Tag: มหาสารคาม

แหล่งทำเสื่อกกบ้านแพง

แหล่งทำเสื่อกกบ้านแพง ไปศึกษาวิถีชีวิตชาวชนบท ชมวิธีการทอเสื่อกกทำมือกันค่ะ แหล่งทำเสื่อกกบ้านแพง ตั้งอยู่ที่บ้านแพง ต.แพง อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม บ้านแพงเป็นหมู่บ้านที่อยู่ริมบึงแพง ประชากรทำนาเป็นอาชีพหลัก ทอเสื่อเป็นอาชีพเสริม อาศัยน้ำฝนในการทำนาและปลูกกก และที่เหลือเป็นการประกอบอาชีพ รับจ้างทั่วไป การทอเสื่อกก เกิดขึ้นประมาณ 60 ปีแล้ว ส่วนใหญ่ทอเสื่อเพื่อใช้สอยในครัวเรือนสำหรับแลกเปลี่ยนกับสิ่งของเครื่องใช้ภายในครัวเรือนกันเองในหมู่บ้านและหมู่บ้านใกล้เคียงโดยเริ่มต้นทอกกสามเหลี่ยม (ต้นผือ)ต่อมาพระที่วัดได้นำพันธุ์กกกระจูด ( ต้นไหล ) มาจากจังหวัดร้อยเอ็ดมาทดลองปลูกที่ริมบึงแพง ผลปรากฏว่าเป็นพืชที่ปลูกได้ผลดี เจริญเติบโตเร็ว จึงมีราษฏรในเขตหมู่บ้านแพงนำมาปลูกซึ่งต้นกกกระจูดมีคุณสมบัติที่เหนียว เมื่อทอเป็นผืนใช้งานได้ดี มีความคงทนถาวรมากกว่าการทอจากต้นกกสามเหลี่ยม( ต้นผือ ) ต่อมามีการจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพทอเสื่อกกขึ้น เพื่อความสะดวกสบายในการเก็บรักษาเสื่อซึ่งมีความยาวขนาดต่าง ๆความสะดวกในการเคลื่อนย้ายและประโยชน์ใช้สอยแล้วชาวบ้านก็มีการดัดแปลงรูปแบบของเสื่อที่เป็นผืนให้สามารถพับได้และถือไปมาได้สะดวกโดยการนำเสื่อที่ทอเสร็จแล้วมาตัดเป็นชิ้น ๆแล้วตัดผ้าสีเพื่อทำริมเสื่อและเย็บริมเสื่อกันรุ่ยใช้ผ้าเย็บต่อกันให้เป็นผืนต่อให้เป็นผืนกว้างตามต้องการเสร็จแล้วใช้ผ้าสีเดียวกันเย็บติดเป็นสายหิ้วไปมาได้สะดวกเป็นเสื่อพับหนึ่งผืนเมื่อเย็บเสร็จแล้วพับเก็บไว้ที่ชั้นเพื่อรอจำหน่าย และการทำเสื่อนั่ง ทำที่รองจานรองแก้ว กระเป๋า ประวัติความเป็นมา บ้านแพงเป็นหมู่บ้านเก่าแก่หมู่บ้านหนึ่ง ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2366 เมื่อ 179 ปีมาแล้ว สาเหตุที่ชื่อบ้านแพง เพราะมีต้นแพง (ชื่อต้นไม้) ขึ้นหนาแน่นเป็นป่าบริเวณที่ตั้งหมู่บ้าน จึงเรียกว่า “บ้านแพง” เริ่มแรกของการตั้งหมู่บ้าน ราษฎรส่วนใหญ่อพยพมาจากบ้านงิ้ว บ้านโนนซึ่งอยู่ในอำเภอวาปีปทุมในปัจจุบัน โดยมีผู้นำในกลุ่ม […]

Read More

หมู่บ้านปั้นหม้อ

หมู่บ้านปั้นหม้อ ตั้งอยู่ที่ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ชาวบ้านมีอาชีพปั้นหม้อดินเผาซึ่งชาวอีสานใช้ใส่น้ำและเป็นภาชนะในการปรุงอาหาร เดิมชาวบ้านมีอาชีพหลักคือ การทำนา และเป็นชาวบ้านที่อพยพหนีความแห้งแล้งทุรกันดารของท้องถิ่นจากอำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา ในตอนแรกมีประมาณ 3-9 หลังคาเรือน มีความรู้เรื่องการปั้นหม้อมาก่อน เมื่อหนีความแห้งแล้งก็มาเจอปัญหาดินเค็ม ผลผลิตจากการเก็บเกี่ยวจึงไม่สามารถทำรายได้เพื่อจับจ่ายเป็นการยังชีพตลอดปีได้ จึงได้ยึดอาชีพการปั้นหม้ออีกอาชีพหนึ่ง เพื่อเป็นการแก้ปัญหาในฤดูที่ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล นับแต่นั้นเป็นต้นมาคนในหมู่บ้านจึงยึดการปั้นหม้อเป็นอาชีพหลัก การทำนาเป็นอาชีพรอง เมื่อเสร็จภารกิจจากการทำนา ชาวบ้านที่เป็นผู้ชายจะลงไปขุดเอาดินเหนียวที่อยู่ใต้น้ำดินที่ใช้ปั้นหม้อได้จากหนองน้ำใกล้หมู่บ้าน เรียกว่า หนองเบ็น บรรทุกดินใส่เรือขึ้นฝั่งกลับบ้านดินเหนียวดังกล่าวนี้จะถูกนำไปเก็บไว้ใต้ถุนบ้านของแต่ละครอบครัวเมื่อได้เวลาชาวบ้านก็จะนำดินเหนียวที่ได้มาส่วนหนึ่งมาผสมกับแกลบในปริมาณที่เท่าๆกันปั้นให้เป็นก้อนขนาดเท่าลูกมะตูมนำไปผึ่งแดดให้แห้งแล้วนำเอาไปเผาไฟจนแดงดินที่ถูกเผาไฟ แล้วนี้นำมาบดหรือโขลกด้วยครกไม่ให้เป็นผงละเอียด ชาวบ้านเรียกดินนี้ว่า ดินเชื้อ ชาวบ้านจะนำเอาดินเชื้อไปนวดผสมกับดินเหนียวที่เตรียมไว้อีกส่วนหนึ่ง เมื่อนวดเข้ากันแล้วก็นำมาขึ้นรูปหม้อประเภทต่าง ๆ เมื่อนวดดินเหนียวได้ที่แล้วบรรดาผู้หญิงก็จะนำมาขึ้นรูปโดยขึ้นทางด้านปากก่อน ชาวบ้านจะใช้ความชำนาญของมือและเข่าหมุนวนเพื่อขดปากหม้อให้กลมโดยไม่ใช้แป้นหมุน ต่อจากนั้นก็ใช้ไม้แบนๆ ที่มีด้ามตีด้านนอกอีกมือหนึ่งจับก้อนดินเผาที่ปั้นเป็นรูปโค้งกลมมีด้ามจับ เรียกว่า หินดุ ดุนไว้ข้างในหม้อตีให้ได้ผิวเรียบและควบคุมความหนาให้สม่ำเสมอจนจรดที่ก้นหม้อแล้วจึงขัดผิวให้เรียบด้วยน้ำ โคลนเหลวก็เป็นอันว่าเสร็จการปั้นหม้อหลังจากนั้นก็นำไปวางคว่ำเรียงกันเอาไว้ในบริเวณที่เตรียมไว้แล้วผึ่งลมเอา ไว้2-3มวันหม้อจะแห้งและแข็งตัวจึงนำไปเผานอกบ้าน ชาวบ้านเตรียมบริเวณกลางแจ้งสำหรับวางฟืนที่เป็นกิ่งไม้เล็กๆกับฟางไว้ด้าน ล่างแล้วนำเอาหม้อที่แห้งแล้วนี้ไปวางเรียงไว้ด้านบนตามจำนวนต้องการแล้วก็นำเอาฟางและฟืนวางทับสุมลงไปอีก ครั้งหนึ่งโดยกะประมาณจำนวนเชื้อเพลิงให้มีปริมาณพอเหมาะกับจำนวนเครื่องปั้นดินเผาที่จะให้สุกพอดีโดยชาวบ้านจะไม่ ใช้เครื่องชั่งตวงกิโลเมตร  นอกจากหม้อแล้วยังมีผลิตภัณฑ์ทำมืออื่นๆ ที่น่าสนใจไม่แพ้กัน เช่น ตุ่มน้ำ กาน้ำ เตา เป็นต้น เครื่องปั้นดินเผาเหล่านี้ ได้รับการพัฒนารูปทรงให้เหมาะสม ทันสมัย ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งนักท่องเที่ยวนิยมซื้อไปใช้และเป็นของที่ระลึกอยู่เสมอ […]

Read More

วัดมหาชัย

วัดมหาชัย หรือ วัดเหนือ ตั้งอยู่เลขที่ 779 ถนนศรีราชวงศ์ ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองมหาสารคาม ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2408 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยพระเจริญราชเดช (กวด) เจ้าเมืองมหาสารคามคนแรก ร่วมกับประชาชนชาวมหาสารคามช่วยกันสร้างขึ้นให้เป็นวัดประจำเมือง ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 10 ไร่ 3 งาน 82 ตารางวา มีพระยาครูสุวรรณดี ศีลสังวร เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2472 พระสารคามมุนี (สารภวภูตานนท์) เจ้าอาวาสวัดรูปที่ 18 เป็นเจ้าคณะจังหวัดมหาสารคามได้ขอเปลี่ยนชื่อจาก “วัดเหนือ” เป็น “วัดมหาชัย” และเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2527 วัดมหาชัยได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญและโปรดเกล้าฯ พระราชทานผ้ากฐินให้ส่วนราชการระดับกระทรวง ทบวง กรม อัญเชิญมาทอดถวายเป็นประจำทุกปี เมื่อพุทธศักราช 2519 กรมการศาสนาอนุญาตให้จัดตั้งเป็น […]

Read More

วนอุทยานโกสัมพี

วนอุทยานโกสัมพี ไปเล่นน้ำชี ให้อาหารลิงแสม ชมธรรมชาติ ดูนกสวยงามกันค่ะ วนอุทยานโกสัมพี อยู่ในเขตท้องที่เขตเทศบาลเมืองโกสุมพิสัย อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม บริเวณ เขตวนอุทยานโกสัมพี มีเนื้อที่ ประมาณ 125 ไร่  บรรยากาศภายในอุทยานเต็มไปด้วยต้นไม้ขนาดใหญ่ อายุหลายสิบปี มีป่าไม้ ลำน้ำชี แก่งตาด ลานข่อย และฝูงลิงแสม อุทยานแห่งนี้มีต้นไม้หลายชนิด เช่น ต้นยางขนาดใหญ่ ต้นตะแบก ต้นกระทุ่ม ฯลฯ แผ่กิ่งก้านสาขาปกคลุมติดต่อกัน มีหนองน้ำธรรมชาติทัศนียภาพร่มรื่น วนอุทยานนี้เป็นที่อาศัยของนกต่างๆ และลิงฝูงใหญ่จำนวนหลายร้อยตัว ลิงในป่านี้มีนิสัยไม่ดุร้ายสามารถเข้ารับของกินจากประชาชนที่นำไปให้ได้ วนอุทยานโกสัมพี ปัจจุบันการคมนาคม เข้าถึงเขตวนอุทยานโกสัมพี ค่อนข้างจะสะดวกสบาย จึงเหมาะสำหรับการเดินทางมาพักผ่อนหย่อนใจ ในระยะสั้นเช้ามาเย็น กลับ หรือจะค้างแรม โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาวที่อากาศเย็นสบายก็เหมาะเป็นอย่างยิ่งค่ะ แต่เดิมป่าแห่งนี่ จัดเป็นวัฒนธรรม หรือป่าที่คนอีสานเรียกว่า “ป่าดอนปู่ตา” ระบบนิเวศของป่าแห่งนี้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ คือ บริเวณป่าที่มีน้ำท่วมไม่นาน ที่คนอิสานเรียกว่า “ป่าบุ่งป่าทาม” ประกอบด้วยทรัพยากรป่าไม้และสภาพนิเวศวิทยาค่อนข้าง สมบูรณ์ อยู่ติดบริเวณริมฝั่งแม่น้ำชี มีลิงแสมอาศัยกว่า 500 ตัว […]

Read More

พระพุทธรูปยืนมงคล

พระพุทธรูปยืนมงคล เป็นพระพุทธรูปคู่เมืองมหาสารคาม อยู่ที่ตำบลคันธารราษฎร์ อำเภอกันทรวิชัย เป็นพระพุทธรูปสมัยทวาราวดี สร้างขึ้นด้วยหินทรายแดง เหมือนพระพุทธรูปมิ่งเมือง กล่าวกันว่าพระพุทธรูปสององค์นี้ สร้างขึ้นในเวลาเดียวกันคือ เมื่ออำเภอกันทรวิชัยฝนแล้ง ผู้ชายสร้างพระพุทธรูปมิ่งเมือง ผู้หญิงสร้างพระพุทธรูปยืนมงคล เสร็จพร้อมกันแล้วทำการฉลองอย่างมโหฬาร ปรากฏว่าตั้งแต่ได้สร้างพระพุทธรูปทั้งสององค์แล้วฝนก็ตกต้องตามฤดูกาล ทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์แก่ท้องที่นี้เป็นอันมาก พระพุทธรูปยืนมงคล พระพุทธรูปที่สร้างจากฝีมือหญิงเป็นหนึ่งในศาสนสถาน นอกจากเป็นศูนย์รวมทางจิตใจของชาวมหาสารคามแล้วยังถือเป็นแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมในพระพุทธศาสนาด้วย  พระพุทธรูปยืนมงคล เป็นพระพุทธรูปยืนขนาดใหญ่ สุง 4 เมตร ศิลปะทวารวดี สลักจากหินทรายสีแดง เป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของชาวจังหวัดมหาสารคาม มีพุทธลักษณะเช่นเดียวกับพระพุทธมิ่งเมือง วัดสุวรรณาวาส ตำนานกล่าวว่าพระพุทธรูปทั้ง 2 องค์สร้างขึ้นในเวลาเดียวกัน เมื่อครั้งที่อำแภอกันทรวิชัยเกิดฝนแล้ง ผู้ชายได้สร้างพระพุทธมิ่งเมืองส่วนผู้หญิงสร้างพระพุทธรูปยืนมงคล เมื่อแล้วเสร็จได้ทำการเฉลิมฉลองอย่างมโหฬาร นับแต่นั้นเป็นต้นมาฝนก็ตกต้องตามฤดูกาล เมื่อ พ.ศ. 2460 ได้มีการต่อเติมพระกรและเศียรพระพุทธรูปยืนมงคลแทนของเดิมที่หักหายไป [adsense-2] ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม ททท. สำนักงานขอนแก่น(รับผิดชอบพื้นที่ ขอนแก่น,มหาสารคาม,ร้อยเอ็ด,กาฬสินธุ์) ที่อยู่ 277/20-21 ถ.กลางเมือง (ถนนรอบบึงแก่นนคร ด้านทิศตะวันตก) อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40000 โทรศัพท์. 043-227-714-6 โทรสาร. 0432-27-717, […]

Read More

พระพุทธรูปมิ่งเมือง

พระพุทธรูปมิ่งเมือง หรือพระพุทธรูปสุวรรณมาลี ตั้งอยู่ที่วัดพุทธมงคล ตำบลคันธารราษฎร์ อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของอำเภอกันทรวิชัย เป็นพระพุทธรูปหินทรายแดง ศิลปทวาราวดี สูงประมาณ 4 เมตร เดิมอยู่ในสภาพชำรุด ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2460 ได้ทำการต่อเติมให้สมบูรณ์ และได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุสำคัญของชาติ เมื่อ 8 มีนาคม 2478 ปัจจุบันพระพุทธมงคลได้ประดิษฐานอยู่ที่ลานโพธิของวัด รอบลานโพธิมีใบเสมาหินสมัยทวาราวดีปักล้อมอยู่สองชั้นทั้งแปดทิศ ลักษณะใบเสมาเป็นแผ่นเรียบแบน และแบบแท่งเหลี่ยม และยังมีพระพุทธรูปยืนมงคล พระพุทธรูปทั้งสององค์นี้สร้างขึ้นในเวลาเดียวกันคือ เมื่ออำเภอกันทรวิชัยฝนแล้ง ผู้ชายสร้างพระพุทธรูปมิ่งเมือง ผู้หญิงสร้างพระพุทธรูปยืนมงคล เสร็จพร้อมกันแล้วทำการฉลองอย่างมโหฬาร ปรากฏว่าตั้งแต่ได้สร้างพระพุทธรูปทั้งสองค์แล้วฝนก็ตกต้องตามฤดูกาล ตำนานเรื่องเล่าของพระพุทธมงคล และพระพุทธมิ่งเมือง พระพุทธรูปยืนวัดสุวรรณาวาสอำเภอกันทรวิชัย มีเรื่องเล่าว่าถิ่นที่เป็นอำเภอกันทรวิชัยปัจจุบันนี้เดิมเป็นเมืองชื่อ เมืองคันธาร์ธิราช มีเจ้าเมืองขอมปกครอง ต่อมาได้กลายเป็นเมืองร้างเจ้าเมืองคันธาร์ธิราชองค์สุดท้ายชื่อ ท้าวลินทองหรือสิงห์โตดำ ท้าวสิงโตดำมีนิสัยโหดร้ายและได้แย่งราชสมบัติจากบิดาโดยจับขังและให้อด อาหารจนสิ้นชีวิตและสั่งให้ฆ่าพระมารดาที่พยายามแอบนำอาหารไปให้ ภายหลังท้าวสิงโตดำเมื่อได้ครองเมืองแล้วเกิดมีแต่ความร้อนรุ่มกระวนกระวาย โหรจึงแนะนำให้สร้างพระพุทธรูปเพื่อล้างบาป ท้าวสิงโตดำจึงได้สร้างพระพุทธรูปยืน 2 องค์ องค์หนึ่งอยู่กลางเมืองเพื่อระลึกถึงพระบิดาปัจจุบันอยู่ที่วัดสุวรรณาวาส ใกล้ตลาดอำเภอกันทรวิชัยและอีกองค์หนึ่งอยู่นอกเมืองเพื่อระลึกถึงพระมารดา พระพุทธรูปยืนองค์นี้ปัจจุบันอยู่ใต้ต้นโพธิ์ในวัดพุทธมงคลบ้านสระ และเมื่อพระเจ้าสิงโตสิ้นชีวิตชาวเมืองได้นำไปฝังที่ป่านอกเมืองและสร้างพระ นอนเหนือหลุมฝังศพ ปัจจุบันเรียกว่า ดอนพระนอน กล่าวกันว่าผู้ใดพบเห็นพระนอนองค์นี้จะประสบโชคร้ายเนื่องจากกระแสแห่งความโหดร้ายของท้าวสิงโต ปัจจุบันนี้ไม่มีผู้ใดพบเห็นพระนอนองค์นี้อีกเลย [adsense-2] […]

Read More

อุทยานวังมัจฉาโขงกุดหวาย

อุทยานวังมัจฉาโขงกุดหวาย อีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่เหมาะสำหรับพาครอบครัวมาพักผ่อน พาเด็กๆมาให้อาหารปลา ดูปลาตัวโตๆ หลากหลายสายพันธุ์กันค่ะ อุทยานวังมัจฉาโขงกุดหวาย ตั้งอยู่ที่บ้านโขงกุดหวาย หมุ่ที่ 7 ตำบลเกิ้ง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 10 กิโลเมตร  เป็นลำน้ำที่แยกออกจากลำน้ำชี อยู่ในความดูแลของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืด เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เชิงชนบทโดยได้รับการประกาศเป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดมหาสารคามเมื่อปี 2540 เนื่องจากแหล่งท่องเที่ยวแห่งนี้มีฝูงปลาหลายร้อยชนิดที่มาจากแม่น้ำชีได้ทะลักเข้ามาอยู่ตั้งแต่ตัวเล็ก และส่วนมากจะเป็นปลาเผาะซึ่งเป็นปลาเนื้ออ่อน ต้นตระกูลของปลานี้จะอยู่ในแม่น้ำโขง ชาวบ้านส่วนใหญ่อนุรักษ์ไว้เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้มาดูและศึกษาชนิดพันธุ์ปลาต่างๆ ตัวอุทยานทำเป็นลักษณะกึ่งศาลากลางน้ำมีทางเดินเชื่อมต่อถึงกันตลอด 2 ฝั่ง ก่อนเข้าสู่ศาลากลางน้ำหรือโป๊ะ จะมีร้านขายของขบเคี้ยวสำหรับนักท่องเที่ยวได้พักผ่อน และอาหารปลาสำหรับเรียกปลามา ข้อควรระวัง จำกัดน้ำหนักโป๊ะ ระมัดระวังกันด้วยนะคะ ประวัติความเป็นมา คำว่ากุด หมายถึงทางน้ำทีแม่น้ำเปลี่ยนทางเดินเป็นเวลานาน บริเวณกุดหวายทีว่านี้ เดิมต้นหวายเกิดล้อมรอบ สวนตรงเนินกลางกุดมีหญ้าคา หญ้าแฝกงอกงามมากตรงบริเวณหัวคุ้งน้ำพระครูพิทักษ์โกสุมพิสัย (ญาครูโม่ง) เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ศรีได้ไปตั้งสำนักสงฆ์เพื่อเป็นสวนหญ้า สำหรับเกี่ยวมามุงศาสนสถานในสมัยโบราณ ปัจจุบันบริเวณนี้ชาวบ้านได้ตั้งเป็นวัดชื่อ พิทักษ์สามัคคีโพธิ์ศรี 2 เมื่อพุทธศักราช 2537 ศูนย์บริการเกษตรกรรมเคลื่อนที่และกรมชลประทาน ได้ขุดลอกเป็นคุ้งน้ำตามแนวเดิมทีกว้างที่สุดประมาณ 120 เมตร ลึกจากผิวดิน 10 เมตร โค้งเป็นรูปเกือกมายาวประมาณ 800 เมตร มีความจุน้ำประมาณ 96000 ลูกบาศก์เมตร ด้านทิศตะวันตกมีทางน้ำธรรมชาติ ไหลล้นลง๗ูลำน้ำg […]

Read More

พระธาตุนาดูน

พระธาตุนาดูน ตั้งอยู่ที่ บ้านนาดูน ตำบลนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม เป็นเขตที่มีการขุดพบที่มีการขุดพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ โบราณคดีที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองในอดีต เพราะบริเวณนี้ได้เคยเป็นที่ตั้งของนครจำปาศรีมาก่อน โบราณวัตถุต่างๆ ที่ค้นพบได้นำไปแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดขอนแก่นและที่สำคัญยิ่งก็คือการขุดพบสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุบรรจุในตลับทองคำ เงิน และสำริด ซึ่งสันนิษฐานว่ามีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 13-15 สมัยทวาราวดี รัฐบาลจึงอนุมัติให้ดำเนินการ ก่อสร้างพระธาตุนาดูน ขึ้นในเนื้อที่ 902 ไร่ โดยบริเวณรอบๆ จะมีพิพิธภัณฑ์ทางศาสนา และวัฒนธรรม สวนรุกขชาติ สวนสมุนไพร ซึ่งตกแต่งให้เป็นสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนา บริเวณที่ตั้งขององค์พระธาตุนาดูน แต่เดิมเป็นที่นาของนายทองดี ปะวะภูตา ราษฎรหมู่บ้านนาดูน อันเป็นที่ตั้งเดิมของเมืองโบราณนครจำปาศรี ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2522 มีการขุดพบสถูบบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ขนาดเท่ากับเมล็ดข้าวสารหักสีขาวขุ่น คล้ายแก้วมุกดา ซึ่งบรรจุในผอบซ้อนกันสามชั้น ชั้นในเป็นทองคำ ชั้นกลางเป็นเงิน และชั้นนอกเป็นสำริด รวมถึงพระพุทธรูป พระพิมพ์ลายหลายแบบจำนวนมาก เมื่อกรมศิลปากรมาสำรวจพบว่า บริเวณนี้เดิมเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณ นครจัมปาศรี ซึ่งมีความสำคัญในฐานะศูนย์กลางพุทธศาสนาและวัฒนธรรม ตั้งแต่สมัยทวาราวดี ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13-15 เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2522 ได้ขุดค้นพบสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ […]

Read More

เจดีย์พิพิธภัณฑ์หลวงปู่บุญมี

เจดีย์พิพิธภัณฑ์หลวงปู่บุญมี ตั้งอยู่ที่วัดป่าวังเลิง ต.ท่าขอนยาง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม  เมื่อเข้าไปถึงจะมองเห็นเจดีย์ใหญ่ พิพิธภัณฑ์หลวงปู่มหาบุญมี ตั้งตระหง่านอยู่ท่ามกลางแมกไม้เขียวขจีบนเนื้อที่ 100 ไร่ จะพบบรรยากาศที่เงียบสงบเหมาะแก่การพักผ่อนและปฏิบัติธรรม เจดีย์แห่งนี้เป็นเจดีย์พิพิธภัณฑ์อัฐบริขารและอัฐิธาตุ “หลวงปู่ มหาบุญมี สิริธโร” อดีตผู้ก่อตั้งวัดป่าวังเลิงแห่งนี้ ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์สายกัมมัฏฐานอยู่ในความเลื่อมใสศรัทธาของพุทธศาสนิกชนชาวมหาสารคาม หลวงปู่มหาบุญมีละสังขารไปนานกว่ายี่สิบปีแต่คุณงามความดีของหลวงปู่ ยังคงอยู่ในศรัทธาไม่เสื่อมคลาย สำหรับการจัดสร้างเจดีย์พิพิธภัณฑ์อัฐบริขารของหลวงปู่มหาบุญมี คณะศิษยานุศิษย์ร่วมใจกันจัดสร้าง เพื่อเป็นอนุสรณ์ย้อนรำลึกในคุณงามความดีของหลวงปู่ ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 21 เม.ย. 2536 หลังจากที่หลวงปู่มหาบุญมีมรณภาพ โดยหลวงปู่สุทธิพงศ์ ขนุตตโม (ปัจจุบัน คือ พระสุทธิธรรมโสภณ เจ้าอาวาสวัดป่าวังเลิง และเจ้าคณะจังหวัดมหาสารคาม ธ.) กราบอาราธนาพระราชสังวรญาณ หรือหลวงปู่พุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง เป็นประธานวางศิลาฤกษ์ และจัดหางบประมาณจัดสร้างจนแล้วเสร็จสมบูรณ์ สิ่งที่น่าสนใจ ตัวเจดีย์พิพิธภัณฑ์ ลักษณะของสถาปัตยกรรมเจดีย์แห่งนี้ ออกแบบเป็นรูปทรงแปดเหลี่ยม โดยมีปริศนาธรรมแฝงคติอยู่ในตัวความหมายมาจากมรรค 8 ซึ่งเป็นหนทางแห่งการดับทุกข์หรือทางดำเนินเพื่อให้ถึงความพ้นทุกข์ 8 ประการ จากฐานถึงปลายยอดเจดีย์สูง 19 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 15 […]

Read More

แก่งเลิงจาน

แก่งเลิงจาน ไปพักผ่อนหย่อนใจใต้ต้นไม้ใหญ่ ออกกำลังกายที่สวนสุขภาพ และชมพระอาทิตย์ตกดินกันค่ะ แก่งเลิงจานเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ตั้งอยู่ทิศตะวันตกของตัวเมือง ตั้งอยู่ในเขตตำบลแก่งเลิงจาน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ภายในบริเวณเป็นที่ตั้งของสถานีประมง ทำการเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดให้หลายจังหวัดในภาคอีสาน บริเวณโดยรอบของแก่งเลิงจานมีทิวทัศน์สวยงาม ในวันหยุดประชาชนนิยมไปพักผ่อนกันมาก แก่งเลิงจาน มีสวนสุขภาพแก่งเลิงจานที่กว้าง โล่ง ต้นไม้ใหญ่ร่มรื่น เหมาะแก่การพักผ่อนและการออกกำลังกาย มีการจัดงบประมาณเพื่อพัฒนาอ่างเก็บน้ำแก่งเลิงจานให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว อีกแห่งหนึ่งของจังหวัดมหาสารคาม มีการปรับปรุงรอบ ๆ เขื่อนคันดินให้กว้าง ปลูกต้นไม้ และจัดเป็นสวนสุขภาพตลอดคันความยาวของคันดิน สร้างพิพิธภัณฑ์ ศาลากลางน้ำ และอื่น ๆ เพื่อให้ผู้ที่ผ่านไปมาและนักท่องเที่ยวได้เยี่ยมชมและทัศนศึกษา เนื่องจากจังหวัดมหาสารคามมีสถานที่ท่องเที่ยวค่อนข้างน้อย และเป็นจังหวัดเดียวของภาคอีสานที่ไม่มีภูเขาเลย อ่างเก็บน้ำ แก่งเลิงจานจึงถูกใช้เป็นทั้งสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ และยังเป็นแหล่งน้ำที่ใ้ช้ในการประมง การเพาะปลูก [adsense-2] กิจกรรมที่น่าสนใจ ตกปลา บริเวณที่นิยมตกปลาของแก่งเลิงจานจะอยู่ที่สันกั้นของอ่างเก็บน้ำซึ่งจะมีระยะทางประมาณ 2 กม.เศษๆแต่กลางวันให้หาร่มไปด้วยเพราะไม่มีร่มไม้ ปลาที่ตกได้ส่วนมากจะเป็นปลากระสูบ ปลายี่สก ปลานวลจันทร์ ปลานิล ปลาสวายปลาบู่ ส่วนเหยื่อจะใช้ขนมปังสด,เนยครีม,รำป่น,กล้วยน้ำว้า แล้วแต่ถนัดค่ะ ส่วนเวลาในการกินเหยื่อของปลาไม่แน่นอนนักบางวันก็กินช่วงเช้าตรู่ถึงสิบโมงบางวัน กินเหยื่อช่วงหัวค่ำค่ะ ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม ททท. สำนักงานขอนแก่น(รับผิดชอบพื้นที่ ขอนแก่น,มหาสารคาม,ร้อยเอ็ด,กาฬสินธุ์) ที่อยู่ 277/20-21 ถ.กลางเมือง (ถนนรอบบึงแก่นนคร ด้านทิศตะวันตก) อำเภอเมือง […]

Read More