Tag: พระนครศรีอยุธยา

วัดหน้าพระเมรุ

วัดหน้าพระเมรุ ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลนครศรีอยุธยา หมู่ที่ 5 ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ริมคลองสระบัวด้านเหนือของคูเมือง (แม่น้ำลพบุรีเก่า) ตรงข้ามกับพระราชวังหลวง มีชื่อเดิมว่า “วัดพระเมรุราชการาม” แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้างและสร้างในสมัยใด พิจารณาได้ว่า น่าจะเป็นวัดสร้างขึ้นตรงที่ถวายพระเพลิงกษัตริย์องค์ใดองค์หนึ่ง ในต้นสมัยอยุธยา เป็นวัดเดียวในกรุงศรีอยุธยาที่ไม่ถูกพม่าทำลาย และยังคงสภาพที่ดีมาก เพราะพม่าได้ไปตั้งกองบัญชาการอยู่ที่วัดนี้ พระอุโบสถเป็นแบบอยุธยาซึ่งมีเสาอยู่ภายใน แต่น่าจะมาเพิ่มเสารับชายคาที่หลังในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระประธานในอุโบสถซึ่งสร้างปลายสมัยอยุธยา เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องหล่อสำริดขนาดใหญ่ที่สุดที่ปรากฏและมีความงดงามมาก ด้านหลังพระอุโบสถยังมีอีกองค์หนึ่งแต่เล็กกว่า คือ พระศรีอริยเมตไตรย์ ประวัติวัดหน้าพระเมรุ ตำนานกล่าวถึงวัดนี้ว่า พระองค์อินทร์ในสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 รัชกาลที่ 10 แห่งกรุงศรีอยุธยา ทรงสร้างเมื่อจุลศักราช 864 (พ.ศ. 2046) ประทานนามว่า“วัดพระเมรุราชิการราม” แต่ประชาชนส่วนมากนิยมเรียกว่า “วัดพระเมรุ” จึงเป็นนามของวัดที่ใช้มาจนทุกวันนี้ ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา กล่าวถึงเหตุการณ์คราวทำสัญญาสงบศึกระหว่างสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์กับพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง มีการปลูกพลับพลาเป็นที่ประทับซึ่งอยู่ด้านหน้าวัดพระเมรุกับวัดหัสดาวาส (ปัจจุบันวัดหัสดาวาสเหลือเพียงซากเจดีย์) อีกตอนหนึ่งเมื่อคราวสมเด็จพระเจ้าอะลองพญามาตีกรุงศรีอยุธยา เมื่อเดือน 6 ขึ้น 1 ค่ำ พ.ศ 2303 พม่า เอาปืนใหญ่มาตั้งที่วัดพระเมรุราชิการามกับวัดหัสดาวาส […]

Read More

วัดราชบูรณะ

วัดราชบูรณะ ตั้งอยู่ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บริเวณเชิงสะพานป่าถ่าน ติดกับวัดมหาธาตุทางบริเวณทิศตะวันออก ห่างจากพระราชวังโบราณ เพียงเล็กน้อย จัดเป็นหนึ่งในวัดที่ใหญ่และมีความเก่าแก่มากที่สุดในพระนครศรีอยุธยา สร้างโดยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 หรือเจ้าสามพระยา ในปี พ.ศ. 1967 วัดราชบูรณะมีชื่อเสียงและความโด่งดังมากในเรื่องการถูกกลุ่มคนร้ายจำนวนหนึ่ง ลักลอบขุดกรุภายในพระปรางค์ประธาน ในปี พ.ศ. 2499 และช่วงชิงทรัพย์สมบัติจำนวนมากมายมหาศาลหลบหนีไป ต่อมากรมศิลปากรเข้าทำการบูรณะขุดแต่งต่อภายหลัง พบทรัพย์สมบัติที่หลงเหลือและเครื่องทองจำนวนมากมาย ปัจจุบันทรัพย์สมบัติภายในกรุถูกเก็บรักษาไว้ที่ห้องราชบูรณะ ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ประวัติวัดราชบูรณะ วัดราชบูรณะสร้างขึ้นในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ในบริเวณพื้นที่และตำแหน่งเดิมที่พระองค์ได้ทรงถวายพระเพลิงศพให้กับเจ้าอ้ายพระยาและเจ้ายี่พระยา พระเชษฐาทั้งสองพระองค์ที่สิ้นพระชนม์ภายในหลังจากการกระทำยุทธหัตถี เพื่อแย่งชิงราชสมบัติของสมเด็จพระนครอินทราธิราชพระราชบิดาที่เสด็จสวรรคตลงในปี พ.ศ. 1967 เมื่อครั้งที่สมเด็จพระนครอินทราธิราช เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 6 แห่งกรุงศรีอยุธยา และพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์สุพรรณภูมิ โปรดเกล้าให้พระราชโอรสของพระองค์ทั้ง 3 พระองค์ได้แก่ เจ้าอ้ายพระยา เจ้ายี่พระยาและเจ้าสามพระยา แยกย้ายกันปกครองหัวเมืองต่าง ๆ โดยทรงมอบหมายให้เจ้าอ้ายพระยา พระราชโอรสองค์ใหญ่ปกครองเมืองสุพรรณบุรี เจ้ายี่พระยา พระราชโอรสองค์กลางปกครองเมืองแพรกศรีราชา และเจ้าสามพระยาพระราชโอรสองค์เล็ก ปกครองเมืองชัยนาท […]

Read More

วัดมหาธาตุ

วัดมหาธาตุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นหนึ่งในวัดในเขตอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา วัดมหาธาตุเป็นวัดที่มีความสำคัญยิ่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา เพราะเป็นวัดที่ประดิษฐานพระบรมธาตุใจกลางพระนคร และโดยเฉพาะอย่างยิ่งยังเป็นที่พำนักของสมเด็จพระสังฆราชฝ่ายคามวาสีอีกด้วย วัดแห่งนี้จึงได้รับการก่อสร้างและดูแลตลอดเวลาจวบจนถูกทำลายลงหลังเสียกรุงครั้งที่ 2 ประวัติวัดมหาธาตุ วัดมหาธาตุอยู่ทางทิศตะวันออกของพระราชวังหลวง วัดนี้ในหนังสือพระราชพงศาวดารฉบับราชหัตถเลขา กล่าวว่า เมื่อ พ.ศ. 1927 หลังจากเสร็จศึกทางเหนือ สมเด็จพระราเมศวรเสด็จกลับสู่พระนครแล้ว วันหนึ่งเสด็จออกทรงศีลยังพระที่นั่งมังคลาภิเษก เมื่อเพลาสิบทุ่มทอดพระเนตรไปทางทิศตะวันออกเห็นพระบรมสาริกธาตุเสด็จปาฏิหาริย์ จึงทรงเรียกปลัดวังให้เอาพระราชยานทรงเสด็จไป แล้วโปรดให้เอากรุยปักขึ้นไว้ตรงที่ๆ พระบรมธาตุเสด็จปาฏิหาริย์ สถาปนาพระมหาธาตุขึ้นที่นั่นสูง 19 วา ยอดสูง 3 วา ให้ชื่อวัดมหาธาตุ เรื่องสร้างวัดมหาธาตุนี้ ปรากฏในพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐว่า สร้างในแผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 1917 ไม่ใช่แผ่นดินสมเด็จพระราเมศวร พระมหาธาตุสูง 1 เส้น 3 วา หรือ 23 วา ปรางค์ของวัดนี้สร้างด้วยศิลาแลง ปรากฏว่าในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ได้พังลงมาถึงชั้นครุฑ คือ ชั้นที่มีรูปครุฑปูนปั้นประดับอยู่ แต่ยังมิได้มีการซ่อม ต่อมาในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง เมื่อ พ.ศ. 2176 […]

Read More

วัดพระศรีสรรเพชญ์

วัดพระศรีสรรเพชญ์ หรือ วัดพระศรีสรรเพชญ ตั้งอยู่ในเขตพระราชวังโบราณ เป็นวัดพุทธาวาสที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา เพื่อประกอบพิธีสำคัญต่าง ๆ ของบ้านเมือง และเก็บอัฐิของพระมหากษัตริย์ เปรียบได้กับวัดพระศรีรัตนศาสดารามในพระบรมมหาราชวังในกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันเหลือเพียงซากอิฐปูนและเจดีย์สามองค์ที่ตั้งตะหง่านเป็นจุดเด่น แต่ยังคงเป็นจุดที่ดึงความสนใจของนักท่องเที่ยวให้เข้ามาเยี่ยมชมอยู่เสมอ และเมื่อได้ลองจินตนาการดูก็จะรู้สึกถึงความยิ่งใหญ่และความงดงามของกรุงศรีอยุธยาในสมัยที่ยังเป็นราชธานี ประวัติความเป็นมา วัดพระศรีสรรเพชญ์ เดิมในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ใช้เป็นที่ประทับ ต่อมาสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงสร้างพระราชมณเฑียรขึ้นใหม่ทางตอนเหนือ แล้วจึงโปรดฯให้ยกเป็นเขตพุทธาวาส เพื่อประกอบพิธีสำคัญต่าง ๆ ของบ้านเมือง จึงเป็นวัดในเขตพระราชวังที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา แตกต่างกับวัดมหาธาตุสุโขทัย ที่มีพระสงฆ์จำพรรษา ทั้งวัดมหาธาตุ สุโขทัย,วัดพระศรีสรรเพชญ์ อยุธยา และวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ต่างก็ถูกสถาปนาขึ้นในมูลเหตุการสร้างวัดเดียวกันนั่นคือ “สร้างเพื่อเป็นวัดประจำพระราชวัง” ต่อมาในปี พ.ศ. 2035 รัชสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระสถูปเจดีย์องค์ตะวันออก เพื่อบรรจุพระอัฐิของพระราชบิดา สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และพระสถูปเจดีย์องค์กลางเพื่อบรรจุพระอัฐิของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 ผู้เป็นพระเชษฐา หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2042 พระองค์โปรดให้สร้างพระวิหารหลวงขึ้น ในปีต่อมา พ.ศ. 2043 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ทรงสร้างพระวิหาร ทรงหล่อพระพุทธรูป ยืนสูง 8 […]

Read More

วัดพระขาว

วัดพระขาว ตั้งอยู่เลขที่ 82 ม.6 ต.พระขาว อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา  สังกัดมหานิกาย อยู่ในเขตการปกครองคณะสงฆ์ ตำบลน้ำเต้า อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ภาค 2ตั้งอยู่เลขที่ 34 หมู่ที่ 3  ตำบลพระขาว อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เนื้อที่ตั้งวัดทีเนื้อที่ 19 ไร่ 2 งาน ลักษณะพื้นที่โดยทั่วไปของบริเวณที่ตั้งวัด ทิศเหนือและทิศใต้ มีบ้านล้อมทั้งสองทิศ ทิศตะวันออกถนนหลวง ทิศตะวันตกมีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านตลอดปีวัดพระขาวสันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยในปี พ.ศ.2540 ทางวัดได้ทำการก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่ทดแทนหลังเดิม ซึ่งชำรุดทรุดโทรมทำการก่อสร้างเสร็จในปี พ.ศ.2545 ภายในอุโบสถ ยังมีภาพจิตรกรรมฝาผนังแบบประเพณี เช่นพุทธประวัติ ไตรภูมิ มารผจญ ทศชาติ และภาพทวารบาล สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด หลวงพ่อขาว เป็นพระประธานในอุโบสถปั้นด้วยปูน สมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย สีขาวทั้งองค์ [adsense-2] ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม วัดพระขาว โทร. (035) 726 666 แฟกซ์ (037) 783 151 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานพระนครศรีอยุธยา […]

Read More

วัดพนัญเชิงวรวิหาร

วัดพนัญเชิงวรวิหาร ตั้งอยู่ที่หมู่ 2 หมู่ 12 ตำบลคลองสวนพลู อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร แบบมหานิกาย มีจุดเด่นสำคัญ คือ พระพุทธไตรรัตนนายก หรือหลวงพ่อซำปอกง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในพระนครศรีอยุธยา เหตุที่ได้นามว่า “วัดพนัญเชิง” 1. คำว่า “พแนงเชิง” มีความหมายว่า “นั่งขัดสมาธิ” ฉะนั้น คำว่า “วัดพนัญเชิง” “วัดพระแนงเชิง” หรือ “วัดพระเจ้าพแนงเชิง” จึงหมายความถึงวัดแห่งพระพุทธรูปนั่งปางมารวิชัย คือ “หลวงพ่อโต” หรือ “พระพุทธไตรรัตนนายก” นั่นเอง 2. เพราะการสร้างพระพุทธรูปนั่งปางมารวิชัยเป็นประธานของวัด อาจเป็นลักษณะพิเศษจึงขนานนามวัดตามพระพุทธลักษณะที่สร้างเป็นปางมารวิชัยก็ อาจเป็นได้ โดยเฉพาะพระประธานของวัดนี้เป็นพระพุทธรูปนั่งปางมารวิชัยที่มีขนาดใหญ่ที่ สุดในประเทศไทย 3. เพราะสืบเนื่องมาจากตำนานเรื่องพระนางสร้อยดอกหมาก คือ เมื่อพระนางสร้อยดอกหมากกลั้นใจตายนั้น พระนางคงจะนั่งขัดสมาธิ เพราะชาวจีนนิยมนั่งขัดสมาธิมากกว่านั่งพับเพียบจึงนำมาใช้เรียกชื่อวัด บางคนก็เรียกว่า วัดพระนางเอาเชิง ตามสาเหตุที่ทำให้พระนางถึงแก่ชีวิต ฉะนั้น ถ้าเรียกนามวัดตามความหมายของคำแล้ว คำว่า “ วัดพนัญเชิง” […]

Read More

วัดท่าการ้อง

วัดท่าการ้อง ตั้งอยู่ที่บ้านป้อม อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นวัดโบราณมีมาแต่สมัยอยุธยาตอนกลาง โดยการรวมวัด 2 วัดเข้าด้วยกัน คือ วัดท่าและวัดการ้อง สร้างขึ้นก่อนราว พ.ศ. 2092 น ประวัติศาสตร์กล่าวว่าสร้างในสมัยสมเด็จพระชัยราชาธิราชสมัยอยุธยาตอนต้น อีกทั้งก่อนอยุธยาจะเสียกรุงบริเวณแห่งนี้เคยเป็นที่ตั้งค่ายของแม่ทัพใหญ่ แห่งพม่า คือ เนเมียวสีหบดี ปัจจุบันยังคงเหลือสถาปัตยกรรมสมัยกรุงศรีอยุธยาหลายแห่งได้แก่ ศาลาการเปรียญไม้สักริมแม่น้ำเจ้าพระยา / พระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรัตนมงคลหรือหลวงพ่อยิ้ม ต่อมาในยุคปัจจุบันเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 วัดท่าการ้องได้ถูกดัดแปลงเป็นโรงเรียนนายร้อยฝ่ายช่างเทคนิค โดยได้ใช้ศาลาการเปรียญเป็นห้องเรียน วัดนี้ทำเลชัยภูมิดีมากๆ สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด พระอุโบสถ ก่ออิฐถือปูนสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ หน้าบันเป็นไม้จำหลักอย่างสวยงาม ซุ้มประตูและหน้าต่างประดับลายปูนปั้น ด้านหน้าอุโบสถประดับด้วยกระจกสีภายในพระอุโบสถมีหลวงพ่อยิ้ม หรือ พระพุทธรัตนมงคล เป็นพระประธาน ภายนอกมีกำแพงแก้วล้อมรอบพระอุโบสถ ศาลาการเปรียญเก่า เป็นเรือนไทยสมัยอยุธยาที่ยังหลงเหลือ ตั้งอยู่ด้านหลังพระอุโบสถโดยสร้างด้วยไม้สัก ดูขลังมากๆ หอระฆังสมัยพระนารายณ์ ก่ออิฐถือปูนรูปแปดเหลี่ยม ตุ๊กตาและเหล่า Gadget ต่างๆ เหล่าตุ๊กตาหน้าตาน่ารักน่าชัง บ้างก็ถือบาตรหย่อนเหรียญทำบุญปุ๊บก็จะพูดอนุโมธนาสาธุๆ บาตรควงสว่าน โยนดีได้บุญโยนไม่ดีก็ได้บุญหรือตุ๊กตาผีใส่ชุดไทยมารับบริจาคโลงศพไร้ญาติ คนชอบทำบุญน่าจะชอบครบวงจรมากๆ ตลาดน้ำกรุงเก่า อยู่ติดบริเวณหลังวัดติดเเม่น้ำค่ะ มีอาหาร […]

Read More

วัดไชยวัฒนาราม

วัดไชยวัฒนาราม หรือ วัดชัยวัฒนาราม เป็นวัดเก่าแก่สมัยอยุธยาตอนปลายในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตั้งอยู่ที่ ตำบลบ้านป้อม อำเภอเมืองจังหวัดพระนครศรีอยุธยา บริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ทางฝั่งตะวันตกนอกเกาะเมือง วัดไชยวัฒนาราม เป็นวัดหนึ่ง ที่มีสถาปัตยกรรมการก่อสร้างไม่เหมือนวัดอื่นๆ ใน อยุธยา และเนื่องจากกรมศิลปากรได้ดำเนินการบูรณะตลอดมาจนปัจจุบันนักท่องเที่ยวยังคงมองเห็นเค้าแห่งความสวยงามยิ่งใหญ่ตระการตา ซึ่งผู้ไปเยือนไม่ควรพลาดเลยค่ะ วัดไชยวัฒนารามสร้างบนพื้นที่ 160 เมตรยาว 310 เมตร โดยหันหน้าไปทางทิศตะวันออกกล่าวได้ว่าวัดนี้ตั้งตรงกับทิศทางคตินิยมในการสร้างวัดที่ปฏิบัติเป็นประเพณีสืบกันมานอกจากนี้ยังสอดคล้องกับเหตุการณ์ในพุทธประวัติที่กล่าวว่า พระโพธิสัตว์ทรงประทับภายใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออกสู่แม่น้ำเนรัญชรา ทรงบำเพ็ญสมาธิจนบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ พระพุทธรูปซึ่งเป็นหลักของวัด ก็สร้างแทนองค์ประพุทธเจ้า คือพระประธานในพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ซึ่งเป็นปางที่แสดงเหตุการณ์ตอนพระพุทธองค์ตรัสรู้ ประวัติวัดไชยวัฒนาราม วัดไชยวัฒนารามเป็นวัดสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าปราสาททอง โดยเดิมบริเวณที่ตั้งของวัดแห่งนี้เคยเป็นที่อยู่ของพระราชมารดาที่ได้สิ้นพระชนม์ไปก่อนที่พระเจ้าปราสาททองได้เสวยราชสมบัติเป็นกษัตริย์ เมื่อพระองค์ได้เสวยราชสมบัติ พระองค์จึงได้สร้างวัดไชยวัฒนารามขึ้นเพื่ออุทิศผลบุญนี้ให้กับพระราชมารดาของพระองค์ และอีกประการหนึ่งวัดนี้อาจถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะเหนือเขมรด้วย จึงทำให้มีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมส่วนหนึ่งมาจากปราสาทนครวัด สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด ปรางค์ประธาน ตั้งอยู่บริเวณตรงกลางของพื้นที่ ฐานประทักษิณ ซึ่งฐานประทักษิณได้ยกสูงขึ้นมา จากพื้น 1.5 เมตร มีลักษณะเป็นปรางค์ จัตุรมุข(มีมุขยื่นออกมาทั้ง4ด้าน)ในส่วน ของมุขด้านตะวันออก จะเจาะมุขทะลุเข้าสู่เรือนธาตุ ซึ่งภายในจะประดิษฐานพระพุทธรุปนั่ง (ปัจจุบันไม่พบแล้ว) ยอดขององค์ปรางค์ ทำเป็นรัดประคดซ้อนกัน 7 ชั้น แต่ละชั้น เป็นลวดลาย ใบขนุน กลีบขนุน […]

Read More

วังช้างอยุธยา แล เพนียด

วังช้างอยุธยา แล เพนียด ตั้งอยู่ที่ถนนป่าโทน ข้างคุ้มขุนแผน อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา  เมื่อมาถึงอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา นอกจากโบราณสถาน ร้านรวง และต้นไม้แล้ว สิ่งที่ผู้คนให้ความสนใจไม่แพ้กันก็คือ ช้างตัวใหญ่ใจดี ที่แต่งองค์ทรงเครื่องสวยงาม เดินอุ้ยอ้ายพานักท่องเที่ยวเดินชมทิวทัศน์รอบๆกรุงเก่า ปางช้างอยุธยา แลเพนียดนั่นเองค่ะ วังช้างอยุธยา แล เพนียด เดิมชื่อว่า ปางช้างอยุธยา แล เพนียด ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เพื่อเป็นสิริมงคลแก่เจ้าของและสถานที่ วังช้างอยุธยา แล เพนียด ได้รับการสนับสนุนจากกรมศิลปากร การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย โดยช่วงก่อตั้งนั้นเป็นช่วงวิกฤติช้าง ภาคเหนือถูกบังคับให้กินยาบ้าเพื่อให้ลากซุง แล้วขายช้างลงมาภาคกลางและภาคอีสาน ช้างแก่จำนวนมาก ป่วย และตายลง วังช้างอยุธยา แล เพนียดและมูลนิธิพระคชบาล จึงตั้งมั่นในการอนุรักษ์และสืบสานสายพันธ์ช้างไทยให้ยั่งยืน มีการจัดระบบ ระเบียบการเลี้ยงช้างที่ได้มาตรฐาน และเริ่มโครงการสืบสานสายพันธุ์ช้าง (วิวาห์ช้าง) เป็นครั้งแรกในโลก ซึ่งประสบความสำเร็จโดยปัจจุบันมีลูกช้างที่เกิดที่เพนียดหลวงเป็นจำนวนมาก วังช้างอยุธยา แล เพนียด ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธุ์ พ.ศ. 2540 โดยได้รับการสนับสนุนจากกรมศิลปากร […]

Read More

พระราชวังบางปะอิน

พระราชวังบางปะอิน ตั้งอยู่ในตำบลบ้านเลน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นพระราชวังโบราณตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา สร้างขึ้นโดยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง เนื่องจากเป็นที่ประสูติของพระองค์ ใช้เป็นสถานที่ที่ทรงใช้ประทับแรม ของพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ด้วยเป็นพระราชวังใกล้พระนครนั่นเอง หลังจากการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง พระราชวังบางปะอินถูกปล่อยให้รกร้างมาระยะหนึ่ง แต่กลับมาเป็นที่รู้จักอีกครั้งโดยสุนทรภู่ซึ่งได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชไปนมัสการพระพุทธบาทสระบุรีได้ประพันธ์ถึงพระราชวังบางปะอินไว้ในนิราศพระบาท จนกระทั่ง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้เริ่มการบูรณะพระราชวังขึ้น และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้บูรณะครั้งใหญ่ โดยสร้างพระที่นั่ง พระตำหนัก และตำหนักต่าง ๆ ขึ้นมากมายเพื่อใช้เป็นที่ประทับรับรองพระราชอาคันตุกะ และพระราชทานเลี้ยงในโอกาสต่าง ๆ ปัจจุบัน พระราชวังบางปะอินอยู่ในความดูแลของสำนักพระราชวัง และยังใช้เป็นสถานที่แปรพระราชฐานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ รวมถึงประกอบพระราชพิธีสังเวยพระป้าย แต่ได้เปิดให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวเข้าชมได้ โดยต้องแต่งกายให้สุภาพ สิ่งที่น่าสนใจภายในพระราชวัง พระที่นั่งไอศวรรยทิพยอาสน์ เป็นปราสาทอยู่กลางสระ สร้างในรัชกาลที่ 5 เดิมสร้างด้วยไม้ทั้งองค์ต่อมา รัชกาลที่ 6 โปรดฯให้เปลี่ยนเสาและพื้นเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กทั้งหมด พระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียร อยู่ทางทิศตะวันออกตรงข้ามกับสระน้ำ เป็นพระที่นั่งเรือนไม้หมู่ทั้งชั้นบนและชั้นล่างมีเฉลียงตามแบบชาเลตของสวิส ทาสีเขียวอ่อนแก่สลับกันด้วยงานช่างที่ประณีต สิ่งประดับตกแต่งภายใน ประกอบด้วย เครื่องไม้มะฮอกกานีจัดสลับลายทองทับที่สั่งจากยุโรปทั้งสิ้น นอกนั้นเป็นสิ่งของหายากในประเทศ อันเป็นเครื่องราชบรรณาการจากหัวเมืองต่างๆ ทั่วราชอาณาเขตรอบๆ มีสวนดอกไม้สวยงาม เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่งที่พระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียรได้เกิดเพลิงไหม้ ขณะที่มีการซ่อมรักษาเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2481 ทำให้พระที่นั่งถูกทำลายไปกับกอง […]

Read More