Category: เพชรบูรณ์

อนุสาวรีย์พ่อขุนผาเมือง

อนุสาวรีย์พ่อขุนผาเมือง ตั้งอยู่ที่บริเวณสี่แยกพ่อขุนผาเมือง บ้านน้ำชุน ตำบลน้ำชุน อำเภอหล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ อนุสาวรีย์พ่อขุนผาเมือง ชาวจังหวัดเพชรบูรณ์ได้ร่วมใจกันสร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์รำลึกถึงพระเกียรติของวีรกษัตริย์ นอกประวัติศาสตร์ พระผู้ร่วมก่อตั้งชาติไทย ผู้ทรงร่วมสถาปนาราชอาณาจักรสุโชทัยเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 18 ที่ได้ทรงร่วมมือกับพ่อขุนบางกลางหาว เจ้าเมืองบางยาง พระสหาย นำไพร่พลทำสงครามขจัดอำนาจการปกครองของขอมให้พ้นจากดินแดนสุโขทัย และได้ทรงสถาปนาพ่อขุนบางกลางหาวขึ้นเป็นกษัตริย์ครองกรุงสุโขไทย ถวายพระนามว่า “ศรีอินทราบดินทราทิตย์” อนุสาวรีย์พ่อขุนผาเมืองประดิษฐานอยู่บนพระแท่นอย่างสง่างามในท่าประทับยืน พระพักตร์มองตรงไปทางทิศตะวันออก พระหัตถ์ขวาทรงพระแสงดาบ หันปลายจรดพื้น อันเป็นพระอิริยาบถในท่าที่หยุดพักการศึกสงคราม พ่อขุนผาเมือง ปรากฏชื่อในหลักศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 2 ( จารึกวัดศรีชุม) ทรงเป็นโอรสพ่อขุนนาวนำถุม ผู้ครองเมืองราด กษัตริย์ขอมยกพระราชธิดาคือพระนางสิงขรเทวีให้อภิเษกสมรสด้วย พระราชทานนามสถาปนาเป็น กมรเต็งอัญศรีอินทรบดินทราทิตย์ และพระราชทานพระขรรค์ไชยศรี เป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์ [adsense-2] ต่อมาพระองค์ร่วมกับพ่อขุนบางกลางหาว ยึดเมืองสุโขทัยคืนจากขอมสมาสโขลญลำพง ทรงยกพ่อขุนบางกลางหาวเป็นกษัตริย์ พร้อมทั้งยกตำแหน่ง กมรเต็งอัญศรีอินทรบดินทราทิตย์ อันเป็นการอภิเษกพระสหายให้เป็นกษัตริย์สุโขทัย ถึงแม้ว่าหลักฐานทางประวัติศาสตร์จะไม่ชี้ชัดว่าเมืองราดอยู่บริเวณใด แต่ชาวเพชรบูรณ์สำนึกในคุณงามความดีของพ่อขุนผาเมืองที่มีต่อชาวไทย ทรงเป็นเจ้าเมืองผู้กอบกู้อิสรภาพกรุงสุโขทัยจากขอม ทรงเสียสละไม่เห็นแก่ลาภยศ อำนาจ โดยเสียสละให้พ่อขุนบางกลางหาวพระสหายเป็นกษัตริย์ครองกรุงสุโขทัย ชาวเพชรบูรณ์จึงพร้อมใจกันสร้างอนุสาวรีย์พ่อขุนผาเมือง เพื่อลำลึกถึงคุณงามความดีของพระองค์ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 10มิถุนายน พ.ศ.2518 มอบให้กองหัตถศิลป กรมศิลปากร […]

Read More

อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว

อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว อยู่ในท้องที่อำเภอหล่มเก่า อำเภอหล่มสัก อำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ และอำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ เป็นอุทยานแห่งชาติที่สวยที่สุดแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นแนวเขตกั้นระหว่างภาคอีสานและภาคเหนือ และเป็นแหล่งท่องเที่ยว ที่มีชื่อเสียงอีกแห่งหนึ่งของเพชรบูรณ์ ได้รับความนิยมในหมู่นักเดินทางที่ชอบการเดินป่าศึกษาธรรมชาติ สถานที่ท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว 1. จุดชมทิวทัศน์ถ้ำผาหงษ์ ทางเข้าอยู่ตรงกิโลเมตรที่ 39 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (ดอยหล่มสัก-ชุมแพ) ระยะทางเดินเท้าประมาณ 300 เมตร มีลักษณะ เป็นเขาสูง มีทางเท้าเดินขึ้นยอดเขาประมาณ 200 เมตร เพื่อชมทิวทัศน์และชมพระอาทิตย์ตกในตอนเย็น เป็นถ้ำขนาดเล็ก ภายใน มีช่องหลืบแคบๆ ซับซ้อน มีหินงอกหินย้อยที่สวยงาม เป็นที่อยู่อาสัยของค้างคาวหลายชนิด โดยเฉพาะค้างคาว มงกุฎมาร์แชล ซึ่งเป็นสัตว์หายากใกล้สูญพันธุ์ พื้นที่โดยรอบเป็นป่าไผ่และชะง่อนหินแหลมคม 2. สวนสนบ้านแปก สวนสนบ้านแปก หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ดงแปก มีทางเข้าอยู่ตรงกิโลเมตรที่ 49 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (ดอยหล่มสัก-ชุมแพ) ระยะทางเดินเท้าประมาณ 5 กิโลเมตร มีลักษณะเป็นป่าสนสองใบขึ้นอยู่เป็นกลุ่มใหญ่เพียงชนิดเดียวตามธรรมชาติ ต้นไม้พื้นล่างประกอบด้วยทุ่งหญ้าและหญ้าเพ็กเป็นจำนวนมาก มีความสวยงาม […]

Read More

อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ

อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ เมืองศรีเทพอยู่ห่างจากตัวเมืองเพชรบูรณ์ประมาณ 107 กิโลเมตร ห่างจากอำเภอวิเชียรบุรีประมาณ 25 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณสองพันไร่เศษ มีกำแพงเมืองที่ก่อด้วยดินล้อมรอบ และมีคูเมืองนอกกำแพง มีประตูเมืองทั้งสี่ทิศ ภายในเมืองมีปรางค์สมัยลพบุรีอยู่สององค์ เรียกว่า ปรางค์องค์พี่และปรางค์องค์น้อง ทางทิศเหนือนอกกำแพงเมืองออกไปมีสระน้ำสองแห่ง ชื่อสระแก้วและสระขวัญ ในสมัยก่อนเมืองศรีเทพต้องส่งส่วยน้ำจากสระทั้งสองนี้ เพื่อนำไปใช้ทำน้ำพิพัฒยสัตยา เพราะถือว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ เป็นโบราณสถานสำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดเพชรบูรณ์ อุทยานมีพื้นที่ครอบคลุมโบราณสถานในเมืองเก่าศรีเทพ ศรีเทพเป็นเมืองโบราณที่อยู่ในท้องที่อำเภอศรีเทพ เดิมมีชื่อว่า “เมืองอภัยสาลี” ถูกค้นพบเมื่อสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จไปตรวจราชการมณฑลเพชรบูรณ์ และได้ทรงเรียกเมืองนี้เสียใหม่ว่า “เมืองศรีเทพ” เมื่อปี พ.ศ. 2447-2448 เมืองโบราณศรีเทพนี้มีลักษณะเป็นเมืองซ้อนเมืองขนาดใหญ่ ที่ตั้งของเมืองอยู่ในชุมทาง ที่สามารถติดต่อกับภาคอื่น ๆ ได้สะดวก ดังนั้นจึงได้รับอิทธิพลทางศิลปวัฒนธรรมจากอาณาจักรข้างเคียง มาผสมผสาน เช่น ศิลปะทวารวดี ศิลปะขอม เป็นต้น เมืองศรีเทพสร้างขึ้นในยุคของขอมเรืองอำนาจ ซึ่งคาดว่ามีอายุไม่ต่ำกว่า 1,000 ปี โดยดูจากหลักฐานทางสถาปัตยกรรม ศิลปกรรม และวัฒนธรรมที่ตกทอดมาถึงปัจจุบัน ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและมีความเจริญสูงสุดทางด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม สันนิษฐานว่าเจริญอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11 ถึงพุทธศตวรรษที่ 16 อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพได้รับรางวัล Thailand […]

Read More

อนุสรณ์สถานผู้เสียสละเขาค้อ

อนุสรณ์สถานผู้เสียสละเขาค้อ เป็นอนุสรณ์แห่งความเสียสละของตำรวจ ทหาร ข้าราชการ และพลเรือนไทย ใน การต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ ในยุคที่การแตกต่างทางความคิดสุดขั้วกำลังคืบคลาน รุกรานแผ่นดินไทย อนุสรณ์สถานเป็นดังอนุสาวรีย์เชิดชูเกียรติผู้เสียสละชีวิตและเลือดเนื้อ เพื่อรักษาความเป็นปึกแผ่นแน่นแฟ้นของแผ่นดินไทย ภายใต้การปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข อนุสรณ์ ที่สร้างเป็นแท่งศิลา ได้จารึกชื่อข้าราชการพลเรือน ทหาร ตำรวจ ที่เสียสละชีวิตในการต่อสู้กับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ในช่วงที่เกิดความแตกแยกทางความคิดทางการเมือง ระหว่างปี พ.ศ. 2511-2525 ลองศึกษาประวัติศาสตร์การรู้รบอันยาวนานบนเขาค้อ จะซาบซึ้งถึง ความสำคัญของประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ของการสู้รบบนเขาค้อ อนุสรณ์สถานผู้เสียสละเขาค้อ เตือนใจให้ตระหนักถึงความรักชาติรักแผ่นดิน และระลึกถึงการต่อสู้ที่แลกมาด้วยเลือดเนื้อของผู้เสียสละ อนุสรณ์สถานตั้ง ตระหง่านอยู่บนยอดเขาค้อ โดดเด่นด้วยแท่งหินอ่อนรูปทรงสามเหลี่ยม ออกแบบโดย ดร.กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา มีความหมายตามขนาดและรูปร่างดังนี้ -รูปทรางสามเหลี่ยม หมายถึงการปฏิบัติการร่วมกันระหว่าง พลเรือน ตำรวจ และทหาร – ฐานอนุสรณ์สถานกว้าง 11 เมตร หมายถึง พ.ศ.2511 อันเป็นปีเริ่มการปฏิบัติการรุนแรงของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ในพื้นที่นี้ – ความสูงจากแท่นบูชาถึงยอดอนุสรณ์สถาน 24 เมตร หมายถึงพ.ศ. […]

Read More

สะพานพ่อขุนผาเมือง(ห้วยตอง)

สะพานพ่อขุนผาเมือง หรือ สะพานห้วยตอง เป็นเส้นทางที่ผ่านไปอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว ที่ กม. 50 เป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กที่ตอม่อสูงสุดของประเทศไทย สูงถึง 50 เมตร ระดับสะพานสูงเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง 320 เมตร เดิมเรียกสะพานห้วยตอง จากนั้นได้รับการตั้งชื่อเป็นทางการว่า “สะพานพ่อขุนผาเมือง” และเป็นเส้นทางที่ต้องใช้เครื่องจักรหนักเป็นจำนวนมาก เพื่อตัดเขาเป็นงานดินถึง 4.0 ล้าน ลบ.ม. และต้องทำ การระเบิดหินอีก 4.5 ล้านลบ.ม นับว่ามีปริมาณมาก เมื่อเทียบกับความยาวของระยะทางเพราะต้องทำการ ก่อสร้าง ที่ตัดภูเขาสูงชัน และสลับซับซ้อนมาก ใช้งบประมาณในการสร้าง 17,807,862บาท เฉลี่ย 100,000บาท/เมตร [adsense-2] สะพานพ่อขุนผาเมือง หรือสะพานห้วยตอง อยู่บนทางหลวงหมายเลข 12 ที่เชื่อมภาคเหนือกับภาคอีสาน สะพานอยู่ใกล้แยกเข้าอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว เชื่อมระหว่างภาคเหนือตอนล่างกับภาคอีสาน เป็นสะพานที่สวยงามทอดผ่านขุนเขาและวิวทิวทัศน์ที่สวยงาม ใครผ่านมาเป็นต้องแวะถ่ายรูป ออกแบบโดยกองสำรวจและออกแบบกรมทางหลวง สร้างตั้งแต่วันที่ 14 กันยายน ปี 2516 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 3 มิถันายน 2518 […]

Read More

สวนสาธารณะพุน้ำร้อนบ้านพุเตย

สวนสาธารณะพุน้ำร้อนบ้านพุเตย หรือ สวนสาธารณะเทศบาลตำบลพุเตย ตั้งอยู่ที่  ริมทางหลวงหมายเลข 21 ประมาณหลักกิโลเมตรที่ 117 ด้านขวามือระหว่างทางจากอำเภอศรีเทพไปวิเชียรบุรี เป็นสวนสาธารณะขนาดเล็ก ภายในมีบ่อน้ำแร่ ตกแต่งบริเวณสวนสวยงาม ที่สำคัญคือ มี “พุเตยสปา” ดำเนินการโดยเทศบาลตำบลพุเตย แบ่งห้องเป็นสัดส่วนแยกชายหญิงบริการนวดตัว นวดหน้า นวดเท้า และแช่น้ำแร่ร้อนในอ่างจากุซซี่ ที่สะอาดและทันสมัย การให้บริการ  ท่องเที่ยว/นันทนาการ อาบและแช่น้ำแร่สปา มีบริการสปาชื่อ “พุเตยสปา” ให้บริการนวดตัว นวดหน้า นวดเท้าและมีสวนสุขภาพพุเตย [adsense-2] ช่วงเวลาที่เปิดให้บริการ ทุกวันเวลา 09.00-19.00 น. ทุกวัน ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม โทร. 056-797-837 การเดินทาง รถยนต์ สวนสาธารณะพุน้ำร้อนบ้านพุเตย ตั้งอยู่ที่ ริมทางหลวงหมายเลข 21 หลักกิโลเมตรที่ 117 อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ แผนที่สวนสาธารณะน้ำพุร้อนบ้านพุเตย

Read More

ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นสถานที่ประดิษฐานพระบรมรูป ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชซึ่งชาวอำเภอวิเชียรบุรีร่วมใจกัน ก่อสร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์ เมื่อครั้งที่เสด็จยกกองทัพไปตีทัพเขมร ที่เมืองวิเชียรบุรีแห่งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถได้เสด็จมาทำพิธีบวงสรวงดวงพระวิญญาณ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2518 ทางอำเภอจัดงานเฉลิมฉลองศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราชขึ้นในวันกองทัพไทย ราวเดือนมกราคมของทุกปี ตำนาน ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ตั้งอยู่ทางด้านฝั่งตะวันออกของแม่น้ำป่าสัก ในเขตตอนใต้ของจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นชุมชนเมืองเก่าแก่ของชาวไทยมาแต่โบราณมีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เป็นสภานที่สักการะของประชาชนชาวอำเภอวิเชียรบุรี คือ ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ตามพงศาวดารได้กล่าวไว้ว่า [adsense-2] เมื่อครั้งสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ดำรงพระอิสริยศเป็นสมเด็จพระมหาอุปราชครองเมืองพิษณุโลกเมื่อปีพ.ศ.2125ได้เสด็จกรีฑาทัพมาปราบกบฏพระยาละแวกพระองค์ทรงให้พระยาศรีถมอรัตน์เจ้าเมือง วิเชียรบุรี และพระยาชัยบาดาลเจ้าเมืองชัยบาดาล เป็นทัพหน้าตีทัพกบฏพระยาละแวก สำหรับทัพหลวงสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้เสด็จมายังทัพที่เมืองวิเชียรบุรี ณสถานที่ก่อสร้างศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อำเภอวิเชียรบุรีในปัจจุบันนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีบวงสรวงดวงพระวิญญาณสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณบริเวณที่ตั้งศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อำเภอวิเชียรบุรี ในปัจจุบันเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2515 ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2525 นายบุญยรงค์ นิลวงศ์ นายอำเภอวิเชียรบุรีในขณะนั้น พร้อมด้วยข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนชาวอำเภอวิเชียรบุรี ได้ร่วมใจกันสร้างศาลประดิษฐานพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช การก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2526 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระเจ้าลูกเธอฯ เสด็จแทนพระองค์ประกอบพิธีเปิด […]

Read More

วัดมหาธาตุ

วัดมหาธาตุ ตั้งอยู่ริมถนนนิกรบำรุง ในเขตเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ ติดกับตลาดสดเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ ภายในวัดมีพระเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์แบบสุโขทัย สูง ประมาณ 4 วาเศษ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่า วัดนี้คงสร้างมา ตั้งแต่สมัยสุโขทัย เมื่อปี พ.ศ. 2510 ทางกรมศิลปกรได้บูรณะพระเจดีย์องค์นี้ ได้ขุดพบลานทองจารึกใน พระเจดีย์องค์ใหญ่ หลังพระอุโบสถ และได้นำ โบราณวัตถุที่บรรจุเจดีย์นั้นขึ้นมาด้วย มีสิ่งหนึ่งที่ได้มาพร้อมกับพระเครื่อง พระบูชา เป็นรูปช้าง รูปหมู ในท้องหมูมีลานทองจาลึกอยู่ 3 แผ่น มีข้อความตามจารึกว่า “พระเจ้าเพชรบุรเป็นลูกพระญาอนรงปรดิสถาแล” เขียน เป็นคำปัจจุบันได้ “พระ เจ้าเพชรบุรเป็นลูก พระยาอันรงประดิษฐานไว้”จึงทำให้เราทราบว่า”เพชรบูรณ์”แต่เดิมนั้นเป็น “เพชรบุร” ตั้งอยู่ถนนนิกรบำรุง ในเขตเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองจังหวัดเพชรบูรณ์ “วัดมหาธาตุ” ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานจากกรมศิลปากรเมื่อปี 2478 หลังจากนั้นประมาณ 30 ปีกรมศิลปากรจึงได้เข้าทำการบูรณะปฏิสังขรณ์จึงได้พบโบราณวัตถุต่าง ๆ รวมทั้งแผ่นจารึกที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ทำให้สามารถสันนิษฐานได้ว่าวัดมหาธาตุนั้นถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1926 โดยพระเจ้าเพชรบูรณ์ เมื่อทีมงานท่องเที่ยวดอทคอมของเราเดินทางมาถึงวัด ภาพที่ปรากฏต่อสายตาคือความแตกต่างที่กลมกลืนกันระหว่างโบราณสถานเก่าแก่ และอาคารสร้างใหม่เด่นเป็นสง่าเคียงคู่ไปด้วยกัน […]

Read More

วัดพระธาตุผาแก้ว

วัดพระธาตุผาแก้ว เดิมชื่อว่า พุทธธรรมสถานผาซ่อนแก้ว ตั้งอยู่ ณ บริเวณเนินเขาในหมู่บ้านทางแดง ต.แคมป์สน อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ โดยคุณภาวิณี โชติกุลและคุณ อุไร โชติกุล ได้มีติตศรัททธาซื้อที่ดินถวาย เพื่อก่อสร้างเป็นสถานปฏิบัติธรรมแก่พระสงฆ์และพุทธศาสนิกชนทั่วไปซึ่งนอกจากจะเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม แล้วยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดเพชรบูรณ์ เมื่อได้เดินชมรอบๆวัดจะให้บรรยากาศ ดุจสรวงสวรรค์เนื่องจากตั้งอยู่ท่ามกลางธรรมชาติที่โอบล้อมไปด้วย­ภูเขาสูงใหญ่ซ้อนกันเป็นทิวเขา เรียงราย สูงตระหง่าน บนยอดเขานั้นมีถ้ำอยู่ปลายยอดเขาซึ่งมีชาวบ้านทางแดงหลายคนได้เห็นลูกแก้วลอนอยู่เหนือฟากฟ้าแล้วลับ หายเข้าไปในถ้าบนยอดผา ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นพระบรมสารีริกธาตุดเสด็จมาและต่างถือว่าเป็นสถานที่มงคลมีความ ศักดิ์สิทธิ์และเรียกตามๆกันว่า ผาซ่อนแก้ว และพุทธสถานที่มาตั้วในจุดโอบล้อมด้วยทิวเขาดังกล่าว จึงเรียกว่า พุทธธรรมสถานผาซ่อนแก้ว ซึ่งเป็นนิมิตมงคลแก่ชาวบ้านทางแดงและผู้มาปฏิบัติธรรม สถานที่สำคัญภายในวัด 1.เจดียฺพระธาตุผาแก้ว วัตถุประสงค์การสร้างเจดีย์ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครอง ราชย์ครบ 60 ปี และเป็นที่สืบพระศาสนา ให้ดำรงอยู่คู่แผ่นดินไทย เพื่อประโยชน์แก่มนุษยชาติ และคนรุ่นหลัง ได้มีโอกาสเรียนรู้ต่อไปบนยอดเจดีย์จะบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งได้รับประทานม จากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก และ บริเวณใต้ฐานพระเจดีย์จะใช้เป็นที่เก็บรวบรวมหลักธรรมคำสอน, ภาพปริศนาธรรม และเป็นที่เจริญสติภาวนา สำหรับพุทธศาสนิกชนทั่วไป 2.ศาลาปฎิบัติธรรม(ศาลาพระหยกเขียว) เป็นศาลารูปทรงจัตุรัสโปร่ง รายรอบด้วยบานกระจกขนาดใหญ่ เพื่อให้สัมผัสกับธรรมชาติของขุนเขาอันเขียวชอุ่ม […]

Read More

ภูทับเบิก

ภูทับเบิก เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในจังหวัดเพชรบูรณ์ ตั้งอยู่ที่บ้านทับเบิก ตำบลวังบาล ห่างจากอำเภอหล่มเก่า 40 กิโลเมตร ตามเส้นทางจากหล่มเก่าไปภูหินร่องกล้า หรือห่างจากตัวจังหวัดเพชรบูรณ์ประมาณ 90 กิโลเมตร ภูทับเบิก มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,768 เมตร เป็นจุดที่สูงที่สุดของเพชรบูรณ์ มีสภาพภูมิประเทศที่สวยงามด้วยธรรมชาติแบบทะเลภูเขา มีอากาศบริสุทธิ์ สภาพภูมิอากาศเย็นสบายตลอดปี เนื่องจากร่องลมเย็นจากเทือกเขาหิมาลัยและอยู่บนที่สูง จึงสามารถมองเห็นทิวทัศน์ได้กว้างไกล โดยช่วงเช้าจะมองเห็นกลุ่มเมฆ และทะเลหมอกตัดกับยอดเทือกเขาเพชรบูรณ์ นอกจากนี้ ภูทับเบิก ยังเป็นสถานที่ที่สำคัญของจังหวัดเพชรบูรณ์ คือเป็นจุดรองรับน้ำฟ้ากลางหาว (เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2542) เพื่อนำไปรวมเป็นน้ำเพชรน้อมเกล้า ถวายเป็นน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ ในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ ในวันที่ 5 ธันวาคม 2542 ปัจจุบัน ภูทับเบิก เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง ซึ่งได้อพยพมาอาศัยอยู่ที่บ้านทับเบิก หมู่ที่ 14 และหมู่ที่ 16 โดยอยู่ในความดูแลของศูนย์พัฒนาสงเคราะห์ชาวเขาจังหวัดเพชรบูรณ์ ประกอบด้วยอาชีพทำการเกษตรแบบขั้นบันไดตามเชิงเขา ในช่วงปลายฝนต้นหนาว จะพบเห็นไร่กะหล่ำปลีอยู่สองข้างถนนสู่ทับเบิกสวยงาม ในราวเดือนธันวาคม-มกราคม จะมี ดอกซากุระ […]

Read More