วัดทุ่งศรีเมือง

วัดทุ่งศรีเมือง ตั้งอยู่เลขที่ 95 ถนนหลวง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี อยู่ทางทิศตะวันออกของ ทุ่งศรีเมือง ใกล้กับสถานที่ราชการ คือ ไปรษณีย์โทรเลข สำนักงานเทศบาลนครอุบลราชธานี โรงเรียนอนุบาลอุบลราชธานีมีเนื้อที่ 19 ไร่ 2 งาน 23 ตารางวาสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2356 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ในยุคสมัยสมเด็จกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ข้าหลวงต่างพระองค์ ได้ตกลงกับเจ้าของที่ดินหลายคน ยกที่ดิน (ที่ทำนา) ให้กับทางราชการ แรกๆ ชาวเมืองเรียกว่า “ทุ่งศรีเมือง” แต่เนื่องจากทุ่งแห่งนี้ เป็นที่รวมของการจัดงานมหกรรมใหญ่ๆ เช่น งานเฉลิมพระชนมพรรษา งานรัฐธรรมนูญ เป็นต้น และเป็นทุ่งประดับเมือง จึงเรียกว่า “ทุ่งศรีเมือง” ถึงแม้วัดทุ่งศรีเมืองมีขนาดไม่ใหญ่มากนัก เนื่องจากเป็นวัดเก่ากลางเมือง แต่ด้วยสถาปัตยกรรมอันงดงามของอาคารต่างๆ ที่มีการผสมผสานของศิลปะอันหลากหลาย ทำให้วัดแห่งนี้มีความน่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว

สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด

1. พระอุโบสถ หรือหอพระพุทธบาท มักจะถูกเรียกว่า หอพระพุทธบาท เนื่องจากสร้างขึ้นเพื่อประดิษฐาน รอยพระพุทธบาทจำลอง ซึ่งท่านเจ้าคุณพระอริยวงศาจารย์ญาณวิมลอุบลสังฆปาฏิโมกข์(สุ้ย หลักคำ) เจ้าคณะเมืองอุบลในขณะนั้น ได้จำลองการสร้างมาจากวัดสระเกศราชวรวิหาร กรุงเทพฯ โดยมีช่างจากเวียงจันทน์เป็นช่างสำคัญในการสร้าง

ลักษณะของหอพระพุทธบาท วัดทุ่งศรีเมือง เป็นสถาปัตยกรรมผสมผสาน ระหว่างศาสนาคารอีสานพื้นบ้านกับเมืองหลวง คือโครงสร้างช่วงล่าง เช่น ฐานเอวขัน บันไดจระเข้ เฉลียงด้านหน้าคงเอกลักษณ์ของสิมอีสานไว้แต่โครงสร้างช่วงบน หลังคาทรงจั่วมีชั้นลด 2 ชั้น รวยลำยองมีช่อฟ้า ใบระกา นาคสะดุ้ง หางหงส์ ทวยและซุ้มประตูหน้าต่างแบบเมืองหลวง ส่วนลวดลายหน้าบันสาหร่ายรวงผึ้ง มีลักษณะเป็นแบบอีสานผสมกับเมืองหลวงเหมือนสิมวัดแจ้ง

ในสมัยพระครูวิโรจน์รัตนโนบล เป็นเจ้าอาวาส ได้มีการซ่อมหอพระบาทครั้งหนึ่ง โดยการเอาเสามายันขื่อ ซ่อมคร่าวและวาดลวดลายที่เสา ด้านหลังมีการก่ออิฐเป็นอาคารเสริมออกมายันไว้ เพราะกลัวอาคารจะโย้ออกมา

ต่อมา ปี 2503 มีการบูรณะอีกครั้งหนึ่ง ภายในผนังมีจิตรกรรมผาผนังที่มีคุณค่า โดยเป็นจิตรกรรมฝาผนัง เขียนเป็นภาพเทพชุมนุม พุทธประวัติ ตอนผจญมาร และปรินิพพาน ภาพชาดก ได้แก่ ปาจิตต์กุมารชาดก และมหาเวชสันดรชาดกกัณฑ์ต่างๆ ภาพจิตกรรมเหล่านี้ สะท้อนให้เห็นสภาพสังคม วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ความเจริญของบ้านเมือง การประกอบอาชีพ การละเล่น พิธีกรรม การแต่งกาย ทรงผม นอกจากภาพชาวบ้านพื้นถิ่นอีสานและคนลาวแล้ว ยังแสดงภาพชาวตางชาติ ทั้งจีน ฝรั่ง แขก ซึ่งเข้ามามีบทบาทในประเทศไทยสมัยนี้อีกด้วย

2. หอไตรกลางน้ำ วัดทุ่งศรีเมือง สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นในสมัยของพระเจ้าพรหมราชวงศา (กุทองสุวรรณกูฏ) เจ้าเมืองอุบลราชธานี คนที่ 3 ตามเอกสารระบุว่า ท่านเจ้าคุณอริยวงศาจารย์ญาณวิมลอุบลสังฆปาโมกข์ (สุ้ย หลักคำ) เจ้าคณะเมืองอุบลราชธานี ซึ่งพำนักอยู่ที่วัดมหาวนาราม(วัดป่าใหญ่) เป็นผู้อำนวยการสร้าง โดยวัตถุประสงค์ในการสร้างคือ เพื่อเก็บรักษาพระไตรปิฏก ป้องกันไม่ให้ มดปลวกไปทำลาย ซึ่งช่างที่มีชื่อเป็นช่างควบคุมการก่อสร้าง เท่าที่มีชื่อระบุไว้ ได้แก่ ญาครูช่าง ซึ่งเป็นช่างหลวงจากราชสำนักร่วมก่อสร้างด้วย

ลักษณะของหอไตรวัดทุ่งศรีเมือง เป็นหอน้ำ สร้างอยู่กลางสระน้ำ เป็นอาคารเรือนไม้ขนาดกว้าง 8.20 เมตร ยาว 9.85 เมตร สูงจากระดับพื้นน้ำถึงถึงยอดหลังคาประมาณ 10 เมตร แปลน รูป สี่เหลี่ยมจตุรัส ยกพื้นสูงใต้ถุนโปร่ง ผนังเป็นแป้นฝาไม้แบบเรียบ เครื่องสับฝาแบบฝาประกนอย่างเรือนไทยภาคกลาง ลูกฝักรองตีนช้างแกะสลักลายประตูเข้าหอไตร อยู่ทางทิศตะวันออกประตูเดียว มีหน้าต่างโดยรอบทั้งหมด 14 ช่อง หลังคาทรงจั่วมีปั้นกรอบ ปีกนอกกว้าง 2 ชั้น (คล้ายสถาปัตยกรรมเชียงรุ้ง) ส่วนบนหลังคาทรงแบบโบสถ์ไทยมีชั้นลด 2 ชั้น ช่อฟ้ารวยลำยอง ใบระกา นาคสะดุ้งและหางหงส์แบบภาคกลาง หน้าบันไม้จำหลักลายแบบไทย(ลายดอก) พุดตาน,ลายกระจังรวน,ลายประจำยามก้ามปู ฯลฯ เดิมมุงแป้นไม้มีทวยสลักด้วยไม้ค้ำยันชายคาปีกนอกโดยรอบจำนวน 19 ตัว 2 ตัว ด้านด้านหน้าข้างประตูเข้า สลักหัวทวยเป็นเทพพนมอีก 17 ตัวเป็นรูปพญานาค

ภายในตัวเรือนชั้นใน ตรงกลางกั้นผนังเป็นห้องสำหรับเก็บพระไตรปิฎก มีบันไดทางขึ้นด้านทิศตะวันออก ทำประตูหน้าต่างล้อกับภายนอก ผนังห้องด้านนอกตกแต่งลวดลายไทย ลงรักปิดทองแบบที่เรียกว่า “ปิดทองลายฉลุ”(ลายแบบปิด)โดยทำแบบพิมพ์ลายลุ (Stencil) จากการรุกระดาษสาให้เป็นตัวลายหรือตัวภาพ แล้วนำไปทาบบนผนังที่เตรียมลงพื้นรักชาดไว้เรียบร้อยแล้ว ลงรักเช็ดตามรอยปรุ จากนั้นจึงปิดแผ่นทองคำเปลวตามลายปรุที่ลงรักเช็ดไว้ เมื่อเสร็จแล้วจะปรากฎเป็นลายพลายคำสุกอร่ามบนพื้นแดงชาด ทำคล้ายมีเรือนหลังเล็กๆสร้างประตู 1 บาน และหน้าต่าง 4 กรอบหน้าต่างสลักลวดลาย ผนังและบานประตูหน้าต่างสลักลวดลาย ผนังและบานประตูหน้าต่าง เขียนลายลงรักปิดทอง โดยรอบบานประตูเขียนรูปทวารบาล

หอไตรวัดทุ่งศรีเมือง ได้รับการบูรณะครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2508 ในสมัยพระครูวิโรจน์รัตโนบล ด้วยการหาเสาไม้เนื้อแข็ง มาค้ำยันช่วยแรงเสาเก่าที่ชำรุดทรุดโทรมผุกร่อน ต่อมา พ.ศ.2517 กรมศิลปากรได้ทำการบูรณะครั้งใหญ่ โดยเปลี่ยนเป็นปูนแทน เสริมฐานเสาด้วยปูนให้มั่นคงมากขึ้น เมื่อทำการอนุรักษ์เรียบร้อยแล้ว ในปี พ.ศ.2527 อาคารหลังนี้ ได้รับรางวัลอนุรักษ์สถาปัตยกรรมดีด่น จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามมงกุฎราชกุมารี

ปัจจุบันนี้ หอไตรกลางน้ำวัดทุ่งศรีเมืองแห่งนี้ เป็นที่เก็บหนังสือใบลานประเภทต่างๆ ไม่เฉพาะหนังสือธรรมะเท่านั้น หากยังมีหนังสือที่บันทึกประวัติศาสตร์ และตำนานของบ้านเมืองเอาไว้อีกด้วย ซึ่งหนังสือเหล่านี้เป็นแหล่งค้นคว้าสำคัญที่ทำให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาในหลายๆ ด้าน เช่น ความสัมพันธ์กับชุมชนอื่นและความเชื่อ ความศรัทธาของคนสมัยนั้น

3. “พระเจ้าใหญ่ศรีเมือง” เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 2.39 เมตร ประดิษฐานอยู่ภายในวิหารศรีเมือง วัดทุ่งศรีเมืองเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่องค์หนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งมีประวัติสร้างมานานพร้อมสร้างเมืองอุบลราชธานี พ.ศ. 2335 เดิมประดิษฐานอยู่ที่วัดเหนือท่า อันเป็นวัดรุ่นแรกของเมือง สร้างโดยพระสงฆ์ที่ติดตามมากับขบวน “พระวอ พระตา” จากเมืองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน (เมืองหนองบัวลุ่มภู) เมื่อสร้างวัดเหนือท่าเสร็จก็ได้สร้าง “พระเจ้าใหญ่ศรีเมือง” ขึ้นในสมัย พระปุทมวรราชสุริยวงศ์ (ท้าวคำผง) เพื่อเป็นที่บำเพ็ญกุศลของเจ้าเมือง และเหล่าข้าราชบริพาร

“พระเจ้าใหญ่ศรีเมือง” จึงสร้างขึ้นในสมัยเดียวกัน “พระเจ้าองค์หลวง” ซึ่งประดิษฐานไว้ที่วัดหลวง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ต่อมาวัดเหนือท่าถูกยกเลิกไปเมื่อ พ.ศ. 2458 ปล่อยให้ พระเจ้าใหญ่ศรีเมือง เศร้าหมองและตากแดดตากฝนจนเศียรชำรุด ครั้นต่อมา ทางราชการจึงได้สร้างสำนักงานอนามัยเขต 7 ซึ่งเป็นสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานีในปัจจุบัน ต่อมา หลวงปู่ “ดีโลด” หรือ “พระครูวิโรจน์รัตโนบล” อดีตเจ้าอาวาสวัดทุ่งศรีเมือง และอดีตเจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี (รูปที่ 1) ผู้บูรณะองค์พระธาตุพนม ปี พ.ศ. 2444 ในขณะนั้นหลวงปู่ดีโลดดำรงตำแหน่ง เป็นเจ้าคณะสังฆมณฑลอุบลราชธานี จึงได้นำคณะญาติโยม และสัปบุรุษชาวอุบลราชธานีไปอัญเชิญ และเคลื่อนย้ายมาประดิษฐานไว้ที่ ศาลาการเปรียญวัดทุ่งศรีเมือง หลังจากนั้น หลวงปู่ “ดีโลด” จึงได้พาลูกศิษย์ทำการบูรณะซ่อมแซมเศียรพระเจ้าใหญ่ศรีเมืองที่ชำรุดขึ้นใหม่ โดยจำลองให้คล้ายกับ “พระเหลาเทพนิมิต” ที่วัดพระเหลาเทพนิมิต อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ เพราะ พระเหลาเทพนิมิต หลวงปู่ ดีโลดก็ได้ทำการบูรณะไว้เช่นเดียวกับ พระโต หรือเจ้าใหญ่องค์ตื้อ วัดพระโต หรือวัดปากแซง เมืองเขมราฐ ต่อมาทางราชการได้ขยายเขตการปกครองโดยยกฐานะขึ้นเป็นกิ่งอำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี ในปัจจุบันนี้

ดังนั้น “พระเจ้าใหญ่ศรีเมือง” วัดทุ่งศรีเมือง จึงมีลักษณะละม้ายคล้ายกับ “พระเหลาเทพนิมิต” ต่อมาเมื่อพระเดชพระคุณ “พระราชรัตโนบล” เจ้าอาวาสวัดทุ่งศรีเมือง และเจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานีในขณะนั้น ได้สร้างวิหารศรีเมืองแล้วเสร็จ จึงได้อัญเชิญ “พระเจ้าใหญ่ศรีเมือง” ขึ้นมาประดิษฐานไว้ที่ วิหารศรีเมือง เพื่อให้พุทธศาสนิกชนทั่วไป ได้กราบไหว้บูชาสักการะ จนถึงปัจจุบันนี้

[adsense-2]

ช่วงเวลาที่เปิดให้เข้าชม เปิดทุกวัน เวลา 6.00-18.00 น.

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

สำนักงานจังหวัดอุบลราชธานี โทร. (045) 254 925, (045) 255 505,(045) 254 218, (045) 254 360
ศูนย์การท่องเที่ยว กีฬาและนันทนาการ จังหวัดอุบลราชธานี โทร. (045) 311 228
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดอุบลราชธานี โทร. (045) 244 875
ตำรวจท่องเที่ยว โทร. 1155, 1699,(045) 245 505, (045) 254 914
ตำรวจทางหลวง โทร. (045) 313 220
ตำรวจภูธรจังหวัดอุบลราชธานี โทร. (045) 244 326,(045) 245 340, (045) 254 233
สถานีขนส่ง โทร. (045) 312 773
ท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานี โทร. (045) 244 073 , (045) 244 406
ตำรวจภูธรอำเภอเมืองอุบลราชธานี โทร. (045) 254 008 ,(045) 255 112
ไปรษณีย์อุบลราชธานี โทร. (045) 260 465-6
รพ. สรรพสิทธิประสงค์ โทร. (045) 244 973
รพ. อุบลรักษ์ – ธนบุรี โทร. (045) 260 300-9
รพ. ราชเวช โทร. (045) 280 040-1
รพ. ร่มเกล้า โทร. (045) 244 660
รพ. เซ็นทรัลเมโมเรียล โทร. (045) 244 690-1
รพ. วารินชำราบ โทร. (045) 321 243-4
รพ. ค่ายสรรพสิทธิประสงค์ โทร. (045) 269 533-5
รพ. พิบูลมังสาหาร โทร. (045) 441 053
รพ. โขงเจียม โทร. (045) 351 083
รพ. ศรีเมืองใหม่ โทร. (045) 399 022
รพ. โพธิ์ไทร โทร. (045) 496 000
รพ. นาจะหลวย โทร. (045) 379 097-8
รพ. น้ำยืน โทร. (045) 371 097-8
รพ. สิรินธร โทร. (045) 366 149

การเดินทาง

รถยนต์ส่วนตัว

วัดทุ่งศรีเมืองตั้งอยู่บนถนนหลวง จากบริเวณสวนสาธารณะทุ่งศรีเมือง ที่มีสัญลักษณ์ต้นเทียนขนาดใหญ่ตั้งอยู่กลางลาน สามารถใช้เส้นทางถนนพโลรังฤทธิ์ ผ่านโรงเรียนอนุบาลอุบลราชธานีไปจนถึงแยกตัดกับถนนหลวง ให้เลี้ยวขวาจะเห็นวัดทุ่งศรีเมืองอยู่ด้านขวามือ

แผนที่

ความเห็น

ความเห็น