Tag: วัดจุฬามณี

วัดจุฬามณี

วัดจุฬามณี เดิมชื่อวัดจุฬามณีศรีองครักษ์ราษฎร์บำรุง ตั้งอยู่ที่ตำบลองค์รักษ์ อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2375 ช่วงรัชกาลที่ 3 บรรยากาศบริเวณวัดเงียบสงบ ประดิษฐานพระพุทธรูปทองคำ อยู่ในหอสวดมนต์ ทำด้วยโลหะผสมทองคำ 60% เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยแบบสุโขทัยโบสถ์หลังเก่าเป็นสถาปัตยกรรมสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ด้านหน้าอาคารเป็นหลังคายื่นออกมาโดยมีเสารองรับที่หัวเสาแต่ละต้นทำปูนปั้นรูปกลีบบัวประดับ ชาวบ้านเล่าขานกันว่าสมัยกรุงแตก พ.ศ.2310 ชาวบ้านรวมทั้งพระถูกพม่ากวาดต้อนไป ภายหลังพระภิกษุรูปหนึ่งหนีกลับมาได้จึงมาสร้างวัดนี้ วัดมีรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบอยุธยา โดยเฉพาะการเจาะช่องโค้งแหลม ส่วนเจดีย์อาจสร้างยุคหลัง เมื่อคนไทยได้รับอิทธิพลตะวันตกและจีนแล้ว เป็นเจดีย์ที่สูงที่สุดในเมืองอ่างทอง ศาลาการเปรียญสร้างด้วยไม้ สมัยรัชกาลที่ 5 สร้างเป็นแบบหลังคาลดระดับ ไม่มีการตกฝ้าเพดาน ทำให้เห็นโครงสร้างที่ซับซ้อนแสดงให้เห็นถึงปัญญาของช่างพื้นบ้านในอดีต ในการแก้ไขปัญหาระบบโครงสร้างของศาลาที่มีขนาดใหญ่และกว้าง แต่โครงสร้างใช้ไม้ขนาดเล็กกว่าศาลาทั่วไป ซึ่งนับเป็นความคิดริเริ่มเฉียบแหลมมากในการใช้ไม้ที่ขนาดยาวธรรมดาแต่ทำศาลาที่มีขนาดใหญ่ได้ มีสัดส่วนงดงาม เป็นสถาปัตยกรรมที่ควรศึกษาและอนุรักษ์อย่างยิ่ง [adsense-2] ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม สำนักงานจังหวัดอ่างทอง โทร. (035) 611 235 , (035) 620 130 ประชาสัมพันธ์จังหวัดอ่างทอง โทร. (035) 620 071 , (035) 613 […]

Read More

วัดจุฬามณี

วัดจุฬามณี ตั้งอยู่ที่ต.บางช้าง อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม เดิมเรียกว่า “วัดแม่ย่าทิพย์” สร้างมาแต่รัชสมัยพระเจ้าปราสาททอง แห่งกรุงศรีอยุธยา ตามประวัติเล่าว่าท้าวแก้วผลึก (น้อย) ซึ่งเป็นนายตลาดบางช้างเป็นผู้สร้างวัดจุฬามณีขึ้น บริเวณด้านหลังวัดห่างไป 5 เส้น เป็นนิวาสถานเดิมของท่านทองและท่านสั้น พระชนกและพระชนนีของสมเด็จพระอัมรินทร์ทรามาตย์ (นาก) พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 1 ซึ่งภายหลังถูกไฟไหม้ ครอบครัวของท่านจึงย้ายไปตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณวัดอัมพวันเจติยาราม อุโบสถวัดจุฬามณีเดิมสร้างจากไม้สักและไม้เนื้อแข็ง จนถึง พ.ศ. 2511 พระครูโกวิทสมุทรคุณ (หลวงพ่อเนื่อง โกวิโท) ได้เริ่มสร้างอุโบสถหลังใหม่แทนหลังเก่าที่ทรุดโทรม หลังจากหลวงพ่อเนื่องมรณภาพในปี พ.ศ.2530 พระครูโสภิตวิริยาภรณ์ (อิฏฐ ภททฺจาโร) ศิษย์เอกของหลวงพ่อเนื่อง ได้ดำเนินการสืบต่อจนแล้วเสร็จ เมื่อพูดถึงวัดจุฬามณี คนในพื้นที่แถบแม่กลองจะนึกถึง 3 สิ่งที่อยู่คู่กับวัดนี้ สิ่งแรกก็คือ สังขารที่ไม่เน่าเปื่อยของหลวงพ่อเนื่อง โกวิท อดีตเจ้าอาวาสผู้ทรงอภิญญา สิ่งที่สองก็คือ อุโบสถจตุรมุขหินอ่อนที่มีความงดงามรวมไปถึงจิตรกรรมฝาผนังที่งดงามควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้ และสิ่งสุดท้ายก็คือองค์ท่านพ่อท้าวเวสสุวรรณ หรือท้าวเวสสุวัณ ซึ่งถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้ที่นับถือองค์ท้าวเวสสุวรรณนั้นไม่ควรพลาดที่จะไปขอพร ประวัติหลวงพ่อเนื่องโกวิทโดยสังเขป ชาติภูมิของท่านโดยสังเขปเดิมท่านชื่อ เนื่องเถาสุวรรณ เกิดวันที่๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๒ […]

Read More

วัดจุฬามณี

วัดจุฬามณี ตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่านฝั่งตะวันออก ห่างจากตัวเมืองพิษณุโลกไปทางใต้ตามถนนบรมไตรโลกนารถ ประมาณ 5 กิโลเมตร เป็นโบราณสถานที่มีมาก่อนสมัยสุโขทัย เคยเป็นที่ตั้งของเมืองสองแควเก่า ตามประวัติศาสตร์กล่าวว่า สมเด็จพระบรมไตรโลกนารถทรงสร้างพระวิหารและเสด็จออกผนวชที่วัดนี้ เมื่อ พ.ศ. 2007 เป็นเวลา 8 เดือน 15 วัน โดยมีข้าราชบริพาร ออกบวชตามเสด็จถึง 2,348 รูป มีโบราณสถานสำคัญคือ ปรางค์แบบขอมขนาดย่อม ฐานกว้าง 11 เมตร ยาว 18 เมตร ก่อด้วยศิลาแลง ด้านหน้าก่อเป็นแบบตรีมุข ตั้งบนฐานสูงซ้อนกันสามชั้น แต่ละชั้นย่อมุมไม้ยี่สิบ มีปูนปั้นประดับลวดลายตามขั้น ตอนล่างแถบหน้ากระดานและบัวหน้ากระดานเป็นลายหงส์ เหมือนกับองค์ปรางค์ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี สมัยที่ยังสมบูรณ์อยู่มีกำแพงแก้วล้อมรอบ ใกล้เคียงกันมีมณฑปพระพุทธบาทจำลองซึ่งสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้โปรดให้สร้างขึ้น แผ่นจารึกหน้ามณฑปมีใจความสรุปได้ว่า เมื่อ พ.ศ. 2221 สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงมีพระบรมราชโองการให้ใช้ผ้าทาบรอยพระพุทธบาท สลักลงบนแผ่นหิน พระราชทานไว้เป็นที่กราบไหว้ของฝูงชน “วัดจุฬามณี” เป็นวัดที่มีความเก่าแก่ที่สุดของจังหวัดพิษณุโลก เชื่อกันว่าเป็นตำแหน่งที่ตั้งของเมืองพิษณุโลกเดิม ตามประวัติศาสตร์ของวัดจุฬามณีแห่งนี้ กล่าวว่าสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถมหาราชทรงสร้างขึ้นและได้เสด็จออกผนวช ณ วัดแห่งนี้ เป็นเวลาถึง […]

Read More