Tag: กู่กาสิงห์

กู่กาสิงห์

กู่กาสิงห์ ตั้งอยู่ในวัดบูรพากู่กาสิงห์ ตำบลกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นโบราณสถานที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะแบบเขมร สร้างขึ้นตามคติความเชื่อทางศาสนาฮินดู ลัทธิไศวะนิกาย โดยนับถือพระศิวะเป็นเทพเจ้าสูงสุดจากการศึกษาลวดลายหน้าบัน ทับหลังและลวดลายอื่นๆ ทราบว่าตรงกับสมัยศิลปะเขมรแบบบาปวน อายุราว พ.ศ. 1550 – 1630 การเรียกชื่อ โดยทั่วไปยังไม่มีหลักฐานยืนยันว่าขอมเรียกโบราณสถานแห่งนี้ว่าอย่างไร แต่ภาษาที่ใช้เรียกชื่อเป็นภาษาไทย จึงเชื่อว่าคำว่า“กู่กาสิงห์”เป็นคำที่คนไทยลาวได้ตั้งชื่อขึ้นใหม่โดยคำว่ากู่เป็นคำที่ใช้เรียกโบราณสถานที่มีลักษณะคล้ายสถูปหรือเจดีย์เก่าแก่ในอีสานตอนกลาง คำว่ากาน่าจะมาจากรูปพระยาครุฑหรือนกอินทรีย์ที่เคยปรากฏอยู่ที่กู่นอกจากนี้คำว่ากายังเป็นคำในภาษาถิ่นตรงกับคำในภาษาไทยกลางคือคำว่าตราซึ่งแปลว่าเครื่องหมาย ส่วนคำว่าสิงห์ เป็นคำใช้เรียกรูปประติมากรรมสิงห์ที่เคยมีตั้งไว้ประตูทางเข้ากู่ ดังนั้นกู่กาสิงห์จึงหมายถึงโบราณสถานที่มีรูปกาและ สิงห์เป็นเครื่องหมาย กู่กาสิงห์ ประกอบด้วย ปรางค์ 3 องค์ ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงเดียวกัน มีวิหารหรืออาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่เรียกว่าบรรณาลัย อยู่ทางด้านหน้าทั้งสองข้าง ทั้งหมดล้อมรอบด้วยกำแพงซึ่งมีซุ้มประตูทั้ง 4 ทิศ ถัดออกไปเป็นคูน้ำรูปเกือกม้าล้อมรอบอีกชั้นหนึ่ง ปรางค์ประธานหรืออาคารหลักที่มี 3 องค์นั้น ตั้งเรียงอยู่บนฐานเดียวกันในแนวเหนือ-ใต้ แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ปรางค์องค์กลางมีขนาดใหญ่กว่าอีก 2 องค์ที่ขนาบข้าง และมีมุขยื่นทางด้านหน้าเป็นห้องยาว มีประตูทางเข้า 3 ทาง คือด้านหน้าและด้านข้างของห้องยาวทั้งสอง ส่วนฐานขององค์ปรางค์ก่อด้วยศิลาทรายยังคงปรากฏลวดลายสลักเป็นชั้นเป็นแนว เช่น ลายกลีบบัวและลายกนก ผนังก่ออิฐ ที่ห้องในสุดหรือส่วนครรภคฤหะได้ค้นพบศิวลึงค์ […]

Read More