Tag: ลำปาง

อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท

อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท มีเนื้อที่ประมาณ 758,750 ไร่ ลักษณะเป็นภูเขาสลับซับซ้อนปกคลุมด้วยผืนป่าอุดมสมบูรณ์ในอำเภอต่างๆ ได้แก่ อำเภอเมืองลำปาง งาว แม่เมาะ และแจ้ห่ม จุดสูงสุดอยู่ที่ยอดดอยแม่ขวัญซึ่งมีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 1,253 เมตร พื้นที่อุทยานฯ นี้ยังเป็นทางน้ำไหลลง ทางด้านตะวันตกสู่แม่น้ำวัง ทางด้านตะวันออกไหลลงสู่แม่น้ำงาว ซึ่งไหลไปสมทบแม่น้ำยมทางตอนเหนือของอำเภอสอง จังหวัดแพร่ อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท มีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 26 องศาเซลเซียส อากาศเย็นที่สุดในเดือนมกราคม ฝนตกหนักในเดือน พฤษภาคม-ตุลาคม พบนกจำนวนมากกว่า 50 ชนิด เช่น นกปีกลายสก๊อต นกเขาเขียว นกเขาเปล้าธรรมดา นกเขาเปล้าหางเข็มทางภาคเหนือ เหยี่ยวขาว ฯลฯ มีแมลงหลากชนิด เช่น ผีเสื้อกลางวัน ด้วงหนวดยาว กว่างดาว ด้วงดีด เป็นต้น สถานที่น่าสนใจในอุทยานฯ 1. ถ้ำผาไท สันนิษฐานว่าถูกค้นพบโดยพรานป่าล่าสัตว์ หรือจากการสำรวจทางหลวงแผ่นดิน ภายในถ้ำเป็นโถงขนาดใหญ่เกิดจากภูเขาหินปูนอายุไม่น้อยกว่าเก้าล้านปี ความลึกจากปากถ้ำเข้าไปประมาณ 1,150 เมตร ตลอดเส้นทางอุทยานฯ ได้ติดตั้งไฟฟ้าเพื่อให้สะดวกในการเดินชมหินงอกหินย้อยที่มีอยู่มากมายในถ้ำ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ […]

Read More

แหล่งโบราณคดีค่ายประตูผา

หล่งโบราณคดีค่ายประตูผา ตั้งอยู่บริเวณหน้าผาภูเขาหินปูนด้านทิศตะวันออกของศาลเจ้าพ่อประตูผา แหล่งโบราณคดีแห่งนี้ เป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ประเภทแหล่งภาพเขียนสีและแหล่งฝังศพ ค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2531 โดยร้อยเอกชูเกียรติ มีโฉม นายทหารสังกัดกองพันรบพิเศษที่ 3 ค่ายประตูผา ได้ค้นพบขณะทำการฝึกใต่เชือกบริเวณหน้าผา ดำเนินการขุดค้นและคัดลอกภาพเมื่อวันที่ 7 กันยายน – 6 ธันวาคม 2541 โดยสำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติที่ 5 จังหวัดเชียงใหม่ การขุดค้นยังพบชิ้นส่วนภาชนะดินเผาในวัฒนธรรมหริภุญไชย และชิ้นส่วนเครื่องถ้วยสันกำแพง เป็นหลักฐานที่ยืนยังถึงความมีอยู่จริงของเจ้าพ่อประตูผา ตามความในพงศาวดารโยนกที่กล่าวว่าพื้นที่ในบริเวณนี้ได้ถูกใช้เป็นสมรภูมิในการรบของท้าวลิ้นก่านกับข้าศึกชาวลำพูนอันเป็นตำนานของเจ้าพ่อประตูผา สภาพพื้นที่โดยทั่วไป แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 พื้นที่โดยรอบด้านทิศตะวันออกมีลักษณะเป็นที่ราบลอนคลื่นขนาดใหญ่อุดมไปด้วยแหล่งน้ำและเป็นต้นน้ำของแม่น้ำหวดและแม่น้ำเมาะ ด้านบนของเทือกเขาหินปูนพบที่ลุ่มมีน้ำท่วมขังในลักษณะแอ่งน้ำขนาดใหญ่ [adsense-2] ส่วนที่ 2 พื้นที่ตั้งของแหล่งโบราณคดี มีลักษณะเป็นหน้าผาหินปูนทอดตัวในแนวเหนือ-ใต้ ลักษณะเป็นผิวหน้าผาค่อนข้างเรียบสูงชันประมาณ 81-90 องศา หน้าผาชะโงกไปทางทิศตะวันออกทำให้พื้นดินใต้หน้าผาอันเป็นตำแหน่งของภาพเขียนสีและแหล่งฝังศพซึ่งไม่ได้รับความชื้นจากน้ำฝน พื้นดินมีลักษณะเป็นดินละอองเนื้อละเอียดคล้ายทรายแป้ง เวลาเหมาะสมสำหรับการชมภาพเขียนสีค่ายประตูผา คือ เวลา 8:30 น. – 10:30 น. และเวลา […]

Read More

หออะม็อก

“หออะม็อก” เป็นภาษาม่าน (พม่า) แปลว่า “หอปืน” เป็นป้อมปืนใหญ่โบราณ ตั้งอยู่บนถนนศรีเกิด บ้านศรีเกิด (ชุมชนศรีเกิด) ตำบลหัวเวียง อำเภอเมือง นครลำปาง สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2351 ในรัชสมัยพระเจ้าหอคำดวงทิพย์ เจ้าผู้ครองนครลำปางองค์ที่ 3 แห่งทิพย์จักรวงศ์สัตตราชา เจื้อเจ้าอันเป็นเค้าอยู่หนเหนือ ราชวงศ์เจ้าเจ็ดตนนครลำปาง สกุลปงยางคก-ป่าหนาดคำ (บ้านเอื้อม) (ทรงครองนครตั้งแต่ปี พ.ศ.2337 – พ.ศ.2367 รวมเวลา 31 ปี) ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี พระองค์ทรงเป็นราชบุตรของเจ้าฟ้าหลวงชายแก้ว ราชธานี ผู้ราชบุตรองค์ที่ 3 ของ “พ่อเจ้าทิพย์ช้าง” พญาสุลวะฤๅชัยสงคราม ปฐมกษัตริย์แห่งทิพย์จักรวงศ์ ต้นราชสกุล ณ ลำปาง, ณ ลำพูน, ณ เชียงใหม่ เชื้อเจ้าเจ็ดตน แห่งเชียงรายและเชียงแสน เจ้าผู้ครองนคร หัวเมืองฝ่ายเหนือแห่งราชอาณาจักรลานนา พระเจ้าหอคำดวงทิพย์ได้รับพระราชทาน สุพรรณบัฏเป็นเจ้าประเทศราช […]

Read More

สะพานรัษฎาภิเศก(สะพานขาว)

สะพานรัษฎาภิเศก หรือ สะพานขาว เป็นสะพานข้ามแม่น้ำวัง ตั้งอยู่ที่ถนนรัษฎา ในเขตตำบลหัวเวียง อำเภอเมือง  เดิมเป็นสะพานโครงสร้างไม้ ที่ทางเจ้านรนันทไชยชวลิต เจ้าผู้ครองนครลำปาง และชาวจังหวัดลำปางได้จัดสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติในวาระที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 5 ในโอกาสที่พระองค์ครองราชย์ครบ 25 ปี ในปี พ.ศ. 2437 และเจ้าผู้ครองนครได้เป็นผู้ที่ตั้งชื่อจากพิธีเฉลิมฉลองรัษฎาภิเษกสมัยรัชกาลที่ 5 สะพานรัษฎาเป็นสะพานร่วมสมัยกับยุคอารยธรรมรถไฟมีอายุผ่านสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 มาแล้ว และรอดพ้นจากการโจมตีทิ้งระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตรมาได้ด้วยการทาสีพรางตา และด้วยการอ้างว่าสะพานแห่งนี้ไม่มีประโยชน์ทางยุทธศาสตร์ของนางลูซี สคาร์ลิง อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนวิชานารี ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของกองทัพสัมพันธมิตรในขณะนั้น สะพานรัษฎาภิเศกเดิมเป็นสะพานไม้เสริมเหล็กชำรุดผุพัง จึงมีการก่อสร้างใหม่เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2460 เป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กที่มีความคงทนมากกว่าสะพานรุ่นเดียวกันที่ไม่เหลืออยู่แล้วในปัจจุบัน ที่บริเวณสะพานมีเครื่องหมายไก่ขาวและครุฑหลวงประดับไว้ตรงหัวสะพาน [adsense-2] ความหมายของสะพาน เสาสี่ต้น ซึ่งตั้งอยู่ตรงหัวสะพานฝั่งละสองต้น เปรียบดังความมั่นคงแข็งแรงและสง่างาม พวงมาลายอดเสา บนยอดเสาทั้งสี่ด้านของเสาทั้งสี่ต้น เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิการของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ครุฑหลวงสีแดง ประดับอยู่กลางเสาด้านหน้าทุกต้น ทั้งสองฝั่งหัวสะพาน บ่งบอกถึงตราสัญลักษณ์แห่งแผ่นดินสยามสมัยรัชกาลที่ ๖ ไก่หลวง หรือไก่ขาว ที่ประดับตรงกลางเสาด้านข้างทุกต้น ทั้งสองฝั่งหัวสะพาน […]

Read More

สวนสาธารณะหนองกระทิง

สวนสาธารณะหนองกระทิง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดลำปางแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ ที่หมู่บ้านน้ำโท้ง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ติดกับสนามกีฬากลางจังหวัดลำปาง และสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 10 ลำปาง และเป็นสวนสาธารณะที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดลำปาง มีอนุสาวรีย์กระทิงตั้งตระหง่านภายในใจกลางของสวนสาธารณะ อยู่ในความดูแลของของ องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปางและภายในยังมีหนองน้ำที่ใหญ่ มีพันธุ์ปลาหลากหลายชนิด ทั้งยังเป็นสถานที่ออกกำลังกายและเป็นสถานที่แข่งกีฬามินิฮาล์ฟมาราธอนด้วยซึ่งมีประโยชน์ เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจที่ใกล้ตัวเมือง ชาวลำปางนิยมมาทำกิจกรรมต่างๆ เช่น ว่ายน้ำ เล่นเรือถีบ และมีสวนหย่อมสำหรับพักผ่อน มีร้านอาหารและเครื่องดื่มบริการหลายแห่ง [adsense-2] ช่วงเวลาที่เปิดให้เขาชม เปิดบริการทุกวันตั้งแต่เวลา 08.00-20.00 น. การเดินทาง รถยนต์ส่วนตัว จากตัวเมืองข้ามลำน้ำวังไปตามเส้นทางสายลำปาง – ห้างฉัตร ประมาณ 3 กิโลเมตร แผนที่

Read More

สถานีรถไฟนครลำปาง

สถานีรถไฟนครลำปาง ตั้งอยู่ที่ ตำบลสบตุ๋ย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง มีพื้นที่ 161 ไร่ ห่างจากสถานีรถไฟกรุงเทพ 642.29 กิโลเมตร สร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. 2458 และเปิดใช้งานเมื่อครั้งรถไฟหลวงขบวนแรกเดินถึงจังหวัดลำปางในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2459 แต่เดิม ระหว่างสถานีรถไฟห้างฉัตรกับสถานีรถไฟนครลำปางเคยมี ที่หยุดรถบ่อแฮ้ว แต่ปัจจุบันยกเลิกที่หยุดรถนี้ไปแล้ว สถาปัตยกรรมที่น่าสนใจ ตัวอาคารมีรูปแบบการก่อสร้างผสมผสานกันระหว่างสถาปัตยกรรมไทยภาคเหนือกับสถาปัตยกรรมยุโรป เป็นอาคาร 2 ชั้นครึ่งตึกครึ่งไม้ ชั้นบนเป็นที่ทำการสารวัตรเดินรถลำปาง ส่วนชั้นล่างเป็นที่ทำการของสถานี รั้วระเบียงอาคารชั้นบนและเหนือวงกบประตูและหน้าต่างเป็นไม้ฉลุลายสวยงาม ส่วนทางเข้าห้องโถงชั้นล่างซึ่งเป็นห้องจำหน่ายตั๋วและทางขึ้นชั้นบนเป็นประตูรูปโค้งขนาดใหญ่ สถานีนครลำปางได้รับการดูแลและบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอตลอดมา ทำให้ยังคงรูปแบบและเอกลักษณ์เดิมอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ จนได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมแห่งสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ให้เป็นอาคารอนุรักษ์ดีเด่น ประเภทอาคารสถาบันและสาธารณะ ประจำปี พ.ศ. 2536 ในอดีตเป็นศูนย์กลางของรถไฟที่จะต่อไปที่นครเวียงพิงค์ (จังหวัดเชียงใหม่) ข้างหน้ามีสถานีมีหัวรถจักรไอน้ำ มีอักษรย่อเขียนว่า ร.ฟ.ท. อยู่ที่ข้างหัวรถจักร ข้างหน้ามีน้ำพุเป็นช้างพ่นน้ำพุ ตัวสถานีห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองประมาณ 5 กิโลเมตร และอาคารสถานีได้ถูกบันทึกเป็นอาคารอนุรักษ์ ส่วนหน้าสถานีจะมีรถไฟจะมีจุดจอดรถม้าอยู่ด้วย [adsense-2] งานประจำปีที่น่าสนใจ งานรำลึกประวัติศาสตร์รถไฟ […]

Read More

ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย

ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย ตั้งอยู่ที่บ้านทุ่งเกวียน ตำบลเวียงตาล อยู่ในความดูแลของอุตสาหกรรมป่าไม้ภาคเหนือ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (ออป.) แต่เดิม ออป. เป็นศูนย์ฝึกลูกช้างซึ่งเป็นแห่งแรกและแห่งเดียวในโลก โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2512 เป็นสถานที่เลี้ยงและฝึกลูกช้างเพื่อให้เชื่อฟังคำสั่งและมีความชำนาญในการทำไม้ขณะที่แม่ช้างไปทำงานในป่า และเนื่องจากมีนโยบายปิดป่าซึ่งทำให้ช้างต้องว่างงาน ศูนย์ฝึกลูกช้างจึงถูกปรับมาเป็นสถานที่ดูแลช้างแก่และเจ็บป่วย และที่นี่ยังเป็นสถานที่ตั้งของโรงพยาบาลช้างด้วย ศูนย์อนุรักษ์ฯ อยู่ในความดูแลขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (ออป.) ใน พ.ศ. 2512 ออป.ได้จัดสถานที่เลี้ยงและฝึกลูกช้างให้เชื่อฟังคำสั่งและมีความชำนาญในการทำไม้ ที่บ้านปางหละ อำเภองาว แต่เนื่องจากมีนโยบายปิดป่าทำให้ช้างว่างงาน ศูนย์ฝึกลูกช้างจึงถูกเปลี่ยนมาเป็นสถานที่ดูแลช้างแก่และเจ็บป่วย ต่อมาในเดือนมกราคม พ.ศ. 2535 ออป. ได้ก่อตั้งศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยขึ้น และจัดกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยได้รับรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยว (Tourism Awards) ประเภทรางวัลดีเด่นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ พ.ศ. 2541 ปัจจุบันศูนย์ฯ มีโครงการโรงเรียนฝึกควาญช้างเพื่อฝึกควาญหรือผู้ที่ประสงค์จะเป็นควาญให้สามารถดูแลช้างได้อย่างถูกต้อง มีชาวต่างชาติให้ความสนใจมาสมัครเป็นนักเรียนหลายคน และมีกิจกรรมโฮมสเตย์ ซึ่งนักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสบรรยากาศธรรมชาติเรียนรู้วิถีชีวิตที่ผูกพันระหว่างช้างกับคนเลี้ยงช้างอย่างใกล้ชิด มีการจัดแพ็กเกจ 3 วัน 2 คืน ราคา 8,000 บาท 2 วัน 1 […]

Read More

วัดอักโขชัยคีรี

วัดอักโขชัยคีรี ตั้งอยู่ที่ตำบลวิเชตนคร บนเนินเขาริมถนนสายลำปาง-แจ้ห่ม เส้นทางหลวงหมายเลข 1035 บริเวณกิโลเมตรที่ 50-51 ด้านซ้ายมือ มีทางขึ้น 2 ทางคือ ทางเดินขึ้นบันไดด้านหน้าหรือขับรถขึ้นทางถนนด้านหลัง โบสถ์และเจดีย์เป็นแบบล้านนาอยู่ใกล้เคียงกัน ที่วัดนี้มีปรากฏการเงาสะท้อนพระเจดีย์เป็นภาพสีเช่นเดียวกับวัดพระธาตุจอมปิง เงาพระเจดีย์จะปรากฏอยู่ตรงที่เดิมไม่เคลื่อนย้ายตลอดทั้งวันตราบเท่าที่ยังมีแสงสว่าง นอกจากนี้ภายในโบสถ์ยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปยืนองค์ใหญ่เรียกว่า พระศากยะมุณีคีรีอักโข มีความสูง 5 วา 2 ศอก เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ เป็นที่นับถือของชาวแจ้ห่มมาก โบสถ์เปิดเวลา 07.00-17.00 น. หากใครสนใจงานศิลปะท้องถิ่นมีสัตตภัณฑ์ไม้ไผ่พุทธศตวรรษที่ 25 สำหรับจุดเทียนบูชาพระประธาน และธรรมมาสน์ไม้ไผ่ศิลปะล้านนา ซึ่งตั้งอยู่ด้านหลังโบสถ์ เป็นวัดเล็กๆ อยู่บนยอดเขาบริเวณวิเชตนคร อ.แจ้ห่ม ติดถนนหมายเลข 1035 ทางไปอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน ตรงทางขึ้นวัดเป็นทางขึ้นเขาสั้นๆ ดังนั้นเวลามาจากถนนสายหลักต้องเร่งเครื่องส่งขึ้นเขาทันที เขานี้สูงจากถนนประมาณ 35 เมตร บนยอดเขามีเสนาสนะไม่มากนักตามความจำกัดของพื้นที่ จุดหลักๆ คืออุโบสถและเจดีย์ แล้วก็วิหารหลังเล็กๆ ที่ประดิษฐานพระยืนองค์ใหญ่ ตามประวัติเล่าว่า วัดอักโขชัยคีรีเป็นวัดเก่าแก่คู่เมืองแจ้ห่มมานานนับร้อยๆ ปี ไม่ปรากฏประวัติการก่อสร้างชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษรมีเพียงแผ่นจารึกด้วยอักษรล้านนา 2 หลัก ซึ่งครูบาเจ้าสิทธิวังอดีตเจ้าอาวาสรูปที่ […]

Read More

วัดไหล่หินหลวง

วัดไหล่หินหลวง หรือวัดเสลารัตนปัพพตาราม ตั้งอยู่ที่ตำบลไหล่หิน อำเภอเกาะคา มีพระวิหารเก่าแก่ฝีมือช่างเชียงตุงเป็นศิลปะแบบล้านนาไทย ประดับลวดลายงดงามทั้งหลัง โดยเฉพาะส่วนหน้าบัน และซุ้มประตูที่มีการก่ออิฐถือปูนประดับรูปปั้นสัตว์ศิลปะล้านนาแท้ ภายในวิหารนอกจากจะมีพระประธานแล้วยังมี รูปปั้นพระมหาเกสระปัญโญภิกขุขนาดเท่าตัวจริงซึ่งปั้นด้วยฝีมือของท่านเอง พระเจดีย์ของวัดไหล่หินก่อสร้างแบบศิลปะล้านนาที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คันทวยที่โรงธรรมเป็นแบบล้านนา คือเป็นรูปคล้ายแผ่นไม้สามเหลี่ยมขนาดใหญ่แล้วฉลุลายให้โปร่งลอยตัวเป็นรูปต่าง ๆ กันออกไป เช่น รูปนาค รูปหนุมาน รูปลายเครือเถา นอกจากนั้นทางวัดได้จัด หอพิพิธภัณฑ์โบราณล้านนาวัดไหล่หิน เป็นที่เก็บหอพระแก้ว ซุ้มพระพิมพ์ อาวุธโบราณ และที่โรงธรรมมีใบลานเก่าแก่ของล้านนาไทยมีอายุเกินกว่า 500 ปี จาร (การใช้เหล็กแหลมเขียน) เป็นภาษาบาลีด้วยอักษรไตเหนือ [adsense-2] การเดินทาง รถยนต์ จากที่ว่าการอำเภอเกาะคาเข้าทางเดียวกับวัดพระธาตุลำปางหลวง 1 กิโลเมตร และแยกซ้ายอีก 6 กิโลเมตร (เส้นทางเดียวกันกับทางเข้าวัดพระธาตุลำปางหลวง แล้วมีทางแยกในหมู่บ้านไหล่หิน) แผนที่

Read More

วัดศรีรองเมือง

วัดศรีรองเมือง เดิมมีชื่อว่า วัดท่าคะน้อยพม่า มีพระวิหารไม้สักทองที่สวยงามที่สุดในจังหวัดลำปาง กล่าวกันว่าเหมือนวิมานของพระอินทร์ สร้างขึ้นในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ใช้เวลาสร้างถึง 7 ปี วัดศรีรองเมืองกำเนิดในดินแดนที่เมื่อก่อนเต็มไปด้วยป่าสัก ภายในมีศิลปะพม่าที่น่าสนใจคือ วิหารที่มีหลังคาซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ภายในมีเสาที่โดดเด่น เสาทุกต้นของวิหารมีการใช้กระจกสลับสีลวดลายทองตั้งแต่โคนเสาจนถึงปลายเสา บางส่วนของจั่วหลังคาได้ถอดแบบมาจากปราสาทเมืองมัณฑเลย์ วัดศรีรองเมืองเป็นฝีมือของช่างชาวพม่าจากเมืองมัณฑเลย์ เดิมภายในวัดศรีรองเมืองมีทั้งวิหารใหญ่และวิหารน้อย สำหรับวิหารน้อยนั้นมีอยู่ถึง 9 หลัง แต่ปัจจุบันวิหารน้อยเหล่านั้นปรักหักพังไปจนหมดสิ้น จึงเหลืออยู่เพียงวิหารใหญ่ซึ่งเป็นวิหารประธานของวัดเพียงหลังเดียว ตามประวัติความเป็นมาของวัดศรีรองเมือง สร้างขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2447 โดยคหบดีชาวพม่าที่เข้ามาทำไม้ในเมืองลำปาง ของบริษัท บอมเมย์เบอร์ม่า ในสมัยนั้นลำปางเป็นศูนย์กลางการค้าขายและการทำป่าไม้ เหตุที่มีอาชีพตัดไม้ โค่นต้นไม้ในป่า จึงได้สร้างวัดศรีรองเมืองนี้ได้เพื่อเป็นที่พึ่งทางจิตใจ ขอขมาต่อธรรมชาติ อีกทั้งเพื่ออธิษฐานขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในป่าคุ้มครอง ภายในวิหารชั้นบนของวัดศรีรองเมืองนั้น มีความโดดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร คือเป็นเรือนไม้ที่มีเสากลมใหญ่เรียงรายกันอยู่หลายต้น แต่ละต้นประดับด้วยกระจกสีต่างๆ มีทั้งสีเขียว ขาว ชมพู น้ำเงินและเหลือง เป็นลวดลายเครือดอกไม้พันธุ์พฤกษา เฉพาะเสาหน้าพระประธานจะปั้นรักเป็นรูปเทพารักษ์ คน ยักษ์ วานร และสัตว์ป่าเหมือนในป่าหิมพานต์ ด้วยแสงสว่างของกระจกสีที่ประดับตกแต่งอยู่ทั้รอบเสาและบนเพดานทำให้เกิดแสงสะท้อนแสงออกมาสร้างแสงสว่างแก่วิหาร นอกจากนั้นในยามที่แสงสว่างเปลี่ยน สีของกระจกก็วูบไหวล้อแสงแดดที่สาดเข้ามาจากภายนอก มีความสวยงามเป็นอย่างยิ่ง […]

Read More