Category: ศรีสะเกษ

ศูนย์แสดงพันธุ์สัตว์น้ำศรีสะเกษ

ศูนย์แสดงพันธุ์สัตว์น้ำศรีสะเกษ ไปท่องโลกใต้น้ำแบบง่ายๆเดินชิลๆชมปลาในอุโมงค์แก้วใต้น้ำกันค่ะ ศูนย์แสดงพันธุ์สัตว์น้ำศรีสะเกษ ตั้งอยู่ภายในสวนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา (เกาะห้วยน้ำคำ) ถ.เลียงเมือง ต.หนองครก อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ เป็นอาคารแสดงพันธุ์สัตว์น้ำในการดูแลของเทศบาลเมืองศรีสะเกษ ซึ่งมีแนวคิดมุ่งเน้นการพัฒนาให้ความรู้ สร้างความเพลิดเพลิน ส่งเสริมการท่องเที่ยวแก่เยาวชน นักเรียน นักศึกษาและประชาชนทั่วไป นอกเหนือจากการเรียนรู้ในตำรา หรือในห้องเรียน ศูนย์แสดงพันธุ์สัตว์น้ำศรีสะเกษ ใช้งบประมาณในการก่อสร้างประมาณ 100 ล้านบาทเศษ ใช้เวลาในการก่อสร้างกว่า 1 ปี เปิดให้เข้าชมครั้งแรกเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2554 ซึ่งตรงกับวันเด็กแห่งชาติ จัดแสดงทั้งพันธุ์สัตว์น้ำจืดและน้ำเค็ม ภายในอาคารได้จัดโซนปลาทะเล ปลาน้ำจืด ปลาสวยงาม โดยมีปลาน้ำจืด 79 ชนิด และปลาทะเล 22 ชนิด จำนวนกว่า 4,000 ตัว ตกแต่งในบรรยากาศไดโนเสาร์โลกล้านปีที่แปลกใหม่ ทั้งยังมีอุโมงค์แก้วใต้น้ำที่มีความยาวถึง 24 เมตร ซึ่งจะทำให้ผู้ชมได้สัมผัสกับฝูงปลาที่แหวกว่ายได้อย่างใกล้ชิด อีกทั้งบริเวณภายในยังมีการจำลองอุทยานไดโนเสาร์โลกล้านปีในแบบแปลกใหม่อีกด้วยค่ะ [adsense-2] ช่วงเวลาที่เปิดให้เข้าชม  เปิดให้เข้าชมในวันอังคาร-วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 10.00-16.00 น. ปิดทำการทุกวันจันทร์ […]

Read More

วัดเมืองจันทร์

วัดเมืองจันทร์ ตั้งอยู่เลขที่ 1 หมู่ที่ 2 บ้านเมืองจันทร์ ตำบลเมืองจันทร์ อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นวัดที่มีโบราณสถานที่น่าสนใจมากมาย อีกทั้งยังมีพระธาตุศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นที่เคารพสักการะของชาวเมืองศรีสะเกษอีกด้วยค่ะ สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด พระธาตุเมืองจันทร์ รูปแบบเป็นเจดีย์เพิ่มมุมไม้ 12 เรือนธาตุมีซุ้มจระนำทั้ง 4 ด้าน ส่วนบนเป็นการจำลองเรือนธาตุซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไป 3 ชั้น สภาพส่วนใหญ่ยังคงสมบูรณ์อยู่ส่วนฐานพังทลายไปเล็กน้อย ส่วนเรือนธาตุและส่วนยอดยังคงสมบูรณ์ โดยส่วนยอดมีการจำลองส่วนเรือนธาตุให้มีขนาดเล็กลงเรียงลดหลั่นกันขึ้นไปสามชั้น ปลียอดสอบแหลม บนสุดทำเป็นยอดเรียวกลมตัวเรือนธาตุก่ออิฐทึบ ยังคงพบลวดลายปูนปั้นรูปกลีบบัวที่ประดับอยู่บนหัวเสาติดผนังที่รองรับกรอบหน้าบัน กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ 23 ศิลปะล้านช้างผสมขอมแบบท้องถิ่น เปรียบเทียบได้กับปราสาทบ้านปราสาท ตำบลบ้านปราสาท อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ สิมโบราณ มีลักษณะเป็นโบสถ์หลังเล็ก มีเสมาอยู่ภายในตัวโบสถ์ เป็นศิลปอีสานพื้นถิ่นกำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ 25 ก่อด้วยอิฐฉาบปูนขาว มีฐานสูงและบันไดทางขึ้นส่วนบนชำรุดหักพัง ประตูและบันไดทางขึ้นอยู่ทางทิศตะวันตก หลังคาพังทลาย ด้านข้างเจาะช่องเป็นหน้าต่าง ภายในมีใบเสมาหินสลักเป็นลวดลายคล้าย ดอกบัวตูมปักเรียงตามแนวยาวทั้ง 8 ทิศ และได้มีการบูรณะซ่อมแซมโดยทำหลังคามุงสังกะสีครอบไว้ ใช้เป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจและทำสังฆกรรม ปราสาทบ้านเมืองจันทร์ เป็นปราสาท หรือ ปรางค์เดี่ยว ฐานเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาด 3.40 […]

Read More

วัดพระพุทธบาทภูสิงห์

พระพุทธบาทภูสิงห์ ตั้งอยู่ที่ ยอดเขาภูสิงห์ภายในวัดพระพุทธบาทภูสิงห์ บ้านศาลา ตำบลโคกตาล อำเภอภูสิงห์ ที่วัดแห่งนี้มีรอยพระพุทธบาทศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้คนมากมายหลั่งไหลมากราบไหว้ เป็นรอยเท้าด้านซ้ายลักษณะเรียบ ปลายเท้าชี้ไปทางทิศตะวันออก ในขณะที่พบปรากฏรอยกงจักรอยู่กลางรอยพระพุทธบาทอย่างชัดเจน ต่อมาภายหลังประชาชนมานมัสการรอยพระพุทธบาทจำนวนมาก ได้ตักเอาน้ำมนต์และสิ่งมงคลอื่นตามความเชื่อทำให้รอยกงจักรที่ปรากฏ อยู่กลางรอยพระพุทธบาทลบเลือนจางหายไป สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด รอยพระพุทธบาท เป็นรอยพระบาทข้างขวาขนาด ใหญ่ที่สลักลงในเนื้อหินทรายลึก 5 ซม. ยาว 1.47 ม. กว้าง 57 ซม. ที่กลางพระบาทเป็นรูปตราธรรมจักร อยู่ในช่วงสมัยทวารวดี บรรยากาศโดยรอบเงียบสงบ อยู่ท่ามกลางธรรมชาติป่าไม้เบญจพรรณ เป็นที่ตั้ง ของสำนักสงฆ์ กรมศิลปกรนครราชสีมาได้ทำการศึกษาวิจัยรอยพระพุทธบาทนี้ พบว่ามีอายุประมาณ 1,500 -1,700 ปีมาแล้ว บ่อน้ำทิพย์  บ่อน้ำทิพย์แห่งนี้อยู่บริเวณในป่าห่างจากรอยพระพุทธบาทไปประมาณ ๓๐๐ เมตร แต่เดิมได้เคยเหือดแห้งมาเป็นเวลานาน แล้ว กลับมาผุดขึ้นมาจากดินอีกครั้งเมื่อประมาณ ๑๐ ปีก่อน(ก่อนที่คณะของอาจารย์ยุทธนันท์ ประวงษ์จะมาทำบุญที่วัดนี้เล็กน้อย) ลักษณะของน้ำผุดนี้ ตามที่ผู้พิมพ์ไปพบมาคือมีลักษณะ เป็นน้ำพุที่ผุดขึ้นจากพื้นดินสูงประมาณ ๐.๕ – ๑ นิ้ว มีน้ำนองทั่วในบริเวณนั้น น้ำมีลักษณะใสสะอาด ล่าสุดปี ๒๕๕๑ หลังจากกลับไปที่นั่นอีกครั้ง ปรากฏว่าได้ไปสอบถามเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันเกี่ยวกับน้ำ ทิพย์ผุดปรากฏว่าเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันไม่ทราบเรื่องนี้มาก่อนเลย จึงเป็นที่น่าแปลกใจว่า […]

Read More

วัดป่ามหาเจดีย์แก้ว

วัดป่ามหาเจดีย์แก้ว หรือวัดล้านขวด ตั้งอยู่ในเขตสุขาภิบาล สิ่งปลูกสร้างภายในตกแต่งด้วยขวดแก้วหลากสีหลายแบบนับล้านใบที่ชาวบ้านได้ช่วยกันบริจาค เป็นวัดที่มีลักษณะสวยงามแปลกตา โดยเฉพาะศาลาใหญ่ที่เรียกว่า ศาลาฐานสโม มหาเจดีย์แก้ว และนอกจากนี้ยังมีสิม (โบสถ์) อยู่กลางน้ำภายในเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปหยกขาว ซึ่งมีความวิจิตรงดงามมาก สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด สิ่งปลูกสร้างภายในวัดทำด้วยขวดทั้งหมด ผู้มาเยือนจะตื่นตาตื่นใจกับสิ่งปลูกสร้างทุกอย่างภายในบริเวณวัด ทำด้วยขวดนับล้าน ๆใบ เรียงรายสวยงาม ประดับประดาบนซุ้มประตูวัด เจดีย์ ศาลา กุฏี ถังเก็บน้ำฝน ห้องน้ำห้องส้วม ตลอดจนเมรุเผาศพ อุโบสถ เป็นทรงจตุรมุขที่สวยงามโดดเด่นอยู่กลางสระน้ำ และบริเวณโดยรอบเป็นลานโล่งกว้างเห็นได้เด่นชัด มีสะพานทางเดินเชื่อมไปยังอุโบสถ 2 ทาง ด้านหน้าและด้านข้าง การสร้างที่วิจิตรตระการตาจนไม่น่าเชื่อว่าโดยรอบเป็นเพียงขวดไร้ค่าที่ได้มาจากการซื้อของเก่า และการบริจาคเข้ามาให้ทางวัดอย่างต่อเนื่องด้วยแรงศรัทธาจากประชาชนทุกสารทิศ พระพุทธรูปหินหยกขาว พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์แห่งวัดล้านขวด ประดิษฐานอยู่ภายในอุโบสถ เป็นหินหยกขาวนำเข้ามาจากประเทศพม่า แกะสลักโดยช่างอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ศาลาฐานสโมมหาเจดีย์แก้ว  เป็นศาลา 2 ชั้นประดับด้วยขวดทั้งหลัง เริ่มตั้งแต่บันไดเป็นต้นไปอยู่ด้านหลังของเจดีย์ทรงกลม ข้างๆ ศาลาเอนกประสงค์ฐานสโม ด้านหลังของศาลาฐานสโมมหาเจดีย์แก้ว สร้างเจดีย์เชื่อมต่อกับศาลาทางด้านหลัง เป็นเจดีย์ทรงกลมบนฐานสี่เหลี่ยมมองเห็นยอดสูงเลยศาลาขึ้นมาได้ชัดเจนเป็นที่สะดุดตาผู้มาพบเห็น ศาลาเอนกประสงค์ฐานสโม  เป็นศาลาที่มีหลังคาโค้งรูปทรงศาลายาว สำหรับประชาชนที่เดินทางมาที่วัดล้านขวดได้เข้าไปทำบุญไหว้พระ และถวายสังฆทานในศาลาแห่งนี้ ความโดดเด่นของการสร้างวัดป่ามหาเจดีย์แก้ว หรือวัดล้านขวดจะเห็นได้ชัดมากขึ้นเมื่อเข้ามาในศาลาหลังนี้ และได้เห็นภาพประดับอยู่บนฝาผนังรูปต่างๆ สร้างด้วยฝาขวดเครื่องดื่มหลายชนิดจนเป็นภาพที่สวยงาม ประวัติความเป็นมาของวัด […]

Read More

วัดบูรพามหาพุทธาราม

วัดบูรพามหาพุทธาราม หรือ วัดเขียนบูรพาราม ตั้งอยู่ที่ บ้านพราน ม. 4 ต.ห้วยเหนือ อ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ มีพระอุโบสถเก่าแก่ลักษณะเป็นสิมอีสาน ภายในประดิษฐานพระประธาน คือ หลวงพ่อโต เล่ากันว่า 200 กว่าปีก่อน พระยาไกรภักดีศรีลำดวน เจ้าเมืองขุขันธ์คนที่ 2 อพยพชาวบ้านมาสร้างเมืองใหม่ ณ บริเวณวัดเขียนบูรพารามปัจจุบัน ช่วยกันถากถางป่าพบหินสีแดงมีลักษณะคล้ายพระพุทธรูปโผล่ขึ้นบนจอมปลวก จึงสั่งบัญชาการให้ชาวบ้านตกแต่งทั่วบริเวณแล้วสร้างเสริมเป็นฐานพระ จากนั้นสร้างองค์พระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ขึ้นครอบองค์พระ ต่อมามีผู้ศรัทธาบูรณะองค์พระก่ออิฐถือปูนหุ้มหลวงพ่อโตให้ใหญ่ขึ้นอีก พระพุทธรูปศิลปะผสมผสานระหว่างล้านช้างและอยุธยาตอนปลาย ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 3.50 เมตร สูง 6.80 เมตร สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด เจดีย์ธาตุโบราณ 4 องค์ อยู่ทั้ง 4 มุมของพระอุโบสถ เป็นเจดีย์ สี่เหลี่ยมย่อมุมก่อด้วยอิฐสูงประมาณ 7 เมตร ยอดเจดีย์ทำเป็นชั้นซ้อนกันถึง 3 ชั้น ปัจจุบันเหลือเพียง 2 องค์ด้านหน้าพระอุโบสถเท่านั้นที่สมบูรณ์ ส่วน 2 […]

Read More

พระธาตุเรืองรอง

พระธาตุเรืองรอง ไปกราบไหว้พระธาตุเรืองรองเพื่อชีวิตที่รุ่งเรืองกันค่ะ พระธาตุเรืองรอง  ตั้งอยู่ที่วัดบ้านสร้างเรือง ตำบลหญ้าปล้อง  อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นพระธาตุศิลปะแบบพื้นบ้านที่สร้างขึ้นโดยผสมศิลปอีสานใต้ สี่เผ่าไทย ได้แก่ ลาว ส่วย เขมร เยอ มีความสวยงามและเป็นเอกลักษณ์อย่างลงตัว พระธาตุมีความสูง 49 เมตร แบ่งออกเป็น 6 ชั้น ชั้นล่างสุดใช้สำหรับประกอบพิธีทางศาสนา ชั้นที่สองและสามเป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านสี่เผ่าไทย ชั้นที่สี่เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ ชั้นที่ห้าใช้สำหรับการทำสมาธิ และชั้นที่หกเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุและจุดชมทัศนียภาพของพื้นที่โดยรอบ” วัดบ้านสร้างเรืองเริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2511 โดยหลวงปู่ธัมมา พิทักษา ซึ่งเป็นชาวบ้านสร้างเรืองโดยกำเนิด จนได้รับพระราชทานวิสุงคามวาสี เมื่อปี พ.ศ. 2520 ต่อมาหลวงปู่ธัมมา ได้เล็งเห็นว่าในภูมิภาคอีสานใต้ไม่มีพระธาตุให้ชาวบ้านสักการบูชา จึงได้ริเริ่มสร้างพระธาตุขึ้นในปี พ.ศ. 2525 พระธาตุเรืองรอง เป็นพระธาตุที่สร้างแบบศิลปะพื้นบ้านสี่เผ่า ได้แก่ ส่วย เขมร ลาว เยอ เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2524 โดยหลวงปู่ธัมมา พิทักษา มีความสูง 49 เมตร ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสด้านละ […]

Read More

ผสมออีแดง

ผามออีแดง ไปชมทะเลหมอก อาบสายลมหนาว ดูวิวบนยอดผากันค่ะ ผสมออีแดงตั้งอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ผามออีแดงแห่งนี้ตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์สำคัญของรอยต่อปราสาทพระวิหารที่หลายคนกล่าวขาน หลายคนถึงบางอ้อกันแล้วคือรู้เลยว่าที่นี่มีความสำคัญอย่างไร ที่นี่อยู่บริเวณใกล้เคียงกับทางเดินขึ้นปราสาทเขาพระวิหาร เป็นหน้าผาสูงชันกั้นเขตแดนประเทศไทยกับประเทศกัมพูชา ตลอดแนวผามออีแดงมีระยะประมาณ 300 เมตร เป็นจุดชมวิวที่มองเห็นทัศนียภาพของแผ่นดินประเทศกัมพูชาที่อยู่ต่ำลงไปอย่างเป็นมุมกว้าง มีฝูงค้างคาวในยามพระอาทิตย์ตกดิน บริเวณใกล้เคียงมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ชมโบราณสถานสถูปคู่รูปทรงสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ ส่วนบนกลมข้างในเป็นโพรง สำหรับบรรจุสิ่งของสร้างด้วยหินทรายแดง ขนาดกว้าง 1.93 เมตร ยาว 4.2 เมตร ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ คำว่า “มอ” ภาษาอีสานแปลว่า โพนเล็กๆ ที่โนน ที่สูงเป็นหย่อมๆ ส่วนคำว่า “อีแดง” น่าจะเป็นชื่อเรียกคนละครับ รวมแล้วคงหมายความว่าผาที่มีโพนเล็กๆ มีอีแดงอาศัยอยู่ก็เป็นได้ครับผม ผามออีแดงตั้งอยู่ที่ชายแดนไทย-กัมพูชา เป็นหน้าผาหินสีแดงที่มีทัศนียภาพกว้างไกลสุดตา และจากจุดนี้นักท่องเที่ยวสามารถมองเห็นปราสาทพระวิหารได้ [adsense-2] สิ่งที่น่าสนใจ ภาพสลักนูนต่ำ บริเวณผามออีแดง มีภาพแกะสลักนูนต่ำเป็นภาพคน 3 คน ในเครื่องแต่งกายแบบชาวกัมพูชา สร้างขึ้นก่อนปราสาทเขาพระวิหาร ราวกลางศตวรรษที่ 11 อายุประมาณ 1,500 ปี มีโบราณวัตถุ […]

Read More

ปราสาทหินบ้านสมอ

ปราสาทบ้านทะมอ หรือ ปราสาทบ้านทามจาน ตั้งอยู่ที่บ้านทามจาน ตำบลสมอ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นโบราณสถานในศาสนาพุทธลัทธิมหายาน สร้างขึ้นเพื่อเป็นศาสนสถานประจำสถานพยาบาลในชุมชนต่างๆ ทั่ว อาณาจักรขอมโบราณ ช่วงสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ตรงกับพุทธศตวรรษที่ 18 ลักษณะศิลปะและรูปแบบสถาปัตยกรรมเป็นแบบศิลปะบายน วัสดุก่อสร้างส่วนใหญ่ เป็นศิลาแลง (หินแห่) ประกอบด้วยปราสาทประธาน หลังเดียวที่มีลักษณะเป็นปรางค์เดี่ยว หันหน้าไปด้านทิศตะวันออก มุมด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ หน้าประสาทประธานมีอาคารบรรณาลัย (ห้องสมุด) อาคารทั้ง 2 หลังนี้ ถูกล้อมรอบด้วยกำแพงแก้วรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ซึ่งมีทางเข้า-ออก ทางเดียว ในลักษณะซุ้มโคปุระ อยู่บริเวณกึ่งกลาวของแนวกำแพงแก้วด้านทิศตะวันออก นอกกำแพงแก้ว ห่างออกไป ทางมุมด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีสระน้ำ รูปทรงสี่เหลี่ยม กรุขอบสระด้วยศิลาแลงเช่นกัน จากหน้ามุขของปราสาทประธานมายังโคปุระ มีทางเดิน (ชาลา) เชื่อมต่อเนื่องออกมาด้านนอก ผ่านซุ้มประตู(โคปุระ) จนถึงสระน้ำ ปัจจุบัน ปราสาทแห่งนี้ได้รับการขุดแต่ง-ขุดค้น และบูรณะเสร็จสมบูรณ์แล้ว ผลจากการขุดค้นพบโบราณวัตถุสำคัญหลายชนิด เช่น ประติมากรรมรูปพระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภา (พระโพธิสิตว์ผู้เป็นหมอยา รักษาโรค ตามคติพุทธ มหายาน), […]

Read More

ปราสาทสระกำแพงน้อย

ปราสาทหินสระกำแพงน้อย ตั้งอยู่ภายในวัดสระกำแพงน้อย ติดกับถนนสายอุทุมพรพิสัย-ศรีสะเกษ (หมายเลข 226) ในเขตตำบลขยุง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 18 สมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ปราสาทสระกำแพงน้อย เป็นปรางค์เดี่ยวสร้างด้วยศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยมย่อมุม สูงประมาณ 11 เมตร ศิลปะการก่อสร้างแบบขอม ใช้เป็นเทวสถานสำหรับบูชาเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ ประกอบด้วยสิ่งก่อสร้างที่สำคัญ คือ ปราสาทประธาน วิหาร กำแพงแก้ว ซุ้มประตู และสระน้ำชื่อสระปโนดาตในปัจจุบันน้ำในสระอโนดาตนี้ถูกใช้ในทำน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ในพิธีสำคัญของจังหวัดศรีสะเกษ ปราสาทแห่งนี้จัดเป็นอโรคยาศาล (โรงพยาบาล)  หนึ่งในจำนวน 102 แห่ง ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรขอมโบราณ โปรดให้สร้างขึ้นทั่วราชอาณาจักรในราวพุทธศตวรรษที่ 18 (พ.ศ. 1724 – พ.ศ. 1761) ก่อด้วยศิลาแลง และหินทราย ตัวปรางค์ประธาน ยังค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ขาดการบูรณะ ส่วนโคปุระหรือกำแพงแก้วพังทลาย แต่ยังมีองค์ประกอบครบถ้วน ทั้งทับหลัง และโครงสร้างอื่นๆ แต่ยังไม่ได้รับบูรณะและปรับแต่ง สันนิษฐานว่าแต่เดิมนั้นอโรคยาศาลจะประกอบด้วยบริเวณสำคัญสองส่วนได้แก่ส่วนที่ใช้รักษาผู้เจ็บป่วยซึ่งคงสร้างด้วยเครื่องไม้ ปัจจุบันจึงไม่เหลือหลักฐานให้เห็น อีกส่วนหนึ่งได้แก่ศาสนสถานประจำอโรคยาศาลซึ่งยังคงเหลือหลักฐานให้เห็นในปัจจุบัน แผนผังของปราสาทสระกำแพงน้อยจะหันหน้าไปยังทิศตะวันออก […]

Read More

ปราสาทปรางค์กู่

ปราสาทปรางค์กู่ ตั้งอยู่บ้านกู่ ตำบลกู่ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ ปรางค์องค์นี้สร้างด้วยอิฐเรียงแผ่นโต ๆ เหมือนปราสาทศีขรภูมิที่จังหวัดสุรินทร์ซึ่งเป็นศาสนสถานสมัยขอมที่เก่าแก่มาก มีอายุกว่าพันปีมาแล้ว ด้านหน้าปรางค์กู่มีสระน้ำขนาดใหญ่ เป็นทำเลพักหากินของนกเป็ดน้ำ ซึ่งมีมากในช่วงฤดูแล้งตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นไป ปราสาทปรางค์กู่ มีปราสาท 3 องค์ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงเดียวกัน เรียงตัวในแนวทิศเหนือ-ใต้ หันหน้าหรือมีประตูทางเข้าด้านทิศตะวันออกเพียงด้านเดียว ปราสาทประธานองค์กลางและปราสาทองค์บริวารองค์ที่ตั้งอยู่ทางทิศใต้ก่อด้วยอิฐ เสาประดับกรอบประตูก่อด้วยอิฐ มีการแกะสลักลวดลายลงบนอิฐตามส่วนประกอบต่างๆ เช่น บริเวณซุ้มหน้าบันสลักเป็นซุ้ม โค้งหยักมียอดแหลม ช่วงปลายสลักเป็นรูปเศียรนาค บริเวณหัวเสาประดับผนังสลักเป็นเส้นตรงในแนวนอนขนานกัน เป็นต้น ส่วนปราสาทองค์บริวารองค์ที่อยู่ทางทิศเหนือก่อด้วยศิลาแลง จากฐานถึงส่วนเรือนธาตุส่วนยอดปราสาทก่อด้วยอิฐ ปราสาทแห่งนี้เดิมเคยมีทับหลังอยู่เหนือกรอบประตูทางเข้า ทับหลังของปราสาทประธานองค์กลางเป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ทับหลังของปราสาทบริวารองค์ทิศใต้เป็นภาพพระนารายณ์ 4 กร ทรงครุฑยืนอยู่บนหลังสิงห์ 2 ตัว ส่วนทับหลังของปราสาทบริวารองค์ที่อยู่ทางทิศใต้เป็นภาพพระลักษมณ์ถูกศรนาคบาศ ปัจจุบันทับหลังเหล่านี้ถูกเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย จังหวัดนครราชสีมา จากการขุดแต่งโบราณสถานแห่งนี้ในปี พ.ศ. 2531 พบโบราณวัตถุที่เป็นชิ้นส่วนประกอบอาคารที่น่าสนใจหลายชิ้น เช่น ชิ้นส่วนบัวยอดปราสาท แผ่นศิลาฤกษ์ บันแถลง ชิ้นส่วน กรอบหน้าบันรูปนาค 5 เศียร และหัวเสาประดับผนังรองรับ เป็นต้น จากลักษณะของศิลปกรรมที่ปรากฏ กล่าวได้ว่าสร้างขึ้นในศาสนาฮินดู ประมาณพุทธศตวรรษที่ 17 มีรูปแบบศิลปะเขมรแบบนครวัด […]

Read More