Tag: อุบลราชธานี

วัดถ้ำคูหาสวรรค์

วัดถ้ำคูหาสวรรค์ ตั้งอยู่ที่อำเภอโขงเจียม จ.อุบลราชธานี วัดนี้ก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2521 โดย “หลวงปู่คำคนิง จุลมณี” ซึ่งใช้เป็นที่ปฏิบัติธรรมจำพรรษา ปัจจุบัน หลวงปู่ท่านได้ มรณภาพแล้ว แต่ร่างกายของท่านไม่เน่าเปื่อย บรรดาลูกศิษย์ได้เก็บร่างของท่านไว้ในโลงแก้วเพื่อบูชา บริเวณวัดมีจุดชมวิวสามารถมองเห็นทัศนียภาพของลำน้ำโขงและฝั่งลาวได้อย่างชัดเจน ความน่าสนใจของวัดนั้นเริ่มต้นตั้งแต่นอกกำแพงวัด บริเวณนี้จะมีศาลาและจุดชมวิวทิวทัศน์แม่น้ำสองสี และตรงจุดนี้จะเห็นพระอุโบสถหลังงามสีขาวแกะสลักลวดลายอย่างวิจิตรบรรจงสวยงามเหมือนกับวัดร่องขุ่นที่จังหวัดเชียงราย ดึงดูดให้เหล่านักท่องเที่ยวแวะเข้าเยี่ยมชม สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด พระอุโบสถ ภายในประดิษฐานพระประธาน และพระพุทธรูปน้อย ใหญ่ ให้สักการะบูชา พระธรรมเจดีย์ศรีไตรภูมิ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางสมาธิที่สวยงาม สวนตอไม้ เป็นสวนที่ถูกตกแต่งด้วยตอไม้โดยรอบบริเวณวัดเป็นอีกจุดหนึ่งที่ไม่ควรพลาดเพราะที่วัดแห่งนี้เป็นศูนย์อนุรักษ์กล้วยไม้ไทย ตอไม้ที่ท่านสังเกตเห็นนั้นหากมองอย่างละเอียดแล้วล่ะก็ จะเห็นดอกกล้วยไม้ที่สวยงามน่ารักหลากหลายพันธุ์และสี ถ้ำคูหาสวรรค์ เป็นถ้ำที่เดินไปได้สะดวกไม่ลึก ภายในถ้ำเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยมากมายหลายองค์ ด้านในถ้ำเป็นที่ตั้งของโลงแก้วที่บรรจุสรีระที่ไม่เน่าเปื่อยของหลวงปู่คำคนึง จุลมณี พระนักวิปัสสนาที่มีชื่อเสียง [adsense-2] ติตด่อสอบถามเพิ่มเติม สำนักงานจังหวัดอุบลราชธานี โทร. (045) 254 925, (045) 255 505,(045) 254 218, (045) 254 360 ศูนย์การท่องเที่ยว กีฬาและนันทนาการ […]

Read More

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอุบลราชธานี

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอุบลราชธานี ตั้งอยู่ที่ถนนเขื่อนธานีตัดกับถนนอุปราช อ.เมือง เดิมเป็นศาลากลางจังหวัด สร้างเมื่อ พ.ศ. 2461 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ บนที่ดินที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ข้าหลวงต่างพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ สำเร็จราชการมณฑลลาวกาว (มณฑลอีสาน) ประทับ ณ เมืองอุบลราชธานี ได้ทรงขอมาจากทายาทของราชบุตร (สุ่ย บุตรโลบล) คือ หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา (ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรสิทธิประสงค์) เพื่อให้เป็นที่สาธารณประโยชน์สำหรับก่อสร้างสถานที่ราชการ ลักษณะอาคาร เป็นตึกชั้นเดียวยกพื้นสูง ตัวอาคารก่ออิฐฉาบปูน หลังคาทรงปั้นหยา แผนผังอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหันหน้าไปทางทิศเหนือ ภายในอาคารประกอบด้วยห้องโถงใหญ่อยู่ตรงกลาง มีระเบียงทางเดินและห้องขนาดเล็กอยู่โดยรอบ เหนือกรอบประตูและหัวเสารับชายคา ที่ระเบียงประดับด้วยไม้ฉลุลายพันธุ์พฤกษา ต่อมาเมื่อบ้านเมืองเติบโตขึ้น อาคารศาลากลางหลังนี้มีสภาพคับแคบ ไม่เพียงพอกับหน่วยงานราชการที่เพิ่มขึ้น จึงได้สร้างอาคารศาลากลางหลังใหม่ทางด้านตะวันตกของทุ่งศรีเมือง เมื่อ พ.ศ. 2511 ส่วนอาคารศาลากลางหลังเก่าได้ใช้เป็นสำนักงานของหน่วยราชการต่างๆ มาโดยตลอด ในปี พ.ศ. 2526 นายบุญช่วย ศรีสารคาม ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ได้มอบอาคารศาลากลางหลังเก่าให้กรมศิลปากรทำการบูรณะ และใช้ประโยชน์จัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เมื่อการบูรณะซ่อมแซมตัวอาคารและจัดแสดงนิทรรศการถาวรแล้วเสร็จ กรมศิลปากรได้กราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ […]

Read More

บ้านปะอาว

บ้านปะอาว ไปชมวิถีชีวิตชาวบ้านช่างทองเหลือง นอนบ้านพักโฮมสเตย์ ฟังเสียงกริ๊งกรุ๊ง กรุ๊งกริ๊งของกระดิ่งทองเหลืองดังต้อนรับผู้มาเยือนกันค่ะ ตั้งอยู่ที่ตำบลปะอาว อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เป็นแหล่งผลิตหัตถกรรมเครื่องทองเหลืองที่ได้ชื่อว่าเก่าแก่ที่สุดในภาคอีสาน หมู่บ้านแห่งนี้เป็นชุมชนที่มีอายุมากกว่า 200 ปี และวิธีการหล่อทองเหลืองแบบโบราณ ที่ว่ากันว่าเป็นวิธีการเดียวกับการทำกระพรวนสัมฤทธิ์ สมัยบ้านเชียงเมื่อ 2,000 ปีก่อน บ้านปะอาวเกิดขึ้นมาพร้อมกับการเกิดขึ้นของเมืองอุบลราชธานี เมื่อ 200 ปีก่อน ตำนานของชุมชนบ้านปะอาว เขาว่ากันว่า พระวอ และ พระตา ซึ่งเป็นชาวนครเวียงจันทน์ เป็นคนนำไพร่พลอพยพหนีราชภัยมาจากกรุงศรีสัตนาคนหุต หรืออาณาจักรล้านช้าง มาตั้งบ้านแปงเมืองที่หนองบัวลุ่มภู ที่ปัจจุบันเป็น จ.หนองบัวลำภู นั่นล่ะค่ะ ต่อมาเกิดศึกสงคราม พระวอกับพระตาตาย ไพร่พลส่วนหนึ่งจึงอพยพมาตั้งถิ่นฐานที่บ้านปะอาว พร้อมกับนำเอาภูมิปัญญาการทำทองเหลืองติดมาด้วย การทำทองเหลืองที่บ้านปะอาวนี้ ทำแบบวิธีโบราณค่ะ เรียกว่าการหล่อแบบ ขี้ผึ้งหาย หรือ แทนที่ขี้ผึ้ง ที่สำคัญคือ ไม่มีการเขียนเทคนิคการทำทองเหลืองแบบนี้ไว้ในตำรามากนัก แต่เป็นการจดจำทำกันมาจากรุ่นสู่รุ่น จึงไม่แปลกที่เดินเข้าไปในหมู่บ้าน แล้วจะเห็นลูกเด็กเล็กแดงที่บ้านปะอาวนั่งพันขี้ผึ้งเพื่อเตรียมที่จะนำไปหล่อกันอย่างขมักเขม้น วิธีการหล่อทองเหลืองแบบขี้ผึ้งหาย ค่อนข้างจะมีขั้นตอนเยอะมากค่ะ เริ่มจากการ ตำดินโพน หรือดินจอมปลวกที่ผสมมูลวัวและแกลบ คลุกเคล้าให้เป็นเนื้อเดียวกัน จากนั้นจึงนำดินที่คลุกเคล้าแล้วมาปั้นเป็นหุ่นหรือปั้นพิมพ์ที่แห้งแล้วใส่เครื่องกลึง ที่เรียกว่า โฮงเสี่ยน […]

Read More

บ้านช่างหม้อ

บ้านช่างหม้อ ไปเรียนรู้วิธีปั้นหม้อแบบโบราณ โดยการปั้นมือ นวดดินด้วนมือ ขึ้นรูปด้วยมือ ไม่ใช้เครื่องจักรกันค่ะ บ้านช่างปั้นหม้อ ตั้งอยู่ที่ บ้านท่าข้องเหล็ก อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำมูล ดินบริเวณนั้นมีความอุดมสมบูรณ์ แหมาะการปั้นหม้อ ระยะแรกที่ทำกันที่บ้านช่างหม้อ (เดิมเป็นบ้านท่าข้องเหล็ก แยกเป็นบ้านช่างหม้อ) โดยมีช่างโคราชนำเทคโนโลยีการปั้นหม้อมาเผยแพร่ เมื่อก่อนทำกันทุกครัวเรือนภายหลังดินขาดแคลน จึงเปลี่ยนเป็นปั้นเตาอังโล่ กระถางแจกัน แต่ชาวบ้านก็ยังนิยมปั้นหม้อแบบโบราณซึ่งสืบมาแต่บิดามารดา เพราะไม่ชำนาญรูปแบบใหม่และตลาดยังนิยมซื้อไว้ใส่น้ำดื่ม เนื่องจากราคาย่อมเยา การปั้นหม้อจะเริ่มจากนำดินจากแมน้ำมาหมักประมาณ 1 วัน ดินที่ใช้ปั้นหม้อต้องเป็นดินดำ เพราะเป็นดินคุณภาพดี เมื่อเผาแล้วจะไม่ค่อยแตกง่าย จากนั้นนวดดินกับแกลบในอัตราส่วน 1:1 ในระหว่างการนวดต้องผสมน้ำเล็กน้อยเพื่อให้เข้ากันได้ดี จากนั้นจึงนำที่ได้ที่แล้วมาขึ้นรูป โดยเริ่มจากทำเบ้าก่อน คือนวดดินให้เป็นรูปทรงกระบอก แล้วค่อย ๆ กลึงด้วยไม้กลมให้กว้างออกจนมือสอดเข้าไปได้ จากนั้นจึงนำไปวางบนแท่นไม้สูงประมาณ 50 เซนติเมตร แล้วจึงเริ่มทำปากหม้อ เมื่อขึ้นปากแล้วจึงใช้ถ่านทาและใช้ไม้ตีที่ด้านนอก เนื้อหม้อจะเริ่มบางลง ตีรูปให้ได้ตามต้องการ ทำลวดลายที่ปาก แล้วจึงนำไปตากแดดประมาณ 1 ชั่วโมง หลังจากตากแดดแล้ว ให้นำกลับมาตีใหม่ เพื่อให้ได้ก้นทรงกลมและให้เนื้อภาชนะบางขึ้น เมื่อได้ทรงเรียบร้อยก็จะนำไปตากแดดอีกรอบประมาณ 1 ชั่วโมง จากนั้นจึงนำเข้าเตาผาค่ะ […]

Read More

น้ำตกห้วยหลวง(น้ำตกบักเตว)

น้ำตกห้วยหลวง หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า น้ำตกบักเตว ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติภูจอง-นายอย อ.นาจะหลวย จ.อุบลราชธานี มีพื้นที่คลอบคลุมถึง อ.น้ำยืนและ อ.บุณฑริกบางส่วน ตั้งอยู่กลางป่าสมบูรณ์ไหลตกจากหน้าผาสูง 45 เมตร ตกลงสู่หุบเขาที่มีลักษณะเป็นอ่างน้ำขนาดเล็ก มีหาดทรายขาวและน้ำเป็นสีมรกตงดงามมาก มีบันไดประมาณสองร้อยกว่าขั้น นักท่องเที่ยวสามารถลงไปชมวิวบริเวณด้านล่างได้ ช่วงที่เหมาะแก่การท่องเที่ยวคือระหว่างเดือนกันยายน-กุมภาพันธ์ นอกจากนี้ ยังมีทางเดินเท้าจากน้ำตกห้วยหลวง ไปยังน้ำตกจุ๋มจิ๋ม หรือน้ำตกประโอนละออ ซึ่งเกิดจากสายน้ำที่ไหลลดระดับจากน้ำตกห้วยหลวง  น้ำตกห้วยหลวงแห่งนี้ ถือได้ว่าเป็นน้ำตกที่ใหญ่ที่สุด สูงที่สุด และงดงามที่สุดของภาคอีสานตอนล่างเลยค่ะ ด้านล่างมีบันไดทางลงจากศาลาชมทิวทัศน์สู่น้ำตกด้านล่างได้ค่ะ มีตำนานเล่าขานกันต่อๆ มาว่า “นายเตว” กับพวก 2 – 3 คนได้เข้ามาตีผึ้งที่ผาน้ำตกแห่งนี้ โดยออกอุบายนำเถาวัลย์มาพันเป็นเชือกหย่อนลงไปเบื้องล่างของน้ำตก นายเตวอาสาโรยตัวลงไปเพื่อตีผึ้ง ซึ่งมีรังผึ้งเกาะติดอยู่กับหน้าผาหลายร้อยรัง โดยมิได้บอกกล่าวเจ้าที่เจ้าทาง ในระหว่างที่นายเตวกำลังตีผึ้งอยู่นั้นได้เกิดอาเพศขึ้น เพื่อนที่อยู่ด้านบนมองเห็นเถาวัลย์เป็นงูขนาดยักษ์เลื้อยพันขึ้นมา ด้วยความตกใจกลัวจึงใช้มีดตัดฟันลงไปตรงเถาวัลย์ขาดสะบั้นทำให้ร่างของนายเตวที่ห้อยโหนอยู่นั้นร่วงหล่นลงสู่เบื้องล่างของน้ำตกเสียชีวิต ยังผลให้น้ำตกแห่งนี้ได้ชื่อเรียกในเวลาต่อมาว่า “น้ำตกบักเตว” ต่อมาได้มีการประกาศจัดตั้ง “อุทยานแห่งชาติภูจอง–นายอย” ขึ้นในปี 2530 มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวน้ำตก และมักจะเกิดอุบัติเหตุเสียชีวิตจากการลงเล่นบริเวณน้ำตกแห่งนี้ จนกระทั่งมีญาติของผู้เสียชีวิตมาเล่าว่า ผู้เสียชีวิตได้มาเข้าฝันแล้วบอกว่า นายเตวไม่ต้องการให้ใครมาเรียกชื่อน้ำตกแห่งนี้ว่า “น้ำตกบักเตว” เนื่องจากเป็นคำไม่สุภาพและได้ให้เปลี่ยนชื่อน้ำตกแห่งนี้เสียใหม่ ในที่สุดเมื่อปี พ.ศ. 2535 […]

Read More

น้ำตกแสงจันทร์(น้ำตกลงรู)

น้ำตกแสงจันทร์ ไปเที่ยวน้ำตกน้ำตกลงรูหนึ่งเดียวในเมืองไทยกันค่ะ น้ำตกแสงจันทร์ ตั้งอยู่ที่บ้านทุ่งนาเมือง ตำบลนาโพธิ์กลาง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี เป้นน้ำตกที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดในอุทยานแห่งชาติผาแต้ม ด้วยความสวยงามระคนปนกับความแปลกประหลาดของสายน้ำที่ไหลทะลุผ่านรูของแผ่นหินทรายขนาดใหญ่ลงสู่แอ่งเบื้องล่างดุจดั่งฝักบัวซึ่งธรรมชาติสรรค์สร้างนี่เองที่ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวมากมายเดินทางแวะเวียนมาเยี่ยมชมตลอดช่วงฤดูฝน – ต้นฤดูหนาว เป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติซึ่งไม่ควรพลาดในโปรแกรมการท่องเที่ยวเลยค่ะ น้ำตกแสงจันทร์ มีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า “น้ำตกลงรู ” ซึ่งเรียกตามลักษณะของสายน้ำที่ตกผ่านลงรูหิน ส่วนที่มาของชื่อน้ำตกแสงจันทร์นั้น เรียกตามสายธารน้ำตก ที่โปรยละอองผ่านช่องหินลงมาเป็นสีขาวนวลคล้ายแสงจันทร์โดยเฉพาะในวันเพ็ญ ที่แสงจันทร์จะสาดส่องมาตรงรูหินพอดี พร้อมกับละอองของธารน้ำตกที่โปรย ดูเป็นประกายสีนวลสวยงามมาก ซึ่งทั้งหมดนี้คือที่มาของชื่อและเสน่ห์ของน้ำตกแห่งนี้ ที่ยังคงเก็บความงามสงบประสานอย่างกลมเกลือนของธรรมชาติไว้ให้เป็นที่ประทับใจ รูหิน เกิดจากการถูกน้ำกัดเซาะเนื่องจากหินทรายทนตอการถูกกัดกร่อนน้อย กำเนิดของน้ำตกแสงจันทร์จึงเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่ลงตัวของ ” หินทรายและสายน้ำ ” สาเหตุของการเกิดรูขนาดใหญ่ เกิดจากการกัดเซาะของสายน้ำ โดยเมื่อมีฝนตกลงมามากๆ น้ำในลำธารตามป่าเขาก็จะมีปริมาณมากพร้อมทั้งไหลแรงและเร็วพร้อมกันนี้กระแสน้ำก็ได้พัดพาเอาก้อนกรวด ก้อนหิน ไหลติดไปด้วยซึ่งก็จะมี ก้อนกรวดก้อนหินส่วนหนึ่งไหลเข้าไปติดในหลุม เมื่อกรวดหินไปติดในหลุมผนวกกับกระแสน้ำที่ไหลแรง ก้อนกรวดก้อนหินเหล่านั้นก็วิ่งวนอยู่ในหลุม ทำให้หลุมที่เป็นหินทรายซึ่งมีความแกร่งน้อยกว่ากรวดหิน ขยายตัวเป็นหลุมกว้างขึ้นเรื่อยๆ นานวันเข้าหลุมก็ทะลุกลายเป็นรูกระแสน้ำที่ไหลลงหลุมก็เปลี่ยนมาไหลลง กลายเป็น “น้ำตกลงรู” ในที่สุด สภาพน้ำบริเวณแอ่งด้านหน้า “น้ำตกแสงจันทร์” เป็นน้ำผสมเลนสีน้ำตาลไม่เหมาะแก่การลงเล่นสักเท่าไหร่นักและเนื่องจากพื้นที่โดยรอบบริเวณของ “น้ำตกแสงจันทร์” นั้นไม่มีจุดสนใจอื่นๆโดดเด่นนอกเหนือไปจากตัวน้ำตก ทำให้คุณสามารถใช้เวลาในการเที่ยวชมน้ำตกแห่งนี้จนทั่วได้ไม่เกิน 30 นาที – 1 […]

Read More

น้ำตกทุ่งนาเมือง

น้ำตกทุ่งนาเมือง น้ำตกที่ถูกซ่อนเร้นไว้เคียงคู่กับเถาวัลย์ยักษ์ อายุนับพันปี น้ำตกทุ่งนาเมือง ตั้งอยู่ที่บ้านทุ่งนาเมือง ต.นาโพธิ์กลาง อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี อยู่ในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติผาแต้มมีน้ำเฉพาะในช่วงฤดูฝน ช่วงเดือน มิถุนายน-ธันวาคม อยู่ห่างจาก “น้ำตกแสงจันทร์ (น้ำตกรู ,น้ำตกลงรู ,น้ำตกลอดรู ) เพียงแค่ประมาณ 2 กม. บางครั้งชาวบ้านในพื้นที่ก็เรียก “น้ำตกทุ่งนาเมือง” ว่า “น้ำตกลอดรู” ทำให้มีความสับสนกับ “น้ำตกแสงจันทร์” อยู่บ้าง สาเหตุที่ “น้ำตกทุ่งนาเมือง” มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า “น้ำตกลอดรู” นั้นก็เนื่องมาจากสายน้ำของน้ำตกแห่งนี้จะไหลลัดตามลำห้วยลงสู่ซอกหินผา เลาะเรื่อยมาตามหลืบเร้นต่างๆ จนเผยออกมาปรากฏให้เห็นอีกครั้งใต้แผ่นหินขนาดใหญ่ซึ่งวางตัวอยู่ในลักษณะคล้ายโตรกถ้ำ แล้วจึงทิ้งตัวลงเป็นสายน้ำตกด้านหน้าภายใต้แผ่นหินนั้น (ใครจินตนาการภาพไม่ออกลองดูภาพประกอบด้านล่างครับ ถ้าจะให้อธิบายเปรียบเทียบง่ายๆถึงลักษณะของน้ำตกทุ่งนาเมือง ก็ขอบอกว่าคล้ายกับลักษณะของน้ำลายที่ไหลทะลักออกจากปากครับ) พื้นที่โดยรอบน้ำตกทุ่งนาเมืองมีความงดงามชวนให้พิศวงอยู่ไม่น้อย ด้วยโบก(แอ่ง) บ่อจำนวนมากที่รายล้อมอยู่ทั่วบริเวณ บางโบกก็มีรูปร่างแปลกตา บางบ่อก็มีน้ำใสๆขังอยู่สะท้อนแสงสีของท้องฟ้าออกมาราวกับกระจกเงา หากใครที่ไม่มีโอกาสได้เดินทางมาท่องเที่ยว “สามพันโบก” แหล่งท่องเที่ยวชื่อดังของ จ.อุบลราชธานีในช่วงฤดูหนาว – ฤดูร้อน ลองมาเที่ยวน้ำตกทุ่งนาเมืองในช่วงฤดูฝนแทนก็จะได้บรรยากาศที่พอจะคล้ายคลึงกันบ้าง เพียงแต่ขนาดโบกของน้ำตกทุ่งนาเมืองนั้นจะไม่ยิ่งใหญ่อลังการงานสร้างเหมือน “สามพันโบก” เท่านั้นเองค่ะ ที่บริเวณน้ำตกทุ่งนาเมือง มีเถาวัลย์ยักษ์ ซึ่งเคยโด่งดังเมื่อครั้งเป็นฉากในโฆษณาสุรายี่ห้อหนึ่ง […]

Read More

น้ำตกตาดโตน

น้ำตกตาดโตน ไปนอนแช่น้ำตกใสๆไหลเย็นๆ ท่ามกลางธรรมชาติของป่าเขา ซึมซับบรรยากาศแห่งการผ่อนคลายกันค่ะ น้ำตกตาดโตน ตั้งอยู่ที่ตำบลคำเขื่อนแก้ว อำเภอสิรินธร จ.อุบลราชธานี เป็นน้ำตกที่เกิดจากลำห้วยตาดโตน ตกจากชั้นหินแนวโค้งลงสู่ที่ลุ่ม เกิดเป็นแอ่งน้ำ ด้านบนเป็นพลาญหินกว้าง มีน้ำไหลผ่าน เหมาะแก่การลงเล่นน้ำและนั่งพักผ่อน เพราะบริเวณโดยรอบเป็นป่าไม้ร่มรื่น และมีพรรณไม้หลายชนิดให้ศึกษา โดยเฉพาะช่วงปลายฤดูฝนน้ำตกตาดโตน เป็นน้ำตกขนาดเล็ก แต่มีความสวยงามไม่แพ้น้ำตกอื่นๆ น้ำตกแห่งนี้ตั้งอยู่ในอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ อยู่ในท้องที่อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี อยู่ห่างจากตัวอำเภอเมืองไปประมาณ 90 กิโลเมตร เป็นน้ำตกที่มีความสวยงามมากแห่งหนึ่ง นี้เกิดจากลำห้วยตาดโตน ที่ส่งกระแสน้ำให้ตกลงสู่ชั้นหินแนวโค้ง ลงสู่พื้นเบื้องล่าง ในลักษณะม่านฝน จนก่อให้เกิดเป็นแอ่งน้ำ มีน้ำเย็นใสสะอาด เหมาะแก่การลงเล่นน้ำเป็น อย่างมาก ช่วงเวลาน่าเที่ยว ช่วงเวลาที่เหมาะแก่การเที่ยวน้ำตกตาดโตนคือช่วงเดือนมิถุนายน-ธันวาคมของทุกปี น้ำตกจะมีความสวยงามที่สุดในปลายช่วงหน้าฝนเข้าสู่หน้าหนาว บริเวณรอบๆน้ำตก จะเต็มไปด้วยป่าไม้นานาพันธุ์ เหมาะแก่การศึกษาความรู้ทางธรรมชาติ [adsense-2] ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม สำนักงานจังหวัดอุบลราชธานี โทร. (045) 254 925, (045) 255 505,(045) 254 218, (045) 254 360 ศูนย์การท่องเที่ยว […]

Read More

ตลาดช่องเม็ก

ช่องเม็ก ไปช็อปสินค้าราคาถูกทั้งแบรนด์เนมและไม่แบรนด์ เดินชิมอาหารพื้นบ้านลาวกันค่ะ ช่องเม็ก คือจุดผ่านแดนไทย-ลาว ตั้งอยู่ในเขตอำเภอสิรินธร จ.อุบลราชธานี หากเราจะเดินทางไปเที่ยวลาวใต้ จ.ปากเซ ต้องผ่าน ช่องเม็กแห่งนี้ ที่นี่เป็นจุดผ่านด่านที่มีถนนเชื่อมต่อสู่แขวงจำปาสักซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญทางภาคใต้ของประเทศลาว ในบริเวณด่านนอกจากจะเป็นที่ตั้งของหน่วยราชการแล้วยังมีตลาดสินค้าชายแดนร้านค้าปลอดภาษีในเขตประเทศลาว ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปเที่ยวชมและจับจ่ายสินค้าได้ สำหรับแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจในแขวงจำปาสัก ได้แก่ เมืองปากเซ ปราสาทขอมวัดพู มหานทีสีทันดอน หรือสีพันดอน ซึ่งเป็นบริเวณที่แม่น้ำโขงแผ่กว้างกว่า 7 กิโลเมตร ทำให้มีเกาะแก่งจำนวนมาก และจุดที่น่าสนใจมากคือ น้ำตกหลี่ผี และน้ำตกคอนพะเพ็ง ซึ่งเป็นด่านชายแดนไทย-ลาว แห่งเดียวที่ไม่มีแม่น้ำโขงขวางกั้น ก่อนจะข้ามแดน เราควรเตรียมตัวบัตรผ่านแดนช่วงคราวก่อน สามารถทำได้ที่ สถานทีขนส่งใกล้จุดตรวจคนเข้าเมือง ด่านเปิด-ปิด 08.00-18.00 น. ทุกวัน สำหรับรถยนต์ทีมีสติกเกอร์ตัว T คือมีบัตรผ่านอยู่แล้ว เข้า-ออก ได้เลย หาก ไม่มีต้องกลับไปทำที่ตัวอำเภอเมือง จ.อุบลฯ ก่อน ใช้เวลาครี่งค่อนวันเลยค่ะ รถยนต์สามารถผ่านเข้าออกได้ ตั้งแต่เวลา 08.00-12.00 และ13.00-16.30 น. หากเป็นวันหยุดต้องเสียค่าล่วงเวลานิดหน่อย(5 บาท/คน หรือ 25 บาท/รถ 1 […]

Read More

ชมรมอนุรักษ์ม้าพื้นบ้านสิรินธร

ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 4 บ้านหนองชาด ตำบลคำเขื่อนแก้ว อำเภอสิรินธร  เป็นสถานที่เลี้ยงและอนุรักษ์ม้าพันธุ์พื้นบ้านที่เคยใช้เป็นพาหนะในชีวิต ประจำวันในอดีตให้คงอยู่ไม่สูญหายไป ลักษณะเป็นม้าขนาดเล็ก ตัวโตเต็มที่สูงประมาณ 120 เซนติเมตร มีการจัดบริการท่องเที่ยวขี่ม้าชมธรรมชาติ (จำกัดน้ำหนักผู้ขี่ไม่เกิน 65 กิโลกรัม) และให้ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยง การฝึกม้าพันธุ์พื้นเมือง และบริการโฮมสเตย์ พักในบ้านพัก เต็นท์ หรือกระท่อม สำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการสัมผัสธรรมชาติ วิถีชีวิตความเป็นอยู่แบบชาวบ้าน ได้เรียนรู้เกี่ยวกับม้า และยังมีบริการนำเที่ยวสถานที่ท่องเที่ยวบริเวณใกล้เคียง อีกทั้งขณะนี้ทางชมรมอนุรักษ์ม้าพันธุ์พื้นบ้านสิรินธรเปิดรับสมัครพ่อแม่บุญธรรมของน้องม้าด้วยค่ะ ในอดีตเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชุมชนในแถบอำเภอโขงเจียมและสิรินธร นิยมใช้ม้าเป็นพาหนะในชีวิตประจำวัน ต่อมา ม้าได้ลดความสำคัญลง และมีแนวโน้มที่จะสูญพันธุ์ไปจากท้องถิ่น ด้วยตระหนักถึงความสำคัญของม้าพันธุ์พื้นบ้าน อันเป็นเอกลักษณ์ดังกล่าว จึงเกิดการรวมกลุ่มบุคคลผู้สนใจก่อตั้งเป้นชมรมอนุรักษ์พันธุ์ม้าพื้นบ้านสิ รินธรขึ้น โดยความเห็นชอบและสนับสนุนอย่างดียิ่งจากท่านผู้ว่าราชการจังหวัด อุบลราชธานี (นายศิวะ แสงมณี) หัวหน้าโครงการในพระราชดำริป่าดงนาทาม (พ.อ.พิเชษฐ์ วิสัยจร) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ระดับตำบลถึงจังหวัด จึงได้ก่อตั้ง ชมรมอนุรักษ์ม้าพันธุ์พื้นบ้านสิรินธร ขึ้น เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2541 โดยมีวัตถประสงค์เพื่ออนุรักษ์ม้าพันธุ์พื้นบ้านและช่วยเหลือเยาวชนที่ดอยโอกาสในพื้นที่ของชมรมให้มีรายได้ อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้เยาวชนและผู้สนใจ ได้มีโอกาสเรียนรู้การฝึกขี่ม้าและใช้ม้าเป็นพาหนะและให้เยาวชนและผู้สนใจ ได้เรียนรู้และร่วมกันอนุรักษ์ม้าและทรัพยากร […]

Read More