต่างๆ นักโบราณคดีได้สำรวจพบเตาเผา และเครื่องปั้นดินเผา โบราณจำนวนมาก พบว่ามีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 14-19 โดยเตาเผาเหล่านี้ ได้ผลิตเครื่องถ้วยเขมร เพื่อเป็นสินค้าป้อนให้กับเมืองต่างๆ ในกัมพูชา และในภูมิภาคต่างๆ โดยมีการทำอุตสาหกรรมขนาด ใหญ่โต และขยายขอบเขตการผลิตไปยังพื้นที่ใกล้เคียงอีกด้วย กรมศิลปากรได้ทำการขุดแต่งเตาโบราณ 2 แห่งคือ เตาสวายและเตานายเจียน ซึ่งอยู่ห่างจาก อำเภอบ้านกรวดเป็นระยะทาง 5 และ 10 กม. ตามลำดับ ส่วนเครื่องปั้นดินเผาโบราณที่ขุดพบสามารถชมได้ที่ หอศิลปกรรมบ้านกรวด ในบริเวณที่ว่าการอำเภอ บ้านกรวด ลักษณะทั่วไป เตาเครื่องเคลือบดินเผาแบบบ้านกรวด เป็นเตายาวสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก่อขึ้นบนดินหรือเนินดินสูง ขึ้นโครงด้วยไม้ไผ่สาน ฉาบด้วยดินเหนียวเผาเป็นอิฐดิบ (ไม่ใช่อิฐเป็นก้อน) มีกองดินเป็นเสาค้ำอยู่ตรงกลาง บรรจุภาชนะด้านข้างเตา ความยาวของเตามีถึง […]

Read More

เขื่อนลำนางรอง

เขื่อนลำนางรอง เยือนทะเลสาบเหนือเขื่อนอันกว้างใหญ่ หาดทรายสวยงามบรรยากาศดี เขื่อนลำนางรองตั้งอยู่ที่อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ อยู่แยกจากอนุสาวรีย์เราสู้ไป 200 เมตร  เป็นเขื่อนดินฐานคอนกรีตขนาดใหญ่ จุน้ำได้ประมาณ 150 ล้านลูกบาศก์เมตร มีถนนลาดยางบนสันเขื่อนเชื่อมต่อไปยังหมู่บ้านตัวอย่าง หมู่บ้านพัฒนาหนองตาเยาว์ และหนองหว้า ซึ่งอยู่ใกล้ชายแดนเพียง 20 กว่ากิโลเมตรเท่ากัน ที่สันเขื่อนมีหินลอย (หินภูเขาไฟอีกชนิดหนึ่ง) เป็นก้อนและแผ่นสีสันแบ่งกันเป็นชั้นสวยงาม ซึ่งได้นำไปกองกั้นน้ำเซาะสันเขื่อน เป็นพื้นที่โครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคงตามพระราชดำริ นักท่องเที่ยวสามารชมวิวจากบนสันเขื่อน เป็นที่เที่ยวที่มีชื่อเสียงในอำเภอโนนดินแดง บรรยากาศสวยงาม รวมถึงมีสิ่งอำนวยความสะดวกและร้านอาหารประเภทปลาสดๆจากเขื่อนลำนางรองในอ.โนนดินแดง จ.บุรีรัมย์ ด้วยทะเลสาบเหนือเขื่อนอันกว้างใหญ่ หาดทรายสวยงามบรรยากาศดี ชาวบุรีรัมย์และจังหวัดใกล้เคียงจึงนิยมพาครอบครัวไปพักผ่อน เล่นน้ำและรับประทานปลาสดจากเขื่อน ในบริเวณเดียวกันยังมีโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูป (ดอยคำ) ผลิตผักผลไม้กระป๋องอาทิ ข้าวโพดอ่อน หน่อไม้ และน้ำมะเขือเทศ อาหารขึ้นชื่อที่พลาดไมไ่ด้เมื่อมาเยือนที่นี่ก็คือจะเป็นเมนูที่ทำจากปลาต่างๆ เช่น ปลาเผา ปลานึ่ง ปลาช่อนลุยสวน ต้มยำปลา ต้มยำปลากดปลาคังลวกจิ้ม เป็นต้น [adsense-2] สิ่งอำนวยความสะดวก/ที่พัก มีลานจอดรถ มีร้ายอาหารมากมายให้บริการ มีบ้านพักรับรอง ห้องประชุม และค่ายพักแรม ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม ติดต่อจองที่พักได้ที่สำนักงานโครงการส่งน้ำและ บำรุงรักษาลำนางรองซึ่งอยู่ก่อนถึงสันเขื่อน ในเวลาราชการ โทร. […]

Read More