Category: ลพบุรี

สวนสัตว์ลพบุรี

สวนสัตว์ลพบุรี หรือ สวนสัตว์สระแก้ว ตั้งอยู่ที่อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี สวนสัตว์แห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2483 สมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งท่านได้มุ่งพัฒนาเมืองลพบุรีให้เป็นเมืองสำคัญ โดยให้มีการก่อสร้างสิ่งต่าง ๆ มากมายรวมทั้งสวนสัตว์แห่งนี้ด้วย ต่อมาเมื่อสิ้นยุคสมัยของท่าน สวนสัตว์ก็พลอยถูกทอดทิ้งและร้างไปในที่สุด ต่อมาในปี พ.ศ. 2520 พลตรีเอนก บุนยถี ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการศูนย์สงครามพิเศษในขณะนั้น ได้ร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งชมรม สโมสร พ่อค้า ประชาชน ดำเนินการปรับปรุงบูรณะสวนสัตว์แห่งนี้ขึ้นใหม่ ให้เป็นที่สำหรับพักผ่อนหย่อนใจ และเป็นแหล่งสำหรับศึกษาหาความรู้ในเรื่องสัตว์และพืชต่างๆ ภายในสวนสัตว์ที่มีบริเวณกว้างขวางและร่มรื่นแห่งนี้ นักท่องเที่ยวจะได้ชมชีวิตสัตว์ป่าต่างๆ ของประเทศไทย เช่น กวาง ลิง เสือโคร่ง เสือดาว กระต่าย เต่า ช้าง จิงโจ้ รวมถึงลิงอุรังอุตัง สัตว์ดาวเด่นขวัญใจชาวลพบุรีและชาวไทย นอกจากนั้นทางสวนสัตว์ยังจัดให้มีการแสดงความสามารถของลิงอุรังอุตัง การสาธิตการจับงู การขี่ม้า การให้นมแพะ การแสดงลิเก (ทุกวันเสาร์) และอื่นๆ เพื่อสร้างความรู้และความบันเทิงแก่นักท่องเที่ยวอีกด้วย [adsense-2] […]

Read More

ศาลพระกาฬ

ศาลพระกาฬ ตั้งอยู่ริมทางรถไฟด้านทิศตะวันออกพระปรางค์สามยอด ตำบลท่าหิน เป็นเทวสถานเก่าของขอม สร้างด้วยศิลาแลงเรียงซ้อนกันเป็นฐานสูง จึงเรียกกันมาแต่ก่อนอีกชื่อหนึ่งว่า “ศาลสูง” ที่ทับหลังสลักเป็นรูปพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ทำด้วยศิลาทราย 1 แผ่น อายุราวพุทธศตวรรษที่ 15 วางอยู่ติดฝาผนังวิหารหลังเล็ก ชั้นบน ณ ที่นี่ได้พบหลักศิลาจารึกแปดเหลี่ยม จารึกอักษรมอญโบราณ ส่วนด้านหน้าเป็นศาลที่สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2494 โดยสร้างทับบนรากฐานเดิมที่สร้างไว้ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ภายในวิหารประดิษฐานพระนารายณ์ยืน ทำด้วยศิลา 2 องค์ องค์เล็กเป็นแบบเทวรูปเก่าในประเทศไทย องค์ใหญ่เป็นประติมากรรมแบบลพบุรี แต่พระเศียรเดิมหายไป ภายหลังมีผู้นำพระเศียรพระพุทธรูปศิลาทรายสมัยอยุธยามาสวมต่อไว้ เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนทั่วไป ในบริเวณรอบศาลพระกาฬร่มรื่นด้วยต้นไม้ใหญ่ จึงเป็นที่อยู่อาศัยของฝูงลิงจำนวนมาก ซึ่งกลายเป็นสัญลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของจังหวัดลพบุรี มีร้านขายของที่ระลึก และอาหารสำหรับลิง ตลอดจนศาลาพักผ่อนมีถนนตัดรอบทำให้โบราณสถานมีลักษณะเป็นวงเวียน ศาลพระกาฬ หรือเดิมเรียกว่า ศาลสูง เนื่องจากศาลตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงที่อยู่สูงจากพื้นดิน เป็นศาสนสถานที่เป็นฐานศิลาแลงขนาดมหึมา สันนิษฐานกันว่าฐานศิลาแลงดังกล่าวเป็นฐานพระปรางค์ที่ยังสร้างไม่เสร็จ หรือสร้างสำเร็จแต่พังถล่มลงมาภายหลังโดยมิได้รับการซ่อมแซมให้ดีดังเดิมศาลพระกาฬเป็นสิ่งก่อสร้างของขอม สืบเนื่องมาจากเมืองลพบุรีในอดีตเคยเป็นส่วนหนึ่งของขอมโบราณ ซึ่งได้กลายเป็นศูนย์กลางการปกครองของขอมในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา อย่างไรก็ตามฌ็อง บวสเซอลิเยร์ ได้สันนิษฐานจากฐานพระปรางค์ที่สูงมากนี้ ว่าเขายังมิได้ข้อยุติว่าเป็นสถาปัตยกรรมขอมโบราณพุทธศตวรรษที่ 16 “อาจเป็นฐานพระปรางค์จริงที่สร้างไม่เสร็จ หรือเสร็จแล้วแต่พังทลายลงมา” ทั้งนี้มีที่ศาลสูงมีการค้นพบศิลาจารึกศาลสูงภาษาเขมร หลักที่ 1 […]

Read More

วัดมณีชลขัณฑ์

วัดมณีชลขัณฑ์ ตั้งอยู่ที่ตำบลพรหมมาสตร์ อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี เป็นวัดสำคัญเก่าแก่ของจังหวัดลพบุรี ที่นอกจากจะมีสิ่งสำคัญหลายประการแล้ว ยังเปรียบเสมือน ประตูเมืองลพบุรี ได้อีกด้วย กล่าวคือเป็นเส้นทางสายตรงสายเดียว ระหว่างจังหวัดลพบุรี และจังหวัดสิงห์บุรี ต้องสร้างสะพานโดยอาศัยเกาะตัววัดเป็นที่เชื่อมกลาง ผู้คนที่สัญจรไปมาจึงต้องผ่านวัดนี้ หรือชาวสิงห์บุรีที่เดินทางมาลพบุรีและชาวลพบุรีเองก็ใช้เส้นทางสายนี้ในการเดินทางไปสู่จังหวัดสิงห์บุรีและจังหวัดอื่นๆ ดังนั้นจึงสามารถกล่าวได้ว่าวัดมณีชลขัณฑ์เป็นประตูเข้าสู่ตัวเมืองลพบุรีด้านตะวันตก เช่นเดียวกับที่พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ณ วงเวียนเทพสตรี ซึ่งชาวลพบุรีส่วนใหญ่จะเรียกว่าวงเวียนพระนารายณ์ก็ยังเป็นประตูเมืองด้านตะวันออกอีกด้วย วัดมณีชลขัณฑ์ เป็นวัดเก่าแก่หลายชั่วอายุคน ไม่ปรากฏหลักฐานแน่นอนว่าใครเป็นผู้สร้าง และสร้างเมื่อใด ทราบแต่เพียงว่าแต่เดิมชื่อ วัดเกาะแก้ว และจากหลักฐานเท่าที่ปรากฏในปัจจุบัน น่าจะสันนิษฐานได้ว่าสร้างมาแต่ครั้งรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. 2199 – 2231) เดิมมีชื่อว่า วัดเกาะแก้ว เนื่องจากเป็นวัดที่ตั้งอยู่กลางแม่น้ำลพบุรี ปัจจุบันมีการตัดถนนไปถึงตัววัดจึงไม่มีลักษณะเป็นเกาะเช่นเดิม สถานที่ที่มีชื่อเสียงของวัดนี้คือ เจดีย์หลวงพ่อแสง ผู้ที่สร้างวัดนี้คือ พระยาอภัยรณฤทธิ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯ พระราชทานนามวัดใหม่ว่า วัดมณีชลขันฑ์ กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนเป็น โบราณสถาน เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2479 นอกจากนี้ที่วัดนี้มีต้นโพธิ์ที่รัชกาลที่ 5 ทรงปลูกไว้ ปัจจุบันถูกแบ่งออกเป็น 2 […]

Read More

วัดเชิงท่า

วัดเชิงท่า ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าหิน อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี เป็นวัดตั้งอยู่ริมแม่น้ำลพบุรีฝั่งตะวันออก วัดเชิงท่าจึงมีอายุนานไม่น้อยกว่าสามร้อยปี กล่าวกันว่าเดิมชื่อวัดท่าเกวียนด้วยเป็นท่าของเกวียนลำเลียงสินค้าขนลงมาที่ท่าน้ำในบริเวณวัดแห่งนี้ ก่อนที่จะลำเลียงลงเรือส่งไปยังที่อื่นๆพื้นที่ของวัดเชิงท่าตั้งขวางหน้าพระราชวังคือ พระนารายณ์ราชนิเวศน์ ด้านที่หันหน้าสู่แม่น้ำ ลพบุรีเกือบครึ่งด้าน จึงชวนให้สันนิษฐานว่า วัดเชิงท่าน่าจะสร้างก่อนพระราชวัง และนับได้ว่าวัดเชิงท่า จึงเป็นวัดที่สำคัญทางประวัติศาสตร์และศิลปกรรมแห่งหนึ่งที่เชิดหน้าชูตา สร้างความงามสง่าทางศิลปวัฒนธรรมให้กับจังหวัดลพบุรีมาโดยตลอด สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด พระอุโบสถ มีลักษณะสถาปัตยกรรมคล้ายกับอุโบสถของวัดอื่น ๆ ทีสร้างในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตัวพระอุโบสถตั้งอยู่บนฐานสูง มีลานกว้างโดยรอบตรงขอบลานมีกำแพงแก้วและมีซุ้มประตูกำแพง หน้าบันซุ้มทำเป็นรูปจั่ว ผังพระอุโบสถแบ่งพื้นที่ใช้สอยเป็นสองส่วนคือ ส่วนหน้าเป็นห้องโถงไม่มีผนัง เสาคู่หน้าสุดของพื้นที่ส่วนนี้เป็นเสาสี่เหลี่ยม มีปูนปั้นประดับหัวเสาเป็นรูปดอกบัวกลีบยาว ส่วนหลังมีพื้นที่ยาวกว่าคือ ห้องโถงมีผนังรอบ หลังคาของพระอุโบสถมุงด้วยกระเบื้องกาบ ช่อฟ้าและหางหงส์ทำเป็นรูปหัวนาค สำหรับพระอุโบสถก็คือเสมาคู่รอบพระอุโบสถ ซึ่งมักทำให้มีผู้สันนิษฐานว่า เสมาแบบนี้คือวัดหลวงไม่ใช่วัดราษฎร์ นอกจากนั้นในพระอุโบสถยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปประธานปางมารวิชัย ที่สร้างขึ้นด้วยหินทราย ลักษณะศิลปกรรมของพระพุทธรูปคล้ายกับพระประธานของวิหารวัดไลย์ อำเภอท่าวุ้ง เป็นพระพุทธรูปแบบที่นิยมสร้างขึ้นครั้งรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง จนถึงต้นรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. 2172 – ราว พ.ศ. 2220 ) พระอุโบสถได้รับการบูรณะหลายครั้ง แต่ก็ได้พยายามคงรูปแบบลวดลายของเดิมไว้ พระเจดีย์ ตั้งอยู่บนลานเดียวกันกับพระอุโบสถแต่อยู่ด้านหลัง มีด้วยกันทั้งหมดสามองค์ด้วยกัน ดังนี้ เจดีย์ประธานตั้งอยู่กึ่งกลางลาน […]

Read More

วัดเขาสมอคอน

วัดเขาสมอคอน ตั้งอยู่ที่ตำบลเขาสมอคอน อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี อยู่ทางทิศตะวันออกของเขาสมอคอน วัดเขาสมอคอนถือว่าเป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่ง เพราะจะสังเกตุเห็นว่ามีซากกองอิฐเก่าๆ อยู่มากมาย โบราณสถานของวัดนี้ ได้แก่ เจดีย์ทรงลังกาตั้งอยู่บนยอดเขา เหนือถ้ำพระนอนขึ้นไปบริเวณวัดเขาสมอคอนจะมีถ้ำต่างๆ อยู่มากมาย เช่น ถ้ำพระนอน เมื่อลงไปในถ้ำแล้วจะเห็นปล่องถ้ำทะลุถึงยอดเขา ภายในถ้ำมีพระพุทธไสยาสน์องค์หนึ่ง ยาวราว 10 เมตร ก่อด้วยอิฐนาดใหญ่ เป็นเทือกเขาที่มีความสำคัญด้านประวัติศาสตร์ มีตำนานเก่าแก่เกี่ยวกับเขาสมอคอนอยู่หลายเรื่องที่น่าสนใจจากหนังสืออักขรา นุกรมภูมิศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถานกล่าวไว้ว่า “เขาสมอคอนนี้เป็นที่อยู่ของ สุกกทันตฤาษี อาจารย์ของพระจ้ารามคำแหงมหาราชและ พระยางำเมือง กษัตริย์เมืองพระเยา ซึ่งน่าจะเป็นราชวงค์หนองแส โยนก เชียงแสน ทั้งสองพระองค์ เพราะเมื่อทรงเยาว์ได้เสด็จมาศึกษาศิลปวิทยาที่เขาสมอคอนนี้ซึ่งสมัยนั้น กษัตริย์เมืองลพบุรีก็เป็นราชวงค์เดียวกัน” ตำนานเขาสมอคอน เขาสมอคอนเป็น เทือกเขาที่มีความสำคัญด้านประวัติศาสตร์ มีตำนานเก่าแก่เกี่ยวกับเขาสมอคอนอยู่หลายเรื่องที่น่าสนใจหลายตำนานด้วยกัน จากบันทึกในหนังสืออักขรานุกรมภูมิศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถานกล่าวไว้ว่า เขาสมอคอนนี้เป็นที่อยู่ของ สุกกทันตฤาษี อาจารย์ของพระจ้ารามคำแหงมหาราชและ พระยางำเมือง กษัตริย์เมืองพระเยา เมื่อทรงเยาว์ได้เสด็จมาศึกษาศิลปวิทยาที่เขาสมอคอนนี้ซึ่งสมัยนั้น กษัตริย์เมืองลพบุรีก็เป็นราชวงศ์เดียวกัน และบันทึกของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ กล่าวไว้ว่า เขาสมอคอน เหมือนเกาะอยู่กลางทุ่งไปทางด้านเหนือ มีถ้ำ และมีวัดโบราณอยู่ที่เขานี้หลายแห่ง […]

Read More

วัดเขาวงกต

วัดเขาวงกต ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 9 ตำบลสนามแจง อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี วัดแห่งนี้ตั้งอยู่ในวงล้อมของเขาทั้ง 3 ด้าน เป็นหุบเขาเปิด ทางเข้าและออกอยู่ทางทางทิศตะวันออก เดิมเป็นที่พักสงฆ์ทิ้งร้างอยู่ เมื่อประมาณปี พ.ศ.2460 หลวงพ่อเพา พุทธสโร เห็นว่าเป็นที่สงบ จึงได้าสร้างเป็นวัดโดยสมบูรณ์ ภายในวัดมีพระพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่ตั้งประดิษฐานอยู่เชิงเขาทางทิศตะวันตก มีเรือสำเภาอยู่ปากทางเข้าซึ่งใกล้กับเสาหงส์ เป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง มีสมเด็จหลวงพ่อเมตตา (พระพิชิตมาร) ที่จำลองมาจากประเทศอินเดีย ในมณฑปมีรูปหล่อหลวงพ่อเพา ซึ่งเป็นผู้สร้างวัดเขาวงกฎขึ้นมา ปราสาทตรีมุขเป็นที่เก็บรักษาสังขารในโลงแก้วของหลวงพ่อเจริญ อดีตเจ้าอาวาสวัด บนยอดเขามีพระนาคปรกทิพยมุนีคีรีวงกฎ ประดิษฐานอยู่และสามารถชมทิวทัศน์อันสวยงามของวัดวงกฏและอำเภอบ้านหมี่ได้อย่างสวยงาม สิ่งที่เป็นเอกลักษณ์สำคัญของทางวัดอีกสองอย่างคือ ค้างคาว อาศัยอยู่ในถ้ำใกล้อุโบสถ กลางเขาด้านทิศเหนือ เป็นถ้ำค้างคาวที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดลพบุรี ภายในถ้ำมีค้างคาวนับล้านๆ ตัว รายได้จากค่ามูลค้างคาวที่เข้าวัดแต่ละปีเป็นเงินหลายหมื่นบาท ทุกวันตั้งแต่เวลาประมาณ 18.30 น. ค้างคาวจะพากันบินออกจากปากถ้ำไปหากิน ยาวเป็นสายคล้ายควันไฟ การบินออกหากินนี้จะติดต่อกันไปไม่หยุดจนกระทั่งถึงเวลาประมาณ 22.00 น. และจะเริ่มกลับเข้าถ้ำตั้งแต่เวลาประมาณ 03.00 น. จนถึงประมาณ 06.00 น. จึงจะหมด และยังมีลิงแสม ซึ่งจะอาศัยอยู่ทั่วไปในบริเวณวัดและหน้าวัด […]

Read More

วัดเกริ่นกฐิน

วัดเกริ่นกฐิน ตั้งอยู่ที่บ้านเกริ่นกฐิน ตำบลบ้านชี อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ไม่มีหลักฐานปรากฏว่าสร้างในปีพ.ศ.ใด แต่ชาวบ้านรู้ว่าวัดแห่งนี้มีคู่กับหมู่บ้านแห่งนี้มาเนิ่นนานแล้ว มีเพียงแต่พระพุทธรูปองค์หนึ่งที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างมาก ในปัจจุบันเป็นที่พำนักของพระเกจิอาจารย์ชื่อดังของจังหวัดลพบุรี ในคราวที่หลวงพ่อเพี้ยน อัคคธัมโม ท่านซึ่งเป็นพระที่จำพรรษาอยู่ที่วัดแห่งนี้ ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดได้ร่วมกับชาวบ้านพร้อมใจกันขนานนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า หลวงพ่อปาน เพื่อเป็นการระลึกถึงพระคุณของพระภิกษุชราชาวเขมร ที่เป็นอาจารย์ของหลวงพ่อเพี้ยนนั่นเอง เมื่อประมาณ 30 กว่าปีที่แล้วตอนที่หลวงพ่อเพี้ยนท่านเป็นเจ้าอาวาสใหม่ๆอยู่นั้นวัดแห่งนี้นั้นมีเพียงศาลาเรือนไทยหลังเก่าๆอยู่หลังเดียวเท่านั้น และมีสภาพที่ชำรุดทรุดโทรมอย่างมาก หลังจากที่ พระครูวิมลสมณวัตร (เพี้ยน อคฺคธมฺโม) พระเกจิอาจารย์ชื่อดังของจังหวัดลพบุรี ท่านได้เป็นเจ้าอาวาสของวัดเกริ่นกฐินแห่งนี้ หลวงพ่อและชาวบ้านเกริ่นกฐินได้ร่วมกันพัฒนาวัดให้ดีขึ้น และที่สำคัญคือหลวงพ่อเพี้ยนท่านเป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบและเป็นผู้ที่มีวิชาความอาคมซึ่งได้ร่ำเรียนมาจากครูบาอาจารย์ (หลวงพ่อปาน) และยังเป็นที่รักใคร่ของชาวบ้านเกริ่นกฐินอีกด้วย จนกระทั่งหลวงพ่อมีชื่อเสียงถึงขั้นเป็นพระเกจิอาจารย์ในระดับประเทศ ท่านได้พัฒนาวัดโดยการสร้างถาวรวัตุขึ้นมากมาย เช่น ศาลาการเปรียญ พระอุโบสถ วิหาร กุฏิสงฆ์ และได้ทำการซื้อที่ดินเพิ่มอีกด้วย วัดเกริ่นทุกวันนี้นับว่าเป็นวัดที่มีความสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัดลพบุรี ถึงวัดแห่งนี้จะไม่ได้ตั้งอยู่ในตัวเมือง แต่ด้วยพลังศรัทธาของพุทธศานิกชนที่หลั่งใหลสู่วัดเกริ่นกฐินนั้นต่างก็มาด้วยความยินดี และต้องการที่จะชื่นชมบารมีของหลวงพ่อเพี้ยน และร่วมกันบริจาคทรัพย์ บูชาวัตถุมงคลที่หลวงพ่อท่านได้ปลุกเสกแล้ว และทำบุญไหว้พระ ปิดทองหลวงพ่อปาน และเข้าไปกราบหลวงพ่อซึ่งทุกครั้งที่ประชาชนเข้าไปหลวงพ่อท่านจะนั่งอยู่ภายในศาลาคอยประพรมน้ำมนต์ให้แก่พุทธศาสนิกชน จึงทำให้ชื่อเสียงของหลวงพ่อนั้นเลื่องลือไปไกลและมีศิษย์ยานุศิษย์มากมาย สภาพของวัดเกริ่นกฐินในปัจจุบันมีความกว้างขวางขึ้นมากและมีสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่โตโอ่อ่าและบริเวณวัดที่ตกแต่งเอาไว้ได้อย่างสวยงามและร่มรื่นยิ่งนัก สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด วิหารหลวงพ่อปาน เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่ศักสิทธิ์ของวัดนั่นคือ หลวงพ่อปาน ซึ่งเป็นวิหารแก้วที่มีความวิจิตรสวยงามมาก พระอุโบสถ […]

Read More

วัดกวิศรารามราชวรวิหาร

วัดกวิศรารามราชวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ถนนเพทราชา ตำบลท่าหิน อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี อันดับ 1 ชนิดราชวรวิหาร คำว่า วัดกวิศราราม แปลว่า วัดของพระเจ้าแผ่นดิน ปัจจุบันมี พระราชพุทธิวราภรณ์ (ประเทือง อาภาธโร) เป็นเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน และในวันที่ 9 ตุลาคม ปีพุทธศักราช 2519 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินมายังวัดกวิศรารามราชวรวิหาร เป็นการส่วนพระองค์ ได้นำมาซึ่งความปราบปลื้มแก่ชาวลพบุรีเป็นอย่างมาก ตามตำนานพระอารามหลวงนั้น บอกประวัติไว้สั้นๆ แต่เพียงว่า วัดนี้เดิมชื่อ วัดขวิด สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงสร้าง ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรง สถาปนาใหม่ พระราชทานนามว่า วัดกรวิศยาราม และรัชกาลที่ 5 ทรงปฏิสังขรณ์เพิ่มเติมอีกโดยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงพระ ราชทานอุทิศ ถวายเป็นวิสุงคามสีมา ในการทำสังฆกรรมอุปสมบทข้าราชบริพาร สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด พระอุโบสถเดิม ซึ่งตามลักษณะเป็นพระอุโบสถสมัยอยุธยาตอนปลาย ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ มหาราชนั้น เป็นพระอุโบสถขนาดย่อมแบบมหาอุด มีประตูเข้าออกทางเดียว ผนัง เจาะเป็นช่องไม่มีหน้าต่าง […]

Read More

พระปรางค์สามยอด

พระปรางค์สามยอด ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าหิน อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี อยู่บนเนินดินด้านทิศตะวันตกของทางรถไฟใกล้กับศาลพระกาฬ มีลักษณะเป็นปรางค์เรียงต่อกัน 3 องค์ มีฉนวนทางเดินเชื่อมติดต่อกัน พระปรางค์สามยอดเป็นศิลปะเขมรแบบบายน ซึ่งมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 สร้างด้วยศิลาแลง หินทรายและตกแต่งลวดลายปูนปั้นที่สวยงาม ตรงซุ้มประตูเดิมคงมีทับหลัง แต่ที่เหลืออยู่ในปัจจุบัน คือ เสาประดับกรอบประตูแกะสลักเป็นรูปฤาษีนั่งชันเข่าในซุ้มเรือนแก้ว เป็นแบบเฉพาะของเสาประดับกรอบประตูศิลปะเขมร แบบบายนปรางค์องค์กลางมีฐาน แต่เดิมเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปและมีเพดานไม้เขียนลวดลายเป็นดอกจันทน์สีแดง ด้านหน้าทางทิศตะวันออก มีวิหารสร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ประดิษฐานพระพุทธรูปศิลาขนาดใหญ่ปางสมาธิที่สมบูรณ์ดี เป็นศิลปะแบบสมัยอยุธยาตอนต้น อายุราวพุทธศตวรรษที่ 20 พระปรางค์สามยอดนี้แต่เดิมคงเป็นเทวสถานของขอมในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน ต่อมาได้ดัดแปลงเป็นเทวสถานโดยมีฐาน ปราสาททิศใต้ประดิษฐานรูปพระโลเกศวร (พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร) สี่กร และปราสาททิศเหนือประดิษฐานรูปพระนางปรัชญาปารมิตาสองกร พระปรางค์สามยอดนี้แต่เดิมคงเป็นเทวสถานของขอมในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน ต่อมาได้ดัดแปลงเป็นเทวสถานโดยมีฐานศิวลึงค์ปรากฏอยู่ในองค์ปรางค์ทั้งสามปรางค์ จนกระทั่งถึงรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ จึงได้บูรณะปฏิสังขรณ์พระปรางค์สามยอดเป็นวัดในพุทธศาสนา แล้วสร้างพระวิหารก่อด้วยอิฐ ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบอยุธยาผสมแบบยุโรป ในส่วนของประตูและหน้าต่าง ภายในวิหารประดิษฐานพุทธรูปหินทรายปางมารวิชัย ศิลปะอยุธยาตอนต้น ปัจจุบันยังคงประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง [adsense-2] ช่วงเวลาที่เปิดให้เข้าชม เปิดวันพุธ-วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 07.00-17.00 น. ปิดวันจันทร์-อังคาร อัตราค่าเข้าชม ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ […]

Read More

พระนารายณ์ราชนิเวศน์

พระนารายณ์ราชนิเวศน์  ตั้งอยู่ที่ถนนสรศักดิ์ ตำบลท่าหิน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี โดยชาวเมืองลพบุรี ได้เรียกชื่อสถานที่แห่งนี้จนติดปากว่า “วังนารายณ์” ปัจจุบันได้จัดพื้นที่บางส่วนภายในวังให้เป็นที่ตั้งของ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ สถานที่สำหรับจัดแสดงศิลปะโบราณวัตถุตามอาคารและพระที่นั่งต่าง ๆ ภายในพิพิธภัณฑ์เป็นจำนวนกว่าพันรายการ ซึ่งนับเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติแห่งที่ลำดับที่ 3 ของประเทศไทยอีกด้วย พระนารายณ์ราชนิเวศน์เป็นพระราชวังโบราณสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่มีความสำคัญ และมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรม แสดงถึงความรุ่งเรืองสูงสุดสมัยหนึ่งของเมืองลพบุรี ลักษณะผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นที่กว้าง 41 ไร่เศษ ด้านหน้าหันเข้าหาตัวเมือง ด้านหลังติดแม่น้ำลพบุรี มีกำแพงก่ออิฐถือปูน และใบเสมาล้อมรอบ มีป้อมปืน 7 ป้อม ประตูสูงใหญ่ รูปโค้งแหลม 11 ประตู มีการเจาะช่องรูปโค้งแหลมเล็กสำหรับวางตะเกียงให้ความสว่างไสวแก่พระราชวังในยามค่ำคืน อันเป็นรูปแบบศิลปะสถาปัตยกรรม โดยเฉพาะในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ภายในพระราชวัง แบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 เขต คือ เขตพระราชฐานชั้นนอก เขตพระราชฐานชั้นกลาง และเขตพระราชฐานชั้นใน มีพระที่นั่งและสิ่งก่อสร้างดังนี้ เขตพระราชฐานชั้นนอก  มีสิ่งก่อสร้าง 5 หลัง ได้แก่ 1. […]

Read More