Tag: วัดมหาธาตุ

วัดมหาธาตุ

วัดมหาธาตุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นหนึ่งในวัดในเขตอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา วัดมหาธาตุเป็นวัดที่มีความสำคัญยิ่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา เพราะเป็นวัดที่ประดิษฐานพระบรมธาตุใจกลางพระนคร และโดยเฉพาะอย่างยิ่งยังเป็นที่พำนักของสมเด็จพระสังฆราชฝ่ายคามวาสีอีกด้วย วัดแห่งนี้จึงได้รับการก่อสร้างและดูแลตลอดเวลาจวบจนถูกทำลายลงหลังเสียกรุงครั้งที่ 2 ประวัติวัดมหาธาตุ วัดมหาธาตุอยู่ทางทิศตะวันออกของพระราชวังหลวง วัดนี้ในหนังสือพระราชพงศาวดารฉบับราชหัตถเลขา กล่าวว่า เมื่อ พ.ศ. 1927 หลังจากเสร็จศึกทางเหนือ สมเด็จพระราเมศวรเสด็จกลับสู่พระนครแล้ว วันหนึ่งเสด็จออกทรงศีลยังพระที่นั่งมังคลาภิเษก เมื่อเพลาสิบทุ่มทอดพระเนตรไปทางทิศตะวันออกเห็นพระบรมสาริกธาตุเสด็จปาฏิหาริย์ จึงทรงเรียกปลัดวังให้เอาพระราชยานทรงเสด็จไป แล้วโปรดให้เอากรุยปักขึ้นไว้ตรงที่ๆ พระบรมธาตุเสด็จปาฏิหาริย์ สถาปนาพระมหาธาตุขึ้นที่นั่นสูง 19 วา ยอดสูง 3 วา ให้ชื่อวัดมหาธาตุ เรื่องสร้างวัดมหาธาตุนี้ ปรากฏในพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐว่า สร้างในแผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 1917 ไม่ใช่แผ่นดินสมเด็จพระราเมศวร พระมหาธาตุสูง 1 เส้น 3 วา หรือ 23 วา ปรางค์ของวัดนี้สร้างด้วยศิลาแลง ปรากฏว่าในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ได้พังลงมาถึงชั้นครุฑ คือ ชั้นที่มีรูปครุฑปูนปั้นประดับอยู่ แต่ยังมิได้มีการซ่อม ต่อมาในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง เมื่อ พ.ศ. 2176 […]

Read More

วัดมหาธาตุ

วัดมหาธาตุ ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 ตำบลแพรกศรีราชา อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท เดิมชื่อว่าวัดพระธาตุ หรือวัดหัวเมือง เป็นวัดเก่าแก่โบราณคู่เมืองแพรกหรือเมืองสรรค์ โดยจากรูปแบบศิลปะทำให้มีการสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นก่อนสมัยอยุธยา แต่ได้รับการบูรณะในสมัยอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 2444 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประพาสและทรงมีลายพระหัตถ์บันทึกไว้ สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด พระปรางค์กลีบมะเฟือง (พูมะเฟือง) สร้างด้วยอิฐถือปูน 3 องค์ พระปรางค์มีลักษณะคล้ายกลีบมะเฟือง ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยม (ฐานเขียง) บนองค์ปรางค์มีซุ้มจรนำทั้งสี่ทิศ ประดิษฐานพระพุทธรูปปางลีลา ทำด้วยปูนปั้น มีลักษณะแบบบางสะโอดสะอง และที่เชิงกลีบมะเฟืองขององค์ปรางค์มีเทพพนมประดับ เป็นศิลปะสมัยลพบุรี กรมศิลปากรได้บูรณะปฏิสังขรณ์เมื่อปี พ.ศ. 2526 นอกจากนั้นยังมีพระพุทธรูปซึ่งแบ่งเป็น 2 แบบ คือ ศิลปะแบบลพบุรีและแบบอยุธยาตอนต้น ภายในวัดยังมีพิพิธภัณฑ์ซึ่งเก็บรักษาสิ่งของโบราณต่าง ๆ พระอุโบสถโบราณรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า และพระเจดีย์ที่เหลือเพียงส่วนฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมสูงซ้อนกันหลายชั้น แต่ส่วนใหญ่พังทลายลงไปมากจนไม่เห็นถึงสภาพที่แท้จริง และยังมีพระวิหารซึ่งเป็นอาคารขนาดเก้าห้อง ที่ตอนนี้เหลือเพียงเสาแปดเหลี่ยมยอดบัวจงกล และผนังบางส่วนเท่านั้น หมู่เจดีย์ข้างพระวิหาร เป็นศิลปะอู่ทองงดงาม เช่น เจดีย์แปดเหลี่ยม มีฐานซ้อนเป็นชั้นๆ มีซุ้มประดิษฐานพระยืนแปดทิศในซุ้มเรือนแก้วโค้ง วิหารวัดมหาธาตุ สภาพทั่วไปชำรุดไม่มีหลังคาคงปรากฏด้านหน้าเป็นรูปแปดเหลี่ยมแบบเสาวิหารในสมัยอยุธยา มีบัวหัวเสาเป็นบัวกมล […]

Read More

วัดมหาธาตุ

วัดมหาธาตุ ตั้งอยู่ภายในเขตเทศบาลเมือง อ.เมือง จ.ยโสธร เป็นวัดคู่เมืองยโสธรมาตั้งแต่สร้างเมือง (บ้านท่าสิงห์เดิม) มีสิ่งที่น่าสนใจคือ พระธาตุยโสธร(พระธาตุอานนท์) เป็นพระธาตุเก่าแก่ และ เป็นพระธาตุที่สำคัญองค์หนึ่งในประเทศไทยทางภาคอีสาน ตั้งอยู่หน้าพระอุโบสถ พระธาตุพระอานนท์ มีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย และหอไตร นอกจากนี้ยังมีพระพุทธบุษยรัตน์ หรือพระแก้วหยดน้ำค้าง พระคู่บ้านคู่เมืองยโสธรที่ผู้คนหยั่งไหลมากราบไหว้ขอพรกันตลอดทั้งปีอีกด้วยค่ะ สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด พระพุทธบุษยรัตน์ หรือพระแก้วหยดน้ำค้าง เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ศิลปะสมัยเชียงแสน เป็นพระบูชาคู่บ้านคู่เมืองของยโสธรที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ พระราชทานให้ พระสุนทรราชวงศา เจ้าเมืองยโสธรคนแรก ซึ่งถูกเก็บรักษาไว้ที่ หอไตร ตั้งอยู่กลางสระ พระธาตุยโสธร หรือพระธาตุอานนท์ ตั้งอยู่หน้าอุโบสถ เป็นพระธาตุรุ่นเก่าที่สำคัญองค์หนึ่งในภาคอีสาน เป็นเจดีย์เป็นทรงสี่เหลี่ยมหรือทรงพรหมสี่หน้า สูง 25 เมตร 30 เซนติเมตร  ส่วนฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ยาวด้านละ 81 เมตร ก่ออิฐถือปูนเอวฐานคอดเป็นรูปบัวคว่ำบัวหงาย เหนือขึ้นไปเป็นเรือนธาตุ มีซุ้ม 4 ทิศ ประดิษฐานพระพุทธรูปประทับยืน ยอดธาตุมียอดปลีเล็กแซมทั้ง 4 ด้าน ยอดกลางทรงสี่เหลี่ยมสอบ […]

Read More

วัดมหาธาตุ

วัดมหาธาตุ ตั้งอยู่ริมถนนนิกรบำรุง ในเขตเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ ติดกับตลาดสดเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ ภายในวัดมีพระเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์แบบสุโขทัย สูง ประมาณ 4 วาเศษ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่า วัดนี้คงสร้างมา ตั้งแต่สมัยสุโขทัย เมื่อปี พ.ศ. 2510 ทางกรมศิลปกรได้บูรณะพระเจดีย์องค์นี้ ได้ขุดพบลานทองจารึกใน พระเจดีย์องค์ใหญ่ หลังพระอุโบสถ และได้นำ โบราณวัตถุที่บรรจุเจดีย์นั้นขึ้นมาด้วย มีสิ่งหนึ่งที่ได้มาพร้อมกับพระเครื่อง พระบูชา เป็นรูปช้าง รูปหมู ในท้องหมูมีลานทองจาลึกอยู่ 3 แผ่น มีข้อความตามจารึกว่า “พระเจ้าเพชรบุรเป็นลูกพระญาอนรงปรดิสถาแล” เขียน เป็นคำปัจจุบันได้ “พระ เจ้าเพชรบุรเป็นลูก พระยาอันรงประดิษฐานไว้”จึงทำให้เราทราบว่า”เพชรบูรณ์”แต่เดิมนั้นเป็น “เพชรบุร” ตั้งอยู่ถนนนิกรบำรุง ในเขตเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองจังหวัดเพชรบูรณ์ “วัดมหาธาตุ” ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานจากกรมศิลปากรเมื่อปี 2478 หลังจากนั้นประมาณ 30 ปีกรมศิลปากรจึงได้เข้าทำการบูรณะปฏิสังขรณ์จึงได้พบโบราณวัตถุต่าง ๆ รวมทั้งแผ่นจารึกที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ทำให้สามารถสันนิษฐานได้ว่าวัดมหาธาตุนั้นถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1926 โดยพระเจ้าเพชรบูรณ์ เมื่อทีมงานท่องเที่ยวดอทคอมของเราเดินทางมาถึงวัด ภาพที่ปรากฏต่อสายตาคือความแตกต่างที่กลมกลืนกันระหว่างโบราณสถานเก่าแก่ และอาคารสร้างใหม่เด่นเป็นสง่าเคียงคู่ไปด้วยกัน […]

Read More