Tag: อุบลราชธานี

อุทยานแห่งชาติผาแต้ม

อุทยานแห่งชาติผาแต้ม ตั้งอยู่ในเขตอำเภอโขงเจียม อำเภอศรีเมืองใหม่ และอำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี มีพื้นที่ราว 340 ตารางกิโลเมตร (212,500 ไร่) เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยูทางตะวันออกสุดของประเทศไทย สามารถรับชมพระอาทิตย์ขึ้นได้เป็นจุดแรกของประเทศไทย ปัจจุบันอยู่ในพื้นที่ของจังหวัดอุบลราชธานี จุดที่น่าสนใจคือภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ผาแต้ม ผาหมอน ผาลาย ประติมากรรมธรรมชาติเสาเฉลียง และจุดชมพระอาทิตย์แสงแรกแห่งสยาม สำหรับภายใน อุทยานแห่งชาติผาแต้ม จะแบ่งพื้นที่ท่องเที่ยว คือ ผาแต้ม เป็นจุดท่องเที่ยวหลักของอุทยานฯ ซึ่งได้รับความนิยม สถานที่ท่องเที่ยวในย่านผาแต้ม รวมเอาพื้นที่บริเวณที่ทำการอุทยานฯ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว บ้านพัก และลานกางเต็นท์และพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งบริเวณ ผาแต้ม บริเวณด้านล่างของหน้าผามีภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ปรากฏเรียงรายอยู่ มีอายุไม่ต่ำกว่าสามพันถึงสี่พันปี เป็นภาพเขียนสีที่ยาวที่สุดในประเทศไทย และทางอุทยานฯ ได้ทำทางเดินจากหน้าผาด้านบนลงไปชมภาพเขียนสีเหล่านี้ แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ สัตว์ เครื่องมือเครื่องใช้ สัญลักษณ์ และคน แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้… 1. กลุ่มภาพเขียนสีผาขาม มีทางเดินลงมาจากลานผาแต้มประมาณ 30 เมตร จากนั้นเป็นทางราบริมหน้าผาเดินไปอีก 400 […]

Read More

แหล่งผลิตฆ้องบ้านทรายมูล

แหล่งผลิตฆ้องบ้านทรายมูล ไปดูหมู่บ้านทำฆ้องที่มีชื่อเสียงโด่งดังระดับประเทศ และเรียนรู้การทำฆ้องกันค่ะ แหล่งผลิตฆ้องบ้านทรายมูล ตั้งอยู่ที่ตำบลทรายมูล อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี สมัยก่อนชาวบ้านบริเวณลุ่มน้ำมูล เมื่อว่างเว้นจากการทำนาหรือฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ มักจะหันมาประกอบอาชีพค้าขายเพื่อเป็นรายได้เสริมกันโดยนิยมเร่ขายฆ้อง ใบลาน หนังสือสวดมนต์ ระฆัง กลอง ผ้าพระเวส และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรมทางศาสนาไปขายยังสถานที่ต่างๆ ในสมัยนั้นจะเข้าไปรับฆ้องจากร้านเครื่องสังฆภัณฑ์อยู่ที่เมืองวารินชำราบและฝั่งเมืองอุบลราชธานี ต่อมาได้เกิดปัญหาการโก่งราคาสินค้าขึ้น ทำให้ชาวบ้านที่รับซื้อฆ้องมาขายนั้นเลิกรับซื้อมาขาย ต่อจากนั้นก็ได้จ้างช่างทำฆ้องจากที่อื่นมาทำงานที่หมู่บ้าน คิดค่าจ้างวันละ 200 บาท ขณะเดียวกันชาวบ้านก็ช่วยกันจำขั้นตอน วิธีการทำฆ้อง และได้ทดลองทำเองดูบ้างจนในปี 2524 ชาวบ้านสามารถพัฒนาฝีมือการทำฆ้องจนประสบความสำเร็จ จนนำออกมาขายในหมู่บ้านและหมู่บ้านใกล้เคียง ซึ่งตอนนั้นนิยมนำแผ่นทองเหลืองมาตี แต่ปัจจุบันชาวบ้านได้นำแผ่นเหล็กมาทำฆ้องด้วย เพื่อตอบรับตลาดที่ชอบของดี สวยงามแต่ราคาถูก แต่เหล็กจะมีอายุการใช้งานน้อยกว่าทองเหลืองค่ะ ฆ้อง ทำจากวัสดุหลายชนิด เช่น จาก ทองเหลือ เหล็ก แสตนเลส เป็นต้น มีความแตกต่างกันตรงเสียงดังของฆ้องจะดังไพเราะแตกต่างกัน แต่เสียงที่นุ่มกังวาน จะเป็นฆ้องที่ทำจากทองเหลือ และราคาก็จะแพงกว่าทำจากเหล็ก แสตนเลส และราคาก็จะขึ้นอยู่กับขนาดของฆ้องที่ทำจากวัสดุแต่ละชนิด ขนาดฆ้องที่ทำขาย มีตั้งแต่เส้นผ่าศูนย์กลาง 6 นิ้ว ถึง 7 เมตร โดยขนาดยอดนิยมคือ […]

Read More

เสาเฉลียง

เสาเฉลียง ไปเที่ยวชมปฏิมากรรมที่ธรรมชาติสรรสร้างได้อย่างลงตัว สวยงามและมหัศจจรย์กันค่ะ เสาเฉลียงตั้งอยู่ที่ ตำบลห้วยไผ่ อำเภอโขงเจียม  เป็นลักษณะที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ สืบเนื่องมาจากกระบวนการกัดเซาะและกัดกร่อนด้วยอิทธิพลของน้ำและลม โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการสึกกร่อนโดยแม่น้ำหรือธารน้ำไหลกัดเซาะเป็นเวลาชั่วนาตาปี เกิดขึ้นในชั้นหินที่วางตัวอยู่ในแนวราบหรือเกือบราบและในแต่ละชั้นมีส่วนประกอบของแร่ที่แตกต่างกัน จึงทำให้มีความแข็งและทนทานที่ไม่เหมือนกัน ประติมากรรมชิ้นเอกร่วมกันของหินทราย 2 ยุค คือ หินทรายยุค ครีเตเซียส ซึ่งมีอายุประมาณ 130 ล้านปี เป็นส่วนดอกเห็ดอยู่ท่อนบน และหินทราย ยุคไดโนเสาร์ มีอายุประมาณ 180 ล้านปี เป็นส่วนต้น เสาหินท่อนล่างโดยผ่านการถูกชะล้างพังทลายอันเกิดจากสภาพอากาศ ฝนและลมพายุเป็นเวลาหลายล้านปี ซึ่งคุณสมบัติทางธรณีวิทยาของหินทรายนั้นง่ายต่อการสึกกร่อนกว่าหินชนิดอื่นที่จัดอยู่ในกลุ่มหินชึ้นเดียวกัน และเมื่อผ่านการสึกกร่อนไปได้ระยะหนึ่งก็มีสิ่งที่เรียกว่า กระบวนการต้านทานทางธรรมชาติ และแรงกดทับของเม็ดฝนทำให้หินทรายแข็งยิ่งขึ้น เป็นผลให้สามารถรักษาสภาพให้คงรูปได้ดังที่เห็นอยู่ในรูปข้างๆนี้ “เสาเฉลียง” แผลงมาจาก “สะเลียง” แปลว่า “เสาหิน ไฮไลท์สำคัญนั้นมี 3 เสาเฉลียงด้วยกัน คือ “เสาเฉลียงเล็ก” ตั้งอยู่บริเวณที่ทำการอุทยานฯ มีความสูงประมาณ 5 เมตร เป็นกลุ่มหินที่มี 3 เสา บนยอดมีหินแบนวางทับดูคล้ายดอกเห็ด “เสาเฉลียงคู่” ตั้งอยู่ในป่าดงนาทาม มีลักษณะเป็นเสาหิน 2 เสา ฐานกว้างด้านบนคอดมีแผ่นหินวางอยู่ข้างบนอย่างหวาดเสียว […]

Read More

ศูนย์ศิลปาชีพบ้านยางน้อย

ศูนย์ศิลปาชีพบ้านยางน้อย ตั้งอยู่ที่บ้านยางน้อย ตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี เป็นแหล่งรวมภูมิปัญญาพื้นบ้านอีสาน และคลังอาหารตามแนวทฤษฎีใหม่ บนเนื้อที่กว่า 2,000 ไร่ อันร่มรื่น มีกลุ่มอาชีพ จำนวน 17 กลุ่ม มีชุดปฏิบัติการโครงการ(ทหาร)เป็นผู้รับผิดชอบภายในบริเวณโครงการมีทัศนียภาพที่สวยงาม ด้านหน้าโครงการเป็นแหล่งข้อมูล และมีศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ พร้อมอาหารและเครื่องดื่ม อยู่ห่างจากตัวเมืองอุบลฯ เพียง 31 กม. และตามเส้นทางสายนี้นักท่องเที่ยวสามารถแวะเยือนจุดท่องเที่ยวระรายทางได้หลายแห่ง อาทิเช่น เยือนบ้านปะอาว แหล่งผลิตเครื่องทองเหลืองแบบดั้งเดิม และผ้าทอที่มีชื่อเสียง เยือนบ้านชีทวน กราบพระธาตุสวนตาล และชื่นชมธรรมมาสน์สิงห์เทินปราสาท ศิลปะไทย – เวียดนามแห่งเดียวของประเทศ ตลอดจนแวะชิมมะพร้าวเผาบ้านท่าวารีที่เลื่องชื่อ ดังนั้นเส้นทางสายนี้จึงเป็นเส้นทางท่องเที่ยวระยะใกล้ที่คุ้มค่าและน่าสนใจยิ่ง สำหรับชาวอุบลราชธานีและผู้มาเยี่ยมเยือนอุบลราชธานี สิ่งที่น่าสนใจภายในศูนย์ศิลปาชีพบ้านยางน้อย ฟาร์มตัวอย่างตามแนวทฤษฎีใหม่ เป็นพื้นที่ทดลองการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ หลายประเภท เช่น พืชสมุนไพร ผักปลอดสารพิษ การปลูกพืชหม่อนเลี้ยงไหม การผลิตไหมคุณภาพระดับ Royal Thai Silk ได้รับตรานกยูงทอง และการผสมข้าวกล้องปรุงเสริมภูมิต้านทาน เบญจกระยาทิพย์ เป็นต้น ศูนย์แสดงนิทรรศการผ้าพื้นเมืองอีสานและศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์จากชุมชน ภายใต้อาคารที่งดงามด้วยเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่นี้เป็นที่จัดแสดงนิทรรศการผ้าทอพื้นเมืองอีสานหลากหลายประเภท รวมทั้งประวัติความเป็นมา […]

Read More

วัดสระประสานสุข

วัดสระประสานสุข หรือวัดบ้านนาเมือง ตั้งอยู่ที่บ้านนาเมือง อ.เมืองอุบลราชธานี จ.อุบลราชธานี เป็นวัดที่มีพระอุโบสถแปลกตา สร้างเป็นรูปเรือสุพรรณหงส์ประดับตกแต่งด้วยเซรามิค โดยมีอาจารย์บุญมีเป็นเจ้าอาวาส (ปัจจุบันท่านมรณภาพแล้ว) เป็นที่เคารพนับถือของชาวอุบลราชธานีและจังหวัดใกล้เคียง นอกจากนี้ยังมีสิ่งที่น่าสนใจได้แก่หอระฆังประดับเซรามิค พิพิธภัณฑ์หลวงปู่บุญมี และวิหารกลางน้ำเรือธรรมนาคราช หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่าวิหารกลางน้ำที่สร้างไว้กลางน้ำบนพญานาคราชรูปร่างคล้ายเรือ ส่วนหัวเป็นพญานาคราช 5 เศียร ทางเดินเข้าวิหารกลางน้ำเป็นทางเดินด้านหางนาคราช ด้านหลังของ วิหารกลางน้ำเรือธรรมนาคราช ส่วนหางของนาคราชมีทางเดินขึ้นลงแยกจากกัน สามารถเดินเข้า ไปชมภายในวิหารซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูปอยู่ภายใน เป็นที่นิยมของผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมวัดที่จะได้ถ่ายรูปกับวิหารกลางน้ำแห่งนี้ ประวัติโดยย่อหลวงปู่บุญมี ก่อนที่หลวงปู่บุญมีจะเกิดโยมมารดาของหลวงปู่ฝันว่าหลวงปู่สีทา ชยเสโน นำพร้าขึ้นสนิมมาให้ โยมมารดาของหลวงปู่ถามว่า จะเอามาให้ทำไมพร้าขึ้นสนิมใช้การอะไรก็ไม่ได้ หลวงปู่สีทาตอบว่า เอาไปลับเสียก่อนแล้วจะใช้การได้ เมื่อถึงกำหนดคลอด เวลาผ่านไป 7 วัน 7 คืน ก็ยังไม่คลอด ความทราบถึงพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ เจ้าเมืองอุบลราชธานี ซึ่งเป็นศิษย์ของหลวงปู่สีทา ได้เสด็จมาดูพร้อมหลวงปู่สีทา เมื่อเวลาเที่ยงตรง (สมัยนั้นใช้ปืนใหญ่เป็นเครื่องบอกเวลา) สิ้นเสียงปีนใหญ่หลวงปู่บุญมีก็คลอดออกมาพอดี และเสด็จในกรมมีรับสั่งว่า “เด็กชายผู้นี้ชะรอยจะเป็นผู้มีบารมีมาเกิดจะดีจะชั่วเพียงไรไม่รู้ได้ ให้ชื่อว่าบุญมีนะ” และรับสั่งให้โยมบิดาของหลวงปู่นำไปลอดท้องช้าง 3 รอบกลับไปกลับมา จึงได้ชื่อว่าบุญมนับแต่นั้นมา หลวงปู่ในวัยเด็กมีสุขภาพไม่แข็งแรงเลี้ยงยาก แม้โยมมารดาจะเลี้ยงดูเป็นอย่างดีแต่ก็ยังเป็นห่วงอยู่ตลอดเวลาและไม่อยากให้ไปทำมาหากินจึงบอกหลวงปู่ว่า […]

Read More

วัดศรีนวลแสงสว่างอารมณ์

วัดศรีนวลแสงสว่างอารมณ์ ไปดูธรรมาสน์สิงห์เทินบุษบก แห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยกันค่ะ วัดศรีนวลแสงสว่างอารมณ์ เดิมชื่อ วัดศรีนวล ตั้งอยู่ที่บ้านชีทวน ตำบลชีทวน อำเภอเขื่องใน เป็นวัดเก่าแก่ เป็นแหล่งโบราณคดีที่สำคัญ มีศิลปกรรมที่น่าสนใจ คือ ธรรมาสน์สิงห์เทินบุษบก วัดศรีนวล สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อประมาณเกือบร้อยปีมาแล้ว สร้างโดยครูญาตีนก้อม (ท่านอุปัชฌาย์วงค์ พรหมฺสโร) แต่ไม่ปรากฏปีที่สร้าง ชื่อวัดสีนวล ตั้งมาจากนางสีนวล ที่ถวายที่ดินให้ขยายวัด ภายหลังได้เพิ่มชื่อว่า แสงสว่างอารมณ์ ต่อท้าย และใช้ชื่อว่า วัดศรีนวลแสงสว่างอารมณ์ มาจนถึงปัจจุบัน สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด ธรรมาสน์สิงห์เทินบุษบก เป็นธรรมาสน์แห่งเดียวในประเทศไทย ที่มีรูปแบบแตกต่างจากธรรมาสน์โดยทั่วไป กล่าวคือ มีลักษณะเป็นรูปสิงห์ ยืนเทินปราสาท(ตัวธรรมาสน์) สร้างด้วยอิฐถือปูน ยอดปราสาทเป็นเครื่องไม้ทำเป็นชั้นซ้อนลดหลั่น ประดับตกแต่งลายปูนปั้น และลายเขียนสีแบบศิลปะญวนทั้งหลัง ตัวธรรมาสน์ ตั้งอยู่ในหอแจก (ศาลาการเปรียญ) ทรงไทยที่มีจิตรกรรมฝ้าเพดาน ศิลปะสกุลช่างเดียวกันธรรมาสน์แห่งนี้ สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นในปี 2468-2470 โดยช่างฝีมือไทยชีทวนกับช่างญวน ตามคติความเชื่อเรื่อง สิงหาสน์บัลลังก์ ลักษณะตัวสิงห์ ปราสาท หลังคาทรงมณฑป เป็นฝีมือผสมผสานของช่างญวนที่รับอิทธิพลฝรั่งเศส และที่เพดานหอแจก (ศาลาการเปรียญ) […]

Read More

วัดมหาวนาราม

วัดมหาวนาราม ไปเที่ยวชมวัดเก่า ไหว้พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดอุบลราชธานีกันค่ะ วัดมหาวนาราม ตั้งอยู่บนถนนสรรพสิทธิ์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี เดิมชื่อว่า วัดป่าหลวงมณีโชติศรีสวัสดิ์ นิยมเรียกว่า วัดป่าใหญ่ เป็นพระอารามหลวง เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดอุบลราชธานี พระปทุมวรราชสุริยวงศ์(ท้าวคำผง) เจ้าเมืองอุบลราชธานีคนแรก ได้ได้ก่อสร้างวัดที่ริมฝั่งแม่น้ำมูล ตั้งชื่อว่า วัดหลวง เพื่อให้เป็นสถานที่บำเพ็ญกุศลแก่ประชาชนทั่วไป เมื่อพระมหาเถระได้เข้ามาอยู่จำพรรษาแล้วท่านเห็นว่า วัดนี้เป็นวัดบ้าน หรือ ฝ่ายคามวาสีไม่เหมาะแก่การปฏิบัติสมณธรรมวิปัสสนากรรมฐาน จึงได้หาสถานที่ใหม่ คือ ป่าดงอู่ผึ้ง ห่างจากวัดหลวงไปทางทิศเหนือ 100 เส้น มีหนองน้ำ ชื่อว่า หนองสะพัง เป็นสถานที่อันสงบวิเวก เหมาะจึงได้ก่อตั้งขึ้นเป็นสำนักสงฆ์ (พ.ศ. 2322) ชื่อว่า วัดป่าหลวงมณีโชติศรีสวัสดิ์ เพื่อให้คู่กับวัดหลวงซึ่งก่อตั้งขึ้นก่อนแล้วนั้น แต่ก็ยังไม่ทันได้ตั้งเป็นวัดให้เรียบร้อยสมบูรณ์ เจ้าเมืองคือ พระปทุมวรราชสุริยวงศ์ (ท้าวคำผง) ได้ถึงแก่อนิจกรรมเสียก่อนเมื่อ พ.ศ. 2338) พ.ศ. 2348 เจ้าเมืองคนที่ 2 คือ พระพรหมวรราชสุริยวงศ์ (ท้าวทิดพรหม) ได้มาก่อสร้างวิหารอารามในวัดป่าหลวงมณีโชติศรีสวัสดิ์ต่อจนสำเร็จใน […]

Read More

วัดภูหล่น

วัดภูหล่น ตั้งอยู่ที่ตำบลสงยาง อำเภอศรีเมืองใหม่ จ.อุบลราชธานี เป็นสถานที่ที่หลวงปู่มั่นเริ่มฝึกปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฎฐานกับหลวงปู่เสาร์ผู้เป็นอาจารย์ มีบันไดศิลาแลงทอดขึ้นไปบนยอดเขา ซึ่งมีเพิงผาหินและร่มครึ้มด้วยแมกไม้ เป็นลักษณะลานหินกว้างมีเพิงหินซึ่งเป็น “ปฐมสมถวิปัสสนากัมมัสฏฐาน” หรือสถานที่ศึกษาปฏิบัติธรรมแห่งแรกของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตะเถระ ซึ่งท่านได้เคยมาใช้สำนักสงฆ์ภูหล่นหรือวัดภูหล่น สถานที่แห่งนั่งเป็นที่วิปัสสนาธรรม และได้สร้างเพิงที่พักอาศัยดินและฟางข้าว ขณะนั่งวิปัสสนาอยู่นั้น ได้มีเสือจะเข้ามาทำร้ายแต่ก็ไม่สามารถจะทำอะไรท่านได้ ปัจจุบันนี้ยังมีรอยเท้าเสือปรากฏอยู่ ณ สำนักสงฆ์ภูหล่นแห่งนี้ เป็นรอยเท้าเสือที่ไม่มีเล็บบนผนังเพิงพักนั้น ปัจจุบันสำนักสงฆ์ภูหล่น เป็นสถานที่ที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งที่ชาวบ้านจะเดินทางไปทำบุญอยู่เสมอ และบริเวณโดยรอบของสำนักสงฆ์ภูหล่น(วันภูหล่น) ก็ร่มรื่นธรรมชาติสวยงามมาก จากบริเวณนี้มองออกไปจะเห็นทิวทัศน์แนวเทือกเขาหัวตัด และที่นาของชาวบ้านด้านล่างได้ชัดเจน “ภูหล่น” อยู่ห่างจากบ้านคำบง ซึ่งเป็นบ้านเกิด ของ หลวงปู่มั่น ประมาณ 5 ก.ม. ในราวปี พ.ศ.2440 หลวงปู่เสาร์ กันตะสีโล ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของท่านได้นำท่านมา อบรมสมาธิบนภูหล่นแห่งนี้ ซึ่งเมื่อก่อนสถานที่แห่งนี้เต็มไปด้วยไข้ป่า และ สัตว์ร้าย หลวงปู่มั่น ท่านจึงได้นำชาวบ้านมาช่วยขนหิน ดินโคลน ขึ้นมาก่อเป็นถ้ำพอเป็นที่อยู่อาศัยกันสัตว์ร้ายมารบกวน เวลาทำความเพียร หลังจากหลวงปู่เสาร์พระอาจารย์ของท่านได้อบรมจนรู้ชัดว่ากำลังสมาธิอันแน่วแน่ ได้เกิดขึ้นแล้วในหลวงปู่มั่น ท่านจึงได้เเยกจากไปหลวงปู่มั่นท่านได้บำเพ็ญภาวนาอยู่บนภูหล่น ประมาณ 5 ปี ท่านได้จากสถานที่แห่งนี้ไปหลังจากท่านได้แสดงธรรมเทศนาอบรมโยมมารดาจนเกิดศรัทธา ออกประพฤติศีลพรหมจรรย์ตามท่านไป ในราวปี พ.ศ. 2449 หลังจากนั้นท่านก็ไม่ได้ย้อนกลับมาอีก […]

Read More

วัดภูเขาแก้ว

วัดภูเขาแก้ว ตั้งอยู่ที่ อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2480 สำหรับให้พระสงฆ์ปฏิบัติกัมมัฏฐาน  ภายในวัดมีพระอุโบสถสวยงาม ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบทั้งหลัง ภายในพระอุโบสถจะตกแต่งด้วย ภาพนูนสูงอยู่เหนือ บานประตูและ หน้าต่างขึ้นไปเป็นเรื่องราวและภาพจำลองเกี่ยวกับพระธาตุที่สำคัญของประเทศไทย สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด โบสถ์วัดภูเขาแก้ว เป็นโบสถ์ที่ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบทั้งหลัง ความวิจิตรงดงามมาก โดยการออกแบบของเจ้าอาวาส (พระอาจารย์โชติ) เป็นรูปแบบศิลปะไทยหลังคา เป็นโครงสร้างไม่มีมุข ลดหลั่นกัน สี่ชั้นด้านหน้า และด้านหลังมุงด้วยกระเบื้องเคลือบดินเผา ประดับด้วยช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ โดยมีคันทวยรองรับชายคาเป็นรูปนาค โดยรอบ ส่วนบริเวณกลางหลังคาตกแต่งเป็นยอดปราสาททอง หน้าบันจำหลักปูนปั้นลายก้านขดงดงามอ่อนช้อย กลมกลืนกับบัวเสา ที่ทำตามแบบ ศิลปะอินเดีย ภายในพระอุโบสถจะตกแต่งด้วยภาพนูนสูง อยู่เหนือบานประตู และหน้าต่างขึ้นไปเป็นเรื่องราว และภาพจำลองเกี่ยวกับพระธาตุ ที่สำคัญ ของประเทศไทย พร้อมทั้งเล่าเรื่องราวประวัติ ของพระธาตุแต่ละองค์ โดยสังเขป นอกจากนี้บริเวณชั้นล่าง ของพระอุโบสถยังใช้เป็นศาลาการเปรียญอีกด้วย พระบรมสารีริกธาตุ เป็นจุดเด่นอีกอย่างหนึ่งของวัดภูเขาแก้ว ภายในอุโบสถไม่ได้มีเพียงองค์พระปฏิมาประธานประดิษฐานอยู่บนฐานสูงใหญ่เหมือนโบสถ์วัดอื่นๆ ทั่วไป แต่เป็นพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐานบนฐานสูงสุดบนบุษบก โดยมีพระประธานประดิษฐานถัดลงมา คงจะเป็นภาพที่หาดูได้ยาก ภาพนูนต่ำพระธาตุ ฝาผนังของอุโบสถไม่ได้มีภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังเหมือนโบสถ์แห่งอื่นๆ แต่สร้างเป็นงานนูนต่ำรูปพระธาตุองค์ต่างๆ ที่สำคัญๆ ในประเทศไทย มีลักษณะนูนลอยออกมาครึ่งองค์พระธาตุ […]

Read More

วัดทุ่งศรีเมือง

วัดทุ่งศรีเมือง ตั้งอยู่เลขที่ 95 ถนนหลวง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี อยู่ทางทิศตะวันออกของ ทุ่งศรีเมือง ใกล้กับสถานที่ราชการ คือ ไปรษณีย์โทรเลข สำนักงานเทศบาลนครอุบลราชธานี โรงเรียนอนุบาลอุบลราชธานีมีเนื้อที่ 19 ไร่ 2 งาน 23 ตารางวาสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2356 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ในยุคสมัยสมเด็จกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ข้าหลวงต่างพระองค์ ได้ตกลงกับเจ้าของที่ดินหลายคน ยกที่ดิน (ที่ทำนา) ให้กับทางราชการ แรกๆ ชาวเมืองเรียกว่า “ทุ่งศรีเมือง” แต่เนื่องจากทุ่งแห่งนี้ เป็นที่รวมของการจัดงานมหกรรมใหญ่ๆ เช่น งานเฉลิมพระชนมพรรษา งานรัฐธรรมนูญ เป็นต้น และเป็นทุ่งประดับเมือง จึงเรียกว่า “ทุ่งศรีเมือง” ถึงแม้วัดทุ่งศรีเมืองมีขนาดไม่ใหญ่มากนัก เนื่องจากเป็นวัดเก่ากลางเมือง แต่ด้วยสถาปัตยกรรมอันงดงามของอาคารต่างๆ ที่มีการผสมผสานของศิลปะอันหลากหลาย ทำให้วัดแห่งนี้มีความน่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด 1. พระอุโบสถ หรือหอพระพุทธบาท มักจะถูกเรียกว่า หอพระพุทธบาท เนื่องจากสร้างขึ้นเพื่อประดิษฐาน รอยพระพุทธบาทจำลอง ซึ่งท่านเจ้าคุณพระอริยวงศาจารย์ญาณวิมลอุบลสังฆปาฏิโมกข์(สุ้ย […]

Read More