Tag: วัดอัมพวัน

วัดอัมพวัน

วัดอัมพวัน เดิมชื่อ วัดบางม่วง ตั้งอยู่ที่ต.บางด้วน อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี เป็นวัดสร้างในสมัยอยุธยาตอนปลายประมาณรัชกาลพระเจ้าปราสาททอง ประมาณ พ.ศ.2175 ตั้งอยู่ริมคลองแม่น้ำอ้อม การตั้งชื่อวัดแห่งนี้สันนิษฐานว่า ตั้งตามชื่อสภาพการทำสวน “มะม่วง” ของชาวบ้านที่อาศัยอยู่พื้นที่โดยรอบวัด ทั้งนี้คำว่า อัมพวัน หรือ อัมพวาน หมายถึง ป่า หรือสวนมะม่วง โดยในสมัยพุทธกาล สวนอัมพวันตั้งอยู่ระหว่างกำแพงกรุงราชคฤห์กับภูเขาคิชฌกูฏ แต่เดิมเป็นของหมอชีวกโกมารภัจจ์ ครั้งหนึ่งหมอชีวกโกมารภัจจ์เคยถวายการรักษาอาการประชวรของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งทรงอาพาธให้หายเห็นปกติ แล้วถวายผ้าเนื้อดีจากแคว้นสีพีคู่หนึ่ง พระพุทธองค์ทรงอนุโมทนา ทันทีที่ทรงอนุโมทนาจบลงหมอชีวกโกมารภัจจ์ก็บรรลุโสดาปัตติผล ปัจจุบันในประเทศไทยมีวัดที่ใช้ชื่อว่า “วัดอัมพวัน” มีอยู่เกือบ 30 แห่ง สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด หอไตรกลางน้ำ เป็นสถาปัตยกรรมไทยที่สมบูรณ์ที่สุด เป็นเรือนไม้ตั้งอยู่ในสระน้ำขนาดเล็ก ตัวหอเป็น 2 ชั้น ชั้นล่างโล่งไม่มีพื้นและฝา ชั้นบนเป็นตัวหอขนาด 2 ห้อง ช่วงล่างเป็นลูกฟักกระดานดุน ตอนบนเป็นซี่ลูกกรงไม้กลึงเสากรอบประตูเป็นเสาหัวเม็ด ประตูหูข้าง เครื่องลำยองเป็นไม้จำหลัก หลังคาซ้อน 2 ชั้น มีปีกนก 1 ชั้น มุงกระเบื้องดินเผาใต้เชิงชาย และหน้าบันประดับไม้สลักลายรดน้ำ ฝาผนังด้านนอกทาสีลูกฟักด้วยสีแดง […]

Read More

วัดอัมพวัน

วัดอัมพวัน ตั้งอยู่เลขที่8 บ้านบางอ้อ ตำบลบางอ้อ อ.บ้านนา จ.นครนายก “วัดอัมพวัน” แปลว่าสวนมะม่วง เนื่องจากใน อดีตบริเวณนี้มีต้นมะม่วงป่าขึ้นอยู่มาก วัดอัมพวันสร้างขึ้นสมัยอยุธยาตอนปลาย เคยเป็นวัดร้างสมัยเสียกรุงครั้งที่ 2 ต่อมาสมัย ร.5 ร่วมกันบูรณะวัดนี้ขึ้น เป็นวัดเก่าแก่ริมแม่น้ำนครนายก แวดล้อมด้วยท้องทุ่งมีโบสถ์สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น งดงามน่าชม และมีกุฎิเรือนไทยที่เคยเป็นแพมาก่อน นอกจากนี้มีทิวทัศน์ระหว่างทางไปวัดยังสวยงามเหมาะสำหรับการขี่จักรยานเที่ยว สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด พระอุโบสถวัดอัมพวัน สร้างเมื่อ พ.ศ.2458 เป็นพระอุโบสถขนาดใหญ่ก่ออิฐถือปูนหลังคาหรือเครื่องมุงหลังคาเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ขนาด ความยาว 20.4 เมตร กว้าง 9 เมตร สูง 12 เมตร อยู่ภายในกำแพงแก้ว ยาว 20.4 เมตร กว้าง 11.4 เมตร สูง 50 เมตร ลักษณะโบสถ์มีมุขด้านหน้าหรือด้านตะวันออก และด้านหลังหรือด้านตะวันตก ตรงส่วนมุขทั้งสองด้านมีเลาขนาดใหญ่ รองรับมุขละ 4 ต้น ขนาดเสา 40X40 เซนติเมตร ลักษณะเป็นเสาลบมุม ซึ่งลักษณะเสาแบบที่นิยมใช้มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 […]

Read More