วัดไตรมิตรวิทยาราม

วัดไตรมิตรวิทยาราม ตั้งอยู่ที่ถนนมิตรภาพไทย-จีน แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ เป็นวัดโบราณอยู่ในที่ลุ่มพระอารามเป็นเรือนไม้ มีชื่อเดิมว่า “วัดสามจีน” เหตุที่เรียกว่าวัดสามจีน ก็เนื่องด้วยเหตุว่ามีชาวจีน 3 คนได้ช่วยกันก่อสร้างขึ้นมาจึงได้นามว่า “วัดสามจีน” วัดไตรมิตรวิทยาราม เป็นวัดโบราณสร้างเมื่อสมัยใดไม่ปรากฏหลักฐาน จุดเด่นอันเป็นเอกลักษณ์ คือ พุทธสถาปัตกรรมอันทรงคุณค่า “พระมหามณฑป” ถือเป็นสิ่งที่ดึงดูดใครต่อใครให้อยากไปเยือน “วัดไตรมิตร” สักครั้งค่ะ

ภายใน “พระมหามณฑป” ประกอบด้วย

ชั้น 2 “ศูนย์ประวัติศาสตร์เยาวราช” ทำความรู้จักกับชุมชนชาวจีนสำเพ็ง – เยาวราช อันเป็นย่านการค้าเก่าแก่ที่สำคัญของกรุงเทพฯ ซึ่งเติบโตขึ้นจากการก่อร่างสร้างตัวของชาวจีนที่เข้ามาทำมาหากินในเมืองไทย

ชั้น 3 “นิทรรศการพระพุทธรูปทองคำ” ภายในจะมีห้อง Multimedia Theatre ที่จัดแสดงสื่อผสม แสง เสียง และภาพ Animation ประกอบกับโมเดลวัดมหาธาตุกลางเมืองสุโขทัย เล่าเรื่องราวตั้งแต่เริ่มกำเนิดพระพุทธรูปขึ้นในโลก และพัฒนาการมาสู่พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร

ชั้น 4 ประดิษฐาน “พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร” หรือ “พระพุทธรูปทองคำสุโขทัยไตรมิตร” หรือจะเรียกสั้นๆ ภาษาชาวบ้านว่า “หลวงพ่อทองคำ” พระพุทธรูปปางมารวิชัย ที่สร้างจากเนื้อทองคำบริสุทธิ์ จนได้รับการจดบันทึกลง “กินเนสบุ๊ค” ว่าเป็น “พระพุทธรูปทองคำบริสุทธิ์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก” พระพุทธรูปทองคำองค์นี้มีหน้าตั้งกว้าง 3.01 เมตร สูง 3.91 เมตร องค์พระสามารถถอดได้ 9 องค์ จากฐานองค์พระขึ้นไปเนื้อทองบริสุทธิ์ 40% พระพักตร์มีเนื้อทอง 80% ส่วนพระเกศมีน้ำหนัก 45 กิโลกรัม เป็นเนื้อทองบริสุทธิ์ 99.99%

สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยสุโขทัย ปางมารวิชัย เข้าใจว่า เดิมประดิษฐานอยู่ที่วัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้โปรดเกล้าฯ ให้กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ไปอัญเชิญพระพุทธรูปมาจากเมืองเหนือเพื่อนำมาประดิษฐานยังวัดสำคัญ พระพุทธรูปที่เชิญมามีจำนวนมาก ทำให้ดูแลไม่ทั่วถึง ขุนนางผู้หนึ่งจึงแอบเอาปูนไล้พระพุทธรูปทองคำแล้วนำมาไว้ยังวัดที่ตนสร้าง จนได้อัญเชิญมาไว้ที่วัดพระยาไกร (วัดโชติการาม) ต่อมาบริษัท อี๊สต์เอเชียติ๊ก ได้ขอเช่าที่วัด (ซึ่งขณะนั้นเป็นวัดร้างแล้ว) เป็นโรงเลื่อยจักร จึงได้อัญเชิญไว้ที่ข้างพระเจดีย์และปลูกเพิงสังกะสีมุงเป็นหลังคากั้นไว้อย่างหยาบ ๆ หลังจากนั้นเป็นเวลาเกือบ 20 ปี เมื่อพระอุโบสถและพระวิหารหลังใหม่สร้างเสร็จจึงได้อัญเชิญขึ้นประดิษฐาน แต่ในระหว่างการเคลื่อนย้ายปูนที่หุ้มองค์พระกระเทาะออก จึงทำให้เห็นองค์พระข้างในเป็นทองคำ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2498

[adsense-2]

ช่วงเวลาที่เปิดให้เข้าชม เปิดให้เข้าชมในวันอังคาร-วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 8.00 – 17.00 น.

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

วัดไตรมิตรวิทยาราม โทร. (02) 623 3329, (02) 623 1227 เว็บไซต์ www.wattraimitr-withayaram.com
ตำรวจทางหลวง โทร. 1193
องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) โทร. 1348
บริษัท ขนส่ง จำกัด โทร. 1490 เรียก บขส.
ศูนย์บริการข้อมูลผู้ใช้ทางพิเศษ (ทางด่วน) โทร. 1543
การทางพิเศษแห่งประเทศไทย โทร. 1543
กรมการขนส่งทางบก โทร. 1584
ศูนย์บริการประชาชนสายด่วนกรมทางหลวง โทร. 1586
การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 1690
บริษัท โอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์ จำกัด โทร. 1126
บริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด โทร. 1318
ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร การบินไทย โทร. (02) 545 3321
สำรองที่นั่ง การบินไทย โทร. (02)-288-7000 (สำนักงานสีลม), (02) 356 1111(สำนักงานหลานหลวง-ในประเทศ), (02) 545 3691 (สำนักงานวิภาวดีฯ-ต่างประเทศ)
บริษัท บางกอก แอร์เวย์ จำกัด โทร. 1771
สหกรณ์แท็กซี่สยาม โทร. 1661
TAXI-RADIO โทร. 1681
แอร์พอร์ต ลิงค์ โทร. (02) 131 5700 ต่อ 1301
ศูนย์ประชาสัมพันธ์ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โทร. (02) 132 1888
ศูนย์ปลอดภัยคมนาคม การท่าเรือแห่งประเทศไทย โทร. (02) 269 3191, (02) 269 3199
แผนกสื่อสาร การท่าเรือแห่งประเทศไทย โทร. (02) 269 3481, (02) 269 3484
กรมการบินพลเรือน โทร. (02) 286 0506, (02) 286 0594
การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. (02) 621 8701
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (MRT รถไฟใต้ดิน) โทร. (02) 716 4044
สายด่วนตำรวจท่องเที่ยว โทร. 1155

การเดินทาง

รถยนต์ส่วนตัว วัดไตรมิตรวิทยารามตั้งอยู่บนเลขที่ 661 ถนนเจริญกรุง แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร
skytrainรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT
ให้ลงที่สถานีหัวลำโพงและออกทางออกหมายเลข 1 วัดไตรมิตรอยู่ห่างจากสถานีราว 200 เมตร วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร

รถประจำทาง สาย 1, 7, 4, 25, 40, 53, 73, 73ก, 177 และ 529

แผนที่

ความเห็น

ความเห็น