วัดไทยวัฒนาราม

วัดไทยวัฒนาราม เดิมชื่อ วัดแม่ตาวเงี้ยว หรือ วัดไทยใหญ่ ตั้งอยู่หมู่ 1 ตำบลท่าสายลวด ห่างจากตัวอำเภอแม่สอดไปประมาณ 5 กิโลเมตร บริเวณกิโลเมตรที่ 84 ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 105 สายตาก – แม่สอด เส้นที่จะไปตลาดริมเมย ก่อนถึงสะพานมิตรภาพไทย – พม่า

เป็นวัดในพระพุทธศาสนานิกายมหายานของชาวไทยใหญ่ ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม พิธีกรรมต่างๆ ได้รับอิทธิพลมาจากสหภาพพม่า สร้างเมื่อ พ.ศ. 2400 โดยนายมุ้ง เป็นชาวพม่ารัฐฉาน ที่อพยพครอบครัวมาอาศัยอยู่ที่อำเภอแม่สอด และได้เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรกของหมู่บ้านแม่ตาว ต่อมาได้รับพระราชทานนามว่า หมื่นอาจคำแหงหาญ ในปี พ.ศ. 2500 ทางกระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศให้เป็นวัดพระพุทธศาสนาในสังกัดกรมศาสนา ในวัดมีพระพุทธมหามุนี ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่จำลองมาจากพระพุทธมหามุณีอันศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของชาวเมืองมัณฑเลย์ สหภาพพม่า เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวจังหวัดตากศรัทธาเลื่อมใสกันมาก

[adsense-2]

สิ่งสำคัญภายในวัด

1. พระพุทธมหามุนี เป็นพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ ปางมารวิชัย ศิลปะพม่า มีขนาดความสูง 7 ศอก กว้าง 7 ศอก เป็นพระพุทธรูปที่จำลองมาจากพระพุทธมหามุนีอันศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองชาวเมืองยะไข่ (ยะแข่ง) ประเทศสหภาพเมียนมาร์ ทางรัฐบาลพม่าได้อัญเชิญให้มาประดิษฐานอยู่ที่เมืองมัณฑเลย์ มีผู้เลื่อมใสกันมากพระอธิการบัณฑิต (พระอู่บ่านเต๊กชะ) เจ้าอาวาสวัดไทยวัฒนารามเห็นว่าชาวไทยส่วนใหญ่คงไม่มีโอกาสไปสักการะบูชาพระพุทธมหามุนีองค์จริงที่เมืองมัณฑเลย์ประเทศสหภาพเมียนมาร์ จึงได้ให้ช่างชาวพม่าสร้างพระพุทธมหามุนีองค์จำลองแล้วอัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่วัดไทยวัฒนารามนี้

2. พระวิหารมหามุนี สร้างเมื่อ พ.ศ.2520 ภายในประดิษฐานพระพุทธมหามุนี พระวิหารมีลักษณะคล้ายพระราชวังของกษัตริย์พม่า มีหลังคาเรียงซ้อนลดหลั่นกันลงมา 7 ชั้น ชั้นบนสุดประดับด้วยฉัตรสีทอง เป็นสถาปัตยกรรมพม่าที่สวยงามมาก
ภาพด้านล่างเป็นสภาพภายในวิหารพระพุทธมหามุนี ภายในโล่งโถง ด้านขวามือขององค์พระเป็นที่เก็บของเก่าโบราณ คล้ายเป็นพิพิธภัณฑ์ของวัด ด้านหลังเป็นพระพุทธไสยาสน์ศิลปะพม่า และเป็นพระพุทธเจ้าในภัทรกัป 5 พระองค์

3. พระพุทธรูปหินอ่อน อยู่ตรงข้ามวิหารพระมหามุนี ภายในเป็นที่ประดิษฐานพระหินอ่อนสีขาว รายรอบด้วยพระพุทธรูปหินอ่อนสีขาวเล็ก ๆ ทั้งสองด้าน

4. เสาหงษ์แบบมอญ อยู่ใกล้กับวิหารพระมหามุนี คติการสร้างน่าจะเลียนแบบเสาอโศกของพระเจ้าอโศกมหาราช ภาพต่อมาเป็นเทพารักษ์แบบพม่า ประดิษฐานอยู่บนหลังคาวิหาร ภาพที่ ๓ เป็นพระอุปคุตกลางสะดือทะเล อยู่ในมณฑปพระอุปคุต (อยู่ติดกับวิหารพระมหามุนี)

5. ศาลาการเปรียญ สร้างเมื่อ พ.ศ.2512 เป็นอาคาร 2 ชั้น ด้านหน้าประดับด้วยปูนปั้นลายจำหลักไม้ เสาของศาลาทุกต้นเป็นเสากลม ประดับด้วยกระจกมีโลหะปิดทองสายก้านขด ผังด้วยเม็ดหยก ภายในเป็นที่เก็บเครื่องโต๊ะบูชา ตู้พระธรรม เครื่องดนตรี ที่เป็นศิลปะแบบพม่า

6. พระพุทธเจ้าในอดีต
28 องค์ เป็นพระพุทธรูปศิลปะพม่า ป่างมารวิชัย สร้างด้วยปูนปั้นอยู่ในศาลาราย ประดิษฐานด้านหลังสุดของบริเวณวัด มีคติความเชื่อที่ว่าพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้มาแล้ว 28 องค์

7. พระเจดีย์โกนาวิน ได้จัดสร้างเมื่อ พ.ศ.2511 เป็นเจดีย์เก้ายอด อยู่ใกล้กับพระวิหารมหามุนี เป็นเจดีย์ทรงมอญสีทองสุกปลั่งทรงเครื่อง สวมฉัตร มีระฆังรอบฉัตร และเสาหงษ์เป็นลักษณะของศิลปะมอญ เจดีย์องค์รอบ 8 ยอด องค์กลางใหญ่ 1 ยอด รวมเป็น 9 ยอด

8. พระพุทธรูปปางไสยาสน์ (พระนอน) เป็นพระพุทธรูปปางไสยาสน์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของจังหวัดตาก และใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศ (อันดับหนึ่งคือพระนอนจักรศรี) มีความยาว 93 ศอก สร้างด้วยปูนปั้นเป็นลักษณะของศิลปะพม่า สร้างเลียนแบบพระนอนที่ใหญ่ที่สุดในโลกในประเทศพม่า ชานนครย่างกุ้ง

9. ต้นโพธิ์ตรัสรู้ อยู่ในอาณาบริเวณเดียวกันกับพระนอนและพระพุทธเจ้าในอดีต 28 พระองค์ วัดในพุทธศาสนาต้องปลูกต้นโพธิ์ตรัสรู้ไว้อย่างน้อย 1 ต้นเพื่อให้อนุชนรุ่นหลังทราบว่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้ใต้ต้นไม้ที่มีลักษณะอย่างนี้

10. ศิลาจากรึกประวัติวัดสร้างด้วยหินอ่อน

การเดินทาง 

รถยนต์

จากตัวอำเภอแม่สอด วิ่งไปตามทางหลวงหมายเลข 105 ไปเส้นทางเดียวกับตลาดริมเมย ผ่านสนามบินแม่สอด และโรงเรียนบ้านแม่ตาวไปประมาณ 700 เมตร พบทางแยกขวามือมีป้ายบอกทางไปวัดไทยวัฒนาราม เลี้ยวเข้าไปประมาณ 200 เมตร จะเห็นวัดอยู่ทางขวามือ

ติดต่อสอบถาม

facebook : https://www.facebook.com/WadthiywathnaramMaesod

 แผนที่ วัดไทยวัฒนาราม

ความเห็น

ความเห็น