Category: นครราชสีมา

อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย

อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ตั้งอยู่ในตัวอำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วยโบราณสถานสมัยอาณาจักรขอมที่ใหญ่โตและงดงาม นั่นคือ“ปราสาทหินพิมาย” แหล่งโบราณคดีที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ บนพื้นที่ 115 ไร่ วางแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 565 เมตร ยาว 1,030 เมตร ชื่อ “พิมาย” น่าจะมาจากคำว่า “วิมาย” หรือ “วิมายปุระ” ที่ปรากฏในจารึกภาษาเขมรบนแผ่นหินตรงกรอบประตูระเบียงคดด้านหน้าของปราสาทหินพิมาย และยังปรากฏชื่อในจารึกอื่นอีกหลายแห่ง อาจจะเป็นคำที่ใช้เรียกรูปเคารพหรือศาสนสถาน ลักษณะพิเศษของปราสาทหินพิมาย คือ ปราสาทหินแห่งนี้สร้างหันหน้าไปทางทิศใต้ต่างจากปราสาทหินอื่นที่มักหันหน้าไปทางทิศตะวันออก สันนิษฐานว่าเพื่อให้หันรับกับเส้นทางที่ตัดมาจากเมืองโศธรปุระเมืองหลวงของอาณาจักรเขมรซึ่งเข้าสู่เมืองพิมายทางด้านทิศใต้ จากหลักฐานศิลาจารึกและศิลปะการก่อสร้าง บ่งบอกว่าปราสาทหินพิมายเริ่มสร้างขึ้นในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 16 ในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 รูปแบบทางศิลปกรรมของตัวปราสาทเป็นแบบปาปวนซึ่งเป็นศิลปะที่รุ่งเรืองในสมัยนั้น โดยมีลักษณะของศิลปะแบบนครวัดซึ่งเป็นที่นิยมในสมัยต่อมาปนอยู่บ้าง และมาต่อเติมอีกครั้งในราวต้นพุทธศตวรรษที่ 18 สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งครั้งนั้นเมืองพิมายเป็นเมืองซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอาณาจักรเขมร ปราสาทหินแห่งนี้สร้างเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนาลัทธิมหายานมาโดยตลอด เนื่องจากพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 และพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงนับถือพุทธศาสนาลัทธิมหายาน เมื่ออิทธิพลของวัฒนธรรมขอมเริ่มเสื่อมลงหลังรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และมีการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัยในเวลาต่อมา เมืองพิมายคงจะหมดความสำคัญลง และหายไปในที่สุด เนื่องไม่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับเมืองพิมายเลยในสมัยสุโขทัย ในปี พ.ศ. 2479 […]

Read More

อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี

อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ตั้งอยู่บนถนนราชดำเนิน เทศบาลเมืองนครราชสีมา อ.เมือง จ.นครราชสีมา ก่อสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2476 ตั้งอยู่ตรงหน้าประตูชุมพล จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นประตูเมืองเก่าทางด้านทิศตะวันตก อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี หล่อด้วยทองแดงร่มดํา ความสูง 1.85 เมตร น้ำหนัก 325 กิโลกรัม ประดิษฐานอยู่บนไพทีสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง ความสูง 2.5 เมตร แต่งกายด้วยเครื่องยศพระราชทาน มือขวากุมดาบ ปลายดาบจรดพื้น มือซ้ายท้าวสะเอวหันหน้าไปทางทิศตะวันตก ซึ่งเป็นที่ตั้งของกรุงเทพฯ บริเวณฐานอนุสาวรีย์บรรจุอัฐิของท้าวสุรนารี เป็นที่เคารพสักการะของชาวจังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดใกล้เคียง ประวัติท้าวสุรนารี ท้าวสุรนารี มีนามเดิมว่า “โม” (แปลว่า ใหญ่มาก)หรือ ท้าวมะโหโรง เป็นชาวเมืองนครราชสีมาโดยกำเนิด เกิดเมื่อปีระกาพ.ศ. 2314สมัยกรุงเทพมีนิวาสถานอยู่ ณ บ้านตรงกันข้ามกับวัดพระนารายณ์มหาราช (วัดกลางนคร) ทางทิศใต้ของเมืองนครราชสีมา เป็นธิดาของนายกิ่มและนางบุญมา มีพี่สาวหนึ่งคนชื่อ แป้นาผล ไม่มีสามี จึงอยู่ด้วยกันจนวายชนม์ มีน้องชายหนึ่งคน ชื่อ จุก(ภายหลังได้เป็น เจ้าเมืองพนมซร๊อก ต่อมามีการอพยพชาวเมืองพนมซร๊อก […]

Read More

อนุสรณ์สถานเทวาลัยไทรทองเทพนิมิตร

อนุสรณ์สถานเทวาลัยไทรทองเทพนิมิตร ตั้งอยู่ที่ ต.ท่าอ่าง อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา สถานที่เที่ยวแห่งใหม่ของโคราชที่เพิ่งเปิดตัวเมืองกลางปี 52 นี้เอง อนุสรณ์สถานเทวาลัยไทรทองเทพนิมิต หรือที่เรียกกันว่า สวนสมเด็จพระนเรศวร เป็นสถานที่ประดิษฐานพระบรมรูปวีรกษัตริ์ 3 พระองค์ คือ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเอกาทศรส และสมเด็จพระพี่นางสุพรรณกัลยา ที่นี่มีความสวยงามของสถาปัตยกรรมโดยรอบ มีมุมให้ถ่ายภาพเยอะค่ะ อีกทั้งยังได้สักการะวีรกษัตริย์ของไทยเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตอีกด้วยค่ะ และมีอาคารที่จัดแสดง ห้องบรรทมและข้อมูลเกี่ยวกับ สมเด็จพระนเรศวร สมเด็จพระเอกาทศรถ พระนางสุพรรณกัลยา เสด็จพ่อรัชกาลที่ 5 และ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งตกแต่งไว้อย่างสวยงามค่ะ [adsense-2] ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม ททท. สำนักงานนครราชสีมา (นครราชสีมา ชัยภูมิ) อ.เมือง นครราชสีมา โทร. (044) 213-666, (044) 213-030 ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. (044) 251-818 ตำรวจท่องเที่ยว โทร. 1155, (044) 341-777-9 ท่าอากาศยานนครราชสีมา โทร. (044) 259-524 […]

Read More

แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท

แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท ตั้งอยู่ที่บ้านปราสาท หมู่ที่ 7 ตำบลธารปราสาท อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา ถือเป็นแหล่งโบราณคดีที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดนครราชสีมา มีอายุราว 3,000 ปี เป็นที่รู้จักเพราะ นักค้าของเก่าลักลอบนำโบราณวัตถุในบริเวณหมู่บ้านไปขาย กรมศิลปากรจึงได้ดำเนินการจับกุมพร้อมกับส่งเจ้าหน้าที่ไปศึกษาแหล่ง โบราณคดีนี้ในปี 2526 พบโครงกระดูกโบราณถึง 60 โครง พร้อมกับภาชนะดินเผาแบบต่างๆและเครื่องประดับทั้งที่ทำจากเปลือกหอยและสำริดจำนวนมาก กรมศิลปากรได้รับเงินงบประมาณสนับสนุนจาก ททท.ภายใต้โครงการอีสานเขียวพัฒนาแหล่งโบราณคดีแห่งนี้ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม จึงจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งขึ้นเป็นแห่งที่ 2 ของภาคอีสานหลังจากเปิดพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานีมาก่อนหน้านี้ แหล่งโบราณคดีแห่งนี้ถือเป็นแหล่งโบราณคดีขนาดใหญ่ มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ 1 ชั้น มีลำธารปราสาทไหลผ่านด้านเหนือ มีมนุษย์มาตั้งชุมชนครั้งแรกราว 3,000 ปีมาแล้ว รู้จักการเพาะปลูกข้าวและเลี้ยงสัตว์ มีการใช้สำริดบ้างแต่ไม่แพร่หลาย ทำภาชนะดินเผาทรงปากแตรสีแดงขัดมันและมีการนำภาชนะดังกล่าวฝังร่วมกับศพด้วย ต่อมาในราว 2,200 ปี เกิดความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีสูงขึ้น โดยผลิตภาชนะดินเผาแบบพิมายดำขึ้นแทน มีการนำเหล็ก สำริด หินสีต่าง ๆ เช่น หินคาร์นีเลียน หินอเกต มาทำเครื่องใช้เครื่องประดับ จนราวพุทธศตวรรษที่ 16 จึงเริ่มรับวัฒนธรรมทวารวดีและเขมรเข้ามา แต่เป็นช่วงระยะเวลาสั้น ๆ […]

Read More

หาดชมตะวัน

หาดชมตะวัน ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 6 บ้านราษฎร์สามัคคี ตำบลบ้านราษฎร์ อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา อยู่ในความรับผิดชอบของที่ทำการเขตจัดการอุทยานแห่งชาติทับลานที่ 4 (ลำปลายมาศ)  เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำหรับผู้ที่อยากนั่งพักผ่อน รอชมตะวันสวยๆ ที่กำลังจะตกดิน ถ่ายภาพแสดงตะวันสะท้อนกับน้ำ หรือชมพระอาทิตย์ขึ้นตอนเช้าตรู่ อากาศดีมากๆค่ะ พื้นที่ริมอ่างเก็บน้ำได้รับการพัฒนาให้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจสำหรับประชาชนและเป็นที่ประกอบอาชีพของชาวบ้านลดปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า นักท่องเที่ยวนิยมมาเล่นน้ำและรับประทานอาหาร รวมทั้งยังได้ชมทิวทัศน์อันสวยงามของชายหาด หรือพักแค้มปิ้งได้ อาจเช่าเรือหางยาวล่องไปตามลำน้ำ เดินป่าชมแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ เช่น วังผีเสื้อ (มีเฉพาะในฤดูหนาว) ถ้ำพระ ถ้ำคอมมิวนิสต์ ที่มีตัวอักษรเขียนที่ผนังถ้ำว่า “พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย” และ ต้นตะเคียนทองยักษ์ ซึ่งสันนิษฐานว่ามีอายุประมาณพันปี หาดชมตะวันเป็นหาดทรายน้ำจืดของเขื่อนลำปลายมาศ เป็นสถานที่ชมตะวันขึ้นและตกได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ ยังเป็นแหล่งเก็บน้ำขนาดใหญ่ 98 ล้านลูกบาศก์เมตร ในช่วงเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน จะมีนกเป็ดน้ำอพยพมาจากไซบีเรีย โดยแต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเกือบหนึ่งแสนคนต่อปีเลยทีเดียวค่ะ อัตราค่าบริการ 30 บาท/คน [adsense-2] สิ่งอำนวยความสะดวก/ที่พัก มีร้านค้าสวัสดิการป่าไม้ และเอกชนไว้คอยให้บริการ มีลานจอดรถ จอดรถได้ 100 คัน มีป้อมยามจุดแจ้งเหตุพร้อมทั้งอาคารบริการของ อุทยานแห่งชาติทับลานคอยให้บริการ มีบริการล่องแพและเรือ […]

Read More

หมู่บ้านไหมไทยหลุ่งประดู่

หมู่บ้านไหมไทยหลุ่งประดู่ เป็นหมู่บ้านทอผ้าไหมที่ขึ้นชื่ออีกแห่งหนึ่งของประเทศ นักท่องเที่ยวที่มาเยื่อนที่นี่จะได้สัมผัสวิถีชีวิตของชาวบ้าน ตั้งแต่การเลี้ยงหม่อน เพื่อให้ได้เส้นไหมไปจนถึงการย้อมสีจากธรรมชาติ และการทอผ้าไหมที่มีลวดลายสวยงาม ชาวบ้านที่นี่มีการรวมกลุ่มทอผ้าใช้ชื่อว่า “กลุ่มไหมไทยหลุ่งประดู่” หมู่บ้านไหมไทยหลุ่งประดู่ ตั้งอยู่ที่บ้านหลุ่งประดู่ หมู่ที่ 1 ตำบลหลุ่งประดู่ อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา  ประชาชนในตำบลหลุ่งประดู่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา ทำสวน เพราะอยู่ในที่ราบสูงในขณะเดียวกันแม่บ้านมีการรวมกลุ่มกันปลูกหม่อน เลี้ยงไหม และทอผ้าเป็นอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ในครัวเรือน อีกทั้งยังเป็นโอกาสในการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างคนในชุมชน รวมถึงเป็นการใช้เวลาว่างจากการทำงานบ้านให้เกิดประโยชน์ด้วย ในระยะเริ่มแรกภายในหมู่บ้านปลูกหม่อนเลี้ยงไหม และทอผ้าเพื่อใช้สอยในครัวเรือนเท่านั้น ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2539 ได้ก่อตั้งกลุ่มแต่การดำเนินการไม่ดีจึงพัฒนาปรับปรุงระบบของกลุ่ม พัฒนาทักษะการผลิตสินค้าและการตลาดในปี พ.ศ.2541 และจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชนเมื่อปี พ.ศ.2552 เป็นกลุ่มผู้ผลิตผ้าไหมแท้แบบครบวงจร ตั้งแต่การปลูกหม่อน การเลี้ยงไหม การผลิตเส้นไหม การทอผ้าไหม การย้อมไหมด้วยสีธรรมชาติ จากพืช สัตว์ และแร่ธาตุต่างๆ อาทิเช่น มะพร้าว คูน สีเสียด มะเกลือ ขนุน ครั่ง ทับทิม สนิมเหล็กและดินลูกรัง เป็นต้น ด้วยตระหนักดีว่าสิ่งที่ได้จากธรรมชาติจะก่อให้เกิดปัญหาแก่สิ่งแวดล้อมน้อยไม่เป็นอันตรายแก่มนุษย์ผู้ใช้ผ้าไหม ทั้งยังสามารถปลูกหรือเพาะเลี้ยงขึ้นทดแทนได้อีกด้วย ผ้าสมัยแรกๆไม่สวยนัก ต่อมาได่มีการพัฒนาโดยมีหน่วยงานเข้ามาสอนการให้สีให้ลายการย้อมแบบธรรมชาติ จนในที่สุดก็สวยจนได้รับรางวัลลายเอกลักษณ์ มีหลายหน่วยงานที่เข้ามาพัฒนาหมู่บ้านการท่องเที่ยวแต่เพิ่งจะเป็นเรื่องเป็นราวสมัยนี้เองพัฒนาชุมชนมาทำยุทธศาสตร์ไหมให้งบประมาณเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเส้นทางสายไหม เป็นรูปธรรมขึ้นมาก […]

Read More

สวนสัตว์นครราชสีมา

สวนสัตว์นครราชสีมา หรือ สวนสัตว์โคราช  ตั้งอยู่เลขที่ 111 ม. 1 ต.ไชยมงคล อ.เมือง จ.นครราชสีมา มีพื้นที่ 545 ไร่  สังกัดองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย เป็นสวนสัตว์ที่จัดตั้งขึ้นในองค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในปัจจุบันสวนสัตว์นครราชสีมาอยู่ในการดูแลของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สวนสัตว์ นครราชสีมา เหมาะเป็นที่พักผ่อน หย่อนใจสำหรับครอบครัว มาที่เดียวเที่ยวได้ทั้งชมสัตว์ ที่หาชมได้ยากแม้จะไม่มีหมีแพนด้าให้ได้ชมกันเหมือนกับสวนสัตว์เชียงใหม่ก็ ตาม แต่ที่นี่มีอุทยานสัตว์โลกล้านปี มีพื้นที่กว่า 4 ไร่ ออกแบบตกแต่งให้คล้ายกับยุคโบราณ มีหุ่นจำลองไดโนเสาร์สายพันธุ์ต่างๆ ขนาดใกล้เคียงของจริงกว่า 20 ชนิด มีทั้งประเภทกินพืช อย่างไดโนเสาร์คอยาวและประเภทกินเนื้อ ดุร้าย ทำให้เด็กได้เพลินเพลินกับสัตว์ต่างๆ และภายในสวนสัตว์โคราช มีสัตว์ป่าที่หาชมได้ยากมากมาให้นักท่องเที่ยวได้ชมกัน เช่น เสือ ยีราฟ สิงโต ช้าง ม้าลาย แรด เม่น นกนานาชนิด เช่น นกตะกรุม นกกระจอกเทศ นกฟลามิงโก และสวนน้ำ ที่เปิดบริการใหม่ มีเครื่องเล่น สไลด์เดอร์ […]

Read More

ศูนย์บริการทางหลวงลำตะคอง

ศูนย์บริการทางหลวงลำตะคอง ตั้งอยู่ที่บริเวณริมอ่างเก็บน้ำลำตะคอง ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สร้างขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 17 กรกฎาคม 2544 ซึ่งเห็นชอบกรอบแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา เศรษฐกิจของประเทศ อย่างมีคุณภาพและยั่งยืน โดยมอบหมายให้ ส่วนราชการและหน่วยงานที่รับผิดชอบจัดทำเป็นคู่มือเพื่อปฏิบัติงานต่อไป ซึ่งในส่วนของกระทรวงคมนาคมตามกรอบแผนยุทธ ศาสตร์ รับผิดชอบ มาตรการสร้าง คุณภาพการเจิรญเติบโตทางเศรษฐกิจ สิ่งที่น่าสนใจ ชมวิวเขื่อนลำตะคอง มีจุดชมวิวเขื่อนลำตะคองหลายจุดให้ผู้ที่แวะเวียนเข้ามาที่นี่ได้พักผ่อนหย่อนใจในสวนท้าวสุรนารีและซึมซับบรรยากาศลมพัดเย็นๆริมเขื่อน สวนท้าวสุรนารี ดูแลโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เป็นสวนสาธารณะแห่งใหม่ของ นครราชสีมา ตั้งอยู่ติดถนนใหญ่และเขื่อนลำตะคอง เป็นหนึ่งในแผนฟื้นฟูสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ของโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำลำตะคอง เป็นสวนป่ากึ่งรุกขชาติและพฤกษศาสตร์ รวมไม้หายากของภาคอีสาน 100 กว่าชนิด พร้อมบริเวณที่พักผ่อน สวนหย่อม ประติมากรรมพานบายศรีทางเดินและทางวิ่ง สวนสุขภาพ และซุ้มจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP ร้านอาหารและที่พักริมทาง อยู่ห่างจากสวนท้าวสุรนารีประมาณ 1 กิโลเมตร มีร้านอาหารมากมาย ตั้งอยู่ริมเขื่อนลำตะคอง ในแต่ละร้านจะมีคนโบกรถเข้าร้าน โดยยืนอยู่บนถนนเลย ค่อนข้างอันตรายครับ ถ้าชิดขวาได้ก็ชิดขวาเลย จากที่อ่านข้อมูลมาในหลายๆ ที่มีคนบอกว่าบางร้านไม่มีราคาที่เมนู พอเช็คบิลเสร็จ แพงหูฉี่เลย ยังไงก็สอบถามราคากันก่อนนะคะ อนุสรณ์สถานพลเอก ชาติชาย […]

Read More

ศาลหลักเมือง

ศาลหลักเมืองนครราชสีมา หรือ ศาลหลักเมืองโคราชตั้งอยู่ที่อำเภอเมือ จ.นครราขสีมา อยู่ที่หัวมุมสี่แยกถนนจอมพลตัดกับถนนประจักษ์ ลักษณะเป็นศาลเจ้าแบบจีน ประดิษฐานเสาหลักเมืองนครราชสีมา เป็นที่สักการะบูชาของชาวไทย และจีน สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ระหว่าง พ.ศ. 2199 – 2231 ต่อมาเจ้าอนุวงศ์ได้ยกกองทัพมายึดเมืองนครราชสีมา เมื่อ พ.ศ. 2369 ได้ทำลายเสาหลักเมือง ปัจจุบันมีการบูรณะตัวศาลและเสาหลักเมืองทำด้วยไม้ ผนังศาลด้านทิศตะวันออกเป็นกระเบื้องดินเผาปั้นลวดลายนูนต่ำ เป็นเรื่องราวการสู้รบของท้าวสุรนารี และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยในสมัยโบราณ จากคำบอกเล่าของคนในพื้นที่ กล่าวว่า ศาลหลักเมืองนครราชสีมา ศาลเดิมเป็นศาลไม้เล็ก ๆ มีเสา 6 ต้น ปลูกเป็นโรงเรือนพื้นเป็นดิน หลังคามุงสังกะสี ฝากระดานเกร็ด มีประตู 1 ประตู เสาหลักเมืองถูกแขวนโยงไว้ด้วยเชือกหนัง ทั้งหัวเสาและโค่นเสา โดยหันหัวเสาไปทางประตูไชยณรงค์ หรือ ประตูผี(ทิศใต้) ส่วนโคนเสาอยู่ทางทิศปะตีน(ทิศเหนือ) สภาพภายในค่อนข้างมืดสลัว มีกลิ่นหอมธูปเทียนอบอวน บริเวณหน้าศาลเป็นโคลน มีต้นจันทร์ปลูกเรียงรายตามถนน มีเสาหลักร้อย(เสาหลักแรกของเมืองนครราชสีมา ปักไว้ฝั่งตรงข้ามถนน) เสานี้จะปักไว้ข้างถนนเป็นระยะจนถึงบ้านหลักร้อย ทางทิศตะวันตกของศาลเป็นป่า มีโรงหนัง โรงลิเก คนเมืองนครราชสีมานับถือศาลหลักเมืองนี้มาก คนผ่านไปมาจะต้องกราบไหว้ […]

Read More

วัดหน้าพระธาตุ

วัดหน้าพระธาตุ หรือ วัดตะคุ ตั้งอยู่ที่ หมู่ 1 ตำบลตะคุ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา อยู่ห่างจากเทศบาลเมืองเมืองปักประมาณ 4 กม. เป็นวัดเก่าแก่ของชาวปักธงชัย เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น สร้างขึ้นราวสมัยสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ราวปี พ.ศ. 2330 ชื่อวัดนั้นเรียกกล่าวกันตามพระธาตุเจดีย์ที่มีปรากฏอยู่ภายในวัด จุดเด่นของวัดนี้คือมีความโดดเด่นด้วยงานจิตรกรรมฝาผนังที่เก่าแก่ และโบราณสถานยังมีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์อยู่ สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด พระอุโบสถหลังเก่า หรือ สิม (พระอุโบสถแบบอีสาน) ตั้งอยู่ข้างโบสถ์ใหม่ เป็นหลังดั้งเดิมมีมาแต่ครั้งสร้างวัด ฐานโบสถ์มีลักษณะแอ่นโค้ง ที่ศัพท์ทางช่างเรียกว่า ตกท้องสำเภา หรือท้องช้าง หรือท้องเชือกซึ่งเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมที่ช่างนิยมทำกันในช่วงปลายกรุงศรีอยุธยา และต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ที่น่าสนใจคือส่วนของหลังคาซึ่งไม่มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์เช่นโบสถ์ที่พบเห็นทั่วไป ซึ่งคล้าย “ศิลปะพระราชนิยม” ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายในโบสถ์มีภาพเขียนซึ่งอยู่ในสภาพสมบูรณ์น่าชม เป็นภาพแสดงเรื่องราวต่าง ๆ เช่น ภาพชาดกตอนต่าง ๆ ภาพพระบฏ (พระพุทธเจ้าทรงยืน) ภาพการนมัสการรอยพระพุทธบาท ภาพพิธีศพหรืออสุภกรรมฐาน พระมาลัย นอกจากนี้ยังสอดแทรกวิถีชีวิตชาวบ้านด้วย ในอดีตมีภาพเขียนทางด้านนอก แต่ปัจจุบันลบเลือนไปมากแล้ว เหลือเพียงบางส่วนที่เหนือประตูทางเข้าด้านหน้า หอไตรกลางน้ำ ตั้งอยู่หน้าโบสถ์หลังเก่า หอไตรหลังนี้ยกพื้นสูงชั้นเดียวตั้งอยู่ในสระน้ำ มีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบเรือนไทยหลังคาจั่วภาคกลาง ผนังอาคารเป็นแบบฝาปะกน […]

Read More