วนอุทยานบัวบาน ถ้ามีโอกาสได้มาเยือนจังหวัดหนองบัวลำภู ขอบอกว่าห้ามพลาดที่นี่นะคะ วนอุทยานบัวบาน ตั้งอยู่ที่บ้านภูพานทอง ต.หนองบัว อ. เมืองหนองบัวลำภู จ. หนองบัวลำภู เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นตามคำสั่งกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช เพื่อประโยชน์ในการอนุรักษ์ สงวน คุ้มครองทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า เพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัยทางวิชาการ เพื่อประโยชน์ในการพักผ่อนหย่อนใจของประชาชนทั่วไป และเพื่อรักษาสมดุลของระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนความหลากหลายทางชีวภาพสำหรับเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร และสำหรับอยู่อาศัยของสัตว์ป่า แหล่งอาหาร แหล่งนันทนาการและการท่องเที่ยวทางธรรมชาติของประชาชน โดยกำหนดให้พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าหนองบัว และป่าสงวนแห่งชาติป่าหมากหญ้าท้องที่ตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู เป็น “วนอุทยานบัวบาน” อีกหนึ่งจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงและน่ามาเยือนมากแห่งหนึ่ง เป็นวนอุทยานที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มาตั้งแต่สมัยอาณาจักรศรีสัตนาคนหุตล้านช้าง หรือราวๆพุทธศตวรรษที่ 20 วนอุทยานบัวบาน ประกอบไปด้วยพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าหนองบัวและป่าสงวนแห่งชาติป่าหมากหญ้าท้อง มีลักษณะเป็นที่ราบสูงสลับกับที่ราบเชิงเขา มีสภาพป่าเป็นป่าเบญจพรรณสลับกับป่าดิบแล้ง มีเนื้อที่ประมาณ 2,000 ไร่ โดยบริเวณด้านทิศตะวันตกเป็นสันเขา มีหน้าผาสามารถยืนชมวิวของตัวเมืองหนองบัวลำภูได้อย่างชัดเจน [adsense-2] อัตราค่าธรรมเนียมการเข้าชม ผู้ใหญ่ คนละ 20-80 บาท (ขึ้นอยู่กับอุทยานฯ) เด็ก คนละ 10-40 บาท (ขึ้นอยู่กับอุทยานฯ) กรณีเป็นเด็กอายุต้องต่ำกว่า 14 ปี แต่ถ้าอายุต่ำกว่า 3 ปี […]
Read MoreTag: ภาคเหนือ

ผามออีแดง ไปชมทะเลหมอก อาบสายลมหนาว ดูวิวบนยอดผากันค่ะ ผสมออีแดงตั้งอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ผามออีแดงแห่งนี้ตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์สำคัญของรอยต่อปราสาทพระวิหารที่หลายคนกล่าวขาน หลายคนถึงบางอ้อกันแล้วคือรู้เลยว่าที่นี่มีความสำคัญอย่างไร ที่นี่อยู่บริเวณใกล้เคียงกับทางเดินขึ้นปราสาทเขาพระวิหาร เป็นหน้าผาสูงชันกั้นเขตแดนประเทศไทยกับประเทศกัมพูชา ตลอดแนวผามออีแดงมีระยะประมาณ 300 เมตร เป็นจุดชมวิวที่มองเห็นทัศนียภาพของแผ่นดินประเทศกัมพูชาที่อยู่ต่ำลงไปอย่างเป็นมุมกว้าง มีฝูงค้างคาวในยามพระอาทิตย์ตกดิน บริเวณใกล้เคียงมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ชมโบราณสถานสถูปคู่รูปทรงสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ ส่วนบนกลมข้างในเป็นโพรง สำหรับบรรจุสิ่งของสร้างด้วยหินทรายแดง ขนาดกว้าง 1.93 เมตร ยาว 4.2 เมตร ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ คำว่า “มอ” ภาษาอีสานแปลว่า โพนเล็กๆ ที่โนน ที่สูงเป็นหย่อมๆ ส่วนคำว่า “อีแดง” น่าจะเป็นชื่อเรียกคนละครับ รวมแล้วคงหมายความว่าผาที่มีโพนเล็กๆ มีอีแดงอาศัยอยู่ก็เป็นได้ครับผม ผามออีแดงตั้งอยู่ที่ชายแดนไทย-กัมพูชา เป็นหน้าผาหินสีแดงที่มีทัศนียภาพกว้างไกลสุดตา และจากจุดนี้นักท่องเที่ยวสามารถมองเห็นปราสาทพระวิหารได้ [adsense-2] สิ่งที่น่าสนใจ ภาพสลักนูนต่ำ บริเวณผามออีแดง มีภาพแกะสลักนูนต่ำเป็นภาพคน 3 คน ในเครื่องแต่งกายแบบชาวกัมพูชา สร้างขึ้นก่อนปราสาทเขาพระวิหาร ราวกลางศตวรรษที่ 11 อายุประมาณ 1,500 ปี มีโบราณวัตถุ […]
Read More
วัดอุโปสถาราม เดิมชื่อ วัดโบสถ์มโนรมย์ ชาวบ้านเรียกว่าวัดโบสถ์ เป็นวัดเก่าแก่อยู่ริมลำน้ำสะแกกรัง บนเกาะเทโพ ในเขตเทศบาลเมือง จากตลาดสดเทศบาล มีสะพานข้ามแม่น้ำไปยังวัดอุโปสถาราม ซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ สิ่งที่น่าสนใจในวัดได้แก่ จิตรกรรมฝาผนังในโบสถ์และวิหาร เป็นภาพเขียนสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ในโบสถ์เป็นภาพพุทธประวัติเริ่มตั้งแต่ประสูติจนถึงปรินิพพานฝีมือประณีตมาก ในวิหารเขียนภาพพระพุทธเจ้าเสด็จโปรดเทพยดาบนสวรรค์และภาพปลงสังขาร ด้านบนฝาผนังเป็นพระสงฆ์สาวกชุมนุมสลับกับพัดยศเหมือนจะไหว้พระประธานในวิหาร ฝาผนังด้านนอกหน้าวิหารมีภาพถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและภาพชีวิตชาวบ้านที่เกี่ยวกับพุทธศาสนา เข้าใจว่าเป็นฝีมือชั้นหลัง นอกจากนี้ภายในวัดอุโปสถาราม ยังมีสิ่งของที่น่าชมอีกมาก เช่น เสมาหินสีแดงหน้าโบสถ์ ตู้พระธรรมและตู้ใส่ของเขียนลายกนกเถาลายดอกไม้ บาตรฝาประดับมุกที่ได้รับพระราชทานจากรัชกาลที่ 5 เป็นฝีมือช่างสิบหมู่ และหงส์ยอดเสา เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีอาคารสถาปัตยกรรมเก่าแก่ที่น่าชมหลายหลัง ได้แก่ มณฑปแปดเหลี่ยม ลักษณะผสมแบบตะวันตก มีลายปูนปั้นคล้ายไม้เลื้อยที่กรอบหน้าต่าง และมีพระพุทธรูปปูนสลักนูนสูงอยู่ด้านนอกอาคาร เจดีย์หกเหลี่ยม เจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองทรงรัตนโกสินทร์ หอประชุมอุทัยพุทธสภา เป็นศาลาทรงไทย ใช้เป็นหอสวดมนต์ หน้าบันประดับลวดลายปูนปั้น และ แพโบสถ์น้ำ ตั้งอยู่หน้าวัด สร้างขึ้นเพื่อรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งเสด็จประพาสมณฑลฝ่ายเหนือใน พ.ศ. 2449 เดิมเป็นแพแฝด 2 หลัง มีช่อฟ้า ใบระกาเหมือนอุโบสถทั่วไป หน้าบันมีป้ายวงกลมจารึกภาษาบาลี “สุ อาคต […]
Read More
วัดอมฤตวารี ตั้งอยู่ที่บ้านหนองน้ำคัน หมู่ที่ 8 ตำบลอุทัยใหม่ อำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานีสร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2325 เดิมชื่อว่า วัดหนองน้ำคัน เพราะตั้งอยู่ใกล้หนองน้ำใหญ่ซึ่งมีอาถรรพถ์ คือใครลงไปอาบน้ำแล้วจะรู้สึกคันตัวจนกว่าน้ำที่เปียกตัวจะแห้ง จึงหายคันแม้กระทั่งใคร ที่ได้นำเอาปลา กุ้ง หอย ที่อาศัยอยู่ในหนองน้ำแห่งนี้ไปทำอาหารกินก็จะเกิดโรคผิวหนัง ต่อมาปี พ.ศ. 2482 พระสุนทรมุนี (พุฒ สุทัตตเถระ) เจ้าคณะจังหวัดอุทัยธานีและสมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) เจ้าคณะมณฑลนครสวรรค์สมัยนั้นเห็นว่า ชื่อวัดหนองน้ำคันไม่เป็นมงคลนาม จึงเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “วัดอมฤตวารี” แปลว่า “วัดที่มีน้ำดื่มกินได้ชุ่มชื้นดุจน้ำอมฤต” สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด 1. พระอุโบสถหลังเก่า (บูรณะใหม่) สร้างขึ้นสมัยอยุธยาตอนปลาย ลักษณะของพระอุโบสถเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนมีขนาดไม่ใหญ่นักมีประตูทางเข้าทางเดียว ผนังด้านข้างมีหน้าต่างข้างละ 3 บาน ประตูหน้าต่างเป็นช่องสี่เหลี่ยม ไม่มีซุ้ม ภายในพระอุโบสถมีภาพจิตกรรมฝาผนังเรื่องพระพุทธประวัติตอน “พระเวสสันดรชาดก” เหนือระดับหน้าต่างมีภาพจิตรกรรมฝาผนังที่เขียนเป็นภาพเทพชุมนุมสดับพัดยศ ด้านหลัง พระประธานเขียนภาพพุทธประวัติตอนพิชิตมารและเรื่องพระยาฉัททันต์สันนิษฐานว่า พระอุโบสถเคยซ่อมมาแล้วในราวสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเพราะภาพจิตรกรรมฝาผนังที่ปรากฏเป็นลักษณะและฝีมือช่างประมาณสมัยรัชกาลที่ 4 ปัจจุบันพระอุโบสถหลังนี้ใช้เป็นกุฏิพระสงฆ์ทำให้ภาพจิตรกรมฝาผนังลบเลือนลงไปเป็นบางส่วน [adsense-2] 2.. เจดีย์ […]
Read More
วัดใหม่จันทาราม แต่เดิมเป็นวัดร้างมีนามว่า “วัดพะเนียด” ซึ่งเป็นสถานที่รวมรวบช้างป่า เพื่อส่งไปเป็น ช้างศึกให้แก่กรุงศรีอยุธยา เพื่อใช้ในการทำสงครามในสมัยนั้น เดิมที่มีเสาตลุงเพนียดช้างอยู่ ต่อมาสร้างวัดขึ้นมา และปล่อยทิ้งร้างไป พระอาจารย์เอี่ยม และชาวบ้านท่าซุง จึงบูรณะก่อสร้างใหม่ ให้นามวัดใหม่ว่า “วัดใหม่จันทาราม” แต่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า “วัดใหม่” ภายในโบสถ์มีจิตรกรรมฝาผนัง รูปดอกมณฑารพ (ดอกไม้แห่งเมืองสวรรค์) ตัวโบสถ์มีลักษณะคล้ายเรือ ส่วนหน้าเชิดขึ้น หน้าบันโบสถ์เป็นศิลปะจีนผสม ตกแต่งด้วยกระเบื้องเคลือบเป็นลายเครือเถา มีพระประธานปางปรินิพพานให้ได้ชมกัน ภายในโบสถ์มีภาพจิตรกรรมที่น่าชม แม้จะทรุดโทรมไปบ้าง แต่ก็ยังคงได้เห็นการเขียนภาพจิตรกรรมซึ่งสัมพันธ์กับพระพุทธรูปประธานอันแสดงถึงวิธีคิดอันแยบคายของช่างเขียนโบราณ [adsense-2] สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด 1. โบสถ์ อาคารโบสถ์มีลักษณะคล้ายเรือ ส่วนหน้าเชิดขึ้นหน้าบันโบสถ์ได้รับอิทธิพลศิลปะจีนโดยตกแต่งด้วยกระเบื้องเคลือบเป็นลายเครือเถา เสารองรับชายคาด้านหน้าเป็นเสาแปดเหลี่ยม กรอบประตูหน้าต่างเป็นซุ้มโค้งแบบสถาปัตยกรรมยุคอาณานิคมที่นิยมในช่วงรัชกาลที่ 4 และ 5 2. ภาพจิตรกรรมดอกมณฑารพ ชาวพุทธเชื่อว่าดอกมณฑารพเป็นต้นไม้ในเมืองสวรรค์ บางคนก็เรียกว่าดอกมณฑา มณฑาเป็นไม้ต้น มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Talauma candollei BI. ในวงศ์ Magnoliaceae ลักษณะใบใหญ่ มีดอกสีเหลืองนวล กลิ่นหอม ภาพจิตรกรรมดอกมณฑารพเกี่ยวโยงกับพระประธานในโบสถ์ซึ่งแปลกแตกต่างจ่ากวัดอื่นตรงที่เป็นพระพุทธไสยาสน์ปางปรินิพพานแทนที่จะเป็นพระพุทธรูปปามารวิชัย ด้วยเหตุนี้ช่างจึงเขียนภาพบนผนังโบสถ์ด้านหลังพระประธานเป็นภาพดอกมณฑารพเต็มทั้งผนัง […]
Read More
วัดสังกัสรัตนคีรี ตั้งอยู่บนเขาสะแกกรัง เป็นภูเขาที่ตั้งกั้นเมืองอุทัยอยู่ทางทิศตะวันตกก่อนที่จะเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง เหมือนดั่งเป็นร่มเงาให้กับจังหวัดอุทัยทั้งจังหวัด แต่เดิมเรียกกันว่าเขาแก้ว เป็นที่ตั้งของวัดสังกัสรัตนคีรี เป็นวัดเก่า แก่สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2443 ยอดเขาสะแกกรังเป็นดินแดนที่ชาวอุทัยยกให้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ภายในวัด เป็นที่ ประดิษฐานของพระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ซึ่งเป็นพระคู่บ้านคู่เมือง ของเมือง อุทัยมา ตั้งแต่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ที่ชาวเมืองต่างให้ความเคารพศรัทธาเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในวิหารหลังใหม่ฝั่งตรงข้ามบันไดทางขึ้นยอดเขาสะแกกรัง ทางขึ้นสู่ยอดเขาสะแกกรังขึ้นไปได้สองทาง คือทางรถยนต์ และจากบริเวณลานวัดจะมีบันได 449 ขั้นตัดตรงขึ้น สู่ยอดเขาสะแกกรังถ้าไม่อยากเดินขึ้นบันไดก็สามารถใช้ทางรถก็ได้ โดยขึ้นทางด้านข้างสนามกีฬาจังหวัด ซึ่งบน ยอดเขานั้นบนเขาสะแกกรังมีศาสนสถานที่สำคัญหลายแห่งคือพระมณฑปทรงไทยสวยงามมีนามว่า สิริมหามายากุฎาคาร ซึ่งที่บนนี้เขาเปรียบให้เป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปเทศนา โปรดพระพุทธมารดาบน สรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ แล้วเสด็จกลับสู่โลกมนุษย์ ซึ่งตามพุทธประวัติกล่าวว่าพระพุทธเจ้าเสด็จลงมาที่เมือง กัสนคร และกลายมาเป็นชื่อวัดสังกัสรัตนคีรี จากบนยอดเขาสามารถมองเห็นทิวทัศน์เมืองอุทัยธานีได้กว้างขวาง มีจุดนั่งพักผ่อนชมวิวหลายจุดและมี ศาสนสถาน ที่ให้เข้าไปไหว้พระทำบุญหลายแห่ง ทั้งวิหารพระพุทธรูปสำคัญ วิหารพระบรมสารีริกธาตุ ศาลเจ้าจีน นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของมณฑปประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง ซึ่งย้ายมาจากวัดจันทาราม สร้างเมื่อ พ.ศ. 2448 ด้านหน้ามีระฆังใบใหญ่ที่พระปลัดใจและชาวอุทัยธานีร่วมกันสร้างเมื่อ พ.ศ. 2443 ถือกันว่าเป็น […]
Read More
วัดพิชัยปุรณาราม เดิมชื่อ วัดกร่าง ตั้งอยู่เลขที่ 199 ถนนศรีอุทัย ตำบลอุทัยใหม่ อำเภอเมืองฯ จังหวัดอุทัยธานี ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสะแกกรัง สันนิษฐานว่าสร้างเมื่อปลายสมัยอยุธยา ประมาณ พ.ศ.2301 พระยาพิชัยสุนทรเจ้าเมืองอุทัยธานีในสมัยนั้นได้ชักชวนพุทธศาสนิกชนร่วมกันบูรณะปฏิสังขรณ์และได้เปลี่ยนชื่อ จากวัดกร่างมาเป็นวัดพิชัยปุรณารามจนถึงปัจจุบันนี้ วัดพิชัยปุรณารามมีวิหารเก่าสร้างในสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา มีพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์นามว่า “พระพุทธชัยสิทธิ์” เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย สร้างในสมัยอยุธยา ขนาดหน้าตัก กว้าง 1.47 เมตร สูง 1.87 เมตร มีซุ้มเรือนแก้วปูนปั้น เป็นพญานาคสวยงามประดิษฐานในวิหาร ส่วนในพระอุโบสถมีพระประธานสร้างด้วยปูนนามว่า “พระพุทธรูปอู่ทอง” และมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับพุทธประวัติและงานศิลปกรรมอื่น ๆ อันทรงคุณค่า ที่เก่าแก่อายุกว่าร้อยปี ซึ่งอยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม จึงสมควรได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ ไว้ให้อนุชนรุ่นหลังเพื่อเป็นการอนุรักษ์สืบทอดพระพุทธศาสนา สิ่งน่าสนใจภายในวัด 1. พระพุทธชัยสิทธิ์ หรือหลวงพ่อชัยสิทธิ์ เป็นพระพุทธรูปปางวิชัน มีซุ้มเรือนแก้วประดับรอบองค์คล้ายกับพระพุทธชินราช จ.พิษณุโลก และพระประธานในโบสถ์วัดไลย์ จ.ลพบุรี สันนิษฐานว่าพระพุทธชัยสิทธิ์สร้างขึ้นในสมัยอู่ทองหรือต้นสมัยอยุธยา 2. วิหารพระพุทธชัยสิทธิ์ นับเป็นอาคารสมัยอู่ทองหรืออโยธยา ซึ่งมีมาก่อนกรุงศรีอยุธยา อายุกว่า 600 ปี ปัจจุบันเหลือสถาปัตยกรรมสมัยอู่ทองเพียงสี่แห่งในประเทศไทย นอกจากที่วัดนี้แล้วมีที่โบสถ์พระศรีรัตนมหาธาตุ […]
Read More
วัดธรรมโฆษก (วัดโรงโค) ตั้งอยู่ที่ถนนศรีอุทัย ตำบลอุทัยใหม่ ใกล้ตลาดเทศบาล เคยใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒนสัตยา ของข้าราชการเมืองอุทัยธานี และเป็นลาน ประหารนักโทษ เป็นวัดที่สร้างในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ภายในโบสถ์มีภาพจิตรกรรมฝาผนังฝีมืองดงาม จัดว่าสวยงามที่สุดในอุทัยธานี สันนิษฐานว่าเป็นฝีมือช่างสมัยอยุธยาตอนปลาย ที่ยังมีชีวิตอยู่ถึงสมัย รัตนโกสินทร์ จิตรกรรมฝาผนังเป็นภาพพุทธประวัติตอนเสด็จลงจากดาวดึงส์ และตอนผจญมาร ผนังข้างด้านบนเป็นภาพเทพชุมนุมสลับกับพัดยศ กรอบหน้าต่างด้านนอกเป็นลายปูนปั้น วิหารสร้างยกพื้นสูงกว่าโบสถ์ หน้าบันเป็นรูปช้างสามเศียร ภายในมีแท่นสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปซึ่งมีประมาณ 20 องค์ จัดเรียงอย่างมีระเบียบ บนหน้าต่างด้านนอกมีลายปูนปั้นเป็นเรื่องรามเกียรติ์ประดับเป็นกรอบ ประตูวิหารเป็นไม้จำหลักลายดอกไม้ทาสีแดงงดงามมาก โบสถ์และวิหารมีพระปรางค์และเจดีย์เรียงรายอยู่ 2-3 องค์ [adsense-2] กำแพงรอบโบสถ์ของวัดนี้ก่อต่อกับฐานวิหารเพราะมีพื้นสูงกว่า ประตูเป็นซุ้มแบบจีน และด้านหลังโบสถ์มีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปเช่นเดียวกับด้านหน้า มีกุฏิเล็กอยู่ติดกับกำแพงโบสถ์ เป็นฝีมือช่างสมัยอยุธยา บานประตูวัดแกะสลัก ฝีมือช่างในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นลายดอกไม้ประกอบใบกระจังต่อก้านสลับดอกเรียงเป็นแถวสวยงามมาก พื้นในเป็นสีแดงเข้าใจว่าเดิมคงลงสีทองบนตัวลายไว้ บานหน้าต่างแกะเป็นลวดลายเดียวกัน ปกติโบสถ์จะปิดหากต้องการชมควรแจ้งไปก่อนที่ โทร. 0 5651 1450 ปัจจุบันวัดธรรมโฆษกได้รับการจดทะเบียนเป็นโบราณสถานแล้ว การเดินทาง รถยนต์ส่วนตัว ไปตามทางหลวงสายเอเชีย พอเจอทางแยกซ้ายเข้าอ.เมือง จ.อุทัยธานี จากนั้นให้เลี้ยวซ้ายประมาณ 8 กิโลเมตร […]
Read More
วัดจันทราราม (วัดท่าซุง) ตั้งอยู่ที่หมู่ 2 ตำบลน้ำซึม ห่างจากอำเภอเมืองประมาณ 5 กม. ตามทางสาย 3265 มุ่งตรงไปทางแพข้ามฟากอำเภอมโนรมย์ ประมาณ 12 กม. เดิมเป็นวัดที่สร้างในสมัยอยุธยา มีโบสถ์ขนาดเล็ก ภายในมีจิตรกรรมฝาผนังฝีมือพื้นบ้านเข้าใจว่าเขียนในสมัยหลังเป็นเรื่องพุทธประวัติ บางภาพต่อเติมจนผิดส่วน มีศาลามณฑปแก้วที่สร้างขึ้นใหม่ รวมทั้งมีท่าเรือคอนกรีตริมฝั่งแม่น้ำเพื่อรองรับพุทธศาสนิกชนที่เดินทางมาทางน้ำ วิหารมีพระปูนปั้นฝีมือพองามมีลายไม้จำหลักขอบหน้าบันเหลืออยู่ 2-3 แห่ง สิ่งที่เป็นโบราณวัตถุของวัดคือ ธรรมมาสน์ที่หลวงพ่อใหญ่สร้าง ด้านตรงข้ามกับวัดเป็นปูชนียสถานแห่งใหม่ มีบริเวณกว้างขวางมาก มีการก่อสร้างอาคารต่างๆ มากมาย ซึ่งสร้างโดยพระราชมหาวีระ ถาวาโร (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) พระเถระที่มีชื่อเสียงเป็นบริเวณพุทธาวาสที่น่าชมมาก พระอุโบสถใหม่สร้างสวยงามภายในประดับและตกแต่งอย่างวิจิตร บานหน้าต่างและประตูด้านในเขียนภาพเทวดาโดยจิตรกรฝีมือดี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จพระราชดำเนินมาตัดลูกนิมิตพระอุโบสถแห่งนี้ บริเวณโดยรอบสร้างกำแพงแก้วและมีรูปหล่อหลวงพ่อปาน และหลวงพ่อใหญ่ขนาด 3 เท่า อยู่มุมกำแพงด้านหน้า ยังมีศาลาอยู่หลายหลังสำหรับใช้เป็นสถานที่ฝึกสมาธิและมีที่พักให้ด้วย เวลาทำการ เปิดทุกวัน – มหาวิหารแก้ว เวลาเปิด 9:00 – 11: 30 น. และ 14:00 – […]
Read More
แม่น้ำสะแกกรัง ลำน้ำสำคัญที่ไหลผ่านตัวจังหวัดอุทัยธานี ซึ่งมีเรื่องเล่าต่อกันมาว่า ในสมัยก่อนเมื่อพ่อค้าล่องเรือผ่านมา จะรู้ได้ว่าถึงบ้านสะแกกรังแล้ว ด้วยต้นสะแกจะออกดอกเล็กๆ ช่อยาวสีเขียวอมเหลืองที่ห้อยลงมาริมน้ำ โดยเฉพาะในเดือนยี่ถึงเดือนสามจะสังเกตได้ชัดเจน สะแกกรัง เป็นแม่น้ำมีต้นกำเนิดอยู่ในเขตเทือกเขาโมโกจู ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร ไหลไปบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยาที่บ้านท่าซุง ตำบลท่าซุง อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี มีความยาวประมาณ 225 กิโลเมตร แม่น้ำสะแกกรัง มีหลายชื่อตามท้องถิ่นที่แม่น้ำไหลผ่านคือ คลองแม่เร่ – แม่วง คือ ช่วงที่ไหลผ่านอำเภอคลองขลุง อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร และอำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์จนถึงเขาชนกัน แม่น้ำวังม้า คือ ช่วงที่ไหลผ่านอำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ และอำเภอสว่างอารมณ์ จังหวัดอุทัยธานี แม่น้ำตากแดด คือ ช่วงไหลผ่านเขตอำเภอสว่างอารมณ์ อำเภอทัพทัน และอำเภอเมือง ฯ จนถึงปากคลองขุมทรัพย์ แม่น้ำสะแกกรัง คือ ช่วงตั้งแต่ปากคลองขุมทรัพย์ หรือคลองอีเติ่ง ที่บ้านจักษา อำเภอเมือง ฯ หรือตรงปลายแม่น้ำตากแดด ณ จุดที่แม่น้ำตากแดดไหลมาบรรจบกับคลองขุมทรัพย์ ซึ่งน้ำจะเป็นสองสี แล้วไหลผ่านตัวเมืองอุทัยธานี แล้วไหลไปบรรจบแม่น้ำเจ้าพระยาที่อำเภอมโนรมย์ […]
Read More