พระตำหนักสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

พระตำหนักสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2533 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และพระบรมวงศานุวงษ์ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญอักษร พระปรมาภิไธย ภปร. อักษรพระนามาภิไธย สก. สว. มวก. สธ. และ อักษรพระนาม จภ. ประดิษฐานที่หน้าบัน ทั้ง 6 ด้าน ประดิษฐาน พระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเอกาทศรถ สมเด็จพระพี่นางพระสุพรรณกัลยา บริเวณโดยรอบเป็นอุทยานหินประวัติศาสตร์พระราชประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ตั้งแต่ทรงพระเยาว์จนถึงเสด็จสวรรคต เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดสุพรรณบุรี

ประวัติตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงพระราช สมภพเมื่อเดือน 1 ขึ้น 1 ค่ำ ปีเถาะ พ.ศ. 2098 ณ พระราชวัง จันทรเกษม จังหวัดพิษณุโลก เป็นพระโอรสองค์ที่ 2 แห่งสมเด็จพระมหาธรรมราชา และสมเด็จพระวิสุทธิกษัตรี อันเป็นพระราชธิดาแห่งสมเด็จพระศรีสุริโยทัย และพระมหาจักรพรรดิ์ พระองค์ทรงมีพระเชษฐภคินีคือ สมเด็จพระศรีสุพรรณกัลยาณี และพระอนุชาสมเด็จพระเอกาทศรถ

ครั้งเมื่อกรุงศรีอยุธยาแตก หงสาวดีบุเรงนองได้นำสมเด็จพระนเรศวรไปยังหงสาวดีเพื่อเป็นตัวประกัน ขณะเมื่อทรงมีพระชันษาได้เพียง 8 พระชันษา ครั้นหงสาวดีบุเรงนองสิ้นพระชนม์ หงสาวดีนันทบุเรง ขึ้นครองราช ทรงมีพระโอรสองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า มังรายกะยอชะวา (ต่อมาได้สถาปนาเป็น พระมหาอุปราชา) ซึ่งมีนิสัยเย่อหยิ่ง ครั้งหนึ่งมังรายกะยอชะวาเอาไก่ชนมาชนกับไก่ของสมเด็จพระนเรศวรแล้วแพ้ จึงกล่าวกับพระนเรศวรว่า ” อ้ายไก่เชลยที่พลัดบ้านเมืองมา ไม่ครนามือกู” พระนเรศวรจึงตรัสตอบว่า “แม้เป็นไก่เชลย แต่ไก่ตัวนี้อย่าว่าแต่ตีเพื่อความสนุกเลย เดิมพันเอาบ้านเอาเมืองก็ยังได้”

สมเด็จพระนเรศวรทรงเจริญพระชันษาในราชสำนักหงสาวดี พร้อมกับฝีมือการต่อสู้ที่กร้าวแกร่ง ต่อมาพระศรีสุพรรณกัลยาณีได้เสียสละอย่างสูงสุด เดินทางไปถวายตัวกับพระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรง เพื่อแลกตัวสมเด็จพระนเรศวรกลับยังกรุงศรีอยุธยา ครั้งหนึ่งพระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงได้เรียกให้พระนเรศวรยกทัพไปร่วมทัพที่กรุงหงสาวดี เพื่อจะไปตีเมืองอังวะ แต่ได้ออกอุบายให้ พระยาเกียรติพระยาราม สองขุนศึกมอญลอบปลงพระชนม์ แต่พระยาเกียรติพระยารามได้นำความไปเล่าให้ พระมหาเถรคันฉ่องซึ่งเป็นพระอาจารย์ฟัง พระมหาเถรจึงนำพระยาเกียรติพระยารามเข้าเฝ้ากราบทูลเรื่องราวแก่ สมเด็จพระนเรศวร พระองค์ทรงมีปฐมบรมราชโองการประกาศอิสระภาพ ณ เมืองแครง ว่า “กูสมเด็จพระนเรศวร ขอประกาศความเป็นอิสระภาพ ไม่ขึ้นกับหงสาวดีอีกต่อไป”

หงสาวดีนันทบุเรงทรงพิโรธ สั่งให้สุกรรมา นายทัพคู่ใจ ออกไปสกัดทัพไว้ที่แม่น้ำสะโตง สมเด็จพระนเรศวรทรงใช้พระแสงปืนยิงสุกรรมาเสียชีวิตบนหลังช้าง ทรงพระราชทานนามพระแสงปืนนั้นว่า “พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง” สมเด็จพระนเรศวรทรงเจริญพระชันษาในราชสำนักหงสาวดี พร้อมกับฝีมือการต่อสู้ที่กร้าวแกร่ง ต่อมาพระศรีสุพรรณกัลยาณีได้เสียสละอย่างสูงสุด เดินทางไปถวายตัวกับพระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรง เพื่อแลกตัวสมเด็จพระนเรศวรกลับยังกรุงศรีอยุธยา ครั้งหนึ่งพระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงได้เรียกให้พระนเรศวรยกทัพไปร่วมทัพที่กรุงหงสาวดี เพื่อจะไปตีเมืองอังวะ แต่ได้ออกอุบายให้ พระยาเกียรติพระยาราม สองขุนศึกมอญลอบปลงพระชนม์ แต่พระยาเกียรติพระยารามได้นำความไปเล่าให้ พระมหาเถรคันฉ่องซึ่งเป็นพระอาจารย์ฟัง พระมหาเถรจึงนำพระยาเกียรติพระยารามเข้าเฝ้ากราบทูลเรื่องราวแก่ สมเด็จพระนเรศวร พระองค์ทรงมีปฐมบรมราชโองการประกาศอิสระภาพ ณ เมืองแครง ว่า “กูสมเด็จพระนเรศวร ขอประกาศความเป็นอิสระภาพ ไม่ขึ้นกับหงสาวดีอีกต่อไป”

หงสาวดีนันทบุเรงทรงพิโรธ สั่งให้สุกรรมา นายทัพคู่ใจ ออกไปสกัดทัพไว้ที่แม่น้ำสะโตง สมเด็จพระนเรศวรทรงใช้พระแสงปืนยิงสุกรรมาเสียชีวิตบนหลังช้าง ทรงพระราชทานนามพระแสงปืนนั้นว่า “พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง”

ในปี พ.ศ. 2133 พระมหาธรรมราชาเสด็จสวรรคต หงสาวดีนันทบุเรงถือเป็นโอกาส จึงสั่งให้พระมหาอุปราชาให้ยกทัพมาตีกรุงศรี แต่ก็ต้องพ่ายแพ้กลับไป จนปี พ.ศ. 2135 พระมหาอุปราชา และ มังจาชโร (พระเจ้าแปร) ได้ยกทัพเข้ามาตีกรุงศรีทางด่านเจดีย์สามองค์ ครั้นถึงบ้านพนมทวน เกิดลมพัดฉัตรเหนือพระเศียรหักลง ซึ่งในคืนวันเดียวกับที่สมเด็จพระนเรศวร ตั้งทัพอยู่ที่ทุ่ง ต.ม่วงหวาน แขวงวิเศษชัยชาญ ทรงสุบินว่า มีสายน้ำหลากมาจากทิศตะวันตก มีพระยากุมภีร์ตัวใหญ่ว่ายตามน้ำมาเข้าทำร้าย พระองค์ทรงใช้พระแสงดาบคู่มือฟันแทงจนถึงแก่ความตาย

สมเด็จพระนเรศวรสั่งเคลื่อนพล 100,000 นายขึ้นไปตั้งทัพที่ หนองสาหร่าย เมืองสุพรรณ ให้พระยาศรีไสยณรงค์เป็นทัพหน้า ตั้งทัพที่ดอนเผาข้าว เกิดปะทะกับทัพของพม่า และพ่ายถอยร่นมายังกองทัพของสมเด็จพระนเรศวร ทัพของสมเด็จพระนเรศวรเข้าช่ายจนเกิดฝุ่นตลบ ครั้นฝุ่นหายไป สมเด็จพระนเรศวรก็ตกอยู่ในวงรอมของกองทัพพม่า พระองค์จึงตรัสแก่พระมหาอุปราชาให้ร่วมทำการยุธหัตถี ”
ขอพระเจ้าพี่ได้ทำการยุทธหัตถี ด้วยการยุทธเยี่ยงนี้จักไม่บังเกิดขึ้นอีกต่อไป ” พลายพัทธกอ (ช้างของพระมหาอุปราชา) ได้ล่างรุนแบกพลายไชยยานุภาพ (ช้างสมเด็จพระนเรศวร) พระมหาอุปราชาเงื้อพระแสงของ้าวฟันถูกปีกพระมาลาของ สมเด็จพระนเรศวรขาดกระเด็น (ทรงพระราชทานนามว่า พระมาลาเบี่ยง ครั้นพลายไชยยานุภาพได้ทีรุนพลายพัทธกอเท้าหน้าลอยขึ้น สมเด็จพระนเรศวรทรงใช้พระแสงง้าวฟันกระดูกพระพาหาขาดลงไปถึงพระอุระ (อก) ผ่านพระอุทรออกทางพระปรัศว์ (สีข้าง) อีกข้างหนึ่งสิ้นพระชนม์

ส่วนพระเอกาทศรถทรงช้างพระยาปราบไตรจักร ก็มีชัยต่อมังจาชโร (พระเจ้าแปร) ช้างพระที่นั่งไชยยานุภาพ พระราชทานนามใหม่ว่า “เจ้าพระยาปราบหงสาวดี ” รับสั่งให้สร้างสถูปขึ้นที่พระองค์ทรงทำยุทธหัตถี พระราชทานนามว่า “เจดีย์ยุทธหัตถี” ณ ตำบลท่าคอย (ปัจจุบันเป็นตำบลดอนเจดีย์) เมื่อปี พ.ศ. 2147 สมเด็จพระนเรศวรทรงยกทัพไปต่อสู้กับพระเจ้าอังวะ ทรงตั้งค่ายที่เมืองหาง ทรงพระประชวรเป็นพระยอดพิษที่พระนลาฏ และเสด็จสวรรคตที่ เมืองหาง เมื่อวันจันทร์ เดือน 6 ขึ้น 8 ค่ำ ปีมะเส็ง พระชันษา 50 พรรษา รวมเวลาเสวยราชสมบัติเป็นเวลา 15 ปี

[adsense-2]

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานสุพรรณบุรี โทร.(035) 536 030, (035) 535 789
สำนักงานจังหวัด (035) 535 376
ประชาสัมพันธ์จังหวัด (035) 535 423
เทศบาลเมืองสุพรรณบุรี (035) 522 974
องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี (035) 525 777
ศูนย์ประสานงานการท่องเที่ยวจังหวัดสุพรรณบุรี (035) 536 030
สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองสุพรรณบุรี (035) 525 583-4
ตำรวจทางหลวง โทร 1193
แขวงการทางสุพรรณบุรี โทร (035) 522 133
สถานีตำรวจภูธร (035) 525 583-4
บขส.สุพรรณบุรี (035) 522 373
สถานีรถไฟสุพรรณบุรี (035) 511 950

การเดินทาง

รถยนต์ส่วนตัว ตั้งอยู่ที่ตำบลดอนเจดีย์ อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 31 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 322 (สุพรรณบุรี-ดอนเจดีย์)อยู่ห่างจากพระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ไปประมาณ 100 เมตร

 

ความเห็น

ความเห็น