Tag: เที่ยวในประเทศไทย

ถนนคนเดินกระบี่

ถนนคนเดินกระบี่ ตั้งอยู่ที่ ต.ปากน้ำ อ. เมือง ตั้งอยู่ ถ. มหาราช ซอย 8 ใกล้ๆ ห้างโวค ถนนคนเดินกระบี่แห่งนี้จะเปิดทุกคืนวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ ชาวกระบี่มักไม่พลาดที่จะเดินทางไปจับจ่ายซื้อของใช้ และแวะชิมนานาอาหารที่ถนนคนเดิน ซึ่งอยู่ภายในตัวอำเภอเมืองกระบี่ จุดเด่นของถนนคนเดินคือ ปลอดโฟม 100%ค่ะ ถนนคนเดินที่นี่จะมีเวทีกิจกรรมรวมไปถึงร้านรวงต่างๆ ทั้งของใช้ ของกิน สินค้าที่ระลึกมากมาย รับรองใครเดินต้องมีกระเป๋าเบากันไปบ้าง ที่นี่มีสารพัดของอร่อย ราคาย่อยเยาว์ให้เลือกไม่อั้น ไม่ว่าจะเป็น หมึกย่าง-น้ำจิ้มรสเด็ด ผัดไทย หอยทอด ข้าวหมกไก่ ข้าวยำสมุรไพรสูตรปักษ์ใต้แท้ๆ ขนมพื้นเมือง กุ้งเผา ฯลฯ ที่สำคัญเค้าจัดโต๊ะ และเก้าอี้ให้นั่งทานหน้าเวทีการแสดง ทานไปดูการแสดงพื้นเมืองไป ฟังดนตรีเพราะๆ จากบรรดาน้องๆ เด็กนักเรียน วงดนตรีสมัครเล่น ฯลฯ ที่ผลัดเปลี่ยนมาสร้างเสียงหัวเราะ และความบันเทิงไม่ซ้ำกัน สบายใจเพลินพุงกันแล้ว แวะช้อปสินค้าจิปาถะ เสื้อยืด กระเป๋า แอคเซสเซอรี่ รองเท้า โปสการ์ด ฯลฯ กันสักหน่อยมาที่นี่รับประกันความเพลิดเพลินได้ทั้งชิมทั้งกินทั้งช็อปเลยค่ะ […]

Read More

เขาขนาบน้ำ

เขาขนาบน้ำ เป็นเขาสองลูกสูงประมาณ 100 เมตร ขนาบแม่น้ำกระบี่ด้านหน้าตัวเมือง ถือเป็นสัญลักษณ์ของเมืองกระบี่ สามารถไปเที่ยวชมได้โดยเช่าเรือหางยาวที่ท่าเรือเจ้าฟ้า ใช้เวลาเดินทางเพียง 15 นาที นอกจากนั่งเรือชมเขาและป่าชายเลนที่มีความสมบูรณ์แล้วยังสามารถเดินขึ้นไปเที่ยวถ้ำได้ ภายในมีหินงอกหินย้อย และเป็นสถานที่ที่เคยพบโครงกระดูกมนุษย์จำนวนมากอีกด้วยแต่ปัจจุบันไม่หลงเหลืออยู่แล้ว สันนิษฐานว่าอาจเป็นโครงกระดูกของกลุ่มคนที่อพยพมาตั้งหลักแหล่งแต่ล้มตายลงเนื่องจากเกิดอุทกภัยอย่างฉับพลัน และสำหรับนักนิยมพายเรือแคนู บริเวณนี้เหมาะที่จะพายเรือแคนูเพราะมีธรรมชาติที่เขียวชอุ่มด้วยป่าชายเลนและน้ำนิ่ง สนใจสามารถติดต่อบริษัทเรือแคนู ในจังหวัดกระบี่ได้ นอกจากนั้นไม่ห่างจากเขาขนาบน้ำจะมีชุมชนชาวเกาะกลาง ที่บนเกาะจะมีหอพิพิธภัณฑ์และศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้านแสดงเครื่องใช้ในสมัยโบราณ ของที่ระลึกฝีมือชาวบ้าน อาทิ เรือหัวโทง และจะได้สัมผัสวิถีชีวิตของชาวบ้าน การทอผ้าฝ้าย การเลี้ยงปลาในกระชัง นักท่องเที่ยวสามารถเช่าเรือจากท่าเรือเทศบาล บริเวณเขาขนาบน้ำ ใช้เวลาประมาณ 20 นาที ค่าเช่าเรือลำละ 300 บาท ประวัติความเป็นมา เขาขนาบน้ำนับเป็นภูเขาที่เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดกระบี่ เพราะเมื่อเดินทางเข้าถึงตัวจังหวัด ภาพที่งดงามประทับใจ คือภาพเขาขนาบน้ำเคียงคู่ หันหน้าเข้าหากันริมแม่น้ำกระบี่ มีหลักฐานยืนยันว่า เขาขนาบน้ำเคยเป็นที่พักอาศัยของผู้คนมาหลายยุคสมัยหลายชั่วอายุคน ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์มาจนถึงยุคประวัติศาสตร์สมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่ 2 [adsense-2] ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานจังหวัดกระบี่ โทรศัพท์ (075) 622 163 ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. […]

Read More

เกาะลันตา

เกาะลันตา เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดกระบี่ เป็นอีกหนึ่งเกาะที่นักเดินทางผู้หลงใหลความงามของท้องทะเลอยากไปสัมผัสกับความงาม ที่แฝงไว้ด้วยสงบและเรียบง่าย โดยเป็นเกาะขนาดใหญ่ที่มีผู้คนอาศัยต่อเนื่องมายาวนานกว่าร้อยปี ประกอบด้วยเกาะลันตาใหญ่และเกาะลันตาน้อย แหล่งท่องเที่ยวส่วนใหญ่อยู่บนเกาะลันตาใหญ่ ขณะที่เกาะลันตาน้อยเป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอเกาะลันตาด้วยระยะทางที่ห่างไกลจากแผ่นดิน เกาะลันตาจึงยังคงความสวยงามของหาดทรายและน้ำทะเลสะอาด อีกทั้งยังมีวิถีชีวิตของชาวเกาะดั้งเดิม ที่มีทั้งชาวไทยพุทธ ชาวไทยจีน ชาวไทยมุสลิม และชาวไทยใหม่ (ชาวเล) อาศัยอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ผสานกับความเจริญทางด้านหัวเกาะแถบท่าเรือและชายหาดฝั่งตะวันตก ซึ่งคึกคักด้วยนักท่องเที่ยว การมาเยือนเกาะลันตาจึงได้เที่ยวหลายบรรยากาศในคราวเดียวกัน ประวัติของเกาะลันตา “ลันตา” เป็นชื่อเกาะขนาดใหญ่ มีรูปร่างเรียวยาว พื้นที่ 472 ตารางกิโลเมตร อยู่ในเขตพื้นที่อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ ชื่อ “ลันตา” สันนิษฐานว่าเพี้ยนมาจากคำว่า “ลันตาส” ซึ่งเป็นภาษาชวา แปลว่า ที่ย่างปลา เพราะในอดีตเกาะใหญ่แห่งนี้เป็นที่ที่ชาวเรือชวามักมาหยุดพักและย่างปลาเป็นอาหาร แล้วต่อมาเกาะนี้ก็เปลี่ยนฐานะมาเป็นเมืองท่าที่ชาวจีนและชาวอาหรับผู้แล่นเรือค้าขายในน่านน้ำภูเก็ต ปีนัง สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย แวะขึ้นมาพักและทำการค้าขาย จนในที่สุดก็กลายเป็นชุมชนคึกคัก สำหรับ เกาะลันตา ประกอบด้วย เกาะลันตาใหญ่ และ เกาะลันตาน้อย โดยมีเกาะกลางคั่นอยู่ระหว่าง 2 เกาะนี้ ซึ่งแหล่งท่องเที่ยวทั้งหมดอยู่บน เกาะลันตาใหญ่ มียาวประมาณ 30 […]

Read More

เกาะไม้ไผ่

เกาะไม้ไผ่ หรือ เกาะไผ่ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของเกาะพีพีดอน ห่างจากเกาะพีพีดอนประมาณ 3 กิโลเมตร เกาะไผ่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี มีขนาดเล็กกว่าเกาะพีพีดอนและเกาะพีพีเล แต่ที่เด่นกว่าคือเป็นอุทยานฯ ทั้งเกาะจึงไม่มีความพลุกพล่านจากผู้คนและไม่มีสิ่งก่อสร้างมากมายเหมือนกาะพีพีดอน เกาะไผ่เป็นเกาะขนาดเล็กตั้งโดดเดี่ยวอยู่กลางทะเล มีธรรมชาติที่บริสุทธิ์มาก ด้านหน้าเกาะมีชายหาดยาวตลอดแนวตั้งแต่หัวเกาะยังท้ายเกาะ หาดทรายขาวสะอาดรอบๆเกาะนั้นร่มรื่นด้วยทิวสน น้ำทะเลสี่สวยดุจมรกต มากมายไปด้วยแนวปะการังน้ำตื้นทั้งปะการังเขากวาง ปะการังแผ่น ปะการังสมอง ปะการังก้อน รวมทั้งเจ้าถิ่นอย่างฝูงปลาหลากสีพร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยว ห่างจากเกาะไผ่ไปทางทิศตะวันออก เป็นที่ตั้งของเกาะยูง สามารถเหมาเรือไปดำน้ำรอบเกาะเล็กๆได้เช่นกัน สิ่งอำนวยความสะดวก/ที่พัก เกาะไผ่อยู่ในการดูแลของอุทยานแห่งชาติบนเกาะมีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว มีลานกางเต็นท์ มีเต็นท์ของทางอุทยานกางไว้ให้บริการแก่ผู้ที่ต้องการไปพักบนเกาะ [adsense-2] ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานจังหวัดกระบี่ โทรศัพท์ (075) 622 163 ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. (075) 612 611 ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว โทร. (075) 612740 สำนักงานจังหวัด โทร. (075) 611 381 โรงพยาบาลกระบี่ โทร. (075) 611 227 , […]

Read More

หมู่เกาะพีพี

หมู่เกาะพีพี หมู่เกาะแห่งนี้เป็นดั่งมรกตกลางอันดามันที่ใครหลายคนปรารถนาจะมาเยือน เพราะความงามของภูเขาหินปูนรูปร่างแปลกตา หาดทรายขาวละเอียด น้ำทะเลใส มีบริการด้านการท่องเที่ยวที่พร้อมพรั่ง ทั้งที่พัก ร้านค้า ร้านอาหาร แหล่งบันเทิง และการเดินทางที่สะดวกสบาย หมู่เกาะพีพี อยู่ในเขต อช. หาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี  เป็นหมู่เกาะกลางทะเล อยู่ห่างจากอำเภอเมือง 42 กิโลเมตร เดิมชาวทะเลเรียกหมู่เกาะนี้ว่า “ปูเลาปิอาปิ” คำว่า “ปูเลา” แปลว่า เกาะ คำว่า “ปิอาปิ” แปลว่า ต้นไม้ทะเลชนิดหนึ่งจำพวกแสม และโกงกาง ต่อมาเรียกว่า “ต้นปีปี” ซึ่งภายหลังกลายเสียงเป็น “พีพี” ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นอาณาจักรแห่งบุปผาใต้สมุทร นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวหมู่เกาะนี้ ส่วนใหญ่มาเพื่อดำน้ำดูปะการัง ดอกไม้ทะเล และปลาหลากสีที่มีสีสันสวยงาม นอกจากนี้ ยังมีเกาะต่าง ๆ ที่อยู่ระหว่างเส้นทางเดินเรือ สิ่งที่น่าสนใจ เกาะพีพีดอน  มีพื้นที่ประมาณ 28 ตารางกิโลเมตร จุดเด่นของเกาะคือ เวิ้งอ่าวคู่ที่มีความสวยงามติดอันดับโลกของ อ่าวต้นไทร และ อ่าวโละดาลัม ทั้งนี้ อ่าวต้นไทรเป็นที่ตั้งของท่าเรือเกาะพีพี และมีสถานที่พักและร้านค้าจำนวนมาก […]

Read More

หมู่บ้านแหล่งทำกลอง

หมู่บ้านแหล่งทำกลอง ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านแพ ตำบลเอกราช อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง แหล่งผลิตกลองที่มีคุณภาพที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย กลองดีของไทยที่ส่งขายทั้งในและต่างประเทศ หมู่บ้านแห่งนี้ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ที่นี่เป็นแหล่งผลิตกลองส่งขายต่างประเทศ เช่นเกาหลี ญี่ปุ่น จีน บ้างก็รับซ่อมกลองจากต่างประเทศ ตลอดสองข้างทางจะเห็นร้านขายกลองเป็นระยะๆชาวบ้านที่นี่เริ่มผลิตกลองมาตั้งแต่ พ.ศ.2470 เมื่อได้เข้ามาสัมผัสถึงมรดกล้ำค่าภูมิปัญญาชาวบ้านอย่างใกล้ชิดจะเห็นการร่วมกันอนุรักษ์และสืบทอดศิลปะเหล่านี้ไว้ โดยจะได้เรียนรู้กรรมวิธีการทำกลองแต่ละขั้นตอนอย่างละเอียด ที่สำคัญมีกลองรูปทรงขนาดใหญ่ยาวที่สุดในโลกตั้งอยู้หน้าบ้านกำนันหงษ์ฟ้า หยดย้อย กลองกว้าง 36 นิ้ว 92 เซนติเมตร ยาว 7.6 เมตร ทำจากไม่จามจุรีต่อกัน6ท่อน สร้างปี 2537 ใช้เวลาสร้างประมาณ 1 ปี พร้อมด้วยกลองขนาดเล็กซึ่งเป็นของฝากคุณภาพดีราคาย่อยเยา ที่สามารถซื้อไปเป็นของฝากได้อีกด้วย ชาวบ้านแพเริ่มผลิตกลองมาตั้งแต่ พ.ศ. 2470 โดยจะเริ่มหลังฤดูเก็บเกี่ยว วัตถุดิบที่ใช้ได้แก่ไม้ฉำฉาเพราะเป็นไม้เนื้ออ่อนที่สามารถขุดเนื้อไม้ได้ง่ายกับหนังวัว นอกจากคุณภาพที่ประณีตสวยงามแล้วยังมีหลายขนาดให้เลือกอีกด้วย โดยเฉพาะกลองขนาดจิ๋วจะเป็นที่นิยมหาซื้อไว้เป็นของที่ระลึกซึ่งขายดีมากค่ะ [adsense-2] ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม สำนักงานจังหวัดอ่างทอง โทร. (035) 611 235 , (035) 620 130 ประชาสัมพันธ์จังหวัดอ่างทอง โทร. (035) […]

Read More

วัดสี่ร้อย

วัดสี่ร้อย ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำน้อย หมู่ที่ 4 ตำบลสี่ร้อย อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง ชื่อตำบลสี่ร้อยและชื่อวัดเป็นชื่อที่สันนิษฐานว่าตั้งขึ้นเป็นอนุสรณ์แก่ขุนรองปลัดชู และชาวบ้านวิเศษชัยชาญ 400 คน ที่เสียชีวิตในสงครามระหว่างไทยกับพม่าที่เมืองกุย ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์แห่งกรุงศรีอยุธยา พ.ศ 2302 วัดแห่งนี้มีพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ สูง 21 เมตร หน้าตักกว้าง 6 เมตรเศษ นามว่า “หลวงพ่อโต” หรือเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า “หลวงพ่อร้องไห้” เมื่อปี พ.ศ 2530 มีข่าวใหญ่ว่าหลวงพ่อวัดสี่ร้อยมีโลหิตไหลออกมาจากพระนาสิก ข่าวนี้ได้รับความสนใจจากคนทั่วไปทั้งชาวอ่างทองและจังหวัดใกล้เคียงต่างหาโอกาสมานมัสการ “หลวงพ่อร้องไห้” นอกจากนี้ภายในพระอุโบสถวัดนี้เคยมีภาพจิตรกรรมฝาผนังฝีมือช่างอยุธยา ที่มีความงดงามมาก ปัจจุบันภาพลบเลือนไปหมดแล้ว ประวัติท่านขุนรองปลัดชู กองอาทมาต และวัดสี่ร้อย วัดสี่ร้อย ในอดีต ล่วงมาถึงปี พ.ศ. 2303 พระเจ้าอลองพญากษัตริย์พม่า ได้ให้มังระละมังฆ้อนนรธาราชบุตร ยกทัพมาตี เมืองมะริดของไทย ซึ่งอยู่ในความปกครองของกรุงศรีอยุธยาในครั้งนั้นขุนรองปลัดชู กรมการเมืองวิเศษไชยชาญ ซึ่งเป็นผู้ทรงวิทยาคม แก่กล้า ชำนาญในการรบด้วยดาบสองมือ มีลูกศิษย์มากมาย จึงได้รวบรวมชาววิเศษไชยชาญ จำนวน 400 คน เข้าสมทบกับ กองทัพของพระยารัตนาธิเบศร์ โดยใช้ชื่อว่า “ กองอาทมาต […]

Read More

วัดม่วงคัน

วัดม่วงคัน ตั้งอยู่ที่บ้านม่วงคัน หมู่ที่ 9 ตำบลรำมะสัก อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง ที่วัดแห่งนี้มีพระเกจิอาจารย์ดังที่มีชื่อเสียงเป็นที่เลื่องลือ คือพระครูสิริบุญเขต (หลวงพ่อมี จิตฺตธโม) พระเกจิอาจารย์ขมังเวทย์เข้มขลังอยู่ยงคงกระพันชาตรี และมหาอุด ทำน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์เป็นสิริมงคลโชคลาภ ทำผงพุทธคุณมนต์พระสังข์ เมตตามหานิยม ซื้อง่ายขายคล่อง มีสมาธิจิตแก่กล้า ไม่ยึดติด ละแล้วซึ่งโลภ โกธร หลงและโทสะ โมหะทั้งปวง บริสุทธิ์ผ่องแผ้วทั้งทางโลกและทางธรรม เป็นศิษย์ผู้สืบทอดไสยเวทย์พุทธาคม สายหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์ จากหลวงพ่อซวง วัดชีปะขาว สืบสายวิชาจากหลวงพ่อนุ่ม วัดนางใน อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง และสืบทอดวิชาไสยเวทย์จากหลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา จ.สุพรรณบุรี และเรียนวิชาไสยเวทย์ตามตำราไสยเวทย์หลวงพ่อปาน วัดบางนมโด จ.อยุธยา ที่มีอยู่ในวัดม่วงคันของอดีตเจ้าอาวาสวัดม่วงคัน ชาติภูมิ หลวงพ่อมี จิตฺตธโม มีนามเดิมว่า บุญมี ขอผึ้ง ถือกำเนิดวันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ.2470 เป็นบุตรคนที่ 1 ในจำนวนพี่น้อง 6 คนด้วยกันคือ 1.หลวงพ่อมี […]

Read More

วัดม่วง

วัดม่วง ตั้งอยู่ หมู่ที่ 6 ตำบลหัวตะพาน อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง หากได้มาเที่ยวที่จังหวัดอ่างทอง แล้ว ไม่ได้แวะเวียนไปที่อำเภอวิเศษชัยชาญ เพื่อสักการะ “หลวงพ่อใหญ่” ที่ “วัดม่วง” อาจ พูดได้ไม่เต็มปากว่าได้มาเยือนอ่างทองแล้ว เพราะที่แห่งนี้จัดได้ว่าเป็นแลนด์มากร์กที่สำคัญของจังหวัดเลยทีเดียวค่ะ สิ่งที่โดดเด่นที่สุดภายในวัดก็เห็นจะเป็นพระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่ผู้คนแวะเวียนมาสักการะบูชากันอย่างไม่ขาดสายค่ะ ประวัติความเป็นมาของวัดม่วง เดิมทีวัดม่วงเป็นวัดร้าง สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ปี พ.ศ. 2230 ณ. แขวงเมืองวิเศษชาญ ซึ่งเคยได้เป็นเมืองหน้าด่าน ที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาก ต่อมาในปี พ.ศ. 2310 กรุงศรีอยุธยาได้เสียกรุงให้แก่พม่า พม่าได้เผาผลาญบ้านเมือง วัดวาอาราม และพระพุทธรูปไปเป็นจำนวนมาก สิ่งที่หลงเหลืออยู่ คือ ซากปรักหักพังของวัดวาอาราม และพระพุทธรูป ที่อยู่บนเนินมีต้นไม้ใหญ่จำนวนมาก เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2525 ท่านพระคูวิบูลอาจารคุณ ( หลวงพ่อเกษม อาจารสุโภ ) ได้มาปักกลดธุงดงค์เห็นว่าบริเวณนี้เคยเป็นวัดร้าง จึงน่าปฏิบัติธรรม แต่ขณะปฏิบัติธรรม ได้ปรากฏนิมิต เห็นองค์หลวงปู่ขาว และหลวงปู่แดง มาบอกว่าให้ท่านได้ช่วยก่อสร้างวัดม่วงขึ้นมาใหม่ […]

Read More

วัดปราสาท

วัดปราสาท ตั้งอยู่ที่หมู่ 2 บ้านปราสาท ตำบลนรสิงห์ อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง เป็นวัดในสมัยกรุงศรีอยุธยาตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2245 สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา สันนิษฐานได้จากใบเสมาและพระพุทธรูป พระประธาน ซึ่งเป็นของเก่าแก่สมัยกรุงศรีอยุธยา จากคำบอกเล่าของผู้รู้บางท่านเล่าว่า วัดปราสาทเดิมเป็นที่ตั้งพลับพลาของกษัตริย์ เมื่อคราวยกทัพมาพักเพื่อต่อต้านข้าศึก วัดปราสาท เดิมชื่อวัดปราสาททอง สร้างขึ้นโดยพระเจ้าปราสาททอง เคยเสด็จมาพักแรม ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อพ.ศ.2240 วัดปราสาท มีวิหารเก่า และปราสาทเป็นเอกลักษณ์ของวัด เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย ฐานรูปโค้งสำเภา ส่วนพระปรางค์ใหญ่สร้างสมัยรัชกาลที่ 3-4 ฝีมือช่างท้องถิ่น จิตรกรรมวัดปราสาท ฝีมือช่างสมัยรัตนโกสินทร์ ยังคงอิทธิพลช่างอยุธยา ภาพเขียนหลังพระประธานเป็นสระใน หิมพานต์และสัตว์ประจำทิศ ส่วนผนังทั้งสองข้างเป็นภาพพระพุทธเจ้าประทับยืนเหนือฐานบัวมีพุทธสาวกยืนถวายอัญชลีอยู่สองข้าง ท้ายวัดมีดงยางขนาดใหญ่อายุร่วมร้อยปี รักษาการเจ้าอาวาส พระครูวินัยธร ปริญญา ฉายา อาสโภ สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด อุโบสถ กว้าง 8.10 เมตร ยาว 15.50 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ.2250 ภายในมีพระพุทธรูป ปางมารวิชัยเป็นประธาน ขนาดหน้าตักกว้าง 2 ศอกคืบ สูง 0.76 […]

Read More